ASTVผู้จัดการรายวัน-เอ็มเอฟซี วาดฝันตั้งกองทุนสภาพคล่องเชื่อมผู้ประกอบการกับนักลงทุน ช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว-อัตราดอกเบี้ยเงินฝากตกต่ำ ระบุเป็นการดีในการช่วยผยุงผู้ประกอบการให้พ้นวิกฤตและไม่ก่อให้เกิดหนี้เสียเพิ่มมากขึ้นได้ "ศุภกร"แง้มอาจได้เห็นเร็วๆ นี้หลังเริ่มมีความคืบหน้าจากการเจราจากับสถาบันการเงินภาครัฐบ้างแล้ว ด้าน"ณรงค์ชัย"ระบุจะเป็นการช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กได้ช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว พร้อมแนะตั้งวายุภักษ์ลงทุนเมกะโปรเจกต์ เชื่อช่วยลดภาระหนี้ให้กับภาครัฐได้อีกทางหนึ่ง
นายศุภกร สุนทรกิจ รองกรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)เอ็มเอฟซี จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้การเข้าถึงแหล่งเงินกู้ของผู้ประกอบการรายย่อยทำได้ลำบากมากขึ้น ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำแต่ธนาคารพาณิชย์เองมักไม่ต้องการปล่อยกู้ออกมามากนัก ซึ่งบริษัทมีความคิดที่จะจัดตั้งกองทุนรวมสภาพคล่องขึ้น เพื่อให้ผู้ฝากเงินและผู้กู้ได้เข้าถึงกันมากขึ้น โดยบริษัทจะเป็นตัวกลางในการจัดการเชื่อมความต้องการของทั้ง 2 ฝ่ายให้ถึงกัน
"กองทุนในรูปแบบนี้ถ้าทำได้จะเป็นการเชื่อมกลไกในตลาดทุนให้เป็นไปตามความต้องการมากขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เงิน และผู้ฝากเงินที่ได้ดอกเบี้ยต่ำในปัจจุบัน โดยบริษัทจะทำกองทุนนี้ให้เป็นเหมือนสะพานเชื่อมเข้าหากัน เพื่อเป็นการลดช่องว่างของการเข้าถึงเงินทุนของผู้ประกอบการบางกลุ่ม"นายศุภกรกล่าว
ทั้งนี้ การเพิ่มสภาพคล่องดังกล่าวอาจทำได้ 2 รูปแบบด้วยกัน คือการปล่อยกู้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องโดยตรง หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ โดยจะเข้าไปช่วยเหลือด้านเงินทุนและถือหุ้นร่วมด้วยในระยะสั้นๆ จนกว่าบริษัทที่ประสบปัญหาจะสามารถฟื้นสภาพกลับมาได้ แต่อย่างไรก็ตามยังติดกฎในการถือหุ้นบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ของกองทุนรวมที่สามารถทำได้ไม่เกิน 15% เท่านั้น
นายศุภกร กล่าวอีกว่า การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวขณะนี้มีการพูดคุยกับทางสถาบันการเงินของภาครัฐอย่าง เอสเอ็มอีแบงก์ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บางแล้วและทุกแห่งก็มีความเห็นในทิศทางเดียวกันคือ จะจัดตั้งกองทุนสำหรับเข้าไปช่วยผยุงธุรกิจที่ต้องการสภาพคล่องในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว และคาดว่าน่าจะสามารถทำได้หลังจากนี้ไม่นาน
อย่างไรก็ตาม กองทุนนี้จะไม่สามารถขายให้กับประชาชนทั่วไปได้ เนื่องจากมีเกณฑ์บังคับเอาไว้
"การเพิ่มสภาพคล่องนั้น ตอนนี้ถ้าเข้าไปช่วยกลุ่มท่องเที่ยว โรงแรม กองอสังหาได้ก็จะดี เพราะจะเป็นการเพิ่มยิลด์ให้กับนักลงทุนด้วย ซึ่งหลังจากนี้จะหวังดึงเม็ดเงินแต่จากต่างประเทศไม่ได้ ตอนนี้ต้องเอาในประเทศก่อน โดยเชื่อว่าตอนนี้ทั่วโลกยังมีสภาพคล่องแต่ นักลงทุนยังคงอยู่ในกลัว และเป็นปัญหาของเราว่าจะสร้างความเชื่อมั่นได้อย่างไร"นายศุภกรกล่าว
