เอเอฟพี - "โอบามา" คาด จะสามารถ "ลงเสาหลักจนครบถ้วน" ในปีนี้ สำหรับแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะเดียวกัน ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงไม่ต้องเพิ่มกองทุนอุ้มสถาบันการเงินที่มีฐานะย่ำแย่อีก เขากล่าวเช่นนี้ในการให้สัมภาษณ์ที่นำออกเผยแพร่เมื่อวันเสาร์(7)
"ความเชื่อมั่นและการคาดการณ์ของเราคือ เราจะลงเสาหลักสำหรับการฟื้นตัวจนครบถ้วนภายในปีนี้ ด้วยการทำงานร่วมกับคองเกรส" ประธานาธิบดีบารัค โอบามา กล่าวในการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์
โอบามาแสดงความเชื่อมั่นว่า จะไม่ต้องขอให้สมาชิกรัฐสภาอนุมัติกองทุนเพื่ออุ้มสถาบันการเงิน เพิ่มเติมจากที่จัดเตรียมไว้ในงบประมาณปัจจุบัน 250,000 ล้านดอลลาร์
เขาแสดงความคิดเห็นเช่นนี้ ในขณะที่ผู้คนหลายฝ่ายกำลังแสดงความกังวลว่า การเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลมูลค่ามหาศาลเพื่อสยบวิกฤต อาจสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ระยะยาว
ทว่า โอบามาเชื่อว่างบฟื้นฟูสถาบันการเงิน 250,000 ล้านดอลลาร์เป็นการประเมินที่ถูกต้อง และไม่มีเหตุผลต้องทบทวนตัวเลขดังกล่าวที่บรรจุอยู่ในงบประมาณเรียบร้อยแล้ว
ต่อข้อถามว่าจะปล่อยให้สถาบันการเงินขนาดใหญ่ๆ ล้มหรือไม่ และต้องการกองทุนฟื้นฟูเพิ่มเติมหรือเปล่า โอบามาตอบว่า "ผมคิดว่าชาวอเมริกันสามารถมั่นใจได้ว่าเราจะทำทุกวิถีทางที่จำเป็นเพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น"
อย่างไรก็ดี ผู้นำเมืองลุงแซมเตือนว่า แม้ดำเนินมาตรการหลายอย่างไปแล้ว แต่กรอบเวลาที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะฟื้นตัวขึ้นมา ยังขึ้นอยู่กับการร่วมมือระดับโลกและระดับภูมิภาค เช่น ยุโรป ในการจัดการกับจุดอ่อนเชิงโครงสร้าง
"ส่วนหนึ่งที่คุณเห็นอยู่ตอนนี้คือ จุดอ่อนในยุโรปที่รุนแรงกว่าในสหรัฐฯ แต่มีผลต่อตลาดของเรา"
การให้สัมภาษณ์ของโอบามา มีขึ้นก่อนการประชุมกลุ่มจี 20 ที่ประกอบด้วยประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนารายใหญ่ๆ โดยจะจัดขึ้นในลอนดอนต้นเดือนหน้า ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์นิกเกอิของญี่ปุ่นรายงานว่า ในวันที่ 24 เดือนนี้ พวกซีอีโอของธนาคารชั้นนำจากญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐฯ จะพบกันก่อนในเมืองหลวงของอังกฤษ
เวลานี้ประเทศในแถบยูโรโซนถูกวิพากษ์วิจารณ์หนัก ที่ยังคงล้มเหลวไม่สามารถหาแนวทางร่วมกันเพื่อรับมือวิกฤตโลก ซึ่งกำลังสร้างความปั่นป่วนแก่บางประเทศในยุโรปตะวันออกและยุโรปกลางที่ต้องพึ่งพิงนักลงทุน ทว่าขณะนี้พวกนักลงทุนซึ่งมักต้องกู้ยืมเงินก้อนใหญ่ในการดำเนินงาน ต่างก็ล่าถอยออกจากตลาด ในเมื่อหาสินเชื่อได้ลำบากเต็มที
โอบามาชี้ว่า สหรัฐฯปัจจุบันนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการลดหนี้สินในภาคการเงิน ซึ่งไม่เพียงส่งผลอย่างลึกซึ้งต่ออเมริกา หากแต่ทั่วโลกด้วย อีกทั้งจะส่งผลต่อเนื่องอันลึกซึ้งต่อธุรกิจทั่วไป
เขาบอกด้วยว่า ความป่วยไข้ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนั้น นับเป็นชุดปัญหาที่สลับซับซ้อนมาก จนเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ด้วยการใช้มาตรการที่ให้ผลระยะสั้นๆ , การโอนสถาบันการเงินมีปัญหาเหล่านี้เข้ามาเป็นของรัฐ, หรือปล่อยให้สถาบันการเงินที่มีปัญหา พยายามแก้ไขเอาตัวให้รอดเอง
"สิ่งที่ผมมุ่งเน้นขณะนี้คือการแก้ไขเศรษฐกิจที่รองรับอยู่เบื้องล่าง และนั่นจะเกิดขึ้นในท้ายที่สุดจากการที่เรากำลังเข้าไปซ่อมแซมแก้ไขตลาดการเงินต่างๆ
"มีบางคนต้องการให้เราฟื้นตลาดขึ้นมาแบบขอไปที โดยการอัดฉีดเงินภาษีของประชาชนเพิ่มเข้าไปเท่านั้น"
