ASTVผูจัดการรายวัน- ย้ายล้างบางมหาดไทย "อธิบดีพัฒนาชุมชน-ผู้ว่าฯเชียงใหม่-อยุธยา" สลายขุมพลังเสื้อแดง "เนวิน-สุเทพ" วินวิน "สุกิจ" เด็กหญิงอ้อ อ้างนักการเมืองจ้องงาบ เซ็นคำสั่งทิ้งทวน 3 พันโครงการหลังรู้ถูกเด้ง เปิดเบื้องลึกสาย "เทพประทาน" ผงาดยกแผง เพราะมีความใกล้ชิด ศิษย์ร่วมสถาบัน ขณะที่"เนวิน" ส่งคนคุมสายอีสาน-เหนือ เอื้อฐานเสียงภูมิใจไทย
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วานนี้(10มี.ค.) ว่า ที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูง ตามที่กระทรวงมหาดไทย เสนอจำนวน 28 ราย ได้แก่ 1.นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดเชียงใหม่ และให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 2.นายอมรพันธุ์ นิมานันท์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดลำปาง และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดเชียงใหม่ 3.นายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดพิษณุโลก และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดลำปาง 4.นายปรีชา เรืองจันทร์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดภูเก็ต ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดพิษณุโลก
5.นายวิชัย ไพรสงบ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดสิงห์บุรี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดภูเก็ต 6.นายชุมพร พลรักษ์ พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดสิงห์บุรี 7.นายไพรัตน์ สกลพันธุ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดนครนายก ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน 8.นายปรีชา กมลบุตร พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดนครนายก 9.นายวิทยา ผิวผ่อง พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดสกลนคร ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 10.นายสุกิจ เจริญรัตนกุล พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย
11.นายมานิต วัฒนเสน พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดขอนแก่น ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 12.นายปราโมทย์ สันจจรักษ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดสุรินทร์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดขอนแก่น 13.นายวิเชียร ชวลิต พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดอำนาจเจริญ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดสุรินทร์ 14.นายบุญสนอง บุญมี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดนครพนม ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดอำนาจเจริญ
15.นายพงษ์ศิริ กุสุมภ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดร้อยเอ็ด ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดนครพนม 16.นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดระยอง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดร้อยเอ็ด 17.นายสยุมพร ลิ่มไทย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดสตูล ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดระยอง 18.นายสุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดราชบุรี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดสตูล 19. นายสุเทพ โกมลภมร พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดพัทลุง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดราชบุรี 20.นายวิญญู ทองสกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดพัทลุง
21.นายทองทวี พิมเสน พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดมหาสารคาม 22.นายพินิจ เจริญพานิช พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดมหาสารคาม ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 23.นายสุเมธ แสงนิ่มนวล พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดเชียงราย 24.นายไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดเชียงราย ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
