เอเอฟพี -รัฐบาลในเอเชียจำเป็นต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ๆ เพิ่มเติมขึ้นอีก เพื่อหยุดไม่ให้เศรษฐกิจจมดิ่งหนักขึ้น เนื่องจากเวลานี้ภูมิภาคแถบนี้กำลังอยู่ในสภาพซวนเซจากยอดการส่งออกตกฮวบ ทั้งนี้เป็นความเห็นของพวกนักวิเคราะห์ในภูมิภาค
จากการคำนวณของสำนักข่าวเอเอฟพีพบว่า รัฐบาลต่างๆ ในเอเชียได้ประกาศใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจไปแล้วรวมเป็นมูลค่าอย่างน้อย 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว เมื่อวิกฤตการเงินล่มสลายที่เริ่มต้นจากตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ แผ่ขยายเป็นวิกฤตการณ์ระดับโลก
ตัวเลขดังกล่าวยังสูงกว่ามูลค่าของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 787,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งประธานาธิบดีบารัค โอบามา ลงนามประกาศใช้ไปเมื่อเดือนที่แล้ว โดยหวังว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ให้พ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งร้ายแรงที่สุด นับตั้งแต่เกิดเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่เมื่อทศวรรษ 1930
แจน แลมเบร็กต์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยประจำภูมิภาคของโรโบแบงค์ ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ฮ่องกง ระบุว่านอกจากการใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว เอเชียไม่สามารถทำอะไรได้อีกในระยะสั้นๆ นี้ เขาบอกว่า "เอเชียไม่มีทางรอดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกได้เลย""บทบาทของรัฐบาลก็คือวางตัวเป็นผู้ใช้จ่ายเงินรายสุดท้าย เพื่อบรรเทาความรุนแรงของปัญหาลง เรากำลังอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย และนี่เป็นเรื่องการจำกัดขอบเขตความเจ็บปวด และทำให้มั่นใจว่ามันจะไม่ปั่นป่วนจนเกินควบคุม"
เขาบอกอีกว่าสภาพปัญหาครั้งนี้ต่างจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียเมื่อปี 1997 เพราะในตอนนี้ภูมิภาคเอเชียมี "กำลังทางการเงิน" มากพอที่จะสนับสนุนแผนการใช้จ่ายต่างๆ ของรัฐบาล
ทั้งนี้เอเชียเป็นภูมิภาคที่เติบโตขึ้นมาด้วยการส่งออก และเศรษฐกิจก็จมดิ่งทันทีเมื่อผู้บริโภคในสหรัฐฯ และยุโรปลดการบริโภคลง โดยญี่ปุ่นซึ่งแม้เป็นเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก แต่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วง โดยเฉพาะจากการที่ยอดขายสินค้ากลุ่มรถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทรุดตัว
ยอดส่งออกของญี่ปุ่นในเดือนมกราคมปีนี้อยู่ที่เพียงราวครึ่งหนึ่งของยอดส่งออกในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่ยอดการผลิตสินค้าในโรงงานก็ทำสถิติลดลงถึง 10 เปอร์เซ็นต์ การลงทุนทางธุรกิจต่ำลงถึง 17.3 เปอร์เซ็นต์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว
ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงเตรียมใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่สามมูลค่าราว 200,000 ล้านดอลลาร์เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นนอกเหนือจากแผนการใช้จ่ายมูลค่ากว่า 500,000 ล้านดอลลาร์ที่ประกาศเมื่อปีที่แล้ว
ส่วนจีนซึ่งเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างสูงก็เตรียมการที่จะขยายแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 585,000 ล้านดอลลาร์ซึ่งประกาศเมื่อเดือนพฤศจิกายน
"เราจะตัดสินใจเพิ่มการลงทุนอีกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของสถานการณ์" จางผิง ผู้อำนวยการคณะกรรมการการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติของจีนกล่าว
