ASTVผู้จัดการรายวัน- สนพ.ยอมรับต้องตรึงราคาเอ็นจีวีไปจนถึงสิ้นปีตามนโยบายตรึงราคาแอลพีจีของรัฐบาล เหตุหากให้ขยับขึ้นเท่ากับไม่เป็นการส่งเสริมการใช้ ส่งผลให้ต้องปรับเป้าหมายใหม่จากเดิมปี 2555 จะทดแทนน้ำมัน 20% เหลือเพียง 13% และปตท.ลดจำนวนปั๊มเหลือ 595 แห่งจากแผนเดิมกำหนดไว้ 700 แห่ง
นายวีรพล จิระประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานได้ปรับแผนส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) ใหม่ จากเดิมปี 2555 กำหนดไว้ว่าเอ็นจีวีจะเป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันได้ 20% ปรับลดเหลือ 13% และเป้าหมายจะมีรถยนต์ติดตั้งใช้เอ็นจีวี 3.2 แสนคันเหลือ 2.2 แสนคัน ขณะที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะปรับแผนลดจำนวนสร้างสถานีบริการเอ็นจีวีเพื่อลดภาระการลงทุนจาก 700 แห่งเหลือ 595 แห่ง และเดิมกำหนดให้ภายในสิ้นปี 2552 ทุกจังหวัดจะมีปั๊มเอ็นจีวีอย่างน้อย 1 แห่งก็คงต้องเลื่อนออกไปด้วยเช่นกัน
“ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) จนถึงสิ้นปี ทำให้ราคาก๊าซเอ็นจีวี ต้องไม่เปลี่ยนแปลงตาม เนื่องจากเอ็นจีวีเป็นเชื้อเพลิงที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ หากมีการปรับราคาเพิ่มจะเป็นการสวนทางกับนโยบายของรัฐ ที่สำคัญหากมีการปรับขึ้นเอ็นจีวีเพียงลำพัง เท่ากับไปส่งเสริมการใช้แอลพีจีให้มากขึ้น”นายวีรพลกล่าว
นายวีรพลกล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ราคาน้ำมันสนพ.กำลังติดตามใกล้ชิดเพื่อที่จะพิจารณาเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะเป็นครั้งสุดท้ายเพื่อลดผลกระทบจากกรณีการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเมื่อวันที่ 1 ก.พ.2552 ที่กองทุนน้ำมันฯต้องปรับลดการเก็บเงินเข้ากองทุนฯเพื่อลดผลกระทบให้กับประชาชนในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งยังไม่แน่ใจว่าสัปดาห์นี้จะมีโอกาสเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานหรือกบง.หรือไม่ เนื่องจากล่าสุดราคาน้ำมันตลาดโลกมีการสวิงตัวขึ้นลงตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันโลกหรือโอเปกมีแผนที่จะลดกำลังการผลิตลงเร็วๆ นี้ คาดว่าคงจะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันให้เปลี่ยนแปลงมากนักโดยคาดว่าราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 40-50 เหรียญต่อบาร์เรล เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกยังชะลอตัวประกอบกับโรงกลั่นน้ำมันในภูมิภาคเอเชียมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น
“ยอดการใช้น้ำมันเดือนก.พ.เฉลี่ยลดลงเกือบทุกประเภทโดยเฉพาะดีเซลลดลง 7% เมื่อเทียบกับม.ค.2552 ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากปัจจัยเศรษฐกิจชะลอตัว ดังนั้นได้ขอให้ทางโรงกลั่นในประเทศไปดูความต้องการและการผลิตที่แท้จริงในปีนี้มาเพื่อที่จะร่วมกันวางแผนในการส่งออก”นายวีรพลกล่าว
นายชวลิต พิชาลัย รองผู้อำนวยการสนพ.กล่าวว่า ขณะนี้ปตท.อยู่ระหว่างการพิจารณาทบวนการลงทุนระบบท่อเอ็นจีวีให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวโดยมีความชัดเจนแล้วที่จะไม่ลงทุนในเส้นภาคกลางไปยังจ.ประจวบคีรีขันธ์เพราะไม่คุ้มทุน แต่อีก 2 เส้นทางคือ เส้นวังน้อย-อยุธยา-นครสวรรค์กับเส้นแก่งคอยไปยังนครราชสีมาอยู่ระหว่างทบทวนว่าจะชะลอโครงการไปมากน้อยเพียงใด