25.นายขจรศักดิ์ สิงโตกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดยโสธร ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 26.นายวันชัย อุดมสิน พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดกำแพงเพชร ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดยโสธร 27.นายวันชัย สุทิน พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดกำแพงเพชร 28.นายสมบัติ ศรีวัฒน์สุวรรณ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าฯ จังหวัดอุดรธานี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดสกลนคร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เป็นต้นไป
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการโยกย้ายครั้งนี้ว่าไม่ใช่การย้ายล้างบาง แต่เป็นเรื่องของการบริหารราชการทั่วไป เชื่อว่าจะไม่กระทบกำลังใจข้าราชการ และเป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยเสนอมา ถือว่ารัฐบาลชุดนี้มีการโยกย้ายน้อยมาก
สำหรับการจัดทำบัญชีโยกย้ายครั้งนี้ มีรายงานว่า ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการพิจารณาคือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และนายเนวิน ชิดชอบ จึงมีการผลักดันคนใกล้ชิดของตัวเองในพื้นที่ ทั้งที่เป็นคนบ้านเดียวกันกับนายสุเทพ เพื่อนสนิท และรุ่นน้องมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งนายสุเทพ จบการศึกษาจากที่นั่นมารับตำแหน่งหลายคน รวมถึงการผลักดันของ นายเนวิน ให้ผู้ว่าฯภาคอีสาน ซึ่งใกล้ชิดกับ ส.ส.ภูมิใจไทย มารับตำแหน่งสำคัญๆหลายคน เพื่อการสลายพลังของกลุ่มอำนาจเก่า นอกจากนี้ก็มีอีกหลายคนที่เป็นการย้ายเพื่อคืนความชอบธรรมให้ หลังจากถูกโยกย้ายในช่วงรัฐบาลพลังประชาชน
สำหรับกรณีของนายสุกิจ เจริญรัตนกุล ที่ถูกเด้งจากอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งเป็นกรมขนาดใหญ่ ของกระทรวง ไปนั่งตำแหน่งผู้ตรวจราชการฯ เหตุเพราะนายสุกิจ มีความใกล้ชิดกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและคุณหญิงพจมาน เมื่อผนวกกับมีปํญหาเรื่องทุจริตนมโรงเรียนเกิดขึ้น แต่นายสุกิจ ชี้แจงเรื่องนี้ไม่เป็นที่พอใจของฝ่ายการเมือง
หลังจากถูกย้าย นายสุกิจ ได้ประกาศทันทีว่า เตรียมยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ตามรอยนายพีรพล ไตรทศาวิทย์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ถูกเด้งเข้ากรุก่อนหน้านี้
นอกจานกนี้ มีรายงานว่า นายสุกิจ ลงนาม คำสั่งทิ้งทวนเปิดศึกกับฝ่ายการเมือง หลังโดนเด้งไม่กี่ชั่วโมง เช่น คำสั่งเรื่องยกเลิกแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีเร่งด่วน และ คำสั่ง แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาวงเงินการก่อสร้างและรูปแบบโครงการที่ อปท. ขอรับการสนับสนุนงบประมาณปี 2552 ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ อสถ. คนปัจจุบัน ได้รับคำสั่งให้ไปรักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย (ผต.มท.)
ในตอนท้ายคำสั่ง นายสุกิจ ระบุไว้ชัดเจนว่า "อนึ่ง ณ ปัจจุบันเหลือเวลาอีกเพียง 6 เดือน จะสิ้นปีงบประมาณ 2552 ฉะนั้นในห้วงเวลานี้ จนถึงวันที่ อสถ. คนปัจจุบันได้รับคำสั่งให้ไปรักษาราชการแทนในตำแหน่ง ผต.มท. จึงขอให้ประธาน รองประธาน เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการเงินอุดหนุนเฉพาะกิจฯ เร่งพิจารณาโครงการต่างๆ ที่คณะทำงานพิจารณาวงเงินก่อสร้างฯ ได้ตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้วประมาณ 3,000 โครงการ โดยมิต้องรอคำสั่งที่มิชอบ ของข้าราชการฝ่ายการเมืองเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา"