ทั้งนี้ นอกจากกองทุนสภาพคล่องแล้ว บริษัทยังมีแนวคิดที่จะจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือข้าราชการครูที่ต้องการสภาพคล่องอีก 1 กองทุนโดยขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการหารือกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาที่การ ซึ่งเบื้อต้นยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดนัก และคงต้องใช้เวลาอีกพอสมควรกว่าจะผ่านขั้นตอนการประชุมคณะรัฐมนตรี
ด้าน นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด(มหาช) กล่าวว่า การจัดตั้งกองทุนสภาพคล่องจะเป็นผลดีแก่ผู้ต้องการเงินทุน โดยบริษัทที่ขาดสภาพคล่องในช่วงที่เศรษฐกิจมีปัญหาแต่ไม่มีที่พึ่งเพราะแบงก์เองก็ไม่ต้องการปล่อยกู้เพิ่ม โดยทำให้บริษัทเหล่านี้ไม่สามารถประกอบธุรกิจได้ต่อจนต้องปิดการไป แต่หากมีกองทุนนี้ออกมาเชื่อว่าจะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถฟื้นหรือยืนในช่วงที่เศรษฐกิจมีปัญหาได้
"กองทุนรวมถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการดึงเม็ดเงินมา แต่การจัดตั้งกองทุนนี้ต้องดูเอ็มเอฟซีก่อน ซึ่งทางเอ็กซ์ซิมแบงก์ และแบงก์ของรัฐน่าจะลงทุนในกองทุนนี้ได้ ซึ่งเราจะต้องช่วยกันให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ฟื้นแล้วค่อยออกมา เนื่องจากจะเป็นกว่าที่จะปล่อยให้เกิด เอ็นพีแอลในระบบมากขึ้น"นายณรงค์ชัยกล่าว
ทั้งนี้ นอกจากกองทุนสภาพคล่องจะช่วยเหลือสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนแล้ว การจัดตั้งกองทุนยังสามารถช่วยภาครัฐได้อีกด้วย โดยจะเป็นการจัดตั้งในรูปแบบกองทุนวายุภักษ์ก็ได้ เพื่อนำเงินไปใช้ในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค ทั้ง รถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ หรือระบบชลประทานต่างๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตามกองทุนที่จัดตั้งคงจะมีขนาดไม่ใหญ่มากนักเนื่องจากหากจะมีสัดส่วนกำหนดไว้ และหากต้องการขยายเพดานมูลค่ากองทุนรวมเพิ่มจะต้องผ่านอีกหลายขั้นตอนทำให้เป็นเรื่องยุ่งยากเกินไปได้ แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่าอย่างน้อยการที่มีเอกชนรวมเป็นเจ้าของก็เท่ากับเป็นการลดภาระหนี้ของภาครัฐได้เช่นกัน
นายศุภกร สุนทรกิจ รองกรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)เอ็มเอฟซี จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้การเข้าถึงแหล่งเงินกู้ของผู้ประกอบการรายย่อยทำได้ลำบากมากขึ้น ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำแต่ธนาคารพาณิชย์เองมักไม่ต้องการปล่อยกู้ออกมามากนัก ซึ่งบริษัทมีความคิดที่จะจัดตั้งกองทุนรวมสภาพคล่องขึ้น เพื่อให้ผู้ฝากเงินและผู้กู้ได้เข้าถึงกันมากขึ้น โดยบริษัทจะเป็นตัวกลางในการจัดการเชื่อมความต้องการของทั้ง 2 ฝ่ายให้ถึงกัน
"กองทุนในรูปแบบนี้ถ้าทำได้จะเป็นการเชื่อมกลไกในตลาดทุนให้เป็นไปตามความต้องการมากขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เงิน และผู้ฝากเงินที่ได้ดอกเบี้ยต่ำในปัจจุบัน โดยบริษัทจะทำกองทุนนี้ให้เป็นเหมือนสะพานเชื่อมเข้าหากัน เพื่อเป็นการลดช่องว่างของการเข้าถึงเงินทุนของผู้ประกอบการบางกลุ่ม"นายศุภกรกล่าว
ทั้งนี้ การเพิ่มสภาพคล่องดังกล่าวอาจทำได้ 2 รูปแบบด้วยกัน คือการปล่อยกู้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องโดยตรง หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ โดยจะเข้าไปช่วยเหลือด้านเงินทุนและถือหุ้นร่วมด้วยในระยะสั้นๆ จนกว่าบริษัทที่ประสบปัญหาจะสามารถฟื้นสภาพกลับมาได้ แต่อย่างไรก็ตามยังติดกฎในการถือหุ้นบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ของกองทุนรวมที่สามารถทำได้ไม่เกิน 15% เท่านั้น