นายวีรพล จิระประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานได้ปรับแผนส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) ใหม่ จากเดิมปี 2555 กำหนดไว้ว่าเอ็นจีวีจะเป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันได้ 20% ปรับลดเหลือ 13% และเป้าหมายจะมีรถยนต์ติดตั้งใช้เอ็นจีวี 3.2 แสนคันเหลือ 2.2 แสนคัน ขณะที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะปรับแผนลดจำนวนสร้างสถานีบริการเอ็นจีวีเพื่อลดภาระการลงทุนจาก 700 แห่งเหลือ 595 แห่ง และเดิมกำหนดให้ภายในสิ้นปี 2552 ทุกจังหวัดจะมีปั๊มเอ็นจีวีอย่างน้อย 1 แห่งก็คงต้องเลื่อนออกไปด้วยเช่นกัน
“ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) จนถึงสิ้นปี ทำให้ราคาก๊าซเอ็นจีวี ต้องไม่เปลี่ยนแปลงตาม เนื่องจากเอ็นจีวีเป็นเชื้อเพลิงที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ หากมีการปรับราคาเพิ่มจะเป็นการสวนทางกับนโยบายของรัฐ ที่สำคัญหากมีการปรับขึ้นเอ็นจีวีเพียงลำพัง เท่ากับไปส่งเสริมการใช้แอลพีจีให้มากขึ้น”นายวีรพลกล่าว
นายวีรพลกล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ราคาน้ำมันสนพ.กำลังติดตามใกล้ชิดเพื่อที่จะพิจารณาเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะเป็นครั้งสุดท้ายเพื่อลดผลกระทบจากกรณีการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเมื่อวันที่ 1 ก.พ.2552 ที่กองทุนน้ำมันฯต้องปรับลดการเก็บเงินเข้ากองทุนฯเพื่อลดผลกระทบให้กับประชาชนในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งยังไม่แน่ใจว่าสัปดาห์นี้จะมีโอกาสเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานหรือกบง.หรือไม่ เนื่องจากล่าสุดราคาน้ำมันตลาดโลกมีการสวิงตัวขึ้นลงตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันโลกหรือโอเปกมีแผนที่จะลดกำลังการผลิตลงเร็วๆ นี้ คาดว่าคงจะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันให้เปลี่ยนแปลงมากนักโดยคาดว่าราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 40-50 เหรียญต่อบาร์เรล เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกยังชะลอตัวประกอบกับโรงกลั่นน้ำมันในภูมิภาคเอเชียมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น
“ยอดการใช้น้ำมันเดือนก.พ.เฉลี่ยลดลงเกือบทุกประเภทโดยเฉพาะดีเซลลดลง 7% เมื่อเทียบกับม.ค.2552 ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากปัจจัยเศรษฐกิจชะลอตัว ดังนั้นได้ขอให้ทางโรงกลั่นในประเทศไปดูความต้องการและการผลิตที่แท้จริงในปีนี้มาเพื่อที่จะร่วมกันวางแผนในการส่งออก”นายวีรพลกล่าว
นายชวลิต พิชาลัย รองผู้อำนวยการสนพ.กล่าวว่า ขณะนี้ปตท.อยู่ระหว่างการพิจารณาทบวนการลงทุนระบบท่อเอ็นจีวีให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวโดยมีความชัดเจนแล้วที่จะไม่ลงทุนในเส้นภาคกลางไปยังจ.ประจวบคีรีขันธ์เพราะไม่คุ้มทุน แต่อีก 2 เส้นทางคือ เส้นวังน้อย-อยุธยา-นครสวรรค์กับเส้นแก่งคอยไปยังนครราชสีมาอยู่ระหว่างทบทวนว่าจะชะลอโครงการไปมากน้อยเพียงใด