บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า เงินบาทแข็งค่ามาทดสอบระดับ 30.45 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้น หลังจากที่แรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ช่วงปลายเดือนเบาบางลง ขณะที่ ทิศทางที่อ่อนค่าของเงินดอลลาร์ฯ ทั้งเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก (ยกเว้นเงินเยน) และสกุลเงินเอเชีย ก็หนุนการแข็งค่าของเงินบาทด้วยเช่นกัน สำหรับในวันศุกร์ (4 มี.ค.) เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาที่ระดับ 30.46 ท่ามกลางแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ซึ่งถูกคาดว่าเป็นการเข้าดูแลเสถียรภาพค่าเงินของธปท. เทียบกับระดับ 30.61 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (25 ก.พ.)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป (7-11 มี.ค. 2554) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 30.35-30.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาสัญญาณการคุมเข้มนโยบายการเงินของกนง.ในช่วงกลางสัปดาห์ ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ประกอบด้วย ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ สต็อกสินค้าภาคค้าส่งและภาคธุรกิจเดือนม.ค. ยอดค้าปลีก ดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางเดือนก.พ. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.รายงานโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ ตลาดการเงินยังจับตาผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ และพัฒนาการของปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคอาหรับอีกด้วย
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป (7-11 มี.ค. 2554) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 30.35-30.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาสัญญาณการคุมเข้มนโยบายการเงินของกนง.ในช่วงกลางสัปดาห์ ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ประกอบด้วย ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ สต็อกสินค้าภาคค้าส่งและภาคธุรกิจเดือนม.ค. ยอดค้าปลีก ดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางเดือนก.พ. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.รายงานโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ ตลาดการเงินยังจับตาผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ และพัฒนาการของปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคอาหรับอีกด้วย