ท่าทีอันแข็งกร้าวและเสียงที่ดังขึ้นตามลำดับของกลุ่มนักลงทุนในเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุดซึ่งหวั่นเกรงว่าการประกาศเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด จะกระทบการลงทุนที่เม็ดเงินมหาศาลกว่า 3-4 แสนล้านนั้น ไม่อาจกลบเกลื่อนความจริงที่ว่าพื้นที่มาบตาพุดตกอยู่ภายใต้วิกฤตมลพิษอย่างรุนแรง และไม่อาจเยียวยาด้วยฐานคิดแบบเก่า แนวทางแบบเดิม ได้อีกต่อไปแล้ว
พื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ถูกกำหนดให้เป็นเขตอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 1 เริ่มขึ้นในเดือนธ.ค. 2530 และสร้างเสร็จเมื่อปี 2533 มีขนาดพื้นที่ประมาณ 4,200 ไร่ ต่อมาการพัฒนาอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างต่อเนื่องทำให้นิคมอุตสาหกรรมขยายพื้นที่กว้างใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากนั้น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาจัดตั้งในนิคมฯปิโตรเคมีอีก 2 แห่ง บนพื้นที่ติดกับนิคมฯมาบตาพุด คือ นิคมฯผาแดง และนิคมฯ เหมราชตะวันออก และอีกแห่งหนึ่งที่เขตอ.บ้านฉาง คือ นิคมฯ เอเชีย
ขณะนี้ นิคมฯ ทั้ง 4 แห่ง ขยายพื้นที่เพิ่มเป็น 15,745.52 ไร่ มีจำนวนโรงงานและศูนย์กำจัดของเสียอันตรายเพิ่มขึ้นเป็น 117 โรงงาน เฉพาะบรรดาโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 109 โรง แยกเป็นกลุ่มปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย 45 แห่ง โรงผลิตสารเคมีต่างๆ 16 แห่ง โรงงานเหล็กและเหล็กกล้า 11 แห่ง โรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่ง โรงไฟฟ้า 8 แห่ง อุตสาหกรรมฉนวนใยหิน 1 โรง และโรงบำบัดและหลุมฝังกลบของเสียอันตราย 2 หลุมใหญ่ ซึ่งปิดหลุมไปแล้ว 1 แห่งเนื่องจากฝังกลบเต็มพื้นที่แล้ว และในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด ยังมีโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. อีก 3 โรง ที่ตั้งอยู่นอกเขตนิคมฯมาบตาพุด อีกด้วย
ต่อมา เมื่อปี 2549-2550 รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ ประกาศขยายการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ระยะที่ 3 (2549 - 2555) ลงทุนกว่า 3 แสนล้านบาท โดยมีการก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีใหม่เพิ่มอีก 18 โรง และอุตสาหกรรมต่อเนื่องรวม 35 โครงการ บนพื้นที่นิคมฯ 4 แห่งเดิมและนิคมฯใหม่ที่อยู่ทางตอนเหนือของมาบตาพุด
นิคมฯมาบตาพุด เป็นนิคมฯอุตสหกรรมปิโตรเคมีต้นแบบของไทย ได้รับการยกย่องว่าเป็นเขตนิคมฯระดับชั้นนำของโลก มีระบบจัดการสิ่งแวดล้อมครบถ้วน ได้มาตรฐานทั้งเรื่องน้ำเสีย อากาศ และของเสียอันตราย ล้วนใช้เทคโนโลยีขั้นสูง หลายบริษัทดำเนินนโยบาย CSR ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมนับไม่ถ้วน ผู้แทนจากรัฐบาลหลายประเทศโดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาศึกษาดูงานที่นี่
แต่สำหรับชุมชนแล้ว มาบตาพุดคือเขตมลพิษที่รุนแรงที่สุด มีผู้ป่วยด้วยโรคจากมลพิษอุตสาหกรรมสูงสุดของประเทศ
นับตั้งแต่นิคมฯ มาบตาพุดเริ่มดำเนินการมาจนถึงทุกวันนี้เกือบ 20 ปี โรงงานอุตสาหกรรมหนักกว่าร้อยแห่งได้ก่อมลพิษและเกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง การเผชิญหน้ากับมัจจุราชที่ปล่อยออกมาจากโรงงานทั้งมลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ มลพิษจากกากของเสียอันตราย ทุกเมื่อเชื่อวัน ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นจำนวนมาก
