เอเอฟพี - องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ตัดสินใจคงเพดานการผลิตน้ำมันเอาไว้เท่าเดิมในการประชุมระดับรัฐมนตรีที่กรุงเวียนนาของออสเตรียในวันอาทิตย์ (15) โดยจะไปพิจารณาว่าจะปรับเปลี่ยนโควตาการผลิตหรือไม่กันอีกครั้งในวันที่ 28 พฤษภาคม เพื่อให้เวลากลุ่ม จี 20 อันประกอบด้วยประเทศร่ำรวยที่สุด
และประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ในแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจซบเซาทั่วโลก
ก่อนหน้านั้น คาดหมายกันว่า ทางโอเปกจะตัดลดกำลังการผลิตในการประชุมระดับรัฐมนตรีในครั้งนี้ เพื่อพยุงราคาน้ำมันที่ทรุดลงอย่างฮวบฮาบ ขณะที่บรรดาประเทศผู้บริโภคออกอาการเดือดเนื้อร้อนใจว่า ราคาน้ำมันที่ขยับ
สูงขึ้นอาจซ้ำเติมวิกฤติเศรษฐกิจ
ในที่สุดกลุ่มโอเปกก็ตัดสินใจถอยห่างจากการตัดลดโควตาการผลิตเพิ่มเติม โดยจะไปหารือเรื่องนี้ใหม่ในการประชุมวาระพิเศษ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 28 เดือนหน้า
"นี่คือการยืดขยายเวลาจนกว่าจะถึงเดือนเมษายน" ฮุซเซน อัลชาห์ริสตานี รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของอิรักบอก
กับผู้สื่อข่าว ภายหลังเข้าร่วมการประชุม
ขณะที่ชาคิบ เคลิล รัฐมนตรีพลังงานของแอลจีเรียบอกว่า นี่คือ "จุดยืนที่มีความรับผิดชอบ" ซึ่ง "จะให้โอกาสกลุ่มจี 20 ทำหน้าที่ของตนเองในการประชุมสุดยอดระดับผู้นำในวันที่ 2 ของเดือนหน้า หลังจากกลุ่มจี 20 ลงมติแล้ว เราจะตัดสินใจกันในวันที่ 28 พฤษภาคม"
ทั้งนี้ กลุ่มจี 20 อันประกอบด้วยประเทศร่ำรวยที่สุดและประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ มีกำหนดจะประชุมสุดยอดผู้นำช่วงต้นเดือนหน้าที่นครหลวงลอนดอนของอังกฤษ
อับดุลเลาะห์ อัล-บาดรี เลขาธิการองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมันกล่าวว่า ทางโอเปกยังสามารถลดปริมาณน้ำมันในในตลาดอย่างได้ผล ด้วยการสร้างความมั่นใจว่า ประเทศสมาชิกจะตัดลดการผลิตถึงขีดสุดตามที่กำหนดเมื่อปีก่อน
ขณะนี้ชาติสมาชิกโดยรวม ลดเพดานการผลิตตามที่ตกลงกันเพียง 80 เปอร์เซ็นต์ โดยหากเพิ่มการตัดลดการผลิตถึงขีดสุดตามโควตา จะทำให้น้ำมันในตลาดลดลงอีก 800,000 บาร์เลวต่อวัน อัล-บาดรีกล่าว
ก่อนหน้านั้นกลุ่มโอเปกเคยตัดลดกำลังการผลิตถึง 3 ครั้ง นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีก่อน เพื่อฉุดดึงราคาน้ำมัน
ที่ตกต่ำ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจขาลงทั่วโลก
ระหว่างการหารือเพื่อกำหนดโควตาการผลิตครั้งล่าสุดในเดือนธันวาคมปีก่อนที่ประเทศแอลจีเรีย กลุ่มโอเปกมีมติลดเพดานการผลิตลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2.2 ล้านบาร์เรล ส่งผลให้ยอดรวมการตัดลดการผลิตทั้งหมดจากการประชุม 3 ครั้ง อยู่ที่ 4.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ราฟาเอล รามิเรซ รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันและพลังงานของเวเนซุเอลาบอกว่า ปัญหาอยู่ที่ประเทศต่าง ๆ กักเก็บบน้ำมันในคลังสำรองมากจนเกินไป จนมีผลทำให้ราคาน้ำมันทรุดลง
"การตัดสินใจครั้งล่าสุดที่แอลจีเรีย คือการตัดลดการผลิตน้ำมันครั้งมโหฬาร และตอนนี้เรากำลังพยายามทำให้ได้ตามนั้น" ด้วยการเคร่งครัดในการตัดลดการผลิตถึงขีดสุดตามที่กำหนดเมื่อปีก่อน รามิเรซบอก
"ด้วยเหตุผลที่ว่ามา เรากำลังรอคอยจนถึงเดือนมีนาคม และภายหลังเดือนเมษายนแล้ว เราจะมีองค์ประกอบที่ดีขึ้นในการประเมินสภาพตลาด"
ในคำแถลงปิดการประชุมครั้งนี้ โอเปกย้ำว่า เศรษฐกิจโลก "อยู่ท่ามกลางภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษ" และนั้นย่อม "ส่งผลกระทบแบบเต็ม ๆ กับความต้องการใช้พลังงาน"
องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมันกล่าวว่า เศรษฐกิจโลกถูกคาดหมายว่าจะทรุดลง 0.2 เปอร์เซ็นต์ในปี 2009 และประเมินด้วยว่า ความต้องการใช้พลังงานของโลกจะลดลง 1 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ จนลงมาอยู่ในระดับ 84.6 ล้านบีพีดี
สำหรับราคาน้ำมันดิบในช่วงการซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์วันจันทร์ (16) เมื่อถึงเวลา 09.51 น.จีเอ็มที (16.51 น. เวลาเมืองไทย) น้ำมันชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนเมษายนลดลง 2.09 ดอลลาร์ อยู่ที่ 44.16 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนต์ของลอนดอน ลดลง 2.01 ดอลลาร์ เหลือ 42.92 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
และประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ในแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจซบเซาทั่วโลก
ก่อนหน้านั้น คาดหมายกันว่า ทางโอเปกจะตัดลดกำลังการผลิตในการประชุมระดับรัฐมนตรีในครั้งนี้ เพื่อพยุงราคาน้ำมันที่ทรุดลงอย่างฮวบฮาบ ขณะที่บรรดาประเทศผู้บริโภคออกอาการเดือดเนื้อร้อนใจว่า ราคาน้ำมันที่ขยับ
สูงขึ้นอาจซ้ำเติมวิกฤติเศรษฐกิจ
ในที่สุดกลุ่มโอเปกก็ตัดสินใจถอยห่างจากการตัดลดโควตาการผลิตเพิ่มเติม โดยจะไปหารือเรื่องนี้ใหม่ในการประชุมวาระพิเศษ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 28 เดือนหน้า
"นี่คือการยืดขยายเวลาจนกว่าจะถึงเดือนเมษายน" ฮุซเซน อัลชาห์ริสตานี รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของอิรักบอก
กับผู้สื่อข่าว ภายหลังเข้าร่วมการประชุม
ขณะที่ชาคิบ เคลิล รัฐมนตรีพลังงานของแอลจีเรียบอกว่า นี่คือ "จุดยืนที่มีความรับผิดชอบ" ซึ่ง "จะให้โอกาสกลุ่มจี 20 ทำหน้าที่ของตนเองในการประชุมสุดยอดระดับผู้นำในวันที่ 2 ของเดือนหน้า หลังจากกลุ่มจี 20 ลงมติแล้ว เราจะตัดสินใจกันในวันที่ 28 พฤษภาคม"
ทั้งนี้ กลุ่มจี 20 อันประกอบด้วยประเทศร่ำรวยที่สุดและประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ มีกำหนดจะประชุมสุดยอดผู้นำช่วงต้นเดือนหน้าที่นครหลวงลอนดอนของอังกฤษ
อับดุลเลาะห์ อัล-บาดรี เลขาธิการองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมันกล่าวว่า ทางโอเปกยังสามารถลดปริมาณน้ำมันในในตลาดอย่างได้ผล ด้วยการสร้างความมั่นใจว่า ประเทศสมาชิกจะตัดลดการผลิตถึงขีดสุดตามที่กำหนดเมื่อปีก่อน
ขณะนี้ชาติสมาชิกโดยรวม ลดเพดานการผลิตตามที่ตกลงกันเพียง 80 เปอร์เซ็นต์ โดยหากเพิ่มการตัดลดการผลิตถึงขีดสุดตามโควตา จะทำให้น้ำมันในตลาดลดลงอีก 800,000 บาร์เลวต่อวัน อัล-บาดรีกล่าว
ก่อนหน้านั้นกลุ่มโอเปกเคยตัดลดกำลังการผลิตถึง 3 ครั้ง นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีก่อน เพื่อฉุดดึงราคาน้ำมัน
ที่ตกต่ำ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจขาลงทั่วโลก
ระหว่างการหารือเพื่อกำหนดโควตาการผลิตครั้งล่าสุดในเดือนธันวาคมปีก่อนที่ประเทศแอลจีเรีย กลุ่มโอเปกมีมติลดเพดานการผลิตลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2.2 ล้านบาร์เรล ส่งผลให้ยอดรวมการตัดลดการผลิตทั้งหมดจากการประชุม 3 ครั้ง อยู่ที่ 4.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ราฟาเอล รามิเรซ รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันและพลังงานของเวเนซุเอลาบอกว่า ปัญหาอยู่ที่ประเทศต่าง ๆ กักเก็บบน้ำมันในคลังสำรองมากจนเกินไป จนมีผลทำให้ราคาน้ำมันทรุดลง
"การตัดสินใจครั้งล่าสุดที่แอลจีเรีย คือการตัดลดการผลิตน้ำมันครั้งมโหฬาร และตอนนี้เรากำลังพยายามทำให้ได้ตามนั้น" ด้วยการเคร่งครัดในการตัดลดการผลิตถึงขีดสุดตามที่กำหนดเมื่อปีก่อน รามิเรซบอก
"ด้วยเหตุผลที่ว่ามา เรากำลังรอคอยจนถึงเดือนมีนาคม และภายหลังเดือนเมษายนแล้ว เราจะมีองค์ประกอบที่ดีขึ้นในการประเมินสภาพตลาด"
ในคำแถลงปิดการประชุมครั้งนี้ โอเปกย้ำว่า เศรษฐกิจโลก "อยู่ท่ามกลางภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษ" และนั้นย่อม "ส่งผลกระทบแบบเต็ม ๆ กับความต้องการใช้พลังงาน"
องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมันกล่าวว่า เศรษฐกิจโลกถูกคาดหมายว่าจะทรุดลง 0.2 เปอร์เซ็นต์ในปี 2009 และประเมินด้วยว่า ความต้องการใช้พลังงานของโลกจะลดลง 1 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ จนลงมาอยู่ในระดับ 84.6 ล้านบีพีดี
สำหรับราคาน้ำมันดิบในช่วงการซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์วันจันทร์ (16) เมื่อถึงเวลา 09.51 น.จีเอ็มที (16.51 น. เวลาเมืองไทย) น้ำมันชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนเมษายนลดลง 2.09 ดอลลาร์ อยู่ที่ 44.16 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนต์ของลอนดอน ลดลง 2.01 ดอลลาร์ เหลือ 42.92 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล