ผลการแจ้งข้อกล่าวหาข้าราชการการเมือง และข้าราชการตำรวจระดับสูงที่มีส่วนในการสั่งสลายการชุมนุม 7 ตุลาคม 2551 ที่หน้าอาคารรัฐสภาออกมาแล้ว และก็เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์ได้ในระดับหนึ่ง มีทั้งผู้ที่พอใจ และไม่พอใจผลการตัดสินของป.ป.ช.ที่ไม่พอใจส่วนใหญ่ก็มองเห็นว่า ข้อกล่าวหาสำหรับตำรวจบางนายเบาเกินไป และรายชื่อของผู้ที่ควรจะมีส่วนรับผิดชอบในเหตุการณ์ครั้งนี้ น่าจะมีมากกว่านี้ แต่นั่นก็ย่อมจะต้องเข้าใจว่า การทำงานของ ป.ป.ช.มีกรอบการทำงานที่ต้องยึดถือ อาทิ เป็นการไต่ข้อเท็จจริง และสรุปสำนวนตามที่มีการร้องเรียนเข้ามาเท่านั้น และถ้าเป็นข้าราชการการเมือง หรือข้าราชการประจำก็จะเป็นการสอบสวนกรณีกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น และให้ใช้บังคับกับกรณีที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลอื่นเป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนด้วย
ที่นี้การทำงานของ ป.ป.ช.ที่ออกมาล่าสุด ต้องถือว่ายังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการ เพราะอยู่ในขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหาเท่านั้น หลังจากนี้ประมาณปลายเดือนมีนาคม เราจะได้เห็นโฉมหน้าผู้ถูกกล่าวหา เวียนวนเข้ามาแก้ข้อกล่าวหากับทาง ป.ป.ช.อีกครั้งก่อนจะมีการชี้มูล ซึ่งในรายงานของ ป.ป.ช.ก็ระบุด้วยว่า มีโอกาสที่จะแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่ม หากพบพยานหลักฐานเพิ่มเติม
ในส่วนของประชาชนผู้ร่วมเหตุการณ์ นอกจากการนั่งรอดูผลกรรมสนองผู้กระทำเหล่านี้ เพื่อคืนความเป็นธรรมให้กับพี่น้องพันธมิตรฯ ที่บาดเจ็บและเสียชีวิต เรายังได้เห็นความเป็นจริงของชีวิตอีกประการที่น่าสนใจจาก “วังวนราโชมอน” ที่เกิดขึ้นในระหว่างให้ปากคำของเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
พูดถึง “ราโชมอน” เป็นชื่อของภาพยนตร์ ผลงานสร้างของผู้กำกับนามอุโฆษชาวญี่ปุ่น Akira Kurosawa ในยุคปี 1950 เชื่อว่า นักศึกษาภาควิชาการแสดงหรือนิเทศศาสตร์คงจะผ่านตามาแล้ว ราโชมอนเดิมเป็นชื่อประตูเมืองโบราณยุคศตวรรษที่ 10 ซึ่งเป็นฉากสำคัญที่ตัวละครสำคัญของเรื่อง แวะเวียนมาพบกัน และมีเหตุให้ถกเถียงกันถึงคดีฆาตกรรมซามูไรคนหนึ่งที่ถูกฆ่าตายปริศนาในพุ่มไม้แห่งหนึ่งและยังหาตัวคนผิดไม่ได้ ภาพยนตร์เขียนและกำกับให้ตัวละครเอกสี่ตัวคือ โจรร้าย วิญญาณซามูไรในร่างทรง ภรรยาซามูไร และชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ออกมาเล่าความจริงที่เกิดขึ้นกับซามูไรก่อนตาย และบอกว่าใครคือฆาตกร อันทำให้ผู้ดูได้รับความจริงประการหนึ่งว่า “พฤติกรรมเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น” มีมาตั้งแต่สมัยราโชมอน (หรืออาจจะก่อนหน้านั้น) คำให้การจริงเป็นเท็จ เท็จเป็นจริง ท้าทายให้คนดูหาข้อพิสูจน์ แต่ภาพยนตร์ก็จบลงแบบไม่เฉลยปริศนา เปิดปมให้คนดูตัดสินเอาจากข้อมูลที่ได้รับ
แต่สำหรับเหตุการณ์ 7 ตุลาฯ ทมิฬ คงไม่อาจจบแบบราโชมอนได้อย่างแน่นอน เพราะแม้ว่าจะมีความพยายามดิ้น ปฏิเสธ และแสร้งทำความจำเสื่อมของบรรดาผู้ถูกกล่าวหา แต่อย่าลืมว่า นี่มันยุคศตวรรษที่ 21 แล้วพี่! โลกมันไปไกลถึงไหนแล้ว หลักฐานด้วยตามนุษย์แพ้หลักฐานที่ถูกบันทึกด้วยดวงตาของเทคโนโลยี ทุกการประชุมย่อมมีการบันทึก “คำสั่งฆ่า” และทุกเสียงยิงจากปากกระบอกปืน ย่อมบันทึกใบหน้าของ “ผู้จงใจเข่นฆ่าประชาชน”
