ไม่ว่าใครก็ตามที่พอสนใจการบ้านการเมืองมาบ้าง เมื่อเห็น 7 ข้อกล่าวหา ที่พรรคเพื่อไทยยื่นต่อประธานวุฒิสภา ประสพสุข บุญเดช ให้วุฒิสภาลงมติถอดถอน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 274 ของรัฐธรรมนูญ
หากพลิกดู 7 ข้อหาดังกล่าวมีอะไรบ้างนั้นพอสรุปให้เห็นคร่าวๆคือ 1.การเรียกร้องขอให้พระมหากษัตริย์พระราชทานนายกรัฐมนตรี ตามม.7 แห่งรัฐธรรมนูญปี 2540 2. การเข้าสู่ตำแหน่งไม่เป็นตามครรลองประชาธิปไตย 3. มีพฤติกรรมผู้สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ แล้วแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี ผู้ช่วยรัฐมนตรี รวมทั้งที่ปรึกษารัฐมนตรีอีกหลายตำแหน่ง
4. ทำผิดเรื่องเงินสนับสนุนพรรคการเมือง 5.ทำให้เสียดินแดนปล่อยให้เขมรทำถนนยึดพื้นที่ของไทยบริเวณทางขึ้นเขาพระวิหาร 6. ทำเอกสารเท็จแจ้งต่อกกต.สตูล โดยรับรอง ธานินทร์ ใจสมุทร กรณีเลือกตั้ง อบจ.สตูล 7.กรณีส่งข้อความสั้น(SMS) ถือว่าทำผิดกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)
พิจารณาไล่ลงมาแต่ละข้อโดยรวมแล้วมันก็ช่วยไม่ได้ที่จะต้องถูกฝ่ายรัฐบาลคือพรรคประชาธิปัตย์หัวร่อ กระทืบเท้ากันสนุกสนาน เพราะหากไม่ใช่สาวกพวก “เสื้อแดง” หรือพวกที่เชียร์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนหลับหูหลับตาแล้วรับรองว่า เมื่อได้อ่านข้อกล่าวหาครบทั้ง 7 ข้อจบแล้วก็ต้องขยี้ตาดูใหม่อีกที พร้อมสบถออกมาในทำนองว่า “นี่มันอะไรกัน(วะ)” อะไรประมาณนี้
บางข้อยังขัดแย้งกันเองด้วยซ้ำไป ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือกรณีข้อกล่าวหาในข้อ 5 ที่บอกว่าปล่อยให้เขมรบุกรุกยึดพื้นที่ในบริเวณพื้นที่เขาพระวิหารนั้นไม่รู้ว่าฝ่ายค้าน “ความจำเสื่อม” หรือ ไม่ทำการบ้านหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะกรณีนี้เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ต่อเนื่องมาถึง สมชาย วงศ์สวัสดิ์
ส่วนเรื่องเงินสนับสนุนพรรคการเมืองหรือเงินบริจาคที่คาดว่าจะเป็นเงิน 250 ล้านบาทตามที่ประโคมข่าวกันไปก่อนหน้านั้น ก็เกิดขึ้นในยุคที่ บัญญัติ บรรทัดฐานเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สมควรซักฟอกให้ถูกคน
ดังนั้นถ้าจะตะแบงกันง่ายๆ ก็น่าจะเพิ่มได้อีกเป็นสิบข้อหา ก็ยังได้ และหลายคนอาจจะเห็นด้วยกับความเห็นของ เสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช และพรรคเพื่อแผ่นดินในสายของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ที่ไม่ยอมร่วมมือด้วย ก็ยิ่งทำให้ “กลวง” ข้างในมากขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตามถ้าติดตามเกมมาตั้งแต่ต้นก็จะรู้ทันทีว่าการยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีเป็นเพียงแค่ “นำร่อง” เพื่อนำไปสู่การยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจตามมาในภายหลัง ซึ่งเท่าที่ตรวจสอบเบื้องต้นน่าจะมีการอภิปรายในราววันที่ 26-27 มีนาคม
