ASTVผู้จัดการรายวัน – ททท.ใช้ 50 ล้านบาท จากงบกลางปีฯ ผนึกบริษัทนำเที่ยว จัดโปรโมชั่นเที่ยวประเทศไทยช่วงโลว์ซีซั่น ยอมรับงานITBปีนี้ สินค้าท่องเที่ยวถูกกดราคา ระบุเป็นปีแรกที่เอกชนต้องลดราคาสินค้าลง 10-30% สะท้อนตลาดเป็นของผู้ซื้อตอกย้ำสงครามราคาก่อตัว คุยตัวเลข สพท.ระบุปี 51 นักท่องเที่ยวมาไทย 14.5 ล้านคน โต 0.5%
นางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า ททท.ได้จัดทำโครงการ “พาร์ทเนอร์ ออน ดีมานด์” เพื่อกระตุ้นท่องเที่ยวในตลาดต่างประเทศช่วงโลว์ซีซั่น โดยใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท ซึ่งมาจากวงเงิน 1,000 ล้านบาท ที่ททท.ได้รับจัดสรรมาจากงบกลางปีกระตุ้นเศรษฐกิจฉุกเฉิน โดยหลักการโครงการนี้ ททท.จะให้เงินช่วยเหลือแก่บริษัทนำเที่ยวที่ทำโฆษณาประชาสัมพันธ์โปรโมทประเทศไทย และเสนอขายแพกเกจทัวร์เดินทางมาประเทศไทยด้วยเที่ยวบินเช่าเหมาลำ(ชาร์เตอร์ไฟล์ท)ตั้งแต่เดือนนี้ไปถึงกันยายน2552
โดยล่าสุดได้เซ็นสัญญาให้การสนับสนุนโครงการนี้แก่ บริษัท ทุย นอร์ดิก ซึ่งเป็นบริษัทนำเที่ยวรายใหญ่ในยุโรป เป็นเงิน 7 ล้านบาท คิดเป็น 40% จากงบที่ทุยฯจะใช้โปรโมทประเทศไทยทั้งสิ้น 20 ล้านบาท เพื่อนำเสนอขายแพเกกจทัวร์ท่องเที่ยวประเทศไทยช่วงโลว์ซีซั่นปีนี้ นอกจากนั้นยังอยู่ระหว่างการเจรจากับอีกหลายๆบริษัท โดยโครงนี้ ททท.เปิดกว้างแก่บริษัททัวร์ทุกประเทศที่สนใจ ซึ่งททท.จะให้เงินสนับสนุนบริษัทละไม่เกิน 50% ของงบที่จะใช้โปรโมทประเทศไทยที่บริษัททัวร์นั้นๆต้องใช้จ่าย
“การที่ททท.ให้เงินสนับสนุนก็เพื่อสร้างแรงจูงใจให้บริษัทนำเที่ยวทำโปรโมชั่นโปรโมทประเทศไทย ทั้งด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และ การขายแพกเกจทัวร์ราคาพิเศษ โดยทุกบริษัทที่ได้รับเงินจากททท.ไปจะต้องมีสัญญาต่อกันว่าจะนำนักท่องเที่ยวเข้ามาได้เท่าใด เป็นการการันตี สำหรับ ทุย นอร์ดิก ได้สัญญาว่าจะนำนักท่องเที่ยวเข้ามาไม่น้อยกว่า 1.6 หมื่นคน สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 852 ล้านบาท จากจำนวนวันพักเฉลี่ย 14 วัน”
ทั้งนี้ จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยที่ทำให้ตลาดระยะใกล้ย่านเอเชียยังไม่กล้าที่จะเดินทางเข้ามาประเทศไทยมากนัก ทำให้ ททท.ต้องทำตลาดแบบเปิดกว้าง เพื่อดึงนักท่องเที่ยวจากทุกประเทศเข้ามาไทยให้ได้มากที่สุด ภายใต้สะโลแกน อะเมซิ่งไทยแลนด์ อะเมซิ่งแวลู นำเสนอให้ตลาดระยะไกลแถบยุโรปเห็นได้ว่ามาเที่ยวประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายไม่ต่างกับเที่ยวในยุโรป
นางพรศิริ กล่าวว่า ในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 50 ของการจัดตั้งททท. จะจับมือกับการบินไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นในปีเดียวกันและจับมือกับโปรโมทประเทศไทยมาโดยตลอด ดังนั้นในโอกาสนี้จะจัดกิจกรรมใหญ่ส่งเสริมท่องเที่ยวไทย เช่น จัดเมกกะแฟมทริป เชิญสื่อและบริษัทนำเที่ยวมาสำรวจแหล่งท่องเที่ยว การให้อินเซน ทีฟเพื่อการดึงงานประชุมขนาดใหญ่เข้ามาจัดที่ประเทศไทย เป็นต้น อย่างไรก็ตามสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.)รายงานตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2551 ระบุมีจำนวน 14.5 ล้านคน เติบโต 0.5%
สำหรับการเข้าร่วมเปิดบูทในงาน ITB กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ประเทศไทยยังเป็นที่นิยม โดยมีบายเออร์เข้ามาเยี่ยมชม และเจรจาซื้อขายจำนวนมาก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปีแรกคือผู้ประกอบการต้องลดราคาขายลง 10-30% สะท้อนให้เห็นว่าตลาดเป็นของผู้ซื้อ และมีเรื่องของสงครามราคาเข้ามาเพื่อแย่งชิงนักท่องเที่ยว และยังสอดรับกับนโยบายของททท.ที่มุ่งขยายตลาดนักท่องเที่ยวระดับบน และ นีชมาร์เก็ต เพราะกลุ่มนี้ไม่เกี่ยงเรื่องราคา เพราะไทยเป็นเดสติเนชั่นที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบอยู่แล้ว จากรายงานระบุว่า นักท่องเที่ยวกลุ่มเฮลทัวริสซึ่ม ปีที่ผ่านมามีส่วนแบ่ง 125 จากตลาดนักท่องเที่ยวรวม เติบโตต่อเนื่องจากอดีตมีสัดส่วนเพียง 4%
นางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า ททท.ได้จัดทำโครงการ “พาร์ทเนอร์ ออน ดีมานด์” เพื่อกระตุ้นท่องเที่ยวในตลาดต่างประเทศช่วงโลว์ซีซั่น โดยใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท ซึ่งมาจากวงเงิน 1,000 ล้านบาท ที่ททท.ได้รับจัดสรรมาจากงบกลางปีกระตุ้นเศรษฐกิจฉุกเฉิน โดยหลักการโครงการนี้ ททท.จะให้เงินช่วยเหลือแก่บริษัทนำเที่ยวที่ทำโฆษณาประชาสัมพันธ์โปรโมทประเทศไทย และเสนอขายแพกเกจทัวร์เดินทางมาประเทศไทยด้วยเที่ยวบินเช่าเหมาลำ(ชาร์เตอร์ไฟล์ท)ตั้งแต่เดือนนี้ไปถึงกันยายน2552
โดยล่าสุดได้เซ็นสัญญาให้การสนับสนุนโครงการนี้แก่ บริษัท ทุย นอร์ดิก ซึ่งเป็นบริษัทนำเที่ยวรายใหญ่ในยุโรป เป็นเงิน 7 ล้านบาท คิดเป็น 40% จากงบที่ทุยฯจะใช้โปรโมทประเทศไทยทั้งสิ้น 20 ล้านบาท เพื่อนำเสนอขายแพเกกจทัวร์ท่องเที่ยวประเทศไทยช่วงโลว์ซีซั่นปีนี้ นอกจากนั้นยังอยู่ระหว่างการเจรจากับอีกหลายๆบริษัท โดยโครงนี้ ททท.เปิดกว้างแก่บริษัททัวร์ทุกประเทศที่สนใจ ซึ่งททท.จะให้เงินสนับสนุนบริษัทละไม่เกิน 50% ของงบที่จะใช้โปรโมทประเทศไทยที่บริษัททัวร์นั้นๆต้องใช้จ่าย
“การที่ททท.ให้เงินสนับสนุนก็เพื่อสร้างแรงจูงใจให้บริษัทนำเที่ยวทำโปรโมชั่นโปรโมทประเทศไทย ทั้งด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และ การขายแพกเกจทัวร์ราคาพิเศษ โดยทุกบริษัทที่ได้รับเงินจากททท.ไปจะต้องมีสัญญาต่อกันว่าจะนำนักท่องเที่ยวเข้ามาได้เท่าใด เป็นการการันตี สำหรับ ทุย นอร์ดิก ได้สัญญาว่าจะนำนักท่องเที่ยวเข้ามาไม่น้อยกว่า 1.6 หมื่นคน สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 852 ล้านบาท จากจำนวนวันพักเฉลี่ย 14 วัน”
ทั้งนี้ จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยที่ทำให้ตลาดระยะใกล้ย่านเอเชียยังไม่กล้าที่จะเดินทางเข้ามาประเทศไทยมากนัก ทำให้ ททท.ต้องทำตลาดแบบเปิดกว้าง เพื่อดึงนักท่องเที่ยวจากทุกประเทศเข้ามาไทยให้ได้มากที่สุด ภายใต้สะโลแกน อะเมซิ่งไทยแลนด์ อะเมซิ่งแวลู นำเสนอให้ตลาดระยะไกลแถบยุโรปเห็นได้ว่ามาเที่ยวประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายไม่ต่างกับเที่ยวในยุโรป
นางพรศิริ กล่าวว่า ในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 50 ของการจัดตั้งททท. จะจับมือกับการบินไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นในปีเดียวกันและจับมือกับโปรโมทประเทศไทยมาโดยตลอด ดังนั้นในโอกาสนี้จะจัดกิจกรรมใหญ่ส่งเสริมท่องเที่ยวไทย เช่น จัดเมกกะแฟมทริป เชิญสื่อและบริษัทนำเที่ยวมาสำรวจแหล่งท่องเที่ยว การให้อินเซน ทีฟเพื่อการดึงงานประชุมขนาดใหญ่เข้ามาจัดที่ประเทศไทย เป็นต้น อย่างไรก็ตามสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.)รายงานตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2551 ระบุมีจำนวน 14.5 ล้านคน เติบโต 0.5%
สำหรับการเข้าร่วมเปิดบูทในงาน ITB กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ประเทศไทยยังเป็นที่นิยม โดยมีบายเออร์เข้ามาเยี่ยมชม และเจรจาซื้อขายจำนวนมาก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปีแรกคือผู้ประกอบการต้องลดราคาขายลง 10-30% สะท้อนให้เห็นว่าตลาดเป็นของผู้ซื้อ และมีเรื่องของสงครามราคาเข้ามาเพื่อแย่งชิงนักท่องเที่ยว และยังสอดรับกับนโยบายของททท.ที่มุ่งขยายตลาดนักท่องเที่ยวระดับบน และ นีชมาร์เก็ต เพราะกลุ่มนี้ไม่เกี่ยงเรื่องราคา เพราะไทยเป็นเดสติเนชั่นที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบอยู่แล้ว จากรายงานระบุว่า นักท่องเที่ยวกลุ่มเฮลทัวริสซึ่ม ปีที่ผ่านมามีส่วนแบ่ง 125 จากตลาดนักท่องเที่ยวรวม เติบโตต่อเนื่องจากอดีตมีสัดส่วนเพียง 4%