รัฐบาลผสมซึ่งมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี ให้สถาบันพระปกเกล้าออกแบบการปฏิรูปการเมืองไทย และสถาบันพระปกเกล้าฯ ก็เลือกเอานายสุจิต บุญบงการ เป็นประธานในการที่จะออกแบบหรือแสวงหาแนวทางในการปฏิรูปการเมืองไทย
เรา ประเทศไทยได้ลงมือปฏิรูปการเมืองหลายครั้งหลายหนแล้ว นับตั้งแต่ปี 2535 คือหลังจากที่พล.อ.สุจินดา คราประยูร กับพวกยึดอำนาจในเดือนกุมภาพันธ์ 2534 ล้มรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
ที่ต้องพูดกันถึงการปฏิรูปการเมืองในขณะนั้น ก็เพราะแม้เราจะมีสภาผู้แทนราษฎรกันมาอย่างต่อเนื่อง หลังรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ประชาชนทั้งหลายทั้งปวงเริ่มมองเห็นว่า ประชาธิปไตยภายใต้รูปแบบการเลือกตั้ง พรรคการเมืองที่รวมกันมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร จัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ ก็เป็นการเพียงพอกับคำว่า ประชาธิปไตยแล้ว นั่นไม่น่าจะถูกต้อง
ประชาธิปไตยที่ประชาชนอยากเห็นก็คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในปัญหาบ้านเมือง ในปัญหาสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของประชาชน เป็นต้นว่า จะสร้างถนนหนทาง สร้างเขื่อน นิคมอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า บ่อขยะ ฯลฯ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจในเรื่องเหล่านี้ จะต้องมีส่วนในการตัดสินใจด้วย
และที่สำคัญยิ่งก็คือ เรื่องการเมืองมิใช่เรื่องที่จะผูกขาด หรือรับผิดชอบเฉพาะคนส่วนน้อยส่วนหนึ่งที่ครองอำนาจกันมาอย่างต่อเนื่อง และสืบทอดกันไปอีกชั่วลูกหลานว่านเครือ เป็นธุรกิจการเมืองที่สร้างความมั่งคั่ง มั่นคงให้แก่แต่ละตระกูลในจังหวัดหรือเขตเลือกตั้งต่างๆ โดยที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมด้วยก็เฉพาะตอนที่เข้าคูหาหย่อนบัตรลงคะแนนเท่านั้นเอง
ประชาชนเริ่มให้ความสนใจ และเรียกร้องสิทธิมากกว่าการออกจากบ้านไปหย่อนบัตรลงคะแนนเท่านั้น นั่นก็คือ สิทธิที่จะตรวจสอบนักการเมืองว่า ดำเนินนโยบายไปตามที่ได้บอกกล่าวกับประชาชนในตอนที่มีการหาเสียงหรือไม่ นโยบายที่ว่านั้นก่อให้เกิดประโยชน์สุขกับประชาชน และประเทศชาติหรือไม่
และบริหารด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตแค่ไหน อย่างไร?
การยึดอำนาจของพล.อ.สุจินดา คราประยูร ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบนักการเมืองที่เป็นรัฐมนตรีขณะนั้นว่า มีหลายคนร่ำรวยผิดปกติ หลายต่อหลายคนที่มีทรัพย์สมบัติเป็นพันๆ ล้านบาท ไม่สามารถชี้แจงที่มาที่ไปของทรัพย์สินที่ตัว และครอบครัวถือครองอยู่ได้
นัยว่าจะต้องถูกยึดทรัพย์!
