ในระบบการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย นักการเมืองที่ต้องการเป็นตัวแทนปวงชนเพื่อเข้าสู่การมีอำนาจในด้านนิติบัญญัติ หรือในด้านบริหาร จะต้องผ่านการได้รับเลือกจากประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญการปกครองที่มีผลบังคับใช้อยู่ในเวลานั้นๆ
ดังนั้น โดยนัยแห่งการปกครองตามระบบนี้ พรรคการเมืองอันเป็นเสมือนครอบครัวหรือค่ายให้ผู้ที่ต้องการลงสมัครรับเลือกตั้งเข้ามาสังกัด โดยผ่านกระบวนการคัดเลือกของกรรมการบริหารพรรคการเมือง ภายใต้ระเบียบบริหารพรรคการเมืองนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้การที่พรรคเลือกบุคคลใดเข้ามาเป็นสมาชิกพรรค และส่งลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรค ก็เท่ากับว่าพรรครับประกันคุณภาพของบุคคลนั้นโดยปริยาย
ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ ถ้าผู้ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งได้รับเลือกตั้ง และพรรคมอบหมายหรือเสนอให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ พรรคก็จะต้องรับผิดชอบพฤติกรรมทางการเมืองที่บุคคลที่ว่านี้ทั้งในส่วนดี และไม่ดีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่ในความเป็นจริงที่ปรากฏในแวดวงการเมืองไทยตั้งแต่ปี 2475 อันเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทย จากระบบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย จนถึงวันนี้ถึงแม้เวลาจะล่วงเลยไปแล้วถึง 77 ปี บุคลากรทางการเมือง และพรรคการเมืองไทยส่วนใหญ่ หรืออาจพูดได้ว่าเกือบ 100% มิได้เกิดขึ้น และเป็นไปตามครรลองที่ว่านี้
เริ่มต้นด้วยบุคลากรทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องการจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อก้าวไปสู่การทำหน้าที่ทางด้านนิติบัญญัติ โดยรับผิดชอบในการออกกฎหมายเพื่อเป็นเครื่องมือในการปกครองประเทศให้ข้าราชการการเมืองที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศ และข้าราชการประจำซึ่งทำหน้าที่เป็นกลไกรับใช้ประชาชน ภายใต้การสั่งการและกำกับดูแลของรัฐบาล ถือปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของสังคม และเกิดความเป็นธรรมแก่คนทุกคนโดยเสมอภาค ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ไม่มีการยกเว้น
แต่จากผลที่ปรากฏทั้งนักการเมือง และข้าราชการประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าราชการประจำที่รับผิดชอบโดยตรงในการบังคับใช้กฎหมาย และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม อันได้แก่ ข้าราชการตำรวจ และอัยการ ซึ่งถือได้ว่าเป็นขั้นต้นของกระบวนการยุติธรรมที่ประชาชนต้องพึ่งพาเมื่อได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำผิดกฎหมายของคนใดคนหนึ่งหรือหลายคน มีปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งว่าผู้เดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรมเท่าที่ควรจะเป็น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในเวลานี้ก็คือ เหตุการณ์ 7 ต.ค. 2551 ที่ประชาชนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายด้วยระเบิด แก๊สน้ำตาได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตไปหลายคน เพียงเพราะพวกเขาเดินไปประท้วงที่หน้าอาคารรัฐสภา และปิดล้อมมิให้นักการเมืองเข้าไปภายในอาคารเพื่อร่วมประชุมแถลงนโยบายของรัฐบาลในขณะนั้น
จากวันนั้นถึงวันนี้ 6 เดือนกว่าแล้วก็ยังไม่มีผลปรากฏชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีส่วนในการทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตในวันนั้น จะได้รับโทษหรือไม่ประการใด