เมื่อพิจารณาตามตารางเวลาแล้ว มันช่างบังเอิญมาประจวบเหมาะกับการเคลื่อนไหวนอกสภาของ “คนเสื้อแดง” ที่ดีเดย์ชุมนุมใหญ่ไล่รัฐบาลในวันที่ 27 มีนาคมพอดิบพอดี
อีกทั้งยังสอดรับประสานกันเป็นแพ็กเกจทั้งในและนอกสภาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มจากการ “โฟนอิน” ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาปลุกระดมรากหญ้าทั่วประเทศ และมาบรรจบกันเอาในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน
ดังนั้น เมื่อดูจากข้อกล่าวหานายกรัฐมนตรีอย่างละเอียด และพิจารณาถึงที่มาที่ไปแล้วถือว่ายังไม่มีน้ำหนักเพียงพอ และเกือบทั้งหมด ไม่ใช่ข้อกล่าวในเรื่องทุจริตคอรัปชั่น อีกทั้งสมัยประชุมสภาสมัยสามัญมีไปจนถึงเดือน พฤษภาคม ฝ่ายค้านน่าจะรอเวลาอีกระยะก็ยังไม่สาย
แต่เมื่อรวบรวมรายชื่อยื่นญัตติซักฟอกในช่วงเวลา “ชุลมุน” แบบนี้ มันก็ช่วยไม่ได้ที่จะถูกมองว่าเป็นแค่เกมป่วน ผสมโรงทั้งในและนอกสภาตามคำบงการของคนที่อยู่ นอกประเทศเป้าหมายหลักเฉพาะหน้า เพื่อล้มรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะให้ได้โดยเร็วที่สุด
แต่นาทีนี้เมื่อพิจารณาจากอารมณ์ของสังคมส่วนใหญ่แล้วยังไม่ “สุกงอม” ไม่มีใครคล้อยตาม และในทางตรงข้ามเชื่อว่านอกจากเป็นการเพิ่มเรตติ้งให้กับรัฐบาลแล้ว ยังเป็นการสร้างภาพลบให้กับฝ่ายค้านก่อนเวลาอันควรเสียอีก !!
หากพลิกดู 7 ข้อหาดังกล่าวมีอะไรบ้างนั้นพอสรุปให้เห็นคร่าวๆคือ 1.การเรียกร้องขอให้พระมหากษัตริย์พระราชทานนายกรัฐมนตรี ตามม.7 แห่งรัฐธรรมนูญปี 2540 2. การเข้าสู่ตำแหน่งไม่เป็นตามครรลองประชาธิปไตย 3. มีพฤติกรรมผู้สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ แล้วแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี ผู้ช่วยรัฐมนตรี รวมทั้งที่ปรึกษารัฐมนตรีอีกหลายตำแหน่ง
4. ทำผิดเรื่องเงินสนับสนุนพรรคการเมือง 5.ทำให้เสียดินแดนปล่อยให้เขมรทำถนนยึดพื้นที่ของไทยบริเวณทางขึ้นเขาพระวิหาร 6. ทำเอกสารเท็จแจ้งต่อกกต.สตูล โดยรับรอง ธานินทร์ ใจสมุทร กรณีเลือกตั้ง อบจ.สตูล 7.กรณีส่งข้อความสั้น(SMS) ถือว่าทำผิดกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)
พิจารณาไล่ลงมาแต่ละข้อโดยรวมแล้วมันก็ช่วยไม่ได้ที่จะต้องถูกฝ่ายรัฐบาลคือพรรคประชาธิปัตย์หัวร่อ กระทืบเท้ากันสนุกสนาน เพราะหากไม่ใช่สาวกพวก “เสื้อแดง” หรือพวกที่เชียร์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนหลับหูหลับตาแล้วรับรองว่า เมื่อได้อ่านข้อกล่าวหาครบทั้ง 7 ข้อจบแล้วก็ต้องขยี้ตาดูใหม่อีกที พร้อมสบถออกมาในทำนองว่า “นี่มันอะไรกัน(วะ)” อะไรประมาณนี้
