ASTVผู้จัดการายวัน-เตือนสังเกต4จุด"เช็คช่วยชาติ"ล็อตแรก แบงก์บัวหลวง ย้ำจัดพิมพ์ด้วยระบบพิเศษป้องกันการปลอมแปลง ด้านสำงานประกันสังคม ยืนยันรับผ่านเจ้าหน้าที่ไม่มีปลอมแน่นอน แต่หวั่นร้านค้าอาจโดนมิจฉาชีพถือโอกาสได้เช่นกัน ด้านบลจ.แนะใช้เช็คตามวัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศมากกว่าการลงทุน
รายงานจาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า รูปแบบ"เช็คช่วยชาติ" ที่ทางธนาคารฯ ได้รับมอบหมายให้จัดพิมพ์ตามรายชื่อจากทางการ เพื่อส่งมอบให้กับกรมบัญชีกลาง และสำนักงานประกันสังคม ในการนำไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่มีสิทธิ์นั้น ธนาคารได้ทำการออกแบบเป็นพิเศษภายใต้ข้อกำหนดที่ให้ไว้ และจัดพิมพ์ด้วยระบบพิเศษ ที่เน้นการให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย เพื่อป้องกันการปลอมแปลงที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่เช็คช่วยชาติสามารถเปลี่ยนมือได้และมีค่าเสมือนเงินสด และไม่สามารถอายัดได้ทางธนาคารฯ จึงขอแนะนำผู้ได้รับเช็คให้เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ธนาคารยังออกแบบเช็คดังกล่าวเพื่อป้องกันการปลอมแปลง โดย ผู้ได้รับเช็คช่วยชาติสามารถตรวจสอบด้วยวิธีสังเกตใน 4 จุดหลัก ได้แก่ จุดที่หนึ่ง ตัวอักษร ‘เช็คช่วยชาติ ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก’พิมพ์เป็นลายเส้นนูน สีน้ำเงิน ดำ และแดง เหลือบกัน เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือจะรู้สึกสะดุดกับหมึกพิมพ์ที่อยู่บนผิวกระดาษ จุดที่สอง สัญลักษณ์ ‘฿’ ช่องจำนวนเงิน พิมพ์เป็นตัวนูน สีทองและแดงเหลือบกัน จุดที่สาม เมื่อนำเช็คไปส่องกับแบล็คไลท์ จะปรากฏตราสัญลักษณ์รูปดอกบัวของธนาคารกรุงเทพตรงกลางเช็ค และจุดที่สี่ ขอบเช็คต้องมีรอยปรุ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านบนและด้านล่าง สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ศูนย์ธนาคารทางโทรศัพท์ "โครงการเช็คช่วยชาติ"
ด้าน นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.) กล่าวว่า การที่ธนาคารกรุงเทพได้รับมอบหมายให้จัดพิมพ์เช็คช่วยชาตินั้น หากทางธนาคารฯมีความมั่นใจว่าจะสามารถทำได้ 100% ทางสปส.เองก็มีความมั่นใจกับกระบวนการที่เขาจัดทำเช่นกัน อย่างไรก็ตามขอยืนยันว่า เช็คที่ได้รับจากทางเจ้าหน้าที่ประกันสังคมทุกสาขาจะไม่มีทางปลอมแน่นอน เนื่องจากเป็นเช็คที่รับมอบจากทางธนาคารโดยตรงและยังไม่มีการเปลี่ยนมือ
"เรื่องจัดพิมพ์เป็นเรื่องของแบงก์ แต่เช็คที่ได้รับจากเรารับรองว่าจะไม่ปลอม เพราะไม่มีการเปลี่ยนมือ โดยขั้นตอนการปลอมน่าจะอยู่ในช่วงที่จะมีการเปลี่ยนมือหรือการซื้อสินค้าผ่านมาร้านค้ามากกว่า ซึ่งจะเตือนคงเป็นในส่วนของร้านค้ามากกว่า"นายปั้นกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสปส.เองนั้นขณะนี้ยังไม่เห็นตัวจริงของเช็คแต่อย่างใด มีเพียงแต่รูปแบบเบื้องต้นที่ได้รับทราบมาเท่านั้น ซึ่งหลังจากนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกหรือไม่คงเป็นเรื่องของธนาคารที่ได้รับมอบหมายมากกว่า
นอกจากนี้ ส่วนตัวแล้วเชื่อว่าสำหรับผู้ประกันตนแล้วคงจะไม่มีแนวคิด หรือต้นทุนที่จะสามารถปลอมแปลงเอกสารในรูปแบบนี้ได้ แต่หากมีการปลอมแปลงจริงคงจะต้องใช้เวลาเนื่องจากต้องรอให้มีเช็คตัวจริงออกมาอยู่ในระบบก่อน
แนะนำเช็คใช้จ่ายกระตุ้นศก.