ทุกคำให้การของผู้ถูกกล่าวหาที่ให้กับคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนชุดของท่านสุรสีห์ โกศลนาวิน ในลักษณะเอาตัวรอด และโยนบาปให้คนอื่นต่างกลายเป็นหลักฐานพวกเขากันเองอย่างเหนียวแน่น ไม่แตกต่างจากหลักการของทฤษฎีเกม “Game Theory” รายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนที่ได้ส่งให้ ป.ป.ช.ทั้ง 117 หน้า จากผู้มาให้ถ้อยคำ 91 คน จาก 7 กลุ่ม อันได้แก่ฝ่ายการเมือง สื่อมวลชน ผู้ร่วมชุมนุมและประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บ กลุ่มแกนนำและการ์ดพันธมิตรฯ กลุ่มเจ้าหน้าที่การแพทย์ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชและนิติวิทยาศาสตร์ และกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีหลายตอนที่น่าสนใจ เช่น
จากการสอบปากคำฝ่ายการเมือง นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ก็โบ้ยความผิดให้กับพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกฯ ขณะนั้น โดยระบุว่า ..ภายหลัง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อาสาจะเข้าไปดูแลเรื่องการชุมนุม โดย พล.อ.ชวลิตได้แจ้งว่าคุยกับฝ่ายตำรวจเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะกำกับดูแลและบัญชาการเจ้าหน้าที่ตำรวจเอง ขอให้ตำรวจที่รอชี้แจงกับไปทำหน้าที่ดูแลสถานการณ์ นายสมชาย จึงไม่ได้พูดคุยหรือสั่งการเจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจแต่อย่างใด และไม่ทราบว่า พล.อ.ชวลิต ได้สั่งการอย่างไรไปบ้าง..ขณะที่พล.อ.ชวลิต ให้ถ้อยคำต่อคณะอนุกรรมาธิการฯ วุฒิสภาว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งให้ พล.อ.ชวลิต รับผิดชอบ ซึ่ง พล.อ.ชวลิต ก็มิได้ว่าอะไรในตอนนั้น ก็ให้ไปดูแลอารักขาไม่ให้รัฐสภาถูกเผา แล้วก็ให้มีการผลักดันออกไปให้มีการประชุมให้ได้ในวันรุ่งขึ้น จากนั้น พล.อ.ชวลิต ได้ไปที่ บช.น. มีผู้ติดตามหลายคน เมื่อเดินทางไปถึงก็ประชุม พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. ก็อยู่ด้วย
ส่วนบันทึกถ้อยคำของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.เล่าว่า มีการประชุมร่วมกับฝ่ายการเมือง ตั้งแต่คืนวันที่ 6 ต.ค.2551 เวลาประมาณ 23.00 น. พร้อมทั้งระบุชื่อนักการเมืองที่เข้าร่วมประชุมทุกคน ไล่ตั้งแต่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีมหาดไทย นายวราวุธ ศิลปอาชา บุตรชายของนายบรรหาร ศิลปอาชา และบุคคลอื่นๆ ที่ผู้ให้ถ้อยคำจำไม่ได้ทั้งหมด โดยอ้างว่า มีมติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่าจะต้องประชุมสภาในวันที่ 7 ตุลาคมให้ได้ โดยตนจะนำเอกสารคำสั่งการมอบหมายภารกิจการชุมนุมที่มีการลงนามของ ผู้มีอำนาจระดับบน 2 คน ไปยื่นให้ ป.ป.ช.ในการแก้ข้อกล่าวหา นอกจากนี้ นายตำรวจบางท่านกล่าวระหว่างการให้ถ้อยคำต่อกรรมการสิทธิมนุษยชน เพื่อมัดตัวรัฐมนตรีนายหนึ่งที่กล่าวในที่ประชุมกองบัญชาการตำรวจนครบาลว่า “ทำเถอะน้อง (สลายการชุมนุม) รักษาศักดิ์ศรีของเราแล้วพี่จะรับผิดชอบเอง” แล้ววันรุ่งขึ้นพี่ก็รับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งซะงั้น...