แต่เมื่อ รสช.ต้องการสืบทอดอำนาจต่อ จะต้องมีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ จะต้องอาศัยเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรในการจัดตั้งรัฐบาล ในที่สุดก็ต้องเปิดทางออกให้กับบรรดารัฐมนตรีที่ถูกยึดทรัพย์ไว้ในขณะนั้นได้ทรัพย์สินของพวกเขาคืนไป
แต่แม้จะไม่สามารถยึดทรัพย์สินของนักการเมืองได้ในขณะนั้น แต่สังคมก็เริ่มตระหนักแล้วว่า ไม่อาจจะไว้วางใจให้นักการเมืองบริหารประเทศได้อย่างง่ายๆ โดยที่ไม่มีการตรวจสอบอีกต่อไป
ด้วยเหตุนี้เอง คณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงได้มีอำนาจเพิ่มขึ้น องค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต หรือการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินจึงต้องเลือกเฟ้นหาคนที่ซื่อสัตย์ สุจริต จริงจังกับการทำงานเพิ่มขึ้น
รัฐธรรมนูญ 2540 จึงได้ออกแบบเป็นพิเศษ ให้มีองค์กรอิสระต่างๆ มีอำนาจในการตรวจสอบนักการเมืองมากขึ้น ศาลสถิตยุติธรรมก็เพิ่มแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขึ้นมา เพื่อที่จะเล่นงานนักการเมืองที่ทุจริต คอร์รัปชัน อำนาจหน้าที่ของนักการเมืองก็กำหนดเอาไว้ชัด จะให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับตำแหน่ง นโยบายไม่ได้
เราหวังว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 จะช่วยทำให้บ้านเมืองเกิดการปฏิรูป แต่ในความเป็นจริงกลับเดินไปสู่ปฏิกูล
เพราะมีนักการเมืองที่ร่ำรวยมหาศาลเข้ามาสู่อำนาจ ผู้คนหลงใหลได้ปลื้มว่า เขาประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจส่วนตัว ก็คงจะสามารถนำพาประเทศชาติไปสู่ความวัฒนาสถาพรได้
ที่ไหนได้เขาใช้เงินรวบรวมนักการเมืองมาเข้าพรรค เทคโอเวอร์พรรคเล็กพรรคน้อยเหมือนการเทคโอเวอร์นักธุรกิจ สำหรับองค์กรอิสระเขาเข้าไปแทรกแซงจนสามารถสั่งขวาหัน ซ้ายหัน บางคนต้องติดคุกต้องโทษเพราะรับใช้เขา
เสียงข้างมากในสภา ทำให้รัฐบาลของเขาเข้มแข็ง สามารถที่จะนำงบประมาณแผ่นดินไปใช้ตามอำเภอใจ สามารถแต่งตั้งข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และพลเรือนให้รับใช้เขาอย่างถึงที่สุด
ในที่สุดทหารก็ทนไม่ได้กับพฤติกรรมเช่นนี้ ของรัฐบาลเช่นนี้ กับปฏิวัติรัฐประหาร
ลงมือร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ เลือกตั้งกันใหม่
คนที่มีเงิน คนที่เคยอยู่ในอำนาจเมื่อสูญเสียอำนาจไป ซ้ำยังถูกตรวจสอบการทำงานในอดีต ซึ่งพบความผิดมากมาย มีทั้งที่ศาลตัดสินสั่งจำคุกไปแล้ว และที่จะต้องดำเนินคดีอีกย่อมต้องดิ้นรนหาทางรอด หาทางที่จะกลับมามีอำนาจอีก เช่น อยากกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีรับใช้ประชาชนอีก ศาลไม่เป็นธรรม การพิจารณาคดีไม่ถูกต้อง ฯลฯ
หนทางเดียวที่จะกลับมามีอำนาจได้คือ การเลือกตั้ง (แม้ชนะการเลือกตั้งมีรัฐบาลนอมินีเรียบร้อยแล้วก็ยังยาก) แก้รัฐธรรมนูญ นี่คือเส้นทางของเขา ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เส้นทางของรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ย่อมเป็นเส้นทางอีกเส้นต่างหากที่ไม่มีทางไปร่วมกันได้
เป็นเส้นทางที่อาจจะเรียกว่า ปฏิรูปการเมืองก็ได้ แต่มิใช่ปฏิรูปอย่างที่พูดหรือทำกันมาในอดีต