การเคลื่อนไหวต่อสู้เรียกร้องให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาจัดการแก้ไขปัญหา เกิดขึ้นต่อเนื่อง และปะทุขึ้นเป็นระยะๆ ตามระดับความรุนแรง เช่น กรณีปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดจากโรงกลั่นน้ำมันเออาร์ซี-เหนือ (เดิมคือบริษัทน้ำมันสตาร์รีไฟนิ่ง) ที่สร้างติดชิดรั้วโรงเรียนและวัด ก่อมลพิษรุนแรงมีเด็กนักเรียน ครู และชาวบ้านจำนวนมากป่วยจนต้องหามส่งโรงพยาบาล กลายเป็นข่าวใหญ่ครึกโครมเมื่อปี 2540 และโรงเรียนแห่งนั้นต้องย้ายหนีโรงกลั่นน้ำมัน
**โอบอุ้มทุนปัดทิ้งข้อเสนอเขตคุมมลพิษ
เป็นเรื่องที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า แนวนโยบายของรัฐที่มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรม โอบอุ้มนักลงทุน เป็นด้านหลัก ไม่เข้มงวดและไม่เอาจริงของภาครัฐในการจัดการปัญหามลพิษ ทำให้ปัญหามลพิษที่มาบตาพุดลุกลามบานปลาย
เช่น การยอมให้มีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่พื้นที่กันชนที่รัฐเป็นผู้กำหนดไว้เอง ทำให้โรงงานมาอยู่ติดกับชุมชน จนมีการย้ายโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร ออกนอกพื้นที่เดิมในปี 2540 - 2541 และย้ายโรงพยาบาลมาบตาพุด ในปี 2550 และในที่สุด ชุมชนต้องหันไปพึ่งศาลปกครองระยองเพื่อสั่งให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศเขตควบคุมมลพิษ
กระบวนการไต่สวนคดีของศาลฯ นับเป็นช่องทางที่ดีที่สุดที่จะให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงปรากฎต่อสาธารณชน ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนคดี ฟังได้ว่า พื้นที่เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด มีปัญหามลพิษซึ่งมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีการประชุมเพื่อพิจารณาปัญหาดังกล่าวหลายครั้ง นับแต่ปี 2548 เป็นต้นมา
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ร่างประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ .... (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดให้ท้องที่เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด ตำบลเนินพระ ตำบลมาบข่า ตำบลทับมา และตำบลบ้านฉาง เป็นเขตควบคุมมลพิษ เสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ โดยเห็นว่า ปัจจุบันปัญหามลพิษในพื้นที่ตำบลมาบตาพุดมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้นจนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
พร้อมกับแนบรายงานของกรมควบคุมมลพิษไปให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ ประกอบการพิจารณาด้วย โดยกรมควบคุมมลพิษ รายงานปัญหามลพิษทางอากาศว่า พบสารอินทรีย์ระเหยมากกว่า 40 ชนิด เป็นสารก่อมะเร็ง 20 ชนิด และใน 20 ชนิด มีค่าเกินระดับเฝ้าระวังคุณภาพทางอากาศ จำนวน 19 ชนิด
และจากผลศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า จังหวัดระยอง ช่วงปี 2540 - 2544 มีสถิติการเกิดโรคมะเร็งทุกชนิดและโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ของอำเภอเมืองระยอง สูงกว่าอำเภออื่นๆ เป็น 3 เท่า และ 5 เท่า ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการรับสารเบนซีน
แต่ข้อเสนอแนะของ ทส. ถูกคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ ขณะนั้น ปัดทิ้ง
ศาลฯ เห็นว่า เหตุที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ไม่ได้ประกาศเขตควบคุมมลพิษตามที่ ทส. เสนอ น่าจะเป็นเพราะผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย
**ยื้อเวลาปัญหามลพิษบานปลาย
ต่อมาคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ มีมติ เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 50 ให้ตั้งคณะอนุกรรมการสองชุดเพื่อทำหน้าที่ศึกษาความสัมพันธ์ของสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่มาบตาพุด กับปริมาณสารอินทรีย์ระเยที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตนิคมฯ กำหนดค่าความปลอดภัยของสารอินทรีย์ระเหยที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ และพิจารณาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหามลพิษทั้งระบบ รวมทั้งให้กำหนดเป้าหมายและระยะเวลาอย่างชัดเจน (2550-2554) ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้จะพิจารณาประกาศเป็นเขตมลพิษ
***แต่เมื่อกรมควบคุมมลพิษ ได้รายงานปัญหามลพิษภายหลังการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ว่า สารมลพิษทางอากาศพื้นฐานระหว่างปี 2550 ถึงเดือน ก.ค. 2551 บางชนิดยังมีค่าเกินมาตรฐานและค่าความเข้มข้นสูงในบางพื้นที่
ขณะที่คุณภาพน้ำ พบว่าน้ำคลองสาธารณะอยู่ระดับเสื่อมโทรม น้ำมีสีดำคล้ำมีกลิ่นเหม็น และยังพบการปนเปื้อนโลหะหนัก ทั้ง นิกเกิล ปรอท ทองแดง โครเมียมและสารหนู สูงเกินค่ามาตรฐาน เช่นเดียวกับคุณภาพน้ำทะเล พบว่า บางครั้งค่าปรอท ไฮโดรคาร์บอน เหล็ก ทองแดง ปรอท เกินเกณฑ์มาตรฐาน ขณะที่คุณภาพน้ำบาดาลและบ่อน้ำตื้น พบว่าบางแห่งมีสารอินทรีย์ระเหยปนเปื้อน มีปริมาณสารโลหะหนักบางแห่งเกินค่ามาตรฐาน ทั้งปี 2550 และ 2551
***รายงานสถานการณ์ปัญหามลพิษภายหลังการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ศาลฯ ชี้ว่า แม้จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาทั้งสองคณะ เพื่อเข้ามาจัดการแก้ไขปัญหามลพิษทั้งระบบ แต่สถานการณ์คุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ คุณภาพน้ำผิวดิน คุณภาพน้ำทะเล การจัดการน้ำเสียชุมชน คุณภาพน้ำบาดาลและน้ำบ่อตื้นในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงในปี 2551 ก็ยังไม่มีสภาพดีขึ้นกว่าปี พ.ศ. 2550
**ใช้เวลาแก้ไขนานอุบัติภัยสารพิษรั่ว
นอกจากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ยังชี้แจงต่อศาลฯถึงปัญหาที่เกิดจากอุบัติเหตุสารพิษรั่วไหลว่า วันที่ 28 พ.ย. 50, 10 มิ.ย. 51, 17 - 18 ก.ค. 51, 6 พ.ย. 51 และ 17 พ.ย. 51 ได้เกิดอุบัติเหตุสารมลพิษชนิดต่างๆ รั่วไหลในหลายบริษัทและแต่ละครั้งเกิดความเสียหายต่อสถานประกอบการและทรัพย์สิน มีประชาชนได้รับบาดเจ็บ
เฉพาะเหตุการณ์เมื่อวันที่ 17 - 18 ก.ค. 51 สารมลพิษรั่วไหลที่บริษัทคาโปรแลคตัมไทย จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ในเขตประกอบการอุตสาหกรรมบริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ทำให้ราษฎรผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงได้รับความเดือดร้อนและก่อปัญหามลพิษต่อชุมชน อุตสาหกรรมจังหวัดระยอง มีคำสั่งลงวันที่ 30 ก.ย. 51 ให้บริษัทปรับปรุงโรงงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พ.ย. 51