นี่น่าจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลักฐาน ที่จะใช้มัดตัวผู้บงการสั่งฆ่าประชาชน...
ในบันทึกยังอ้างถึงถ้อยคำของกลุ่มผู้ร่วมชุมนุมและประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บ โดยได้ให้ถ้อยคำตรงกันว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้กระหน่ำยิงแก๊สน้ำตาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับตำรวจได้ถือเครื่องขยายเสียงพูดขึ้นว่า “มันอยู่ได้ ให้มันอยู่ไป ยิงเข้าไปๆ เดินเข้าไป ลุยเข้าไป” โดยพูดซ้ำแล้วซ้ำอีก พร้อมกับมีเสียงระเบิดดังอยู่ตลอดเวลา ซึ่งประชาชนให้ถ้อยคำว่า ขณะนั้นได้พูดว่า “ยอมแพ้แล้วๆ ไม่มีอาวุธ” แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจคนเดิมที่ถือเครื่องขยายเสียงพูดขึ้นว่า “นายตำรวจ คุณมีหน้าที่เคลียร์ถนน ปล่อยทุกอย่าง วางทุกอย่าง และเคลียร์ถนน” พร้อมย้ำ “นายตำรวจ คุณมีหน้าที่เคลียร์ถนน อยากลองกับผมหรือ”
กับการให้ถ้อยคำของผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมบริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลและบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า จำนวนหลายรายให้ที่ระบุว่า เห็นตำรวจที่อยู่บนอาคาร ต้นไม้ และกำแพงด้านในกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยยิงเข้าใส่ประชาชนที่เดินผ่านถนนศรีอยุธยาด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลเพื่อไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า และที่เดินผ่านถนนราชดำเนินด้านข้างกองบัญชาการ ตำรวจนครบาลทั้งที่มุ่งหน้าไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า และระหว่างการเดินกลับไปยังสะพานมัฆวานฯ รวมทั้งประชาชนที่ยืนจับกลุ่มพูดคุยกันอยู่บนถนนดังกล่าว
และนี่น่าจะเป็นหลักฐานชัดเจน เมื่อนำไปบวกกับภาพและเสียงที่ถูกถ่ายทอดผ่านสถานีโทรทัศน์ ASTV ในวันเกิดเหตุ 7 ตุลาฯ เป็นหลักฐานมัดคอ ฆาตกรที่จงใจฆ่าประชาชน…
ส่วนกรณี ของ พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. ที่ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนในลักษณะบิดเบือนข้อเท็จจริงว่าผู้ชุมนุมที่ขาขาด เป็นเพราะระเบิดปิงปองของตัวเอง หรือเป็นเพราะเดินสะดุดรั้วลวดหนามบ้าง แต่ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ไม่มีอาวุธดังกล่าวแน่นอน ทำให้กรรมการสิทธิฯ ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการให้ข้อมูลต่อสาธารณชนในลักษณะบิดเบือนข้อเท็จจริง ก่อให้เกิดการเข้าใจผิด อาจเข้าข่ายเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กระทำด้วยประการใดๆ เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจที่กระทำผิดมิให้ต้องรับโทษทางอาญา และเพื่อเป็นการกลั่นแกล้งบุคคลใดให้ได้รับโทษทางอาญา