"ในระยะสั้นการกระทำดังกล่าวอาจทำให้งบดุลของธนาคารดูดีขึ้น ทำให้เจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นสถาบันการเงินเหล่านี้รู้สึกดีขึ้น และคุณก็จะได้รู้สึกดีขึ้นแค่วูบเดียว แต่แล้วเราก็จะต้องอยู่ในจุดเดิมจุดเดียวกันนี้แหละ แม้เวลาจะผ่านไปอีก 6, 8 หรือ 10 เดือนนับจากนี้"
"ความเชื่อมั่นและการคาดการณ์ของเราคือ เราจะลงเสาหลักสำหรับการฟื้นตัวจนครบถ้วนภายในปีนี้ ด้วยการทำงานร่วมกับคองเกรส" ประธานาธิบดีบารัค โอบามา กล่าวในการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์
โอบามาแสดงความเชื่อมั่นว่า จะไม่ต้องขอให้สมาชิกรัฐสภาอนุมัติกองทุนเพื่ออุ้มสถาบันการเงิน เพิ่มเติมจากที่จัดเตรียมไว้ในงบประมาณปัจจุบัน 250,000 ล้านดอลลาร์
เขาแสดงความคิดเห็นเช่นนี้ ในขณะที่ผู้คนหลายฝ่ายกำลังแสดงความกังวลว่า การเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลมูลค่ามหาศาลเพื่อสยบวิกฤต อาจสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ระยะยาว
ทว่า โอบามาเชื่อว่างบฟื้นฟูสถาบันการเงิน 250,000 ล้านดอลลาร์เป็นการประเมินที่ถูกต้อง และไม่มีเหตุผลต้องทบทวนตัวเลขดังกล่าวที่บรรจุอยู่ในงบประมาณเรียบร้อยแล้ว
ต่อข้อถามว่าจะปล่อยให้สถาบันการเงินขนาดใหญ่ๆ ล้มหรือไม่ และต้องการกองทุนฟื้นฟูเพิ่มเติมหรือเปล่า โอบามาตอบว่า "ผมคิดว่าชาวอเมริกันสามารถมั่นใจได้ว่าเราจะทำทุกวิถีทางที่จำเป็นเพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น"
อย่างไรก็ดี ผู้นำเมืองลุงแซมเตือนว่า แม้ดำเนินมาตรการหลายอย่างไปแล้ว แต่กรอบเวลาที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะฟื้นตัวขึ้นมา ยังขึ้นอยู่กับการร่วมมือระดับโลกและระดับภูมิภาค เช่น ยุโรป ในการจัดการกับจุดอ่อนเชิงโครงสร้าง
"ส่วนหนึ่งที่คุณเห็นอยู่ตอนนี้คือ จุดอ่อนในยุโรปที่รุนแรงกว่าในสหรัฐฯ แต่มีผลต่อตลาดของเรา"
การให้สัมภาษณ์ของโอบามา มีขึ้นก่อนการประชุมกลุ่มจี 20 ที่ประกอบด้วยประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนารายใหญ่ๆ โดยจะจัดขึ้นในลอนดอนต้นเดือนหน้า ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์นิกเกอิของญี่ปุ่นรายงานว่า ในวันที่ 24 เดือนนี้ พวกซีอีโอของธนาคารชั้นนำจากญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐฯ จะพบกันก่อนในเมืองหลวงของอังกฤษ
เวลานี้ประเทศในแถบยูโรโซนถูกวิพากษ์วิจารณ์หนัก ที่ยังคงล้มเหลวไม่สามารถหาแนวทางร่วมกันเพื่อรับมือวิกฤตโลก ซึ่งกำลังสร้างความปั่นป่วนแก่บางประเทศในยุโรปตะวันออกและยุโรปกลางที่ต้องพึ่งพิงนักลงทุน ทว่าขณะนี้พวกนักลงทุนซึ่งมักต้องกู้ยืมเงินก้อนใหญ่ในการดำเนินงาน ต่างก็ล่าถอยออกจากตลาด ในเมื่อหาสินเชื่อได้ลำบากเต็มที
โอบามาชี้ว่า สหรัฐฯปัจจุบันนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการลดหนี้สินในภาคการเงิน ซึ่งไม่เพียงส่งผลอย่างลึกซึ้งต่ออเมริกา หากแต่ทั่วโลกด้วย อีกทั้งจะส่งผลต่อเนื่องอันลึกซึ้งต่อธุรกิจทั่วไป
เขาบอกด้วยว่า ความป่วยไข้ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนั้น นับเป็นชุดปัญหาที่สลับซับซ้อนมาก จนเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ด้วยการใช้มาตรการที่ให้ผลระยะสั้นๆ , การโอนสถาบันการเงินมีปัญหาเหล่านี้เข้ามาเป็นของรัฐ, หรือปล่อยให้สถาบันการเงินที่มีปัญหา พยายามแก้ไขเอาตัวให้รอดเอง
"สิ่งที่ผมมุ่งเน้นขณะนี้คือการแก้ไขเศรษฐกิจที่รองรับอยู่เบื้องล่าง และนั่นจะเกิดขึ้นในท้ายที่สุดจากการที่เรากำลังเข้าไปซ่อมแซมแก้ไขตลาดการเงินต่างๆ
"มีบางคนต้องการให้เราฟื้นตลาดขึ้นมาแบบขอไปที โดยการอัดฉีดเงินภาษีของประชาชนเพิ่มเข้าไปเท่านั้น"
"ในระยะสั้นการกระทำดังกล่าวอาจทำให้งบดุลของธนาคารดูดีขึ้น ทำให้เจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นสถาบันการเงินเหล่านี้รู้สึกดีขึ้น และคุณก็จะได้รู้สึกดีขึ้นแค่วูบเดียว แต่แล้วเราก็จะต้องอยู่ในจุดเดิมจุดเดียวกันนี้แหละ แม้เวลาจะผ่านไปอีก 6, 8 หรือ 10 เดือนนับจากนี้"