นายศุภกร กล่าวอีกว่า การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวขณะนี้มีการพูดคุยกับทางสถาบันการเงินของภาครัฐอย่าง เอสเอ็มอีแบงก์ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บางแล้วและทุกแห่งก็มีความเห็นในทิศทางเดียวกันคือ จะจัดตั้งกองทุนสำหรับเข้าไปช่วยผยุงธุรกิจที่ต้องการสภาพคล่องในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว และคาดว่าน่าจะสามารถทำได้หลังจากนี้ไม่นาน
อย่างไรก็ตาม กองทุนนี้จะไม่สามารถขายให้กับประชาชนทั่วไปได้ เนื่องจากมีเกณฑ์บังคับเอาไว้
"การเพิ่มสภาพคล่องนั้น ตอนนี้ถ้าเข้าไปช่วยกลุ่มท่องเที่ยว โรงแรม กองอสังหาได้ก็จะดี เพราะจะเป็นการเพิ่มยิลด์ให้กับนักลงทุนด้วย ซึ่งหลังจากนี้จะหวังดึงเม็ดเงินแต่จากต่างประเทศไม่ได้ ตอนนี้ต้องเอาในประเทศก่อน โดยเชื่อว่าตอนนี้ทั่วโลกยังมีสภาพคล่องแต่ นักลงทุนยังคงอยู่ในกลัว และเป็นปัญหาของเราว่าจะสร้างความเชื่อมั่นได้อย่างไร"นายศุภกรกล่าว
ทั้งนี้ นอกจากกองทุนสภาพคล่องแล้ว บริษัทยังมีแนวคิดที่จะจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือข้าราชการครูที่ต้องการสภาพคล่องอีก 1 กองทุนโดยขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการหารือกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาที่การ ซึ่งเบื้อต้นยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดนัก และคงต้องใช้เวลาอีกพอสมควรกว่าจะผ่านขั้นตอนการประชุมคณะรัฐมนตรี
ด้าน นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด(มหาช) กล่าวว่า การจัดตั้งกองทุนสภาพคล่องจะเป็นผลดีแก่ผู้ต้องการเงินทุน โดยบริษัทที่ขาดสภาพคล่องในช่วงที่เศรษฐกิจมีปัญหาแต่ไม่มีที่พึ่งเพราะแบงก์เองก็ไม่ต้องการปล่อยกู้เพิ่ม โดยทำให้บริษัทเหล่านี้ไม่สามารถประกอบธุรกิจได้ต่อจนต้องปิดการไป แต่หากมีกองทุนนี้ออกมาเชื่อว่าจะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถฟื้นหรือยืนในช่วงที่เศรษฐกิจมีปัญหาได้
"กองทุนรวมถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการดึงเม็ดเงินมา แต่การจัดตั้งกองทุนนี้ต้องดูเอ็มเอฟซีก่อน ซึ่งทางเอ็กซ์ซิมแบงก์ และแบงก์ของรัฐน่าจะลงทุนในกองทุนนี้ได้ ซึ่งเราจะต้องช่วยกันให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ฟื้นแล้วค่อยออกมา เนื่องจากจะเป็นกว่าที่จะปล่อยให้เกิด เอ็นพีแอลในระบบมากขึ้น"นายณรงค์ชัยกล่าว
ทั้งนี้ นอกจากกองทุนสภาพคล่องจะช่วยเหลือสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนแล้ว การจัดตั้งกองทุนยังสามารถช่วยภาครัฐได้อีกด้วย โดยจะเป็นการจัดตั้งในรูปแบบกองทุนวายุภักษ์ก็ได้ เพื่อนำเงินไปใช้ในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค ทั้ง รถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ หรือระบบชลประทานต่างๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตามกองทุนที่จัดตั้งคงจะมีขนาดไม่ใหญ่มากนักเนื่องจากหากจะมีสัดส่วนกำหนดไว้ และหากต้องการขยายเพดานมูลค่ากองทุนรวมเพิ่มจะต้องผ่านอีกหลายขั้นตอนทำให้เป็นเรื่องยุ่งยากเกินไปได้ แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่าอย่างน้อยการที่มีเอกชนรวมเป็นเจ้าของก็เท่ากับเป็นการลดภาระหนี้ของภาครัฐได้เช่นกัน