ซึ่งแม้ ป.ป.ช.จะระบุว่า พล.ต.ต. อำนวย มีหลักฐานเป็นใบลาราชการ เพื่อไปร่วมงานศพบิดาที่ต่างจังหวัด แต่ก็คงจะก่อให้เกิดข้อสงสัยว่า ตามหลักความเป็นจริง ถ้า พล.ต.ต.อำนวย ไม่อยู่กรุงเทพฯ ในวันเกิดเหตุ แล้วไฉน ท่านจึงเสนอตัวออกมาให้สัมภาษณ์สื่อ ราวกับเห็นด้วยตาว่า ผู้ชุมนุมขาขาดหรือตายเพราะระเบิดของตัวเอง
ที่นี้การทำงานของ ป.ป.ช.ที่ออกมาล่าสุด ต้องถือว่ายังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการ เพราะอยู่ในขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหาเท่านั้น หลังจากนี้ประมาณปลายเดือนมีนาคม เราจะได้เห็นโฉมหน้าผู้ถูกกล่าวหา เวียนวนเข้ามาแก้ข้อกล่าวหากับทาง ป.ป.ช.อีกครั้งก่อนจะมีการชี้มูล ซึ่งในรายงานของ ป.ป.ช.ก็ระบุด้วยว่า มีโอกาสที่จะแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่ม หากพบพยานหลักฐานเพิ่มเติม
ในส่วนของประชาชนผู้ร่วมเหตุการณ์ นอกจากการนั่งรอดูผลกรรมสนองผู้กระทำเหล่านี้ เพื่อคืนความเป็นธรรมให้กับพี่น้องพันธมิตรฯ ที่บาดเจ็บและเสียชีวิต เรายังได้เห็นความเป็นจริงของชีวิตอีกประการที่น่าสนใจจาก “วังวนราโชมอน” ที่เกิดขึ้นในระหว่างให้ปากคำของเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
พูดถึง “ราโชมอน” เป็นชื่อของภาพยนตร์ ผลงานสร้างของผู้กำกับนามอุโฆษชาวญี่ปุ่น Akira Kurosawa ในยุคปี 1950 เชื่อว่า นักศึกษาภาควิชาการแสดงหรือนิเทศศาสตร์คงจะผ่านตามาแล้ว ราโชมอนเดิมเป็นชื่อประตูเมืองโบราณยุคศตวรรษที่ 10 ซึ่งเป็นฉากสำคัญที่ตัวละครสำคัญของเรื่อง แวะเวียนมาพบกัน และมีเหตุให้ถกเถียงกันถึงคดีฆาตกรรมซามูไรคนหนึ่งที่ถูกฆ่าตายปริศนาในพุ่มไม้แห่งหนึ่งและยังหาตัวคนผิดไม่ได้ ภาพยนตร์เขียนและกำกับให้ตัวละครเอกสี่ตัวคือ โจรร้าย วิญญาณซามูไรในร่างทรง ภรรยาซามูไร และชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ออกมาเล่าความจริงที่เกิดขึ้นกับซามูไรก่อนตาย และบอกว่าใครคือฆาตกร อันทำให้ผู้ดูได้รับความจริงประการหนึ่งว่า “พฤติกรรมเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น” มีมาตั้งแต่สมัยราโชมอน (หรืออาจจะก่อนหน้านั้น) คำให้การจริงเป็นเท็จ เท็จเป็นจริง ท้าทายให้คนดูหาข้อพิสูจน์ แต่ภาพยนตร์ก็จบลงแบบไม่เฉลยปริศนา เปิดปมให้คนดูตัดสินเอาจากข้อมูลที่ได้รับ
แต่สำหรับเหตุการณ์ 7 ตุลาฯ ทมิฬ คงไม่อาจจบแบบราโชมอนได้อย่างแน่นอน เพราะแม้ว่าจะมีความพยายามดิ้น ปฏิเสธ และแสร้งทำความจำเสื่อมของบรรดาผู้ถูกกล่าวหา แต่อย่าลืมว่า นี่มันยุคศตวรรษที่ 21 แล้วพี่! โลกมันไปไกลถึงไหนแล้ว หลักฐานด้วยตามนุษย์แพ้หลักฐานที่ถูกบันทึกด้วยดวงตาของเทคโนโลยี ทุกการประชุมย่อมมีการบันทึก “คำสั่งฆ่า” และทุกเสียงยิงจากปากกระบอกปืน ย่อมบันทึกใบหน้าของ “ผู้จงใจเข่นฆ่าประชาชน”