ยิ่งกว่านี้ ตำรวจที่เชื่อว่าอยู่ในข่ายกระทำผิดในวันนั้น และกำลังตกเป็นจำเลยที่ ป.ป.ช.กำลังจะชี้มูลความผิด ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานสอบสวนความผิดประชาชนในข้อหาบุกรุกสถานที่ราชการ และได้ออกหมายเรียกให้ไปพบพนักงานสอบสวนแล้วถึง 21 คน
ถ้ามองในแง่ความเป็นธรรมที่ประชาชนทุกคนควรจะได้รับแล้ว ตำรวจที่อยู่ในข่ายกระทำความผิดในวันที่ 7 ต.ค. ไม่ควรจะได้รับการแต่งตั้งมาเป็นพนักงานสอบสวนประชาชนผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีบุกรุกเพราะเป็นคู่กรณีกัน โดยที่แต่ละฝ่ายเป็นโจทก์และจำเลยแก่กันอยู่ กล่าวคือ ตำรวจถูกประชาชนฟ้องในข้อหาทำร้ายร่างกาย ทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บและเสียชีวิต อันถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และทำรุนแรงเกินกว่าเหตุด้วย และในขณะเดียวกันตำรวจกลุ่มเดียวกันนี้ก็เป็นโจทก์ฟ้องประชาชนว่าบุกรุกสถานที่ราชการ
ดังนั้น ถ้าจะให้ทั้งตำรวจ และประชาชนได้รับความเป็นธรรมเสมอภาคกัน ก็ควรอย่างยิ่งที่จะต้องย้ายตำรวจที่อยู่ในข่ายกระทำความผิดออกไปให้ประจำหน่วยงานอื่นที่มิได้เกี่ยวข้องกับคดีความที่ว่านี้ นี่คือส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการประจำ
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองในฐานะเป็นผู้ดูแลและกำกับข้าราชการประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็จะต้องใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความเสมอภาคแก่ทุกฝ่าย โดยไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
แต่ในความเป็นจริงที่ปรากฏ นักการเมืองที่ดูแลเรื่องนี้ มิได้แสดงศักยภาพในการบริหารจัดการใดๆ ให้เห็นว่าเป็นผู้ที่มาจากการเลือกตั้งเข้ามาเพื่อปกป้อง และรักษาผลประโยชน์ของปวงชน โดยใช้กฎหมายให้เกิดความเป็นธรรมแต่ประการใด จึงเท่ากับว่าบทบาทของนักการเมืองที่เข้าสู่อำนาจโดยอาศัยคะแนนเลือกตั้ง และกินเงินเดือนภาษีประชาชนสูญเปล่าไม่เกิดประโยชน์ตามที่เจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญกำหนดแต่ประการใด
ส่วนในประเด็นของพรรคการเมืองในฐานะเป็นองค์กรที่บุคลากรสังกัด และจะต้องรับผิดชอบบุคคลในสังกัดเมื่อพบว่าบุคลากรที่สังกัดพรรคมิได้ปฏิบัติตัว และวางตนให้เกิดประโยชน์แก่ปวงชนเท่าที่ควรจะเป็น ก็จะต้องแสดงบทบาทของพรรคโดยการใช้อำนาจของกรรมการบริหารพรรคลงโทษบุคคลที่ว่านี้ โดยการปรับเปลี่ยนให้พ้นไปจากตำแหน่งหน้าที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมด้วย
แต่ในความเป็นจริงที่วันและเวลานี้พรรคการเมืองที่ว่านี้ก็มิได้ทำอะไรเท่าที่ควรจะทำ
ที่ว่ามานี้เป็นเพียงเศษเสี้ยวแห่งความผิดที่ทั้งบุคลากรทางการเมือง และพรรคการเมืองได้กระทำ
แต่ก็เพียงพอที่จะบอกว่า ถ้าต้องการให้การเมืองไทยภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยก้าวหน้าไปกว่าที่เป็นอยู่ ก็จะต้องมีการรื้อการเมืองเก่าๆ และสร้างการเมืองในระบบใหม่ขึ้นมาแทนให้เร็วที่สุด ก็พอจะช่วยให้การเมืองไทยดีขึ้น แต่ก่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้นแก่ปวงชน และด้วยเหตุที่ว่ามานี้เอง น่าจะเป็นเหตุจูงใจประการหนึ่งที่ทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยคิดตั้งพรรคการเมืองของตัวเองขึ้นมา
ส่วนว่าจะตั้งได้หรือไม่ หรือแม้ตั้งแล้วจะไปรอดหรือไม่ มิได้ขึ้นอยู่กับแกนนำและกลุ่มคนที่เป็นพันธมิตรฯ เพียงฝ่ายเดียว แต่ขึ้นอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศว่าอยากจะอยู่กับการเมืองแบบเก่าหรือว่าต้องการการเมืองใหม่มากกว่า