สำหรับคนที่มาเป็นอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น คุมงบ 1.4 แสนล้านบาท แทนนายสุกิจ คือ นายมานิต วัฒนเสน ผวจ.ขอนแก่น สายตรงนาย เนวิน ชิดชอบ ที่ก่อนหน้านี้เพิ่งได้รับแรงหนุนจากนายเนวินให้เป็นบอร์ดการประปาส่วนภูมิภาค
สำหรับรายชื่อที่น่าสนใจใน 28 ตำแหน่งหลักๆ เช่นนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ที่ถูกย้ายจากผู้ว่าฯเชียงใหม่ มาเป็น รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งแม้จะดูว่าไม่ได้เป็นการลดชั้น แต่ทว่านายวิบูลย์ อายุราชการยังเหลือถึงปี 58 และนายวิบูลย์ ก็ไม่เต็มใจย้ายจากตำแหน่ง แต่ทว่าพื้นที่เชียงใหม่เป็นที่ทราบกันดีเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นกองบัญชาการหลักของคนเสื้อแดงในภาคเหนือ จึงทำให้การย้าย นายวิบูลย์ครั้งนี้ ก็เพราะฝ่ายการเมืองติดใจนายวิบูลย์ หลายเรื่องโดยเฉพาะกรณีที่ก่อนหน้านี้ นายสุเทพ เดินทางไปร่วมงานสังสรรค์ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แล้วถูกคนเสื้อแดงบุกเข้าไปก่อกวน และปิดล้อมสถานที่จัดงาน โดยคนที่มาแทนก็คือ นายอมรพันธุ์ นิมานันท์ ผวจ.ลำปาง ที่แนบแน่นกับแกนนำ พรรคประชาธิปัตย์หลายคน โดยเฉพาะนายชวน หลีกภัย ขณะเดียวกัน ก็ผลักดันให้นายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์ ผู้ว่าฯ พิษณุโลก ให้มาเป็นผู้ว่าฯ ลำปางแทน
อธิบดีอีกคน ที่ถูกลดชั้น คือ นายชุมพร พลรักษ์ จากอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มาเป็น ผู้ว่าฯ สิงห์บุรี หลังจากเข้ารับตำแหน่งได้แค่ 5 เดือน ซึ่ง นายชุมพร มีความใกล้ชิดกับคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์
ทั้งนี้ เดิมมีข่าวว่านายสุเทพ พยายามผลักดันให้นายสยุมพร ลิ่มไทย ผู้ว่าฯสตูล มาเป็นอธิบดีกรมพัฒนาชุมชน แต่ปรากฏว่าโผไม่ลงตัว เพราะชื่อของ นายไพรัตน์ สกลพันธุ์ ผวจ.นครนายก มาแรงในตอนท้าย เพราะนายเนวิน ต้องการให้นายไพรัตน์ ไปเป็นอธิบดีกรมพัฒนาชุมชนแทน จนนายชวรัตน์ ต้องเข้ามาเคลียร์ ขอให้นายสยุมพร ไปเป็นผู้ว่าฯ ระยองแทน ซึ่งนายสุเทพ ก็ไม่ขัดข้อง
ขณะที่นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าฯสิงห์บุรี มารับตำแหน่งผู้ว่าฯ ภูเก็ต เพราะได้รับแรงหนุนจากนางอัญชลี วานิช เทพบุตร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ เพราะเคยเป็นอดีตผู้ว่าฯพังงามาก่อน
นายปรีชา กมลบุตร ผู้ว่าฯ อยุธยา ถูกลดชั้นให้ไปเป็นผู้ว่าฯ นครนายก เพราะฝ่ายการเมือง เห็นว่านายปรีชา ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงในพื้นที่ได้ จนทำให้อยุธยาฯ เป็นพื้นที่หลักของคนเสื้อแดงในภาคกลาง นอกจากนี้ นายปรีชา มีความใกล้ชิดกับแกนนำพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะนายยงยุทธ ติยะไพรัช สมัยนายปรีชา เป็น ผู้ว่าฯเชียงราย ส่วนคนที่มาเป็นผู้ว่าฯ อยุธยา แทนคือนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าฯ สกลนคร ซึ่งสนิทกับนายเนวิน และส.ส.ภูมิใจไทยหลายคน เช่น เดียวกับนายปราโมทย์ สัจจรักษ์ ผวจ.สุรินทร์ ได้ขยับมาเป็นผู้ว่าฯ ขอนแก่น พื้นที่เลือกตั้งของประจักษ์ แก้วกล้าหาญ รมช. คมนาคมจากพรรคภูมิใจไทย เพราะเป็นสายตรงนายเนวิน ทั้งที่เพิ่งไปเป็นผู้ว่าฯ สุรินทร์ เมื่อต.ค.ปี 51
สำหรับนายวิเชียร ชวลิต ผู้ว่าฯ อำนาจเจริญ เลื่อนชั้นนั่งเก้าอี้เป็น ผวจ.สุรินทร์ สายตรงเนวิน ก่อนหน้านี้เนวิน ส่งมาเป็นคณะทำงานให้กับ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ อดีตรมว.มหาดไทย ที่มีนายศักดิ์สยามเป็นหัวหน้าทีม จนได้ขึ้นเป็นผู้ว่าฯอำนาจเจริญ เมื่อต.ค.51
ส่วนสายตรงนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อีกคนหนึ่งคือ นายวิญญู ทองสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ พัทลุง เนื่องจากเป็นคนสุราษฏร์ธานี เหมือนกัน แถมยังเป็นเพื่อนร่วมสถาบันที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้วย
นอกจากมีการโยกผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ออกไปเป็นผู้ว่าฯในอีสาน และภาคเหนือ ในพื้นที่สีแดงหลายคน แล้วก็โยกผู้ว่าฯ พื้นที่สีแดงเข้ากรุ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เพื่อสลับกัน
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วานนี้(10มี.ค.) ว่า ที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูง ตามที่กระทรวงมหาดไทย เสนอจำนวน 28 ราย ได้แก่ 1.นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดเชียงใหม่ และให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 2.นายอมรพันธุ์ นิมานันท์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดลำปาง และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดเชียงใหม่ 3.นายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดพิษณุโลก และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดลำปาง 4.นายปรีชา เรืองจันทร์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดภูเก็ต ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดพิษณุโลก
5.นายวิชัย ไพรสงบ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดสิงห์บุรี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดภูเก็ต 6.นายชุมพร พลรักษ์ พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดสิงห์บุรี 7.นายไพรัตน์ สกลพันธุ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดนครนายก ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน 8.นายปรีชา กมลบุตร พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดนครนายก 9.นายวิทยา ผิวผ่อง พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดสกลนคร ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 10.นายสุกิจ เจริญรัตนกุล พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย
11.นายมานิต วัฒนเสน พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดขอนแก่น ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 12.นายปราโมทย์ สันจจรักษ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดสุรินทร์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดขอนแก่น 13.นายวิเชียร ชวลิต พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดอำนาจเจริญ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดสุรินทร์ 14.นายบุญสนอง บุญมี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดนครพนม ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดอำนาจเจริญ
15.นายพงษ์ศิริ กุสุมภ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดร้อยเอ็ด ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดนครพนม 16.นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดระยอง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดร้อยเอ็ด 17.นายสยุมพร ลิ่มไทย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดสตูล ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดระยอง 18.นายสุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดราชบุรี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดสตูล 19. นายสุเทพ โกมลภมร พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดพัทลุง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดราชบุรี 20.นายวิญญู ทองสกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดพัทลุง
21.นายทองทวี พิมเสน พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดมหาสารคาม 22.นายพินิจ เจริญพานิช พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดมหาสารคาม ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 23.นายสุเมธ แสงนิ่มนวล พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดเชียงราย 24.นายไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดเชียงราย ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