ด้าน นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับเช็คช่วยชาติจำนวน 2 พันบาทนั้นทางบริษัทยังไม่มีโปรชันอะไรเอาไว้รองรับ แต่หากนักลงทุนมีความต้องการนำเงินมาซื้อหน่วยลงทุนของบริษัทก็ยินดีที่จะรับเอาไว้ เนื่องจากตามปกติบริษัทมีการรับเช็คเพื่อชำระการซื้อหน่วยลงทุนอยู่แล้ว
"ความจริงแล้วอยากให้เอาไว้ใช้จ่ายมากกว่า เนื่องจากจุดประสงค์ของเช็คนี้น่าจะเป็นการกระตุ้นการบริโภค ซึ่งเป็นนโยบายที่ต้องการกระแสเงินมีความสะพัดในระยะสั้นจากการใช้จ่าย เหมือนเป็นการล่อเลี้ยงเครื่องยนต์ไม่ให้ดับ ก่อนที่จะรอมาตรการอื่นเข้ามากระตุ้นอีกครั้งหนึ่ง"นางวรวรรณกล่าว
นางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุุน(บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า การเปิดรับเช็คช่วยชาติของบริษัทขณะนี้ยังไม่มีกองทุนอะไรรองรับ โดยการซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมจะต้องทำธุรกรรมผ่านธนาคารฯ โดยหากในอนาคตธนาคารมีการเปิดรับเช็คนี้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มี เชื่อว่ากองทุนรวมก็จะสามารถทำได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามการซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมขั้นต่ำส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นบาท
ขณะที่ นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการบลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่มีโปรชันเพื่อรองรับเช็คช่วยชาติจำนวน 2 พันบาทกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดยเชื่อว่าผู้ได้รับเช็คส่วนใหญ่ยังไม่ใช้กลุ่มเป้าหมายที่จะนำเงินมาลงทุนเนื่องจากมีรายได้ไม่มากนัก แต่อาจมีบางส่วนที่ต้องการเก็บออมผ่านทางกองทุนรวมบางประเภทอย่าง แอลทีเอฟ และอาร์เอ็มเอฟเช่นกัน
"อยากแนะนำให้นำไปซื้อของมากกว่าจะมาเก็บออม เพราะตามจุดประสงค์แล้วจริงๆ เช็คนี้ต้องการให้เกิดการบริโภคภายในประเทศ ไม่เกี่ยวกับการลงทุน ซึ่งประชาชนที่ได้รับก็น่าจะทำแบบนั้น อีกอย่างเช็คที่ได้รับก็ถือว่ามีมูลค่าไม่มากนัก โดยกองทุนรวมส่วนใหญ่เองก็มีมูลค่าขั้นต่ำของการลงทุนถึง 5 พันบาทอยู่แล้ว"นายพิชิตกล่าว
รายงานจาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า รูปแบบ"เช็คช่วยชาติ" ที่ทางธนาคารฯ ได้รับมอบหมายให้จัดพิมพ์ตามรายชื่อจากทางการ เพื่อส่งมอบให้กับกรมบัญชีกลาง และสำนักงานประกันสังคม ในการนำไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่มีสิทธิ์นั้น ธนาคารได้ทำการออกแบบเป็นพิเศษภายใต้ข้อกำหนดที่ให้ไว้ และจัดพิมพ์ด้วยระบบพิเศษ ที่เน้นการให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย เพื่อป้องกันการปลอมแปลงที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่เช็คช่วยชาติสามารถเปลี่ยนมือได้และมีค่าเสมือนเงินสด และไม่สามารถอายัดได้ทางธนาคารฯ จึงขอแนะนำผู้ได้รับเช็คให้เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ธนาคารยังออกแบบเช็คดังกล่าวเพื่อป้องกันการปลอมแปลง โดย ผู้ได้รับเช็คช่วยชาติสามารถตรวจสอบด้วยวิธีสังเกตใน 4 จุดหลัก ได้แก่ จุดที่หนึ่ง ตัวอักษร ‘เช็คช่วยชาติ ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก’พิมพ์เป็นลายเส้นนูน สีน้ำเงิน ดำ และแดง เหลือบกัน เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือจะรู้สึกสะดุดกับหมึกพิมพ์ที่อยู่บนผิวกระดาษ จุดที่สอง สัญลักษณ์ ‘฿’ ช่องจำนวนเงิน พิมพ์เป็นตัวนูน สีทองและแดงเหลือบกัน จุดที่สาม เมื่อนำเช็คไปส่องกับแบล็คไลท์ จะปรากฏตราสัญลักษณ์รูปดอกบัวของธนาคารกรุงเทพตรงกลางเช็ค และจุดที่สี่ ขอบเช็คต้องมีรอยปรุ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านบนและด้านล่าง สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ศูนย์ธนาคารทางโทรศัพท์ "โครงการเช็คช่วยชาติ"