แต่อย่างไรก็ตาม ลงมือทำแล้วก็ดีกว่าไม่ได้ทำ ถ้าได้พยายามถึงที่สุดแล้วก็ถือว่าทำดีที่สุด จึงอยากเห็นการเมืองใหม่ที่ว่านี้เกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ดังนั้น โดยนัยแห่งการปกครองตามระบบนี้ พรรคการเมืองอันเป็นเสมือนครอบครัวหรือค่ายให้ผู้ที่ต้องการลงสมัครรับเลือกตั้งเข้ามาสังกัด โดยผ่านกระบวนการคัดเลือกของกรรมการบริหารพรรคการเมือง ภายใต้ระเบียบบริหารพรรคการเมืองนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้การที่พรรคเลือกบุคคลใดเข้ามาเป็นสมาชิกพรรค และส่งลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรค ก็เท่ากับว่าพรรครับประกันคุณภาพของบุคคลนั้นโดยปริยาย
ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ ถ้าผู้ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งได้รับเลือกตั้ง และพรรคมอบหมายหรือเสนอให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ พรรคก็จะต้องรับผิดชอบพฤติกรรมทางการเมืองที่บุคคลที่ว่านี้ทั้งในส่วนดี และไม่ดีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่ในความเป็นจริงที่ปรากฏในแวดวงการเมืองไทยตั้งแต่ปี 2475 อันเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทย จากระบบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย จนถึงวันนี้ถึงแม้เวลาจะล่วงเลยไปแล้วถึง 77 ปี บุคลากรทางการเมือง และพรรคการเมืองไทยส่วนใหญ่ หรืออาจพูดได้ว่าเกือบ 100% มิได้เกิดขึ้น และเป็นไปตามครรลองที่ว่านี้
เริ่มต้นด้วยบุคลากรทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องการจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อก้าวไปสู่การทำหน้าที่ทางด้านนิติบัญญัติ โดยรับผิดชอบในการออกกฎหมายเพื่อเป็นเครื่องมือในการปกครองประเทศให้ข้าราชการการเมืองที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศ และข้าราชการประจำซึ่งทำหน้าที่เป็นกลไกรับใช้ประชาชน ภายใต้การสั่งการและกำกับดูแลของรัฐบาล ถือปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของสังคม และเกิดความเป็นธรรมแก่คนทุกคนโดยเสมอภาค ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ไม่มีการยกเว้น
แต่จากผลที่ปรากฏทั้งนักการเมือง และข้าราชการประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าราชการประจำที่รับผิดชอบโดยตรงในการบังคับใช้กฎหมาย และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม อันได้แก่ ข้าราชการตำรวจ และอัยการ ซึ่งถือได้ว่าเป็นขั้นต้นของกระบวนการยุติธรรมที่ประชาชนต้องพึ่งพาเมื่อได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำผิดกฎหมายของคนใดคนหนึ่งหรือหลายคน มีปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งว่าผู้เดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรมเท่าที่ควรจะเป็น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในเวลานี้ก็คือ เหตุการณ์ 7 ต.ค. 2551 ที่ประชาชนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายด้วยระเบิด แก๊สน้ำตาได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตไปหลายคน เพียงเพราะพวกเขาเดินไปประท้วงที่หน้าอาคารรัฐสภา และปิดล้อมมิให้นักการเมืองเข้าไปภายในอาคารเพื่อร่วมประชุมแถลงนโยบายของรัฐบาลในขณะนั้น
จากวันนั้นถึงวันนี้ 6 เดือนกว่าแล้วก็ยังไม่มีผลปรากฏชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีส่วนในการทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตในวันนั้น จะได้รับโทษหรือไม่ประการใด