25.นายขจรศักดิ์ สิงโตกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดยโสธร ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 26.นายวันชัย อุดมสิน พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดกำแพงเพชร ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดยโสธร 27.นายวันชัย สุทิน พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจังหวัดกำแพงเพชร 28.นายสมบัติ ศรีวัฒน์สุวรรณ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าฯ จังหวัดอุดรธานี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดสกลนคร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เป็นต้นไป
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการโยกย้ายครั้งนี้ว่าไม่ใช่การย้ายล้างบาง แต่เป็นเรื่องของการบริหารราชการทั่วไป เชื่อว่าจะไม่กระทบกำลังใจข้าราชการ และเป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยเสนอมา ถือว่ารัฐบาลชุดนี้มีการโยกย้ายน้อยมาก
สำหรับการจัดทำบัญชีโยกย้ายครั้งนี้ มีรายงานว่า ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการพิจารณาคือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และนายเนวิน ชิดชอบ จึงมีการผลักดันคนใกล้ชิดของตัวเองในพื้นที่ ทั้งที่เป็นคนบ้านเดียวกันกับนายสุเทพ เพื่อนสนิท และรุ่นน้องมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งนายสุเทพ จบการศึกษาจากที่นั่นมารับตำแหน่งหลายคน รวมถึงการผลักดันของ นายเนวิน ให้ผู้ว่าฯภาคอีสาน ซึ่งใกล้ชิดกับ ส.ส.ภูมิใจไทย มารับตำแหน่งสำคัญๆหลายคน เพื่อการสลายพลังของกลุ่มอำนาจเก่า นอกจากนี้ก็มีอีกหลายคนที่เป็นการย้ายเพื่อคืนความชอบธรรมให้ หลังจากถูกโยกย้ายในช่วงรัฐบาลพลังประชาชน
สำหรับกรณีของนายสุกิจ เจริญรัตนกุล ที่ถูกเด้งจากอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งเป็นกรมขนาดใหญ่ ของกระทรวง ไปนั่งตำแหน่งผู้ตรวจราชการฯ เหตุเพราะนายสุกิจ มีความใกล้ชิดกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและคุณหญิงพจมาน เมื่อผนวกกับมีปํญหาเรื่องทุจริตนมโรงเรียนเกิดขึ้น แต่นายสุกิจ ชี้แจงเรื่องนี้ไม่เป็นที่พอใจของฝ่ายการเมือง
หลังจากถูกย้าย นายสุกิจ ได้ประกาศทันทีว่า เตรียมยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ตามรอยนายพีรพล ไตรทศาวิทย์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ถูกเด้งเข้ากรุก่อนหน้านี้
นอกจานกนี้ มีรายงานว่า นายสุกิจ ลงนาม คำสั่งทิ้งทวนเปิดศึกกับฝ่ายการเมือง หลังโดนเด้งไม่กี่ชั่วโมง เช่น คำสั่งเรื่องยกเลิกแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีเร่งด่วน และ คำสั่ง แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาวงเงินการก่อสร้างและรูปแบบโครงการที่ อปท. ขอรับการสนับสนุนงบประมาณปี 2552 ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ อสถ. คนปัจจุบัน ได้รับคำสั่งให้ไปรักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย (ผต.มท.)
ในตอนท้ายคำสั่ง นายสุกิจ ระบุไว้ชัดเจนว่า "อนึ่ง ณ ปัจจุบันเหลือเวลาอีกเพียง 6 เดือน จะสิ้นปีงบประมาณ 2552 ฉะนั้นในห้วงเวลานี้ จนถึงวันที่ อสถ. คนปัจจุบันได้รับคำสั่งให้ไปรักษาราชการแทนในตำแหน่ง ผต.มท. จึงขอให้ประธาน รองประธาน เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการเงินอุดหนุนเฉพาะกิจฯ เร่งพิจารณาโครงการต่างๆ ที่คณะทำงานพิจารณาวงเงินก่อสร้างฯ ได้ตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้วประมาณ 3,000 โครงการ โดยมิต้องรอคำสั่งที่มิชอบ ของข้าราชการฝ่ายการเมืองเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา"
สำหรับคนที่มาเป็นอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น คุมงบ 1.4 แสนล้านบาท แทนนายสุกิจ คือ นายมานิต วัฒนเสน ผวจ.ขอนแก่น สายตรงนาย เนวิน ชิดชอบ ที่ก่อนหน้านี้เพิ่งได้รับแรงหนุนจากนายเนวินให้เป็นบอร์ดการประปาส่วนภูมิภาค
