ที่รัฐสภา วานนี้ (10 มี.ค.) คณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญศึกษาติดตาม การบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา ที่มีพล.อ.อ.ณพฤษภ์ มัณฑะจิตร ส.ว.สรรหา เป็นประธาน ได้พิจารณาหามาตรการ ป้องกันเว็บไซด์หมิ่นสถาบันเบื้องสูง และ พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยเชิญตัวแทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)และนาง สุรางคณา วายุภาพ ผอ.ฝ่ายศึกษาวิจัยประเด็นด้านจริยธรรม กฎหมายและผลกระทบทางสังคมของ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ เน็กเทก มาให้ข้อมูลกฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
นางสุรางคณา ชี้แจงว่า ข้อความที่แสดงความเห็นในเว็บไซด์ประชาไท ส่วนใหญ่ มีการชี้นำและหมิ่นเหม่ต่อการละเมิดสถาบัน ซึ่งผู้ดูแลเว็บไซด์ ต้องใช้วิจารณญาณว่า การแสดงความเห็นของบุคคลที่3 ซึ่งใช้นามแฝงในกระทู้ถามบนเว็บไซด์ ส่งผลกระทบต่อสถาบันเบื้องสูงหรือไม่ เพราะถือว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างหนึ่ง และหากไม่มีการลบข้อความที่มีหมิ่น เจ้าหน้าที่ก็สามารถดำเนินคดีตามกฎหมายได้ แต่วิธีการปฏิบัติควรมีการตักเตือนล่วงหน้าก่อนดำเนินการจับกุม หากเร่งดำเนินการ ทางกฎหมายด้วยการบุกจับจะส่งผลให้เกิดการต่อต้าน และข้อโต้แย้งที่อาจนำไปสู่ค วามแตกแยกในสังคม
ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา หนึ่งในกรรมาธิการฯ กล่าวว่า เบื้องต้นที่ประชุมเห็นว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ถือว่ามีความครอบคลุมแล้ว แต่ที่มีปัญหาคือผู้ใช้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎหมาย ฉบับนี้ยังมีข้อบกพร่องบางประการ เช่น ไม่สามารถระบุตัวผู้โพสต์ข้อความหมิ่น ทำให้เกิดปัญหาตามจับไม่ได้ รวมถึงเรื่องคดีความมั่นคงและคดีหมิ่นต่างๆ ดังนั้นที่ประชุม จึงอยากให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และอาจมีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 26 ให้ผู้ดูแล สามารถรู้ได้ว่ามีใครเป็นผู้โพสต์ ข้อความบ้าง นอกจากนี้เห็นว่าควรมีการเพิ่มเจ้าหน้าที่ดูและเกี่ยวกับเวบไซต์หมิ่น เพราะปัจจุบันทั้งประเทศมีเจ้าหน้าที่ดูแลเพียง35 คน
นายคำนูณ ยังกล่าวถึงเวบไซต์ประชาไท ที่ถูกปิดและมีผู้เรียกร้องให้ทบทวน การปิดเว็บฯดังกล่าวเนื่องจากไม่ชอบด้วยกฎหมายว่า ตนเห็นว่าการปิดเว็บประชาไท ไม่ขัดต่อกฎหมาย เป็นไปตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีการคานอำนาจไว้เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเจ้าหน้าที่ ไม่มีทางที่จะเข้าไปกลั่นแกล้งได้ เพราะต้องมีการขออำนาจศาลในการจับกุมก่อน รวมทั้งผู้ถูกดำเนินคดี สามารถสู้คดีในชั้นศาลได้ อย่างไรก็ตาม กมธ. ยังไม่ได้พิจารณาเวบไซต์อื่นๆ
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าวปิดสถานีวิทยุชุมชน 92.25 เมกะเฮิรตซ์ ว่า ได้สอบถามไปยังนายนัที เปรมรัศมี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และทราบว่าเป็นเรื่องการดำเนินการ ของคณะอนุกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งเป็นอนุกรรมการ ที่ทำงานร่วมอยู่กับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