บางข้อยังขัดแย้งกันเองด้วยซ้ำไป ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือกรณีข้อกล่าวหาในข้อ 5 ที่บอกว่าปล่อยให้เขมรบุกรุกยึดพื้นที่ในบริเวณพื้นที่เขาพระวิหารนั้นไม่รู้ว่าฝ่ายค้าน “ความจำเสื่อม” หรือ ไม่ทำการบ้านหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะกรณีนี้เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ต่อเนื่องมาถึง สมชาย วงศ์สวัสดิ์
ส่วนเรื่องเงินสนับสนุนพรรคการเมืองหรือเงินบริจาคที่คาดว่าจะเป็นเงิน 250 ล้านบาทตามที่ประโคมข่าวกันไปก่อนหน้านั้น ก็เกิดขึ้นในยุคที่ บัญญัติ บรรทัดฐานเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สมควรซักฟอกให้ถูกคน
ดังนั้นถ้าจะตะแบงกันง่ายๆ ก็น่าจะเพิ่มได้อีกเป็นสิบข้อหา ก็ยังได้ และหลายคนอาจจะเห็นด้วยกับความเห็นของ เสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช และพรรคเพื่อแผ่นดินในสายของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ที่ไม่ยอมร่วมมือด้วย ก็ยิ่งทำให้ “กลวง” ข้างในมากขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตามถ้าติดตามเกมมาตั้งแต่ต้นก็จะรู้ทันทีว่าการยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีเป็นเพียงแค่ “นำร่อง” เพื่อนำไปสู่การยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจตามมาในภายหลัง ซึ่งเท่าที่ตรวจสอบเบื้องต้นน่าจะมีการอภิปรายในราววันที่ 26-27 มีนาคม
เมื่อพิจารณาตามตารางเวลาแล้ว มันช่างบังเอิญมาประจวบเหมาะกับการเคลื่อนไหวนอกสภาของ “คนเสื้อแดง” ที่ดีเดย์ชุมนุมใหญ่ไล่รัฐบาลในวันที่ 27 มีนาคมพอดิบพอดี
อีกทั้งยังสอดรับประสานกันเป็นแพ็กเกจทั้งในและนอกสภาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มจากการ “โฟนอิน” ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาปลุกระดมรากหญ้าทั่วประเทศ และมาบรรจบกันเอาในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน
ดังนั้น เมื่อดูจากข้อกล่าวหานายกรัฐมนตรีอย่างละเอียด และพิจารณาถึงที่มาที่ไปแล้วถือว่ายังไม่มีน้ำหนักเพียงพอ และเกือบทั้งหมด ไม่ใช่ข้อกล่าวในเรื่องทุจริตคอรัปชั่น อีกทั้งสมัยประชุมสภาสมัยสามัญมีไปจนถึงเดือน พฤษภาคม ฝ่ายค้านน่าจะรอเวลาอีกระยะก็ยังไม่สาย
แต่เมื่อรวบรวมรายชื่อยื่นญัตติซักฟอกในช่วงเวลา “ชุลมุน” แบบนี้ มันก็ช่วยไม่ได้ที่จะถูกมองว่าเป็นแค่เกมป่วน ผสมโรงทั้งในและนอกสภาตามคำบงการของคนที่อยู่ นอกประเทศเป้าหมายหลักเฉพาะหน้า เพื่อล้มรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะให้ได้โดยเร็วที่สุด
แต่นาทีนี้เมื่อพิจารณาจากอารมณ์ของสังคมส่วนใหญ่แล้วยังไม่ “สุกงอม” ไม่มีใครคล้อยตาม และในทางตรงข้ามเชื่อว่านอกจากเป็นการเพิ่มเรตติ้งให้กับรัฐบาลแล้ว ยังเป็นการสร้างภาพลบให้กับฝ่ายค้านก่อนเวลาอันควรเสียอีก !!