นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) แถลงข่าวภายหลังการประชุมว่า ได้มีการหารือเรื่องที่พรรคฝ่ายค้านจะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล เพื่อทราบความเคลื่อนไหวของพรรคฝ่ายค้าน
อย่างไรก็ตามขอยืนยันว่า พรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคยินดีให้พรรคฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้ววางใจ เพราะถือเป็นการหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล และรัฐบาลก็พร้อมรับการตรวจสอบดังกล่าว
นอกจากนี้ที่ประชุมวิปรัฐบาลยังเห็นชอบ กรอบรับมือการอภิปรายไม่วางใจทั้ง 6 ข้อ ได้แก่ 1.ให้เกียรติฝ่ายค้านในการับฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และจะใช้ชี้แจงด้วยเหตุผลและข้อมูล 2.จะดำเนินการในการทำให้มาตรฐานการอภิปรายของฝ่ายค้านสูงขึ้น โดยจะไม่มีการประท้วงอย่างยุ่มยิมอย่างแน่นอน
3.ให้ความร่วมมือกับประธานสภา เพื่อให้การบริหารจัดการประชุมเป็นไปตามข้อบังคับอย่างเคร่งครัด 4.จะดำเนินการช่วยเหลือรมต.ที่ถูกชี้แจง ในการทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นก่อนการอภิปราย ถ้าทราบประเด็นที่จะอภิปรายชัดเจนแล้ว รัฐมนตรี ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องก็ต้องชี้แจงในประเด็นนั้น ๆ ให้เกิดความเข้าใจในช่วงที่อยู่ในระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
5.รัฐมนตรีจะใช้สิทธิชี้แจงในประเด็นของตนเองแล้ว วิปพรรคร่วมรัฐบาลจะเป็นศูนย์กลางให้รัฐมนตรีสามารถที่จะมาชี้แจงต่อสื่อมวลชนได้ แม้จะหลังการอภิปรายไปแล้ว การที่รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายจะทำความเข้าใจกับประชาชนถือเป็นเรื่องสำคัญ และ 6.ตั้งคณะทำงานติดตามประเด็นที่ฝ่ายค้านหยิบยกขึ้นมา เพราะไม่ต้องการให้ประชาชนสับสนข้อมูลที่ได้มีการอภิปรายของฝ่ายค้าน เพราะบางข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ข้อมูลรถยนต์ส่วนตัวของนายกรัฐมนตรี หรือเรื่องครอบครัวนายกรัฐมนตรี ถือเป็หน้าที่ของพรรคคร่วมรัฐบาลที่ต้องร่วมทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน
ทั้งนี้ วิปรัฐบาลจะติดตามว่า ฝ่ายค้านจะอภิปรายในประเด็นอะไรบ้าง เชื่อว่าสัปดาห์นี้การอภิปรายไม่ไว้วางใจจะมีความชัดเจน เพราะจะต้องยื่นขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในวันที่ 11 มี.ค.นี้ ตามที่ฝ่ายค้านได้แถลงเอาไว้ และในวันอังคารที่ 3 มี.ค. ที่โฆษกพรรคร่วมฝ่ายค้านได้แถลงไว้ว่า จะมีการประชุมพรรคเพื่อคัดเลือกตัวบุคคลที่เห็นสมควรในการเสนอชื่อเพื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 158 พรรคร่วมรัฐบาลเห็นว่า เป็นเรื่องที่ต้องให้กำลังใจ ไม่ว่าจะเป็น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง หรือเป็นใครก็ตาม หากพรรคเพื่อไทยเสนอชื่ออย่างชัดเจน เราก็เห็นว่า ควรเสนอชื่อบุคคลดังกล่าวเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นผู้นำฝ่ายค้าน เพื่อให้กระบวนการในสภามีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเตรียมสมาชิกช่วยรัฐมนตรีชี้แจง ในเบื้องต้นได้กำหนดไว้หรือไม่ส.ส.กี่คนต่อรัฐมนตรีหนึ่งคน นายชินวรณ์ กล่าวว่า เราจะไม่มีการเตรียมองครักษ์ในการตอบโต้ และไม่มีการเตรียมการให้ส.ส.ช่วยรัฐมนตรี เพราะเชื่อว่า รัฐมนตรีภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ มีความพร้อมที่จะรับการตรวจสอบจากฝ่ายค้าน
เมื่อถามว่า มีข่าวกลุ่ม 12 พรรคเพื่อแผ่นดิน จะไปร่วมสนับสนุนการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นไปได้หรือที่รัฐบาลจะดึงมาอยู่ซีกรัฐบาล เพื่อให้ได้คะแนนเพิ่มมากขึ้น นายชินวรณ์ กล่าวว่า มีการพูดถึงซึ่งอ้างถึงรัฐธรรมนูญว่า ส.ส.มีอิสระในการทำหน้าที่โดยปราศจากการครอบงำ ถ้าการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส.ส.คนใดจะไม่ลงญัญติร่วม หรือไม่ยกมือในการไว้วางใจหรือไม่วางใจเป็นสิทธิอันชอบธรรม แน่นอนที่สุดส.ส.กลุ่มหนึ่งในพรรคเพื่อแผ่นดินยกมือสนับสนุนพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ว่าที่หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นนายกฯ แต่วันอภิปรายไม่ไว้วางใจก็เป็นสิทธิในการลงมติเป็สิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เราคงไม่ใช้โอกาสนี้ดึงมาเป็นเสียงให้กับรัฐบาล แต่เราเปิดกว้างขอความร่วมมือจากทุกฝ่าย
