บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า ค่าเงินบาททรงตัว เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ แม้มีแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่าเป็นการเข้าดูแลเสถียรภาพค่าเงิน ของธปท. โดยเงินบาทได้รับแรงหนุนจากแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ของผู้ส่งออก และแรงซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ดี เงินบาทต้องลดช่วงบวกทั้งหมดลง และ กลับมาเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความไม่สงบในลิเบีย ซึ่งกระตุ้นแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงและสกุลเงินเอเชีย
ในวันศุกร์ (25 ก.พ.) เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 30.61 บาทต่อดอลลาร์ฯ ใกล้กับระดับ 30.60 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันพฤหัสบดีก่อนหน้า (17 ก.พ.)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ (28 ก.พ. - 4 มี.ค. 2554) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 30.45-30.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยยังคงต้องจับตาการประกาศเครื่องชี้เศรษฐกิจไทย เดือนม.ค. อัตราเงินเฟ้อเดือนก.พ. ตลอดจนตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ประกอบด้วย ข้อมูลตลาดแรงงาน ดัชนี ISM ภาคการผลิต/ภาคบริการ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโกเดือนก.พ. ยอดสั่งซื้อของโรงงาน รายจ่ายด้านการก่อสร้าง ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย รายได้ส่วนบุคคลเดือนม.ค. รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) ของเฟด และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
ในวันศุกร์ (25 ก.พ.) เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 30.61 บาทต่อดอลลาร์ฯ ใกล้กับระดับ 30.60 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันพฤหัสบดีก่อนหน้า (17 ก.พ.)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ (28 ก.พ. - 4 มี.ค. 2554) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 30.45-30.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยยังคงต้องจับตาการประกาศเครื่องชี้เศรษฐกิจไทย เดือนม.ค. อัตราเงินเฟ้อเดือนก.พ. ตลอดจนตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ประกอบด้วย ข้อมูลตลาดแรงงาน ดัชนี ISM ภาคการผลิต/ภาคบริการ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโกเดือนก.พ. ยอดสั่งซื้อของโรงงาน รายจ่ายด้านการก่อสร้าง ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย รายได้ส่วนบุคคลเดือนม.ค. รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) ของเฟด และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์