สำหรับรายชื่อที่น่าสนใจใน 28 ตำแหน่งหลักๆ เช่นนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ที่ถูกย้ายจากผู้ว่าฯเชียงใหม่ มาเป็น รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งแม้จะดูว่าไม่ได้เป็นการลดชั้น แต่ทว่านายวิบูลย์ อายุราชการยังเหลือถึงปี 58 และนายวิบูลย์ ก็ไม่เต็มใจย้ายจากตำแหน่ง แต่ทว่าพื้นที่เชียงใหม่เป็นที่ทราบกันดีเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นกองบัญชาการหลักของคนเสื้อแดงในภาคเหนือ จึงทำให้การย้าย นายวิบูลย์ครั้งนี้ ก็เพราะฝ่ายการเมืองติดใจนายวิบูลย์ หลายเรื่องโดยเฉพาะกรณีที่ก่อนหน้านี้ นายสุเทพ เดินทางไปร่วมงานสังสรรค์ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แล้วถูกคนเสื้อแดงบุกเข้าไปก่อกวน และปิดล้อมสถานที่จัดงาน โดยคนที่มาแทนก็คือ นายอมรพันธุ์ นิมานันท์ ผวจ.ลำปาง ที่แนบแน่นกับแกนนำ พรรคประชาธิปัตย์หลายคน โดยเฉพาะนายชวน หลีกภัย ขณะเดียวกัน ก็ผลักดันให้นายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์ ผู้ว่าฯ พิษณุโลก ให้มาเป็นผู้ว่าฯ ลำปางแทน
อธิบดีอีกคน ที่ถูกลดชั้น คือ นายชุมพร พลรักษ์ จากอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มาเป็น ผู้ว่าฯ สิงห์บุรี หลังจากเข้ารับตำแหน่งได้แค่ 5 เดือน ซึ่ง นายชุมพร มีความใกล้ชิดกับคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์
ทั้งนี้ เดิมมีข่าวว่านายสุเทพ พยายามผลักดันให้นายสยุมพร ลิ่มไทย ผู้ว่าฯสตูล มาเป็นอธิบดีกรมพัฒนาชุมชน แต่ปรากฏว่าโผไม่ลงตัว เพราะชื่อของ นายไพรัตน์ สกลพันธุ์ ผวจ.นครนายก มาแรงในตอนท้าย เพราะนายเนวิน ต้องการให้นายไพรัตน์ ไปเป็นอธิบดีกรมพัฒนาชุมชนแทน จนนายชวรัตน์ ต้องเข้ามาเคลียร์ ขอให้นายสยุมพร ไปเป็นผู้ว่าฯ ระยองแทน ซึ่งนายสุเทพ ก็ไม่ขัดข้อง
ขณะที่นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าฯสิงห์บุรี มารับตำแหน่งผู้ว่าฯ ภูเก็ต เพราะได้รับแรงหนุนจากนางอัญชลี วานิช เทพบุตร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ เพราะเคยเป็นอดีตผู้ว่าฯพังงามาก่อน
นายปรีชา กมลบุตร ผู้ว่าฯ อยุธยา ถูกลดชั้นให้ไปเป็นผู้ว่าฯ นครนายก เพราะฝ่ายการเมือง เห็นว่านายปรีชา ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงในพื้นที่ได้ จนทำให้อยุธยาฯ เป็นพื้นที่หลักของคนเสื้อแดงในภาคกลาง นอกจากนี้ นายปรีชา มีความใกล้ชิดกับแกนนำพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะนายยงยุทธ ติยะไพรัช สมัยนายปรีชา เป็น ผู้ว่าฯเชียงราย ส่วนคนที่มาเป็นผู้ว่าฯ อยุธยา แทนคือนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าฯ สกลนคร ซึ่งสนิทกับนายเนวิน และส.ส.ภูมิใจไทยหลายคน เช่น เดียวกับนายปราโมทย์ สัจจรักษ์ ผวจ.สุรินทร์ ได้ขยับมาเป็นผู้ว่าฯ ขอนแก่น พื้นที่เลือกตั้งของประจักษ์ แก้วกล้าหาญ รมช. คมนาคมจากพรรคภูมิใจไทย เพราะเป็นสายตรงนายเนวิน ทั้งที่เพิ่งไปเป็นผู้ว่าฯ สุรินทร์ เมื่อต.ค.ปี 51
สำหรับนายวิเชียร ชวลิต ผู้ว่าฯ อำนาจเจริญ เลื่อนชั้นนั่งเก้าอี้เป็น ผวจ.สุรินทร์ สายตรงเนวิน ก่อนหน้านี้เนวิน ส่งมาเป็นคณะทำงานให้กับ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ อดีตรมว.มหาดไทย ที่มีนายศักดิ์สยามเป็นหัวหน้าทีม จนได้ขึ้นเป็นผู้ว่าฯอำนาจเจริญ เมื่อต.ค.51
ส่วนสายตรงนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อีกคนหนึ่งคือ นายวิญญู ทองสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ พัทลุง เนื่องจากเป็นคนสุราษฏร์ธานี เหมือนกัน แถมยังเป็นเพื่อนร่วมสถาบันที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้วย
นอกจากมีการโยกผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ออกไปเป็นผู้ว่าฯในอีสาน และภาคเหนือ ในพื้นที่สีแดงหลายคน แล้วก็โยกผู้ว่าฯ พื้นที่สีแดงเข้ากรุ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เพื่อสลับกัน