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การกำหนดกฎ กติกาต่างๆ จะไม่เกิดประโยชน์เลย ถ้าหากไม่ปลุกประชาชนให้มาเข้าร่วมกับการปฏิรูปของรัฐบาล
ถ้าหากประชาชนไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิด ไม่ตระหนักในสิทธิทางประชาธิปไตยของตน ไม่ลุกขึ้นมาแสดงความเป็นเจ้าของประเทศ หรือปล่อยให้เงิน 200 บาท 300 บาท 500 บาท มามีอำนาจในการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมปาไข่ ปาขวด อยู่อย่างทุกวันนี้ ก็ป่วยการที่จะพูดถึงการปฏิรูปการเมือง
วันหนึ่งพรรคประชาธิปัตย์ก็กลับไปเป็นฝ่ายค้าน (ที่พวกเขาถนัด)
แล้วก็เรียกร้องการปฏิรูปการเมืองอีก ไม่เชื่อก็คอยดู
เรา ประเทศไทยได้ลงมือปฏิรูปการเมืองหลายครั้งหลายหนแล้ว นับตั้งแต่ปี 2535 คือหลังจากที่พล.อ.สุจินดา คราประยูร กับพวกยึดอำนาจในเดือนกุมภาพันธ์ 2534 ล้มรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
ที่ต้องพูดกันถึงการปฏิรูปการเมืองในขณะนั้น ก็เพราะแม้เราจะมีสภาผู้แทนราษฎรกันมาอย่างต่อเนื่อง หลังรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ประชาชนทั้งหลายทั้งปวงเริ่มมองเห็นว่า ประชาธิปไตยภายใต้รูปแบบการเลือกตั้ง พรรคการเมืองที่รวมกันมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร จัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ ก็เป็นการเพียงพอกับคำว่า ประชาธิปไตยแล้ว นั่นไม่น่าจะถูกต้อง
ประชาธิปไตยที่ประชาชนอยากเห็นก็คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในปัญหาบ้านเมือง ในปัญหาสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของประชาชน เป็นต้นว่า จะสร้างถนนหนทาง สร้างเขื่อน นิคมอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า บ่อขยะ ฯลฯ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจในเรื่องเหล่านี้ จะต้องมีส่วนในการตัดสินใจด้วย
และที่สำคัญยิ่งก็คือ เรื่องการเมืองมิใช่เรื่องที่จะผูกขาด หรือรับผิดชอบเฉพาะคนส่วนน้อยส่วนหนึ่งที่ครองอำนาจกันมาอย่างต่อเนื่อง และสืบทอดกันไปอีกชั่วลูกหลานว่านเครือ เป็นธุรกิจการเมืองที่สร้างความมั่งคั่ง มั่นคงให้แก่แต่ละตระกูลในจังหวัดหรือเขตเลือกตั้งต่างๆ โดยที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมด้วยก็เฉพาะตอนที่เข้าคูหาหย่อนบัตรลงคะแนนเท่านั้นเอง
ประชาชนเริ่มให้ความสนใจ และเรียกร้องสิทธิมากกว่าการออกจากบ้านไปหย่อนบัตรลงคะแนนเท่านั้น นั่นก็คือ สิทธิที่จะตรวจสอบนักการเมืองว่า ดำเนินนโยบายไปตามที่ได้บอกกล่าวกับประชาชนในตอนที่มีการหาเสียงหรือไม่ นโยบายที่ว่านั้นก่อให้เกิดประโยชน์สุขกับประชาชน และประเทศชาติหรือไม่
และบริหารด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตแค่ไหน อย่างไร?
การยึดอำนาจของพล.อ.สุจินดา คราประยูร ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบนักการเมืองที่เป็นรัฐมนตรีขณะนั้นว่า มีหลายคนร่ำรวยผิดปกติ หลายต่อหลายคนที่มีทรัพย์สมบัติเป็นพันๆ ล้านบาท ไม่สามารถชี้แจงที่มาที่ไปของทรัพย์สินที่ตัว และครอบครัวถือครองอยู่ได้
นัยว่าจะต้องถูกยึดทรัพย์!