ยิ่งกว่านี้ ตำรวจที่เชื่อว่าอยู่ในข่ายกระทำผิดในวันนั้น และกำลังตกเป็นจำเลยที่ ป.ป.ช.กำลังจะชี้มูลความผิด ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานสอบสวนความผิดประชาชนในข้อหาบุกรุกสถานที่ราชการ และได้ออกหมายเรียกให้ไปพบพนักงานสอบสวนแล้วถึง 21 คน
ถ้ามองในแง่ความเป็นธรรมที่ประชาชนทุกคนควรจะได้รับแล้ว ตำรวจที่อยู่ในข่ายกระทำความผิดในวันที่ 7 ต.ค. ไม่ควรจะได้รับการแต่งตั้งมาเป็นพนักงานสอบสวนประชาชนผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีบุกรุกเพราะเป็นคู่กรณีกัน โดยที่แต่ละฝ่ายเป็นโจทก์และจำเลยแก่กันอยู่ กล่าวคือ ตำรวจถูกประชาชนฟ้องในข้อหาทำร้ายร่างกาย ทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บและเสียชีวิต อันถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และทำรุนแรงเกินกว่าเหตุด้วย และในขณะเดียวกันตำรวจกลุ่มเดียวกันนี้ก็เป็นโจทก์ฟ้องประชาชนว่าบุกรุกสถานที่ราชการ
ดังนั้น ถ้าจะให้ทั้งตำรวจ และประชาชนได้รับความเป็นธรรมเสมอภาคกัน ก็ควรอย่างยิ่งที่จะต้องย้ายตำรวจที่อยู่ในข่ายกระทำความผิดออกไปให้ประจำหน่วยงานอื่นที่มิได้เกี่ยวข้องกับคดีความที่ว่านี้ นี่คือส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการประจำ
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองในฐานะเป็นผู้ดูแลและกำกับข้าราชการประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็จะต้องใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความเสมอภาคแก่ทุกฝ่าย โดยไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
แต่ในความเป็นจริงที่ปรากฏ นักการเมืองที่ดูแลเรื่องนี้ มิได้แสดงศักยภาพในการบริหารจัดการใดๆ ให้เห็นว่าเป็นผู้ที่มาจากการเลือกตั้งเข้ามาเพื่อปกป้อง และรักษาผลประโยชน์ของปวงชน โดยใช้กฎหมายให้เกิดความเป็นธรรมแต่ประการใด จึงเท่ากับว่าบทบาทของนักการเมืองที่เข้าสู่อำนาจโดยอาศัยคะแนนเลือกตั้ง และกินเงินเดือนภาษีประชาชนสูญเปล่าไม่เกิดประโยชน์ตามที่เจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญกำหนดแต่ประการใด
ส่วนในประเด็นของพรรคการเมืองในฐานะเป็นองค์กรที่บุคลากรสังกัด และจะต้องรับผิดชอบบุคคลในสังกัดเมื่อพบว่าบุคลากรที่สังกัดพรรคมิได้ปฏิบัติตัว และวางตนให้เกิดประโยชน์แก่ปวงชนเท่าที่ควรจะเป็น ก็จะต้องแสดงบทบาทของพรรคโดยการใช้อำนาจของกรรมการบริหารพรรคลงโทษบุคคลที่ว่านี้ โดยการปรับเปลี่ยนให้พ้นไปจากตำแหน่งหน้าที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมด้วย
แต่ในความเป็นจริงที่วันและเวลานี้พรรคการเมืองที่ว่านี้ก็มิได้ทำอะไรเท่าที่ควรจะทำ
ที่ว่ามานี้เป็นเพียงเศษเสี้ยวแห่งความผิดที่ทั้งบุคลากรทางการเมือง และพรรคการเมืองได้กระทำ
แต่ก็เพียงพอที่จะบอกว่า ถ้าต้องการให้การเมืองไทยภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยก้าวหน้าไปกว่าที่เป็นอยู่ ก็จะต้องมีการรื้อการเมืองเก่าๆ และสร้างการเมืองในระบบใหม่ขึ้นมาแทนให้เร็วที่สุด ก็พอจะช่วยให้การเมืองไทยดีขึ้น แต่ก่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้นแก่ปวงชน และด้วยเหตุที่ว่ามานี้เอง น่าจะเป็นเหตุจูงใจประการหนึ่งที่ทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยคิดตั้งพรรคการเมืองของตัวเองขึ้นมา
ส่วนว่าจะตั้งได้หรือไม่ หรือแม้ตั้งแล้วจะไปรอดหรือไม่ มิได้ขึ้นอยู่กับแกนนำและกลุ่มคนที่เป็นพันธมิตรฯ เพียงฝ่ายเดียว แต่ขึ้นอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศว่าอยากจะอยู่กับการเมืองแบบเก่าหรือว่าต้องการการเมืองใหม่มากกว่า
แต่อย่างไรก็ตาม ลงมือทำแล้วก็ดีกว่าไม่ได้ทำ ถ้าได้พยายามถึงที่สุดแล้วก็ถือว่าทำดีที่สุด จึงอยากเห็นการเมืองใหม่ที่ว่านี้เกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งต่อไป