โดยที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการ 2 เรื่อง คือ 1.ส่งหนังสือเตือน ไปยังสถานีวิทยุชุมชน เนื่องจากมีคนร้องเรียนแต่ไม่มีหลักฐานการกระทำผิด ซึ่งสถานีวิทยุ 92.25 อยู่ในข่ายนี้ และการเตือน ลงนามโดยนายนัที ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และ2. จะดำเนินการตาม กฎหมาย กับสถานีวิทยุที่กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว การดำเนินการทั้งหมด รวมถึงการสั่งปิด เป็นอำนาจของอนุกรรมการฯ ไม่ใช่อำนาจของฝ่ายบริหาร
นายสาทิตย์ กล่าวว่า รัฐบาลไม่ได้เพิกเฉยหรือนิ่งนอนใจ เพราะมีประชาชน ร้องเรียน ปัญหาวิทยุชุมชนเข้ามาจำนวนมาก ทั้งเรื่องการปลุกระดมให้เกิดความ ไม่สงบเรียบร้อย การใช้ถ้อยคำหยาบคาย บางสถานีลุกลามเป็นประเด็นที่กระทบต่อเรื่องของการหมิ่นสถาบัน ดังนั้นหากมีหลักฐาน จะประสานกับคณะอนุกรรมการฯ เพื่อให้ดำเนินการโดยเข้มงวด เพราะเรื่องของคลื่นความถี่ มีผลต่อความคิดอ่านของประชาชนมาก และหากนำไปใช้เป็นเครื่องมือปลุกระดมการเมืองก็จะเกิดความวุ่นวาย
ทั้งนี้ในเดือน เม.ย.นี้จะมีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุชุมชน แบบบริการชุมชน ซึ่งเป็นการจัดระเบียบขั้นต้น
ด้านนายนัที เปรมรัศมี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ได้สั่งปิดคลื่น วิทยุชุมชน 92.25 ตามที่มีข่าวออกมา เนื่องจากไม่มีอำนาจ คาดว่าการปล่อยข่าว เรื่องดังกล่าว น่าจะมาจากการประชุมคณะอนุกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ วันที่9 มี.ค. ซึ่งตนได้สั่งตัดงบประมาณ 40-50 ล้านบาท ของวิทยุชุมชนบางคลื่น ที่รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ และใกล้ที่จะหมดสัญญา จึงอาจทำให้เกิดความไม่พอใจ
นางสุรางคณา ชี้แจงว่า ข้อความที่แสดงความเห็นในเว็บไซด์ประชาไท ส่วนใหญ่ มีการชี้นำและหมิ่นเหม่ต่อการละเมิดสถาบัน ซึ่งผู้ดูแลเว็บไซด์ ต้องใช้วิจารณญาณว่า การแสดงความเห็นของบุคคลที่3 ซึ่งใช้นามแฝงในกระทู้ถามบนเว็บไซด์ ส่งผลกระทบต่อสถาบันเบื้องสูงหรือไม่ เพราะถือว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างหนึ่ง และหากไม่มีการลบข้อความที่มีหมิ่น เจ้าหน้าที่ก็สามารถดำเนินคดีตามกฎหมายได้ แต่วิธีการปฏิบัติควรมีการตักเตือนล่วงหน้าก่อนดำเนินการจับกุม หากเร่งดำเนินการ ทางกฎหมายด้วยการบุกจับจะส่งผลให้เกิดการต่อต้าน และข้อโต้แย้งที่อาจนำไปสู่ค วามแตกแยกในสังคม
ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา หนึ่งในกรรมาธิการฯ กล่าวว่า เบื้องต้นที่ประชุมเห็นว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ถือว่ามีความครอบคลุมแล้ว แต่ที่มีปัญหาคือผู้ใช้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎหมาย ฉบับนี้ยังมีข้อบกพร่องบางประการ เช่น ไม่สามารถระบุตัวผู้โพสต์ข้อความหมิ่น ทำให้เกิดปัญหาตามจับไม่ได้ รวมถึงเรื่องคดีความมั่นคงและคดีหมิ่นต่างๆ ดังนั้นที่ประชุม จึงอยากให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และอาจมีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 26 ให้ผู้ดูแล สามารถรู้ได้ว่ามีใครเป็นผู้โพสต์ ข้อความบ้าง นอกจากนี้เห็นว่าควรมีการเพิ่มเจ้าหน้าที่ดูและเกี่ยวกับเวบไซต์หมิ่น เพราะปัจจุบันทั้งประเทศมีเจ้าหน้าที่ดูแลเพียง35 คน
