“ธีระ” ไอเดียกระฉูดสั่งกรมศิลป์ฯ ผลิต “ตระกรุด-ลูกปัด” ลงลายไทยเป็นเครื่องประดับ ดันเป็นสินค้าวัฒนธรรมหวังขายนักท่องเที่ยว ตามรอยบลูอายส์ของตุรกี อ้างความขลังเครื่องรางไทยทำนักฟุตบอลอิตาลีมาฝังกับเกจิชื่อดังมาแล้ว ด้านอธิบดีกรมศิลป์ไม่ค้าน แต่ขอศึกษาก่อนว่าเหมาะสมหรือไม่
นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังเป็นประธานในการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “ลูกปัด :องค์ความรู้และการปกป้องคุ้มครอง” วานนี้(11 มี.ค.) ว่า ได้ฝากโจทย์ให้นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร และนักวิชาการ ใน 2 เรื่องหลักด้วยกันคือ 1 .ตนเคยได้ยินเกี่ยวกับการค้าขายทางทะเล ที่มีการเชื่อมโยงจากฝั่งอันดามันมายังอ่าวไทย ซึ่งนักวิชาการได้ระบุว่า มีการค้าขายผ่านเส้นทางดังกล่าวจริง ดังนั้น ตนอยากให้มีการศึกษาต่อไปว่า ลูกปัดที่พบในภาคใต้กระจายไปยังจังหวัดต่างๆ นั้น จะเป็นสื่อที่ให้การเรียนรู้บอกเล่าเรื่องราวให้ชัดขึ้นว่าประเทศไทยเคยมีเส้นทางการค้าขายโบราณวัตถุทั้งทางน้ำและทางบก
2.ฝากโจทย์ให้อธิบดีกรมศิลปากรไปศึกษาข้อดีข้อเสียของการจัดทำสินค้าที่ระลึก เครื่องประดับ ซึ่งสามารถนำมาเป็นอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะขณะนี้มีเรื่องลูกปัดตนจึงอยากให้นำไปผลิตเป็นเครื่องประดับเช่นเดียวกับต่างประเทศ อาทิ ในประเทศตุรกี มีการจัดทำเรื่องราวของดวงตาสีฟ้าหรือบลูอายส์ เป็นสินค้าที่ระลึกที่มีความเชื่อมโยงระหว่างประวัติศาสตร์และความเชื่อชาวกรีก-โรมัน จนทำให้เป็นสินค้าที่ขายดีมาก เพราะฉะนั้นถ้าวันนี้เราตีปี๊บดังในประเทศและดังในระดับสังคมโลก รู้ว่าประเทศไทยมีโบราณวัตถุที่สำคัญก็มีโอกาสที่จะผลักดันให้เป็นสินค้าในเชิงวัฒนธรรม และส่งเสริมให้เป็นภาคอุตสาหกรรมให้ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ใครมาเมืองไทยก็อยากได้สิ่งเหล่านี้กลับไปเป็นที่ระลึก
นอกจากนี้ยังได้ให้อธิบดีกรมศิลปากร ไปศึกษาข้อดีข้อเสียของการทำตะกรุด ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเงินหรือทองแต่อยากให้มีการใส่ลวดลายไทยลงไปเพื่อทำเป็นเครื่องประดับ ที่มีความเชื่อทางจิตใจ เพราะมีความเชื่อมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย เมื่อออกรบก็ยังพกตะกรุดไปด้วย ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นแนวคิดที่ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ เพราะเชื่อว่า จะสามารถผลิตเป็นอุตสาหกรรมได้ หากได้มีการติดตามข่าวที่ผ่านมาพบว่า มีนักฟุตบอลชาวอิตาเลียนที่มีชื่อเสียงของโลกยังเคยเดินทางมาฝังตะกรุดกับพระชื่อดังในเมืองไทยด้วยซ้ำ เพราะคิดว่าเมื่อฝังแล้วจะแตะฟุตบอลได้เก่ง