***กรณีนี้ เห็นได้ว่า นับแต่เกิดอุบัติเหตุจนเวลาผ่านไปถึงสองเดือนกว่า บริษัทยังไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงโรงงานให้แล้วเสร็จจนอุตสาหกรรมจังหวัดต้องมีคำสั่ง และให้เวลาถึงเดือนพ.ย. 51 เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าเมื่อเกิดการรั่วไหลแล้วต้องใช้เวลานานกว่าจะแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งกรณีนี้ไม่แน่ชัดว่า ปัจจุบันบริษัทดังกล่าวสามารถแก้ไขปัญหาได้แล้วหรือไม่
นอกจากนั้น จากการตรวจพื้นที่มาบตาพุดของคณะอนุกรรมการศึกษาความสัมพันธ์ด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนกับปริมาณสารพิษ ยังปรากฎว่า สภาพของคลองระบายน้ำทิ้งของนิคมฯ มาบตาพุด ที่ไหลลงบริเวณหาดทรายทองมีการกัดเซาะชายฝั่ง มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากกิจกรรมบนชายฝั่งที่รุนแรงได้ ทั้งยังพบสภาพทรายสีแดงและน้ำสีแดงสนิมที่เกิดจากตะกอนเหล็กอันเป็นผลมาจากสภาพความเป็นกรดที่ผิดปกติในคลองสาขาของคลองตากวน
**แผนปฏิบัติการฯเหลว อย่ายื้อเวลา
ข้อมูล เอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏ ศาลฯ จึงตัดสินว่า เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด เป็นพื้นที่ที่มีปัญหามลพิษซึ่งมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ถึงแม้จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมาแก้ไขปัญหา ก็มีผลงานเพียงจัดทำแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษ พิจารณากำหนดแนวทางการศึกษาความสัมพันธ์ด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนกับปริมาณสารมลพิษ กำหนดค่ามาตรฐานสารอินทรีย์ระเหย และประกาศบังคับใช้ค่ามาตรฐาน การติดตาม ตรวจสอบ กำกับ ดูแลการดำเนินการของโรงงาน
***แต่เห็นได้ว่า ปัญหามลพิษ ยังไม่มีแนวโน้มลดน้อยลงกว่าเดิม ตรงกันข้ามกลับมากขึ้นกว่าเดิม จึงสมควรที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จะประกาศให้เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด เป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อดำเนินการควบคุมและขจัดมลพิษได้
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจโดยอ้างเหตุผลว่าขณะนี้โรงงานอุตสาหกรรมเกือบทั้งหมดให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหามลพิษตามแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษ เพราะเป็นเรื่องรีบด่วนที่จะต้องดำเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษโดยเร็วที่สุด มิใช่อ้างว่า มีแผนกำหนดมาตรการ งบประมาณ เป้าหมาย ระยะเวลา และเฝ้าระวังในเรื่องมาตรการลดมลพิษ ลดปริมาณการปล่อยทิ้งอากาศเสีย น้ำ และปริมาณของเสีย เพราะการดำเนินการเหล่านั้น ได้ดำเนินการมานานแล้ว แต่ยังไม่สามารถควบคุมและขจัดมลพิษได้
การที่คณะกรรมการมิได้ประกาศให้ท้องที่เขตเทศบาลมาบตาพุด และพื้นที่ข้างเคียงเป็นเขตควบคุมมลพิษ จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
เมื่อชัดเจนขนาดนี้แล้ว อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งสวมหมวกอีกใบคือ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่โฆษณาทั่วบ้านทั่วเมืองว่า "ประชาชนต้องมาก่อน" จะตัดสินใจอย่างไรต่อการอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์คดี ในวันนี้ (16 มี.ค.) ที่จะมีการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือว่าสโลแกนของพรรคเก่าแก่ที่สุดของประเทศไทยจะเปลี่ยนใหม่เป็น "ประชาชนต้องตายก่อน"