ด้าน นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.) กล่าวว่า การที่ธนาคารกรุงเทพได้รับมอบหมายให้จัดพิมพ์เช็คช่วยชาตินั้น หากทางธนาคารฯมีความมั่นใจว่าจะสามารถทำได้ 100% ทางสปส.เองก็มีความมั่นใจกับกระบวนการที่เขาจัดทำเช่นกัน อย่างไรก็ตามขอยืนยันว่า เช็คที่ได้รับจากทางเจ้าหน้าที่ประกันสังคมทุกสาขาจะไม่มีทางปลอมแน่นอน เนื่องจากเป็นเช็คที่รับมอบจากทางธนาคารโดยตรงและยังไม่มีการเปลี่ยนมือ
"เรื่องจัดพิมพ์เป็นเรื่องของแบงก์ แต่เช็คที่ได้รับจากเรารับรองว่าจะไม่ปลอม เพราะไม่มีการเปลี่ยนมือ โดยขั้นตอนการปลอมน่าจะอยู่ในช่วงที่จะมีการเปลี่ยนมือหรือการซื้อสินค้าผ่านมาร้านค้ามากกว่า ซึ่งจะเตือนคงเป็นในส่วนของร้านค้ามากกว่า"นายปั้นกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสปส.เองนั้นขณะนี้ยังไม่เห็นตัวจริงของเช็คแต่อย่างใด มีเพียงแต่รูปแบบเบื้องต้นที่ได้รับทราบมาเท่านั้น ซึ่งหลังจากนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกหรือไม่คงเป็นเรื่องของธนาคารที่ได้รับมอบหมายมากกว่า
นอกจากนี้ ส่วนตัวแล้วเชื่อว่าสำหรับผู้ประกันตนแล้วคงจะไม่มีแนวคิด หรือต้นทุนที่จะสามารถปลอมแปลงเอกสารในรูปแบบนี้ได้ แต่หากมีการปลอมแปลงจริงคงจะต้องใช้เวลาเนื่องจากต้องรอให้มีเช็คตัวจริงออกมาอยู่ในระบบก่อน
แนะนำเช็คใช้จ่ายกระตุ้นศก.
ด้าน นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับเช็คช่วยชาติจำนวน 2 พันบาทนั้นทางบริษัทยังไม่มีโปรชันอะไรเอาไว้รองรับ แต่หากนักลงทุนมีความต้องการนำเงินมาซื้อหน่วยลงทุนของบริษัทก็ยินดีที่จะรับเอาไว้ เนื่องจากตามปกติบริษัทมีการรับเช็คเพื่อชำระการซื้อหน่วยลงทุนอยู่แล้ว
"ความจริงแล้วอยากให้เอาไว้ใช้จ่ายมากกว่า เนื่องจากจุดประสงค์ของเช็คนี้น่าจะเป็นการกระตุ้นการบริโภค ซึ่งเป็นนโยบายที่ต้องการกระแสเงินมีความสะพัดในระยะสั้นจากการใช้จ่าย เหมือนเป็นการล่อเลี้ยงเครื่องยนต์ไม่ให้ดับ ก่อนที่จะรอมาตรการอื่นเข้ามากระตุ้นอีกครั้งหนึ่ง"นางวรวรรณกล่าว
นางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุุน(บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า การเปิดรับเช็คช่วยชาติของบริษัทขณะนี้ยังไม่มีกองทุนอะไรรองรับ โดยการซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมจะต้องทำธุรกรรมผ่านธนาคารฯ โดยหากในอนาคตธนาคารมีการเปิดรับเช็คนี้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มี เชื่อว่ากองทุนรวมก็จะสามารถทำได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามการซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมขั้นต่ำส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นบาท
ขณะที่ นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการบลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่มีโปรชันเพื่อรองรับเช็คช่วยชาติจำนวน 2 พันบาทกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดยเชื่อว่าผู้ได้รับเช็คส่วนใหญ่ยังไม่ใช้กลุ่มเป้าหมายที่จะนำเงินมาลงทุนเนื่องจากมีรายได้ไม่มากนัก แต่อาจมีบางส่วนที่ต้องการเก็บออมผ่านทางกองทุนรวมบางประเภทอย่าง แอลทีเอฟ และอาร์เอ็มเอฟเช่นกัน
"อยากแนะนำให้นำไปซื้อของมากกว่าจะมาเก็บออม เพราะตามจุดประสงค์แล้วจริงๆ เช็คนี้ต้องการให้เกิดการบริโภคภายในประเทศ ไม่เกี่ยวกับการลงทุน ซึ่งประชาชนที่ได้รับก็น่าจะทำแบบนั้น อีกอย่างเช็คที่ได้รับก็ถือว่ามีมูลค่าไม่มากนัก โดยกองทุนรวมส่วนใหญ่เองก็มีมูลค่าขั้นต่ำของการลงทุนถึง 5 พันบาทอยู่แล้ว"นายพิชิตกล่าว