“ผมคิดว่าหากเราทำเครื่องประดับให้ไว้แขวนคอก็คงจะดูดี จะเป็นได้ทั้งเครื่องรางและเครื่องประดับ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่งมงาย ซึ่งในต่างประเทศก็ทำ ตะกรุดเป็นสิ่งที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์สุโขทัย แต่การทำสินค้าวัฒนธรรมไม่จำเป็นต้องปลุกเสก เพราะเป็นเพียงสินค้าที่ระลึกเท่านั้น ที่สำคัญตนไม่อยากให้ประชาชนงมงาย อย่างไรก็ตาม ผมได้ให้นักวิชาการที่เกี่ยวข้องศึกษาข้อดีและข้อเสียถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำ ซึ่งจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายการลอกเลียนแบบ” นายธีระกล่าว
ด้านนายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นการต่อยอดจากการขุดค้นลูกปัดบริเวณอ.คลองท่อม จ.กระบี่ เพื่อทำเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งหากเปิดให้มีการท่องเที่ยวจึงมีแนวคิดว่าทำสินค้าที่ระลึกโดยชาวบ้านผลิตขึ้นมาใหม่โดยใช้ต้นแบบจากลูกปัดที่ขุดค้นพบ คาดว่าจะช่วยเพิ่มรายได้ให้ท้องถิ่นทางหนึ่ง สำหรับแนวทางการผลิตลูกปัดเป็นสินค้าวัฒนธรรมนั้นกำลังอยู่ในขั้นตอนศึกษาขบวนการผลิตเพื่อนำเสนอให้รมว.วัฒนธรรมต่อไป
“เราอยู่ในขั้นตอนการศึกษาข้อดีข้อเสียอยู่ว่าถ้าจะผลิตจะเป็นอย่างไร ซึ่งชาวบ้านก็ทำกันเองบ้างแล้ว แต่สำหรับเรื่องตะกรุดลายไทยก็อาจจะเป็นหนึ่งในเรื่องที่ต้องศึกษา เพราะประเทศไทยมีวัฒนธรรมหลากหลาย แต่ละท้องถิ่นมีจุดเด่นไม่เหมือนกัน ภาคเหนือเป็นงานไม้ เมืองนครศรีธรรมราชมีเครื่องโลหะ ทองเหลือง ส่วนตะกรุดเป็นความเชื่อหนึ่งของเราเหมือนแขวนพระ แต่อาจจะน้อยกว่า อย่างไรก็ตามก็ต้องศึกษาว่าเหมาะหรือไม่ เราต้องดูในภาพรวมด้วย” อธิบดีกรมศิลปากร กล่าว
นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังเป็นประธานในการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “ลูกปัด :องค์ความรู้และการปกป้องคุ้มครอง” วานนี้(11 มี.ค.) ว่า ได้ฝากโจทย์ให้นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร และนักวิชาการ ใน 2 เรื่องหลักด้วยกันคือ 1 .ตนเคยได้ยินเกี่ยวกับการค้าขายทางทะเล ที่มีการเชื่อมโยงจากฝั่งอันดามันมายังอ่าวไทย ซึ่งนักวิชาการได้ระบุว่า มีการค้าขายผ่านเส้นทางดังกล่าวจริง ดังนั้น ตนอยากให้มีการศึกษาต่อไปว่า ลูกปัดที่พบในภาคใต้กระจายไปยังจังหวัดต่างๆ นั้น จะเป็นสื่อที่ให้การเรียนรู้บอกเล่าเรื่องราวให้ชัดขึ้นว่าประเทศไทยเคยมีเส้นทางการค้าขายโบราณวัตถุทั้งทางน้ำและทางบก
2.ฝากโจทย์ให้อธิบดีกรมศิลปากรไปศึกษาข้อดีข้อเสียของการจัดทำสินค้าที่ระลึก เครื่องประดับ ซึ่งสามารถนำมาเป็นอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะขณะนี้มีเรื่องลูกปัดตนจึงอยากให้นำไปผลิตเป็นเครื่องประดับเช่นเดียวกับต่างประเทศ อาทิ ในประเทศตุรกี มีการจัดทำเรื่องราวของดวงตาสีฟ้าหรือบลูอายส์ เป็นสินค้าที่ระลึกที่มีความเชื่อมโยงระหว่างประวัติศาสตร์และความเชื่อชาวกรีก-โรมัน จนทำให้เป็นสินค้าที่ขายดีมาก เพราะฉะนั้นถ้าวันนี้เราตีปี๊บดังในประเทศและดังในระดับสังคมโลก รู้ว่าประเทศไทยมีโบราณวัตถุที่สำคัญก็มีโอกาสที่จะผลักดันให้เป็นสินค้าในเชิงวัฒนธรรม และส่งเสริมให้เป็นภาคอุตสาหกรรมให้ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ใครมาเมืองไทยก็อยากได้สิ่งเหล่านี้กลับไปเป็นที่ระลึก