พื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ถูกกำหนดให้เป็นเขตอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 1 เริ่มขึ้นในเดือนธ.ค. 2530 และสร้างเสร็จเมื่อปี 2533 มีขนาดพื้นที่ประมาณ 4,200 ไร่ ต่อมาการพัฒนาอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างต่อเนื่องทำให้นิคมอุตสาหกรรมขยายพื้นที่กว้างใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากนั้น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาจัดตั้งในนิคมฯปิโตรเคมีอีก 2 แห่ง บนพื้นที่ติดกับนิคมฯมาบตาพุด คือ นิคมฯผาแดง และนิคมฯ เหมราชตะวันออก และอีกแห่งหนึ่งที่เขตอ.บ้านฉาง คือ นิคมฯ เอเชีย
ขณะนี้ นิคมฯ ทั้ง 4 แห่ง ขยายพื้นที่เพิ่มเป็น 15,745.52 ไร่ มีจำนวนโรงงานและศูนย์กำจัดของเสียอันตรายเพิ่มขึ้นเป็น 117 โรงงาน เฉพาะบรรดาโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 109 โรง แยกเป็นกลุ่มปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย 45 แห่ง โรงผลิตสารเคมีต่างๆ 16 แห่ง โรงงานเหล็กและเหล็กกล้า 11 แห่ง โรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่ง โรงไฟฟ้า 8 แห่ง อุตสาหกรรมฉนวนใยหิน 1 โรง และโรงบำบัดและหลุมฝังกลบของเสียอันตราย 2 หลุมใหญ่ ซึ่งปิดหลุมไปแล้ว 1 แห่งเนื่องจากฝังกลบเต็มพื้นที่แล้ว และในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด ยังมีโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. อีก 3 โรง ที่ตั้งอยู่นอกเขตนิคมฯมาบตาพุด อีกด้วย
ต่อมา เมื่อปี 2549-2550 รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ ประกาศขยายการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ระยะที่ 3 (2549 - 2555) ลงทุนกว่า 3 แสนล้านบาท โดยมีการก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีใหม่เพิ่มอีก 18 โรง และอุตสาหกรรมต่อเนื่องรวม 35 โครงการ บนพื้นที่นิคมฯ 4 แห่งเดิมและนิคมฯใหม่ที่อยู่ทางตอนเหนือของมาบตาพุด
นิคมฯมาบตาพุด เป็นนิคมฯอุตสหกรรมปิโตรเคมีต้นแบบของไทย ได้รับการยกย่องว่าเป็นเขตนิคมฯระดับชั้นนำของโลก มีระบบจัดการสิ่งแวดล้อมครบถ้วน ได้มาตรฐานทั้งเรื่องน้ำเสีย อากาศ และของเสียอันตราย ล้วนใช้เทคโนโลยีขั้นสูง หลายบริษัทดำเนินนโยบาย CSR ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมนับไม่ถ้วน ผู้แทนจากรัฐบาลหลายประเทศโดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาศึกษาดูงานที่นี่
แต่สำหรับชุมชนแล้ว มาบตาพุดคือเขตมลพิษที่รุนแรงที่สุด มีผู้ป่วยด้วยโรคจากมลพิษอุตสาหกรรมสูงสุดของประเทศ
นับตั้งแต่นิคมฯ มาบตาพุดเริ่มดำเนินการมาจนถึงทุกวันนี้เกือบ 20 ปี โรงงานอุตสาหกรรมหนักกว่าร้อยแห่งได้ก่อมลพิษและเกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง การเผชิญหน้ากับมัจจุราชที่ปล่อยออกมาจากโรงงานทั้งมลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ มลพิษจากกากของเสียอันตราย ทุกเมื่อเชื่อวัน ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นจำนวนมาก