แต่เมื่อ รสช.ต้องการสืบทอดอำนาจต่อ จะต้องมีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ จะต้องอาศัยเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรในการจัดตั้งรัฐบาล ในที่สุดก็ต้องเปิดทางออกให้กับบรรดารัฐมนตรีที่ถูกยึดทรัพย์ไว้ในขณะนั้นได้ทรัพย์สินของพวกเขาคืนไป
แต่แม้จะไม่สามารถยึดทรัพย์สินของนักการเมืองได้ในขณะนั้น แต่สังคมก็เริ่มตระหนักแล้วว่า ไม่อาจจะไว้วางใจให้นักการเมืองบริหารประเทศได้อย่างง่ายๆ โดยที่ไม่มีการตรวจสอบอีกต่อไป
ด้วยเหตุนี้เอง คณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงได้มีอำนาจเพิ่มขึ้น องค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต หรือการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินจึงต้องเลือกเฟ้นหาคนที่ซื่อสัตย์ สุจริต จริงจังกับการทำงานเพิ่มขึ้น
รัฐธรรมนูญ 2540 จึงได้ออกแบบเป็นพิเศษ ให้มีองค์กรอิสระต่างๆ มีอำนาจในการตรวจสอบนักการเมืองมากขึ้น ศาลสถิตยุติธรรมก็เพิ่มแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขึ้นมา เพื่อที่จะเล่นงานนักการเมืองที่ทุจริต คอร์รัปชัน อำนาจหน้าที่ของนักการเมืองก็กำหนดเอาไว้ชัด จะให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับตำแหน่ง นโยบายไม่ได้
เราหวังว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 จะช่วยทำให้บ้านเมืองเกิดการปฏิรูป แต่ในความเป็นจริงกลับเดินไปสู่ปฏิกูล
เพราะมีนักการเมืองที่ร่ำรวยมหาศาลเข้ามาสู่อำนาจ ผู้คนหลงใหลได้ปลื้มว่า เขาประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจส่วนตัว ก็คงจะสามารถนำพาประเทศชาติไปสู่ความวัฒนาสถาพรได้
ที่ไหนได้เขาใช้เงินรวบรวมนักการเมืองมาเข้าพรรค เทคโอเวอร์พรรคเล็กพรรคน้อยเหมือนการเทคโอเวอร์นักธุรกิจ สำหรับองค์กรอิสระเขาเข้าไปแทรกแซงจนสามารถสั่งขวาหัน ซ้ายหัน บางคนต้องติดคุกต้องโทษเพราะรับใช้เขา
เสียงข้างมากในสภา ทำให้รัฐบาลของเขาเข้มแข็ง สามารถที่จะนำงบประมาณแผ่นดินไปใช้ตามอำเภอใจ สามารถแต่งตั้งข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และพลเรือนให้รับใช้เขาอย่างถึงที่สุด
ในที่สุดทหารก็ทนไม่ได้กับพฤติกรรมเช่นนี้ ของรัฐบาลเช่นนี้ กับปฏิวัติรัฐประหาร
ลงมือร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ เลือกตั้งกันใหม่
คนที่มีเงิน คนที่เคยอยู่ในอำนาจเมื่อสูญเสียอำนาจไป ซ้ำยังถูกตรวจสอบการทำงานในอดีต ซึ่งพบความผิดมากมาย มีทั้งที่ศาลตัดสินสั่งจำคุกไปแล้ว และที่จะต้องดำเนินคดีอีกย่อมต้องดิ้นรนหาทางรอด หาทางที่จะกลับมามีอำนาจอีก เช่น อยากกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีรับใช้ประชาชนอีก ศาลไม่เป็นธรรม การพิจารณาคดีไม่ถูกต้อง ฯลฯ
หนทางเดียวที่จะกลับมามีอำนาจได้คือ การเลือกตั้ง (แม้ชนะการเลือกตั้งมีรัฐบาลนอมินีเรียบร้อยแล้วก็ยังยาก) แก้รัฐธรรมนูญ นี่คือเส้นทางของเขา ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เส้นทางของรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ย่อมเป็นเส้นทางอีกเส้นต่างหากที่ไม่มีทางไปร่วมกันได้
เป็นเส้นทางที่อาจจะเรียกว่า ปฏิรูปการเมืองก็ได้ แต่มิใช่ปฏิรูปอย่างที่พูดหรือทำกันมาในอดีต
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การกำหนดกฎ กติกาต่างๆ จะไม่เกิดประโยชน์เลย ถ้าหากไม่ปลุกประชาชนให้มาเข้าร่วมกับการปฏิรูปของรัฐบาล
ถ้าหากประชาชนไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิด ไม่ตระหนักในสิทธิทางประชาธิปไตยของตน ไม่ลุกขึ้นมาแสดงความเป็นเจ้าของประเทศ หรือปล่อยให้เงิน 200 บาท 300 บาท 500 บาท มามีอำนาจในการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมปาไข่ ปาขวด อยู่อย่างทุกวันนี้ ก็ป่วยการที่จะพูดถึงการปฏิรูปการเมือง
วันหนึ่งพรรคประชาธิปัตย์ก็กลับไปเป็นฝ่ายค้าน (ที่พวกเขาถนัด)
แล้วก็เรียกร้องการปฏิรูปการเมืองอีก ไม่เชื่อก็คอยดู