พบหลักฐานยืนยันเงินมีฤทธิ์เหมือนยาเสพติด บางส่วนของสมองถูกกระตุ้นจากเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น แม้ราคาสินค้าพุ่งขึ้นและกำลังซื้อลดลงก็ตาม ที่สำคัญแค่ฝันถึงการได้ขึ้นเงินเดือนก็ทำให้จิตใจพองโตแล้ว
นักวิจัยพบว่า การคิดถึงเรื่องเงินกระตุ้นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจเมื่อได้รางวัล แต่ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ผลการค้นพบนี้เป็นจริงแม้เมื่อการขึ้นเงินเดือนเป็นเพียงจินตนาการ และแม้สิ่งที่ต้องการซื้อราคาแพงขึ้น เช่น ในช่วงเวลาที่เงินเฟ้อสูง ซึ่งทำให้กำลังซื้อที่แท้จริงลดลงก็ตาม
ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าสมองมนุษย์อ่อนไหวต่อภาพมายาของความมั่งคั่งที่เงินนำมาให้มาตั้งแต่เกิด ซึ่งวิชาเศรษฐศาสตร์เรียกขานว่า ‘ภาพลวงตาทางการเงิน’ ซึ่งหมายถึงการที่คนเรายึดติดกับมูลค่าเงินตามตัวเลขแทนกำลังซื้อที่แท้จริง
นักเศรษฐศาสตร์บางคนชี้ว่าคนเรามีพฤติกรรมไร้เหตุผลเมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินเดือน กล่าวคือจะมีความสุขที่ได้เงินเดือนขึ้นในยามที่เงินเฟ้อสูงมากกว่าการถูกลดเงินเดือนเมื่อเงินเฟ้อต่ำ
นักวิจัยค้นพบว่าตัวเงินที่มากขึ้นกระตุ้นความรู้สึกของการได้รางวัลในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมไร้เหตุผลหรือพฤติกรรมการเสพติดอย่างแท้จริง แม้กำลังซื้อเมื่อได้ขึ้นเงินเดือนลดลงจากอัตราเงินเฟ้อก็ตาม
การศึกษาของศาสตราจารย์อาร์มิน ฟอล์ก จากมหาวิทยาลัยบอนน์ เยอรมนี พบหลักฐานสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์สำหรับทฤษฎีภาพลวงตาทางการเงินที่ฝังอยู่ในจิตใจคนเรา จากการตรวจสอบกิจกรรมในสมองของอาสาสมัคร 18 คนที่เข้าร่วมชุดการทดสอบที่เกี่ยวข้องการจ่ายเงินเดือนระดับต่างๆ และราคาสินค้า
อาสาสมัครจะถูกขอให้ใช้จ่าย ‘เงินเดือน’ โดยทำภารกิจในคอมพิวเตอร์ อัตราเงินเดือนมีสองระดับๆ แรกสูงกว่าระดับที่สอง 50%
อาสาสมัครสามารถใช้เงินนี้ในการเลือกสินค้าในสองแคตตาล็อก แต่ละแคตตาล็อกมีสินค้าเหมือนกันหมดยกเว้นแคตตาล็อกหนึ่งถูกกว่าอีกแคตตาล็อก 50%
ในการทดสอบ อาสาสมัครมีกำลังซื้อเท่ากันไม่ว่าจะมีเงินเดือนเท่าใด แต่การสแกนสมองพบว่าส่วนที่รับรู้รางวัลถูกกระตุ้นมากกว่าจากการคิดถึงเงินเดือนที่สูงขึ้น
“ภาพลวงตาทางการเงินแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ถูกตีค่าเป็นบวก แม้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นในสัดส่วนเท่ากัน ซึ่งเท่ากับกำลังซื้อไม่เปลี่ยนแปลง
“นักเศรษฐศาสตร์เคยสงสัยเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องภาพลวงตาทางการเงิน แต่หลักฐานทางพฤติกรรมที่ค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้ได้ท้าทายแนวคิดนั้น” ศาสตราจารย์ฟอล์ก ที่ตีพิมพ์ผลการศึกษาในวารสารโปรซีดดิ้งส์ ออฟ เนชันแนล อะคาเดมี ออฟ ไซนส์ บอก
ตัวอย่างเช่น การศึกษาหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าคนเรามีความสุขมากกว่าเมื่อได้เงินเดือนขึ้น 5% ในช่วงเวลาที่เงินเฟ้ออยู่ที่ 4% เทียบกับเมื่อได้เงินเดือนขึ้น 2% ในตอนที่เงินเฟ้อต่ำ
แต่ข้อจำกัดในการศึกษาเหล่านั้นคือ การอิงกับแบบสอบถามมากกว่าการสแกนสมอง ทำให้นักเศรษฐศาสตร์อื่นๆ โต้แย้งและนำเสนอคำอธิบายทางเลือกที่มีเหตุผลมากกว่า สำหรับการศึกษาล่าสุดได้หลีกเลี่ยงข้อจำกัดดังกล่าวโดยการศึกษาโดยตรงจากส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
นักวิจัยวัดการไหลเวียนของเลือดในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ถึงรางวัล เช่น ventromedial prefrontal cortex ซึ่งอยู่หลังดวงตาในสมองด้านหน้า
“ผลศึกษานี้หมายความว่ามีการกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนดังกล่าวมากขึ้นจากรายได้ และสมองส่วนนั้นมีการทำงานหนักขึ้นเมื่อรายได้ตามตัวเลขและราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 50% เท่าๆ กัน ซึ่งสนับสนุนสมมติฐานที่ว่ากิจกรรมในสมองส่วน ventromedial prefrontal cortex ตกอยู่ใต้อิทธิพลของภาพลวงตาทางการเงิน” ศาสตราจารย์ฟอล์กสรุป
