ASTVผู้จัดการรายวัน - ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวเงินบาทสัปดาห์ในระดับ 35.00-35.40 บาท แนะจับตาสัญญาณการเข้าแทรกแซงของแบงก์ชาติเพื่อลดความผันผวน ขณะที่เงินดอลลาร์ยังต้องรอดูตัวเศรษฐกิจสำคัญหลายอย่างในสัปดาห์นี้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์แนวโน้มเงินบาทสัปดาห์นี้อาจเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบประมาณ 35.00-35.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ตลาดควรจับตาสัญญาณการเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อลดความผันผวนของค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ตลอดจนทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค ขณะที่ ทิศทางของเงินดอลลาร์สหรัฐ อาจขึ้นอยู่กับความคืบหน้าในประเด็นโครงการแก้ไขสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินสหรัฐฯ และการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ อาทิ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ (รอบสุดท้าย) จัดทำโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน เดือนมีนาคม ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดขายบ้านใหม่-บ้านมือสอง รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคล และดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน เดือนกุมภาพันธ์ ตลอดจนตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 4/2551 (รอบสุดท้าย)
ทั้งนี้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปรับตัวแข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ การปรับตัวในทิศทางแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในสัปดาห์ก่อน ได้รับแรงหนุนจากความแข็งแกร่งของสกุลเงินในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐเผชิญแรงเทขายเพื่อทำกำไรจากความกังวลว่า มาตรการล่าสุดของเฟดอาจทำให้แนวโน้มของปริมาณเงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม แรงซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่า เป็นการเข้าแทรกแซงของธปท. ตลอดจนความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐจากผู้นำเข้า ได้ชะลอการแข็งค่าของเงินบาทในระหว่างสัปดาห์ สำหรับในวันศุกร์เงินบาทแข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือนเหนือระดับ 35.35 ก่อนจะกลับมายืนที่ระดับ 35.36 (ตลาดเอเชีย) เทียบกับระดับ 35.92 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันศุกร์ก่อนหน้า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์แนวโน้มเงินบาทสัปดาห์นี้อาจเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบประมาณ 35.00-35.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ตลาดควรจับตาสัญญาณการเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อลดความผันผวนของค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ตลอดจนทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค ขณะที่ ทิศทางของเงินดอลลาร์สหรัฐ อาจขึ้นอยู่กับความคืบหน้าในประเด็นโครงการแก้ไขสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินสหรัฐฯ และการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ อาทิ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ (รอบสุดท้าย) จัดทำโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน เดือนมีนาคม ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดขายบ้านใหม่-บ้านมือสอง รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคล และดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน เดือนกุมภาพันธ์ ตลอดจนตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 4/2551 (รอบสุดท้าย)
ทั้งนี้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปรับตัวแข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ การปรับตัวในทิศทางแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในสัปดาห์ก่อน ได้รับแรงหนุนจากความแข็งแกร่งของสกุลเงินในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐเผชิญแรงเทขายเพื่อทำกำไรจากความกังวลว่า มาตรการล่าสุดของเฟดอาจทำให้แนวโน้มของปริมาณเงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม แรงซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่า เป็นการเข้าแทรกแซงของธปท. ตลอดจนความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐจากผู้นำเข้า ได้ชะลอการแข็งค่าของเงินบาทในระหว่างสัปดาห์ สำหรับในวันศุกร์เงินบาทแข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือนเหนือระดับ 35.35 ก่อนจะกลับมายืนที่ระดับ 35.36 (ตลาดเอเชีย) เทียบกับระดับ 35.92 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันศุกร์ก่อนหน้า