การเคลื่อนไหวต่อสู้เรียกร้องให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาจัดการแก้ไขปัญหา เกิดขึ้นต่อเนื่อง และปะทุขึ้นเป็นระยะๆ ตามระดับความรุนแรง เช่น กรณีปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดจากโรงกลั่นน้ำมันเออาร์ซี-เหนือ (เดิมคือบริษัทน้ำมันสตาร์รีไฟนิ่ง) ที่สร้างติดชิดรั้วโรงเรียนและวัด ก่อมลพิษรุนแรงมีเด็กนักเรียน ครู และชาวบ้านจำนวนมากป่วยจนต้องหามส่งโรงพยาบาล กลายเป็นข่าวใหญ่ครึกโครมเมื่อปี 2540 และโรงเรียนแห่งนั้นต้องย้ายหนีโรงกลั่นน้ำมัน
**โอบอุ้มทุนปัดทิ้งข้อเสนอเขตคุมมลพิษ
เป็นเรื่องที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า แนวนโยบายของรัฐที่มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรม โอบอุ้มนักลงทุน เป็นด้านหลัก ไม่เข้มงวดและไม่เอาจริงของภาครัฐในการจัดการปัญหามลพิษ ทำให้ปัญหามลพิษที่มาบตาพุดลุกลามบานปลาย
เช่น การยอมให้มีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่พื้นที่กันชนที่รัฐเป็นผู้กำหนดไว้เอง ทำให้โรงงานมาอยู่ติดกับชุมชน จนมีการย้ายโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร ออกนอกพื้นที่เดิมในปี 2540 - 2541 และย้ายโรงพยาบาลมาบตาพุด ในปี 2550 และในที่สุด ชุมชนต้องหันไปพึ่งศาลปกครองระยองเพื่อสั่งให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศเขตควบคุมมลพิษ
กระบวนการไต่สวนคดีของศาลฯ นับเป็นช่องทางที่ดีที่สุดที่จะให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงปรากฎต่อสาธารณชน ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนคดี ฟังได้ว่า พื้นที่เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด มีปัญหามลพิษซึ่งมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีการประชุมเพื่อพิจารณาปัญหาดังกล่าวหลายครั้ง นับแต่ปี 2548 เป็นต้นมา
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ร่างประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ .... (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดให้ท้องที่เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด ตำบลเนินพระ ตำบลมาบข่า ตำบลทับมา และตำบลบ้านฉาง เป็นเขตควบคุมมลพิษ เสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ โดยเห็นว่า ปัจจุบันปัญหามลพิษในพื้นที่ตำบลมาบตาพุดมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้นจนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
พร้อมกับแนบรายงานของกรมควบคุมมลพิษไปให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ ประกอบการพิจารณาด้วย โดยกรมควบคุมมลพิษ รายงานปัญหามลพิษทางอากาศว่า พบสารอินทรีย์ระเหยมากกว่า 40 ชนิด เป็นสารก่อมะเร็ง 20 ชนิด และใน 20 ชนิด มีค่าเกินระดับเฝ้าระวังคุณภาพทางอากาศ จำนวน 19 ชนิด
และจากผลศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า จังหวัดระยอง ช่วงปี 2540 - 2544 มีสถิติการเกิดโรคมะเร็งทุกชนิดและโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ของอำเภอเมืองระยอง สูงกว่าอำเภออื่นๆ เป็น 3 เท่า และ 5 เท่า ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการรับสารเบนซีน
แต่ข้อเสนอแนะของ ทส. ถูกคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ ขณะนั้น ปัดทิ้ง