นักวิจัยพบว่า การคิดถึงเรื่องเงินกระตุ้นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจเมื่อได้รางวัล แต่ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ผลการค้นพบนี้เป็นจริงแม้เมื่อการขึ้นเงินเดือนเป็นเพียงจินตนาการ และแม้สิ่งที่ต้องการซื้อราคาแพงขึ้น เช่น ในช่วงเวลาที่เงินเฟ้อสูง ซึ่งทำให้กำลังซื้อที่แท้จริงลดลงก็ตาม
ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าสมองมนุษย์อ่อนไหวต่อภาพมายาของความมั่งคั่งที่เงินนำมาให้มาตั้งแต่เกิด ซึ่งวิชาเศรษฐศาสตร์เรียกขานว่า ‘ภาพลวงตาทางการเงิน’ ซึ่งหมายถึงการที่คนเรายึดติดกับมูลค่าเงินตามตัวเลขแทนกำลังซื้อที่แท้จริง
นักเศรษฐศาสตร์บางคนชี้ว่าคนเรามีพฤติกรรมไร้เหตุผลเมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินเดือน กล่าวคือจะมีความสุขที่ได้เงินเดือนขึ้นในยามที่เงินเฟ้อสูงมากกว่าการถูกลดเงินเดือนเมื่อเงินเฟ้อต่ำ
นักวิจัยค้นพบว่าตัวเงินที่มากขึ้นกระตุ้นความรู้สึกของการได้รางวัลในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมไร้เหตุผลหรือพฤติกรรมการเสพติดอย่างแท้จริง แม้กำลังซื้อเมื่อได้ขึ้นเงินเดือนลดลงจากอัตราเงินเฟ้อก็ตาม
การศึกษาของศาสตราจารย์อาร์มิน ฟอล์ก จากมหาวิทยาลัยบอนน์ เยอรมนี พบหลักฐานสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์สำหรับทฤษฎีภาพลวงตาทางการเงินที่ฝังอยู่ในจิตใจคนเรา จากการตรวจสอบกิจกรรมในสมองของอาสาสมัคร 18 คนที่เข้าร่วมชุดการทดสอบที่เกี่ยวข้องการจ่ายเงินเดือนระดับต่างๆ และราคาสินค้า
อาสาสมัครจะถูกขอให้ใช้จ่าย ‘เงินเดือน’ โดยทำภารกิจในคอมพิวเตอร์ อัตราเงินเดือนมีสองระดับๆ แรกสูงกว่าระดับที่สอง 50%
อาสาสมัครสามารถใช้เงินนี้ในการเลือกสินค้าในสองแคตตาล็อก แต่ละแคตตาล็อกมีสินค้าเหมือนกันหมดยกเว้นแคตตาล็อกหนึ่งถูกกว่าอีกแคตตาล็อก 50%
ในการทดสอบ อาสาสมัครมีกำลังซื้อเท่ากันไม่ว่าจะมีเงินเดือนเท่าใด แต่การสแกนสมองพบว่าส่วนที่รับรู้รางวัลถูกกระตุ้นมากกว่าจากการคิดถึงเงินเดือนที่สูงขึ้น
“ภาพลวงตาทางการเงินแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ถูกตีค่าเป็นบวก แม้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นในสัดส่วนเท่ากัน ซึ่งเท่ากับกำลังซื้อไม่เปลี่ยนแปลง
“นักเศรษฐศาสตร์เคยสงสัยเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องภาพลวงตาทางการเงิน แต่หลักฐานทางพฤติกรรมที่ค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้ได้ท้าทายแนวคิดนั้น” ศาสตราจารย์ฟอล์ก ที่ตีพิมพ์ผลการศึกษาในวารสารโปรซีดดิ้งส์ ออฟ เนชันแนล อะคาเดมี ออฟ ไซนส์ บอก
ตัวอย่างเช่น การศึกษาหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าคนเรามีความสุขมากกว่าเมื่อได้เงินเดือนขึ้น 5% ในช่วงเวลาที่เงินเฟ้ออยู่ที่ 4% เทียบกับเมื่อได้เงินเดือนขึ้น 2% ในตอนที่เงินเฟ้อต่ำ
แต่ข้อจำกัดในการศึกษาเหล่านั้นคือ การอิงกับแบบสอบถามมากกว่าการสแกนสมอง ทำให้นักเศรษฐศาสตร์อื่นๆ โต้แย้งและนำเสนอคำอธิบายทางเลือกที่มีเหตุผลมากกว่า สำหรับการศึกษาล่าสุดได้หลีกเลี่ยงข้อจำกัดดังกล่าวโดยการศึกษาโดยตรงจากส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
นักวิจัยวัดการไหลเวียนของเลือดในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ถึงรางวัล เช่น ventromedial prefrontal cortex ซึ่งอยู่หลังดวงตาในสมองด้านหน้า
“ผลศึกษานี้หมายความว่ามีการกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนดังกล่าวมากขึ้นจากรายได้ และสมองส่วนนั้นมีการทำงานหนักขึ้นเมื่อรายได้ตามตัวเลขและราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 50% เท่าๆ กัน ซึ่งสนับสนุนสมมติฐานที่ว่ากิจกรรมในสมองส่วน ventromedial prefrontal cortex ตกอยู่ใต้อิทธิพลของภาพลวงตาทางการเงิน” ศาสตราจารย์ฟอล์กสรุป