ทุกคำให้การของผู้ถูกกล่าวหาที่ให้กับคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนชุดของท่านสุรสีห์ โกศลนาวิน ในลักษณะเอาตัวรอด และโยนบาปให้คนอื่นต่างกลายเป็นหลักฐานพวกเขากันเองอย่างเหนียวแน่น ไม่แตกต่างจากหลักการของทฤษฎีเกม “Game Theory” รายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนที่ได้ส่งให้ ป.ป.ช.ทั้ง 117 หน้า จากผู้มาให้ถ้อยคำ 91 คน จาก 7 กลุ่ม อันได้แก่ฝ่ายการเมือง สื่อมวลชน ผู้ร่วมชุมนุมและประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บ กลุ่มแกนนำและการ์ดพันธมิตรฯ กลุ่มเจ้าหน้าที่การแพทย์ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชและนิติวิทยาศาสตร์ และกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีหลายตอนที่น่าสนใจ เช่น
จากการสอบปากคำฝ่ายการเมือง นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ก็โบ้ยความผิดให้กับพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกฯ ขณะนั้น โดยระบุว่า ..ภายหลัง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อาสาจะเข้าไปดูแลเรื่องการชุมนุม โดย พล.อ.ชวลิตได้แจ้งว่าคุยกับฝ่ายตำรวจเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะกำกับดูแลและบัญชาการเจ้าหน้าที่ตำรวจเอง ขอให้ตำรวจที่รอชี้แจงกับไปทำหน้าที่ดูแลสถานการณ์ นายสมชาย จึงไม่ได้พูดคุยหรือสั่งการเจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจแต่อย่างใด และไม่ทราบว่า พล.อ.ชวลิต ได้สั่งการอย่างไรไปบ้าง..ขณะที่พล.อ.ชวลิต ให้ถ้อยคำต่อคณะอนุกรรมาธิการฯ วุฒิสภาว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งให้ พล.อ.ชวลิต รับผิดชอบ ซึ่ง พล.อ.ชวลิต ก็มิได้ว่าอะไรในตอนนั้น ก็ให้ไปดูแลอารักขาไม่ให้รัฐสภาถูกเผา แล้วก็ให้มีการผลักดันออกไปให้มีการประชุมให้ได้ในวันรุ่งขึ้น จากนั้น พล.อ.ชวลิต ได้ไปที่ บช.น. มีผู้ติดตามหลายคน เมื่อเดินทางไปถึงก็ประชุม พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. ก็อยู่ด้วย
ส่วนบันทึกถ้อยคำของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.เล่าว่า มีการประชุมร่วมกับฝ่ายการเมือง ตั้งแต่คืนวันที่ 6 ต.ค.2551 เวลาประมาณ 23.00 น. พร้อมทั้งระบุชื่อนักการเมืองที่เข้าร่วมประชุมทุกคน ไล่ตั้งแต่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีมหาดไทย นายวราวุธ ศิลปอาชา บุตรชายของนายบรรหาร ศิลปอาชา และบุคคลอื่นๆ ที่ผู้ให้ถ้อยคำจำไม่ได้ทั้งหมด โดยอ้างว่า มีมติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่าจะต้องประชุมสภาในวันที่ 7 ตุลาคมให้ได้ โดยตนจะนำเอกสารคำสั่งการมอบหมายภารกิจการชุมนุมที่มีการลงนามของ ผู้มีอำนาจระดับบน 2 คน ไปยื่นให้ ป.ป.ช.ในการแก้ข้อกล่าวหา นอกจากนี้ นายตำรวจบางท่านกล่าวระหว่างการให้ถ้อยคำต่อกรรมการสิทธิมนุษยชน เพื่อมัดตัวรัฐมนตรีนายหนึ่งที่กล่าวในที่ประชุมกองบัญชาการตำรวจนครบาลว่า “ทำเถอะน้อง (สลายการชุมนุม) รักษาศักดิ์ศรีของเราแล้วพี่จะรับผิดชอบเอง” แล้ววันรุ่งขึ้นพี่ก็รับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งซะงั้น...