อย่างไรก็ตามขอยืนยันว่า พรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคยินดีให้พรรคฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้ววางใจ เพราะถือเป็นการหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล และรัฐบาลก็พร้อมรับการตรวจสอบดังกล่าว
นอกจากนี้ที่ประชุมวิปรัฐบาลยังเห็นชอบ กรอบรับมือการอภิปรายไม่วางใจทั้ง 6 ข้อ ได้แก่ 1.ให้เกียรติฝ่ายค้านในการับฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และจะใช้ชี้แจงด้วยเหตุผลและข้อมูล 2.จะดำเนินการในการทำให้มาตรฐานการอภิปรายของฝ่ายค้านสูงขึ้น โดยจะไม่มีการประท้วงอย่างยุ่มยิมอย่างแน่นอน
3.ให้ความร่วมมือกับประธานสภา เพื่อให้การบริหารจัดการประชุมเป็นไปตามข้อบังคับอย่างเคร่งครัด 4.จะดำเนินการช่วยเหลือรมต.ที่ถูกชี้แจง ในการทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นก่อนการอภิปราย ถ้าทราบประเด็นที่จะอภิปรายชัดเจนแล้ว รัฐมนตรี ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องก็ต้องชี้แจงในประเด็นนั้น ๆ ให้เกิดความเข้าใจในช่วงที่อยู่ในระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
5.รัฐมนตรีจะใช้สิทธิชี้แจงในประเด็นของตนเองแล้ว วิปพรรคร่วมรัฐบาลจะเป็นศูนย์กลางให้รัฐมนตรีสามารถที่จะมาชี้แจงต่อสื่อมวลชนได้ แม้จะหลังการอภิปรายไปแล้ว การที่รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายจะทำความเข้าใจกับประชาชนถือเป็นเรื่องสำคัญ และ 6.ตั้งคณะทำงานติดตามประเด็นที่ฝ่ายค้านหยิบยกขึ้นมา เพราะไม่ต้องการให้ประชาชนสับสนข้อมูลที่ได้มีการอภิปรายของฝ่ายค้าน เพราะบางข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ข้อมูลรถยนต์ส่วนตัวของนายกรัฐมนตรี หรือเรื่องครอบครัวนายกรัฐมนตรี ถือเป็หน้าที่ของพรรคคร่วมรัฐบาลที่ต้องร่วมทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน
ทั้งนี้ วิปรัฐบาลจะติดตามว่า ฝ่ายค้านจะอภิปรายในประเด็นอะไรบ้าง เชื่อว่าสัปดาห์นี้การอภิปรายไม่ไว้วางใจจะมีความชัดเจน เพราะจะต้องยื่นขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในวันที่ 11 มี.ค.นี้ ตามที่ฝ่ายค้านได้แถลงเอาไว้ และในวันอังคารที่ 3 มี.ค. ที่โฆษกพรรคร่วมฝ่ายค้านได้แถลงไว้ว่า จะมีการประชุมพรรคเพื่อคัดเลือกตัวบุคคลที่เห็นสมควรในการเสนอชื่อเพื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 158 พรรคร่วมรัฐบาลเห็นว่า เป็นเรื่องที่ต้องให้กำลังใจ ไม่ว่าจะเป็น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง หรือเป็นใครก็ตาม หากพรรคเพื่อไทยเสนอชื่ออย่างชัดเจน เราก็เห็นว่า ควรเสนอชื่อบุคคลดังกล่าวเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นผู้นำฝ่ายค้าน เพื่อให้กระบวนการในสภามีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเตรียมสมาชิกช่วยรัฐมนตรีชี้แจง ในเบื้องต้นได้กำหนดไว้หรือไม่ส.ส.กี่คนต่อรัฐมนตรีหนึ่งคน นายชินวรณ์ กล่าวว่า เราจะไม่มีการเตรียมองครักษ์ในการตอบโต้ และไม่มีการเตรียมการให้ส.ส.ช่วยรัฐมนตรี เพราะเชื่อว่า รัฐมนตรีภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ มีความพร้อมที่จะรับการตรวจสอบจากฝ่ายค้าน
เมื่อถามว่า มีข่าวกลุ่ม 12 พรรคเพื่อแผ่นดิน จะไปร่วมสนับสนุนการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นไปได้หรือที่รัฐบาลจะดึงมาอยู่ซีกรัฐบาล เพื่อให้ได้คะแนนเพิ่มมากขึ้น นายชินวรณ์ กล่าวว่า มีการพูดถึงซึ่งอ้างถึงรัฐธรรมนูญว่า ส.ส.มีอิสระในการทำหน้าที่โดยปราศจากการครอบงำ ถ้าการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส.ส.คนใดจะไม่ลงญัญติร่วม หรือไม่ยกมือในการไว้วางใจหรือไม่วางใจเป็นสิทธิอันชอบธรรม แน่นอนที่สุดส.ส.กลุ่มหนึ่งในพรรคเพื่อแผ่นดินยกมือสนับสนุนพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ว่าที่หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นนายกฯ แต่วันอภิปรายไม่ไว้วางใจก็เป็นสิทธิในการลงมติเป็สิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เราคงไม่ใช้โอกาสนี้ดึงมาเป็นเสียงให้กับรัฐบาล แต่เราเปิดกว้างขอความร่วมมือจากทุกฝ่าย