ศาลฯ เห็นว่า เหตุที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ไม่ได้ประกาศเขตควบคุมมลพิษตามที่ ทส. เสนอ น่าจะเป็นเพราะผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย
**ยื้อเวลาปัญหามลพิษบานปลาย
ต่อมาคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ มีมติ เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 50 ให้ตั้งคณะอนุกรรมการสองชุดเพื่อทำหน้าที่ศึกษาความสัมพันธ์ของสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่มาบตาพุด กับปริมาณสารอินทรีย์ระเยที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตนิคมฯ กำหนดค่าความปลอดภัยของสารอินทรีย์ระเหยที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ และพิจารณาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหามลพิษทั้งระบบ รวมทั้งให้กำหนดเป้าหมายและระยะเวลาอย่างชัดเจน (2550-2554) ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้จะพิจารณาประกาศเป็นเขตมลพิษ
***แต่เมื่อกรมควบคุมมลพิษ ได้รายงานปัญหามลพิษภายหลังการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ว่า สารมลพิษทางอากาศพื้นฐานระหว่างปี 2550 ถึงเดือน ก.ค. 2551 บางชนิดยังมีค่าเกินมาตรฐานและค่าความเข้มข้นสูงในบางพื้นที่
ขณะที่คุณภาพน้ำ พบว่าน้ำคลองสาธารณะอยู่ระดับเสื่อมโทรม น้ำมีสีดำคล้ำมีกลิ่นเหม็น และยังพบการปนเปื้อนโลหะหนัก ทั้ง นิกเกิล ปรอท ทองแดง โครเมียมและสารหนู สูงเกินค่ามาตรฐาน เช่นเดียวกับคุณภาพน้ำทะเล พบว่า บางครั้งค่าปรอท ไฮโดรคาร์บอน เหล็ก ทองแดง ปรอท เกินเกณฑ์มาตรฐาน ขณะที่คุณภาพน้ำบาดาลและบ่อน้ำตื้น พบว่าบางแห่งมีสารอินทรีย์ระเหยปนเปื้อน มีปริมาณสารโลหะหนักบางแห่งเกินค่ามาตรฐาน ทั้งปี 2550 และ 2551
***รายงานสถานการณ์ปัญหามลพิษภายหลังการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ศาลฯ ชี้ว่า แม้จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาทั้งสองคณะ เพื่อเข้ามาจัดการแก้ไขปัญหามลพิษทั้งระบบ แต่สถานการณ์คุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ คุณภาพน้ำผิวดิน คุณภาพน้ำทะเล การจัดการน้ำเสียชุมชน คุณภาพน้ำบาดาลและน้ำบ่อตื้นในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงในปี 2551 ก็ยังไม่มีสภาพดีขึ้นกว่าปี พ.ศ. 2550
**ใช้เวลาแก้ไขนานอุบัติภัยสารพิษรั่ว
นอกจากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ยังชี้แจงต่อศาลฯถึงปัญหาที่เกิดจากอุบัติเหตุสารพิษรั่วไหลว่า วันที่ 28 พ.ย. 50, 10 มิ.ย. 51, 17 - 18 ก.ค. 51, 6 พ.ย. 51 และ 17 พ.ย. 51 ได้เกิดอุบัติเหตุสารมลพิษชนิดต่างๆ รั่วไหลในหลายบริษัทและแต่ละครั้งเกิดความเสียหายต่อสถานประกอบการและทรัพย์สิน มีประชาชนได้รับบาดเจ็บ
เฉพาะเหตุการณ์เมื่อวันที่ 17 - 18 ก.ค. 51 สารมลพิษรั่วไหลที่บริษัทคาโปรแลคตัมไทย จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ในเขตประกอบการอุตสาหกรรมบริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ทำให้ราษฎรผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงได้รับความเดือดร้อนและก่อปัญหามลพิษต่อชุมชน อุตสาหกรรมจังหวัดระยอง มีคำสั่งลงวันที่ 30 ก.ย. 51 ให้บริษัทปรับปรุงโรงงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พ.ย. 51