นี่น่าจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลักฐาน ที่จะใช้มัดตัวผู้บงการสั่งฆ่าประชาชน...
ในบันทึกยังอ้างถึงถ้อยคำของกลุ่มผู้ร่วมชุมนุมและประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บ โดยได้ให้ถ้อยคำตรงกันว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้กระหน่ำยิงแก๊สน้ำตาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับตำรวจได้ถือเครื่องขยายเสียงพูดขึ้นว่า “มันอยู่ได้ ให้มันอยู่ไป ยิงเข้าไปๆ เดินเข้าไป ลุยเข้าไป” โดยพูดซ้ำแล้วซ้ำอีก พร้อมกับมีเสียงระเบิดดังอยู่ตลอดเวลา ซึ่งประชาชนให้ถ้อยคำว่า ขณะนั้นได้พูดว่า “ยอมแพ้แล้วๆ ไม่มีอาวุธ” แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจคนเดิมที่ถือเครื่องขยายเสียงพูดขึ้นว่า “นายตำรวจ คุณมีหน้าที่เคลียร์ถนน ปล่อยทุกอย่าง วางทุกอย่าง และเคลียร์ถนน” พร้อมย้ำ “นายตำรวจ คุณมีหน้าที่เคลียร์ถนน อยากลองกับผมหรือ”
กับการให้ถ้อยคำของผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมบริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลและบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า จำนวนหลายรายให้ที่ระบุว่า เห็นตำรวจที่อยู่บนอาคาร ต้นไม้ และกำแพงด้านในกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยยิงเข้าใส่ประชาชนที่เดินผ่านถนนศรีอยุธยาด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลเพื่อไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า และที่เดินผ่านถนนราชดำเนินด้านข้างกองบัญชาการ ตำรวจนครบาลทั้งที่มุ่งหน้าไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า และระหว่างการเดินกลับไปยังสะพานมัฆวานฯ รวมทั้งประชาชนที่ยืนจับกลุ่มพูดคุยกันอยู่บนถนนดังกล่าว
และนี่น่าจะเป็นหลักฐานชัดเจน เมื่อนำไปบวกกับภาพและเสียงที่ถูกถ่ายทอดผ่านสถานีโทรทัศน์ ASTV ในวันเกิดเหตุ 7 ตุลาฯ เป็นหลักฐานมัดคอ ฆาตกรที่จงใจฆ่าประชาชน…
ส่วนกรณี ของ พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. ที่ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนในลักษณะบิดเบือนข้อเท็จจริงว่าผู้ชุมนุมที่ขาขาด เป็นเพราะระเบิดปิงปองของตัวเอง หรือเป็นเพราะเดินสะดุดรั้วลวดหนามบ้าง แต่ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ไม่มีอาวุธดังกล่าวแน่นอน ทำให้กรรมการสิทธิฯ ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการให้ข้อมูลต่อสาธารณชนในลักษณะบิดเบือนข้อเท็จจริง ก่อให้เกิดการเข้าใจผิด อาจเข้าข่ายเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กระทำด้วยประการใดๆ เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจที่กระทำผิดมิให้ต้องรับโทษทางอาญา และเพื่อเป็นการกลั่นแกล้งบุคคลใดให้ได้รับโทษทางอาญา
ซึ่งแม้ ป.ป.ช.จะระบุว่า พล.ต.ต. อำนวย มีหลักฐานเป็นใบลาราชการ เพื่อไปร่วมงานศพบิดาที่ต่างจังหวัด แต่ก็คงจะก่อให้เกิดข้อสงสัยว่า ตามหลักความเป็นจริง ถ้า พล.ต.ต.อำนวย ไม่อยู่กรุงเทพฯ ในวันเกิดเหตุ แล้วไฉน ท่านจึงเสนอตัวออกมาให้สัมภาษณ์สื่อ ราวกับเห็นด้วยตาว่า ผู้ชุมนุมขาขาดหรือตายเพราะระเบิดของตัวเอง