นอกจากนี้ยังได้ให้อธิบดีกรมศิลปากร ไปศึกษาข้อดีข้อเสียของการทำตะกรุด ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเงินหรือทองแต่อยากให้มีการใส่ลวดลายไทยลงไปเพื่อทำเป็นเครื่องประดับ ที่มีความเชื่อทางจิตใจ เพราะมีความเชื่อมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย เมื่อออกรบก็ยังพกตะกรุดไปด้วย ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นแนวคิดที่ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ เพราะเชื่อว่า จะสามารถผลิตเป็นอุตสาหกรรมได้ หากได้มีการติดตามข่าวที่ผ่านมาพบว่า มีนักฟุตบอลชาวอิตาเลียนที่มีชื่อเสียงของโลกยังเคยเดินทางมาฝังตะกรุดกับพระชื่อดังในเมืองไทยด้วยซ้ำ เพราะคิดว่าเมื่อฝังแล้วจะแตะฟุตบอลได้เก่ง
“ผมคิดว่าหากเราทำเครื่องประดับให้ไว้แขวนคอก็คงจะดูดี จะเป็นได้ทั้งเครื่องรางและเครื่องประดับ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่งมงาย ซึ่งในต่างประเทศก็ทำ ตะกรุดเป็นสิ่งที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์สุโขทัย แต่การทำสินค้าวัฒนธรรมไม่จำเป็นต้องปลุกเสก เพราะเป็นเพียงสินค้าที่ระลึกเท่านั้น ที่สำคัญตนไม่อยากให้ประชาชนงมงาย อย่างไรก็ตาม ผมได้ให้นักวิชาการที่เกี่ยวข้องศึกษาข้อดีและข้อเสียถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำ ซึ่งจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายการลอกเลียนแบบ” นายธีระกล่าว
ด้านนายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นการต่อยอดจากการขุดค้นลูกปัดบริเวณอ.คลองท่อม จ.กระบี่ เพื่อทำเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งหากเปิดให้มีการท่องเที่ยวจึงมีแนวคิดว่าทำสินค้าที่ระลึกโดยชาวบ้านผลิตขึ้นมาใหม่โดยใช้ต้นแบบจากลูกปัดที่ขุดค้นพบ คาดว่าจะช่วยเพิ่มรายได้ให้ท้องถิ่นทางหนึ่ง สำหรับแนวทางการผลิตลูกปัดเป็นสินค้าวัฒนธรรมนั้นกำลังอยู่ในขั้นตอนศึกษาขบวนการผลิตเพื่อนำเสนอให้รมว.วัฒนธรรมต่อไป
“เราอยู่ในขั้นตอนการศึกษาข้อดีข้อเสียอยู่ว่าถ้าจะผลิตจะเป็นอย่างไร ซึ่งชาวบ้านก็ทำกันเองบ้างแล้ว แต่สำหรับเรื่องตะกรุดลายไทยก็อาจจะเป็นหนึ่งในเรื่องที่ต้องศึกษา เพราะประเทศไทยมีวัฒนธรรมหลากหลาย แต่ละท้องถิ่นมีจุดเด่นไม่เหมือนกัน ภาคเหนือเป็นงานไม้ เมืองนครศรีธรรมราชมีเครื่องโลหะ ทองเหลือง ส่วนตะกรุดเป็นความเชื่อหนึ่งของเราเหมือนแขวนพระ แต่อาจจะน้อยกว่า อย่างไรก็ตามก็ต้องศึกษาว่าเหมาะหรือไม่ เราต้องดูในภาพรวมด้วย” อธิบดีกรมศิลปากร กล่าว