***กรณีนี้ เห็นได้ว่า นับแต่เกิดอุบัติเหตุจนเวลาผ่านไปถึงสองเดือนกว่า บริษัทยังไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงโรงงานให้แล้วเสร็จจนอุตสาหกรรมจังหวัดต้องมีคำสั่ง และให้เวลาถึงเดือนพ.ย. 51 เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าเมื่อเกิดการรั่วไหลแล้วต้องใช้เวลานานกว่าจะแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งกรณีนี้ไม่แน่ชัดว่า ปัจจุบันบริษัทดังกล่าวสามารถแก้ไขปัญหาได้แล้วหรือไม่
นอกจากนั้น จากการตรวจพื้นที่มาบตาพุดของคณะอนุกรรมการศึกษาความสัมพันธ์ด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนกับปริมาณสารพิษ ยังปรากฎว่า สภาพของคลองระบายน้ำทิ้งของนิคมฯ มาบตาพุด ที่ไหลลงบริเวณหาดทรายทองมีการกัดเซาะชายฝั่ง มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากกิจกรรมบนชายฝั่งที่รุนแรงได้ ทั้งยังพบสภาพทรายสีแดงและน้ำสีแดงสนิมที่เกิดจากตะกอนเหล็กอันเป็นผลมาจากสภาพความเป็นกรดที่ผิดปกติในคลองสาขาของคลองตากวน
**แผนปฏิบัติการฯเหลว อย่ายื้อเวลา
ข้อมูล เอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏ ศาลฯ จึงตัดสินว่า เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด เป็นพื้นที่ที่มีปัญหามลพิษซึ่งมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ถึงแม้จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมาแก้ไขปัญหา ก็มีผลงานเพียงจัดทำแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษ พิจารณากำหนดแนวทางการศึกษาความสัมพันธ์ด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนกับปริมาณสารมลพิษ กำหนดค่ามาตรฐานสารอินทรีย์ระเหย และประกาศบังคับใช้ค่ามาตรฐาน การติดตาม ตรวจสอบ กำกับ ดูแลการดำเนินการของโรงงาน
***แต่เห็นได้ว่า ปัญหามลพิษ ยังไม่มีแนวโน้มลดน้อยลงกว่าเดิม ตรงกันข้ามกลับมากขึ้นกว่าเดิม จึงสมควรที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จะประกาศให้เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด เป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อดำเนินการควบคุมและขจัดมลพิษได้
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจโดยอ้างเหตุผลว่าขณะนี้โรงงานอุตสาหกรรมเกือบทั้งหมดให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหามลพิษตามแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษ เพราะเป็นเรื่องรีบด่วนที่จะต้องดำเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษโดยเร็วที่สุด มิใช่อ้างว่า มีแผนกำหนดมาตรการ งบประมาณ เป้าหมาย ระยะเวลา และเฝ้าระวังในเรื่องมาตรการลดมลพิษ ลดปริมาณการปล่อยทิ้งอากาศเสีย น้ำ และปริมาณของเสีย เพราะการดำเนินการเหล่านั้น ได้ดำเนินการมานานแล้ว แต่ยังไม่สามารถควบคุมและขจัดมลพิษได้
การที่คณะกรรมการมิได้ประกาศให้ท้องที่เขตเทศบาลมาบตาพุด และพื้นที่ข้างเคียงเป็นเขตควบคุมมลพิษ จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
เมื่อชัดเจนขนาดนี้แล้ว อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งสวมหมวกอีกใบคือ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่โฆษณาทั่วบ้านทั่วเมืองว่า "ประชาชนต้องมาก่อน" จะตัดสินใจอย่างไรต่อการอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์คดี ในวันนี้ (16 มี.ค.) ที่จะมีการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือว่าสโลแกนของพรรคเก่าแก่ที่สุดของประเทศไทยจะเปลี่ยนใหม่เป็น "ประชาชนต้องตายก่อน"