นายคำนูณ ยังกล่าวถึงเวบไซต์ประชาไท ที่ถูกปิดและมีผู้เรียกร้องให้ทบทวน การปิดเว็บฯดังกล่าวเนื่องจากไม่ชอบด้วยกฎหมายว่า ตนเห็นว่าการปิดเว็บประชาไท ไม่ขัดต่อกฎหมาย เป็นไปตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีการคานอำนาจไว้เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเจ้าหน้าที่ ไม่มีทางที่จะเข้าไปกลั่นแกล้งได้ เพราะต้องมีการขออำนาจศาลในการจับกุมก่อน รวมทั้งผู้ถูกดำเนินคดี สามารถสู้คดีในชั้นศาลได้ อย่างไรก็ตาม กมธ. ยังไม่ได้พิจารณาเวบไซต์อื่นๆ
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าวปิดสถานีวิทยุชุมชน 92.25 เมกะเฮิรตซ์ ว่า ได้สอบถามไปยังนายนัที เปรมรัศมี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และทราบว่าเป็นเรื่องการดำเนินการ ของคณะอนุกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งเป็นอนุกรรมการ ที่ทำงานร่วมอยู่กับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
โดยที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการ 2 เรื่อง คือ 1.ส่งหนังสือเตือน ไปยังสถานีวิทยุชุมชน เนื่องจากมีคนร้องเรียนแต่ไม่มีหลักฐานการกระทำผิด ซึ่งสถานีวิทยุ 92.25 อยู่ในข่ายนี้ และการเตือน ลงนามโดยนายนัที ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และ2. จะดำเนินการตาม กฎหมาย กับสถานีวิทยุที่กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว การดำเนินการทั้งหมด รวมถึงการสั่งปิด เป็นอำนาจของอนุกรรมการฯ ไม่ใช่อำนาจของฝ่ายบริหาร
นายสาทิตย์ กล่าวว่า รัฐบาลไม่ได้เพิกเฉยหรือนิ่งนอนใจ เพราะมีประชาชน ร้องเรียน ปัญหาวิทยุชุมชนเข้ามาจำนวนมาก ทั้งเรื่องการปลุกระดมให้เกิดความ ไม่สงบเรียบร้อย การใช้ถ้อยคำหยาบคาย บางสถานีลุกลามเป็นประเด็นที่กระทบต่อเรื่องของการหมิ่นสถาบัน ดังนั้นหากมีหลักฐาน จะประสานกับคณะอนุกรรมการฯ เพื่อให้ดำเนินการโดยเข้มงวด เพราะเรื่องของคลื่นความถี่ มีผลต่อความคิดอ่านของประชาชนมาก และหากนำไปใช้เป็นเครื่องมือปลุกระดมการเมืองก็จะเกิดความวุ่นวาย
ทั้งนี้ในเดือน เม.ย.นี้จะมีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุชุมชน แบบบริการชุมชน ซึ่งเป็นการจัดระเบียบขั้นต้น
ด้านนายนัที เปรมรัศมี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ได้สั่งปิดคลื่น วิทยุชุมชน 92.25 ตามที่มีข่าวออกมา เนื่องจากไม่มีอำนาจ คาดว่าการปล่อยข่าว เรื่องดังกล่าว น่าจะมาจากการประชุมคณะอนุกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ วันที่9 มี.ค. ซึ่งตนได้สั่งตัดงบประมาณ 40-50 ล้านบาท ของวิทยุชุมชนบางคลื่น ที่รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ และใกล้ที่จะหมดสัญญา จึงอาจทำให้เกิดความไม่พอใจ