ASTVผู้จัดการรายวัน - เกินคาดหลังสภาพคล่องล้นแต่แบงก์ไม่ยอมปล่อยกู้ เผย 8 แบงก์แห่ชิงปล่อยกู้รัฐวิสาหกิจดอกเบี้ย 2% เสนอวงเงินสูงถึง 8 แสนล้าน คลังต้องคัดเหลือ 5-6 แห่ง 19 มี.ค.นี้
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยว่า หลังจากที่สบน.ได้ออกหนังสือเชิญชวนให้สถาบันการเงินทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมเสนอเงินกู้เสริมสภาพคล่องระยะสั้นให้รัฐวิสาหกิจในวงเงิน 2 แสนล้านบาทตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติกรอบวงเงินดังงกล่าวไว้แล้วนั้น ปรากฎว่ามีสถาบันการเงินจำนวน 8 แห่งให้ความสนใจเสนอวงเงินพร้อมปล่อยกู้และอัตราดอกเบี้ยเข้ามารวมกันสูงถึง 8 แสนล้านบาท โดยวันที่19 มีนาคมนี้จะคัดเลือกให้เหลือเพียง 5-6 แห่งที่เสนออัตราดอกเบี้ยต่ำสุดเท่านั้น
สำหรับสถาบันการเงิน 8 แห่งที่สนใจเข้าร่วมโครงการประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) SCIB ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) โดยครั้งนี้ไม่มีธนาคารออมสินเข้าร่วมด้วย
“เพียงแค่ 8 รายเที่เสนอตัวเข้ามาก็มีวงเงินเกินกว่าที่รัฐวิสาหกิจต้องการแล้ว โดยจากที่ดูข้อเสนอด้านอัตราดอกเบี้ยแล้วถือว่าเป็นระดับที่กระทรวงการคลังยอมรับได้ โดยเฉลี่ยที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งเสนอเข้ามาจะอยู่ที่ 2% กว่าใกล้เคียงกับที่รัฐบาลระดมเงินเองจากตลาดซึ่งธนาคารแต่ละแห่งจะเสนอมาทั้งส่วนที่ให้กู้โดยกระทรวงการคลังค้ำประกันให้ และไม่ค้ำประกันให้รัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะมีอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกันออกไปตามความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น” นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว
หากได้ข้อสรุปในการเลือกสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการก็จะจัดทำเงื่อนไขการกู้เงินให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันเพื่อนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป คาดว่าจะทันสัปดาห์หน้า จากนั้นก็สามารถเซ็นเอ็มโอยูได้ทันที โดยคาดว่าภายในเดือนเม.ย.นี้น่าจะเริ่มทยอยกู้เงินให้รัฐวิสาหกิจได้ ซึ่งจากจำนวน 13 แห่งนั้นหากรายใดมีความต้องการใช้เงินก็สามารถเสนอเรื่องมาให้กระทรวงการคลังดำเนินการให้ รัฐวิสาหกิจรายที่กระทรวงการคลังต้องค้ำประกันให้ส่วนใหญ่จะมีฐานะทางการเงินไม่สู้ดีนักและเครดิตในการกู้เองจะมีต้นทุนสูง เช่น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เป็นต้น ส่วนรัฐวิสาหกิจที่มีเครดิตดีอยู่แล้วส่วนใหญ่กระทรวงการคลังก็จะไม่ค้ำประกันให้ เช่น บมจ.ปตท.PTT และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เป็นต้น ส่วน บมจ.การบินไทย THAI นั้นยังไม่อยู่ในแผนกู้เงิน 2 แสนล้านบาทนี้ เนื่องจากการบินไทยมีเครดิตที่ดีและสามารถกู้เงินได้เองอยู่แล้ว
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน กล่าวว่าที่ไม่เข้าร่วมเสนอเงินกู้ให้รัฐวิสาหกิจ เนื่องจากหลังฟังข้อเสนอแล้วเห็นว่าเงื่อนไขการกู้ยืม ระยะเวลาการชำระคืนไม่ค่อยชัดเจนและหากให้กู้โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันให้ก็เกรงว่าจะมีความเสี่ยงกับธนาคาร
มาร์กสั่งสภาพัฒน์ระวังให้กู้เพื่อนบ้าน
รายงานข่าวแจ้งว่า นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ สภาพัฒน์ไปดำเนินการทบทวนทางด้านการเงินเพื่ช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน โดยเกรงว่า จะมีปัญหาเดียวกับสมัยรัฐบาลที่ผ่านมา เช่น การปล่อยเงินกู้ของเอ๊กซิมแบงค์ ให้รัฐบาลพม่า หรือการปล่อยเงินกู้เพื่อสร้างถนนไปยังประเทศกัมพูชา เป็นต้น สาระสำคัญ คือ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน (GMS, ACMECS, IMT-GT, BIMSTEC) ให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อมโยงเศรษฐกิจและสังคมและสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และความสมานฉันท์ แบ่งยุทธศาสตร์เป็น 3 ระดับ คือ ระดับนโยบาย ความร่วมมือรายสาขา และสนับสนุนการขับเคลื่อน
โดยมีข้อเสนอแนวทางการดำเนินงาน ที่สำคัญคือ (1) การให้กลไกการทำงานของคณะกรรมการ กพบ. มีความถาวรในการดำเนินงานมากขึ้น (2) การเร่งรัดแผนงานและโครงการสำคัญในปี 2552 (3) การเพิ่มบทบาทการดำเนินงานความร่วมมือของผู้ว่าราชการจังหวัด (4) ควรมีการทบทวนกลไกความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในส่วนของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งต้องบูรณาการกันมากขึ้นระหว่าง สศช. สพร. และ สพพ. และ (5) ควรมีการประสานยุทธศาสตร์ตามกรอบความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านกับยุทธศาสตร์ที่สำคัญในระดับประเทศ
ขณะที่การเร่งรัดการดำเนินงานตามความตกลงการขนส่งข้ามพรมแดนใน GMS ที่ประชุมมีมติเห็นชอบพร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งในส่วนของไทยยังติดขัดอยู่หลายจุด ได้แก่ (1) ด่านพรมแดนนำร่อง มีเพียง 2 จุดที่เจรจาแล้วเสร็จ คือ ด่านมุกดาหาร และด่านอรัญประเทศ แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย ต้องเร่งก่อสร้างพื้นที่ตรวจร่วมและใช้ระบบ ICT ในส่วนประเทศเพื่อนบ้าน
(2) สถานะการให้สัตยาบันภาคผนวกและพิธีสารแนบท้ายความตกลง CBTA จำนวน 20 ฉบับ ภายในปี 2553 ประเทศ GMS ส่วนใหญ่ให้สัตยาบันครบแล้ว ในส่วนของไทยให้สัตยาบันแล้ว 11 ฉบับ เหลือ 9 ฉบับ ยังไม่สามารถให้สัตยาบันได้ และ (3) การแลกเปลี่ยนสิทธิจราจรไทย-ลาว-เวียดนาม ตามแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) ซึ่งเจรจาแล้วเสร็จและกำหนดให้มีพิธีฉลองความสำเร็จในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรี GMS ครั้งที่ 15 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพ ในวันที่ 19 มิถุนายน 2552 ซึ่งไทย-ลาว-เวียดนามและสิทธิรถยนต์กันฝ่ายละ 400 คัน แต่ยังต้องแก้ปัญหาเรื่องการขนส่งข้ามแดน.
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยว่า หลังจากที่สบน.ได้ออกหนังสือเชิญชวนให้สถาบันการเงินทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมเสนอเงินกู้เสริมสภาพคล่องระยะสั้นให้รัฐวิสาหกิจในวงเงิน 2 แสนล้านบาทตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติกรอบวงเงินดังงกล่าวไว้แล้วนั้น ปรากฎว่ามีสถาบันการเงินจำนวน 8 แห่งให้ความสนใจเสนอวงเงินพร้อมปล่อยกู้และอัตราดอกเบี้ยเข้ามารวมกันสูงถึง 8 แสนล้านบาท โดยวันที่19 มีนาคมนี้จะคัดเลือกให้เหลือเพียง 5-6 แห่งที่เสนออัตราดอกเบี้ยต่ำสุดเท่านั้น
สำหรับสถาบันการเงิน 8 แห่งที่สนใจเข้าร่วมโครงการประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) SCIB ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) โดยครั้งนี้ไม่มีธนาคารออมสินเข้าร่วมด้วย
“เพียงแค่ 8 รายเที่เสนอตัวเข้ามาก็มีวงเงินเกินกว่าที่รัฐวิสาหกิจต้องการแล้ว โดยจากที่ดูข้อเสนอด้านอัตราดอกเบี้ยแล้วถือว่าเป็นระดับที่กระทรวงการคลังยอมรับได้ โดยเฉลี่ยที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งเสนอเข้ามาจะอยู่ที่ 2% กว่าใกล้เคียงกับที่รัฐบาลระดมเงินเองจากตลาดซึ่งธนาคารแต่ละแห่งจะเสนอมาทั้งส่วนที่ให้กู้โดยกระทรวงการคลังค้ำประกันให้ และไม่ค้ำประกันให้รัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะมีอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกันออกไปตามความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น” นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว
หากได้ข้อสรุปในการเลือกสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการก็จะจัดทำเงื่อนไขการกู้เงินให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันเพื่อนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป คาดว่าจะทันสัปดาห์หน้า จากนั้นก็สามารถเซ็นเอ็มโอยูได้ทันที โดยคาดว่าภายในเดือนเม.ย.นี้น่าจะเริ่มทยอยกู้เงินให้รัฐวิสาหกิจได้ ซึ่งจากจำนวน 13 แห่งนั้นหากรายใดมีความต้องการใช้เงินก็สามารถเสนอเรื่องมาให้กระทรวงการคลังดำเนินการให้ รัฐวิสาหกิจรายที่กระทรวงการคลังต้องค้ำประกันให้ส่วนใหญ่จะมีฐานะทางการเงินไม่สู้ดีนักและเครดิตในการกู้เองจะมีต้นทุนสูง เช่น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เป็นต้น ส่วนรัฐวิสาหกิจที่มีเครดิตดีอยู่แล้วส่วนใหญ่กระทรวงการคลังก็จะไม่ค้ำประกันให้ เช่น บมจ.ปตท.PTT และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เป็นต้น ส่วน บมจ.การบินไทย THAI นั้นยังไม่อยู่ในแผนกู้เงิน 2 แสนล้านบาทนี้ เนื่องจากการบินไทยมีเครดิตที่ดีและสามารถกู้เงินได้เองอยู่แล้ว
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน กล่าวว่าที่ไม่เข้าร่วมเสนอเงินกู้ให้รัฐวิสาหกิจ เนื่องจากหลังฟังข้อเสนอแล้วเห็นว่าเงื่อนไขการกู้ยืม ระยะเวลาการชำระคืนไม่ค่อยชัดเจนและหากให้กู้โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันให้ก็เกรงว่าจะมีความเสี่ยงกับธนาคาร
มาร์กสั่งสภาพัฒน์ระวังให้กู้เพื่อนบ้าน
รายงานข่าวแจ้งว่า นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ สภาพัฒน์ไปดำเนินการทบทวนทางด้านการเงินเพื่ช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน โดยเกรงว่า จะมีปัญหาเดียวกับสมัยรัฐบาลที่ผ่านมา เช่น การปล่อยเงินกู้ของเอ๊กซิมแบงค์ ให้รัฐบาลพม่า หรือการปล่อยเงินกู้เพื่อสร้างถนนไปยังประเทศกัมพูชา เป็นต้น สาระสำคัญ คือ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน (GMS, ACMECS, IMT-GT, BIMSTEC) ให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อมโยงเศรษฐกิจและสังคมและสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และความสมานฉันท์ แบ่งยุทธศาสตร์เป็น 3 ระดับ คือ ระดับนโยบาย ความร่วมมือรายสาขา และสนับสนุนการขับเคลื่อน
โดยมีข้อเสนอแนวทางการดำเนินงาน ที่สำคัญคือ (1) การให้กลไกการทำงานของคณะกรรมการ กพบ. มีความถาวรในการดำเนินงานมากขึ้น (2) การเร่งรัดแผนงานและโครงการสำคัญในปี 2552 (3) การเพิ่มบทบาทการดำเนินงานความร่วมมือของผู้ว่าราชการจังหวัด (4) ควรมีการทบทวนกลไกความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในส่วนของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งต้องบูรณาการกันมากขึ้นระหว่าง สศช. สพร. และ สพพ. และ (5) ควรมีการประสานยุทธศาสตร์ตามกรอบความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านกับยุทธศาสตร์ที่สำคัญในระดับประเทศ
ขณะที่การเร่งรัดการดำเนินงานตามความตกลงการขนส่งข้ามพรมแดนใน GMS ที่ประชุมมีมติเห็นชอบพร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งในส่วนของไทยยังติดขัดอยู่หลายจุด ได้แก่ (1) ด่านพรมแดนนำร่อง มีเพียง 2 จุดที่เจรจาแล้วเสร็จ คือ ด่านมุกดาหาร และด่านอรัญประเทศ แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย ต้องเร่งก่อสร้างพื้นที่ตรวจร่วมและใช้ระบบ ICT ในส่วนประเทศเพื่อนบ้าน
(2) สถานะการให้สัตยาบันภาคผนวกและพิธีสารแนบท้ายความตกลง CBTA จำนวน 20 ฉบับ ภายในปี 2553 ประเทศ GMS ส่วนใหญ่ให้สัตยาบันครบแล้ว ในส่วนของไทยให้สัตยาบันแล้ว 11 ฉบับ เหลือ 9 ฉบับ ยังไม่สามารถให้สัตยาบันได้ และ (3) การแลกเปลี่ยนสิทธิจราจรไทย-ลาว-เวียดนาม ตามแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) ซึ่งเจรจาแล้วเสร็จและกำหนดให้มีพิธีฉลองความสำเร็จในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรี GMS ครั้งที่ 15 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพ ในวันที่ 19 มิถุนายน 2552 ซึ่งไทย-ลาว-เวียดนามและสิทธิรถยนต์กันฝ่ายละ 400 คัน แต่ยังต้องแก้ปัญหาเรื่องการขนส่งข้ามแดน.