ฮ๋องกงนั้น ยังไม่ได้ประกาศแผนกระตุ้นการใช้จ่ายออกมาอย่างชัดเจนนอกเหนือจากมาตรการย่อยๆ เช่น การให้สินเชื่อพิเศษแก่ภาคธุรกิจ แต่เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และมาเลเซีย มีแผนกระตุ้นการใช้จ่ายแล้ว และอาจเพิ่มเติมอีกหากสถานการณ์ย่ำแย่ลง
"ผมคิดว่ารัฐบาลในเอเชียคงแปลกใจกับความรุนแรงของเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก และตระหนักว่าลำพังปริมาณความต้องการสินค้าไม่อาจฟื้นฟูเศรษฐกิจขึ้นมาได้" ดาริอุส โควาลซีค แห่งบริษัทเอสเจเอส ซีเมอร์ระบุ
มาเลเซียกำลังพิจารณาแผนกระตุ้นการใช้จ่ายมูลค่า 2,690 ล้านดอลลาร์เพิ่มเติมจากแผนเดิมที่ประกาศเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ส่วนสิงคโปร์ประกาศนำเอาทุนสำรองเงินตราประเทศส่วนหนึ่งออกมาใช้ในแผนกระตุ้นเศรษฐกิจถึงกว่า 13,000 ล้านดอลลาร์
สำหรับอินโดนีเซียก็เพิ่งผ่านแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 6,150 ล้านดอลลาร์ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และไทยก็มีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 54,000 ล้านดอลลาร์เป็นระยะเวลาสี่ปี
จากการคำนวณของสำนักข่าวเอเอฟพีพบว่า รัฐบาลต่างๆ ในเอเชียได้ประกาศใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจไปแล้วรวมเป็นมูลค่าอย่างน้อย 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว เมื่อวิกฤตการเงินล่มสลายที่เริ่มต้นจากตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ แผ่ขยายเป็นวิกฤตการณ์ระดับโลก
ตัวเลขดังกล่าวยังสูงกว่ามูลค่าของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 787,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งประธานาธิบดีบารัค โอบามา ลงนามประกาศใช้ไปเมื่อเดือนที่แล้ว โดยหวังว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ให้พ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งร้ายแรงที่สุด นับตั้งแต่เกิดเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่เมื่อทศวรรษ 1930
แจน แลมเบร็กต์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยประจำภูมิภาคของโรโบแบงค์ ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ฮ่องกง ระบุว่านอกจากการใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว เอเชียไม่สามารถทำอะไรได้อีกในระยะสั้นๆ นี้ เขาบอกว่า "เอเชียไม่มีทางรอดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกได้เลย""บทบาทของรัฐบาลก็คือวางตัวเป็นผู้ใช้จ่ายเงินรายสุดท้าย เพื่อบรรเทาความรุนแรงของปัญหาลง เรากำลังอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย และนี่เป็นเรื่องการจำกัดขอบเขตความเจ็บปวด และทำให้มั่นใจว่ามันจะไม่ปั่นป่วนจนเกินควบคุม"
เขาบอกอีกว่าสภาพปัญหาครั้งนี้ต่างจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียเมื่อปี 1997 เพราะในตอนนี้ภูมิภาคเอเชียมี "กำลังทางการเงิน" มากพอที่จะสนับสนุนแผนการใช้จ่ายต่างๆ ของรัฐบาล
ทั้งนี้เอเชียเป็นภูมิภาคที่เติบโตขึ้นมาด้วยการส่งออก และเศรษฐกิจก็จมดิ่งทันทีเมื่อผู้บริโภคในสหรัฐฯ และยุโรปลดการบริโภคลง โดยญี่ปุ่นซึ่งแม้เป็นเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก แต่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วง โดยเฉพาะจากการที่ยอดขายสินค้ากลุ่มรถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทรุดตัว
ยอดส่งออกของญี่ปุ่นในเดือนมกราคมปีนี้อยู่ที่เพียงราวครึ่งหนึ่งของยอดส่งออกในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่ยอดการผลิตสินค้าในโรงงานก็ทำสถิติลดลงถึง 10 เปอร์เซ็นต์ การลงทุนทางธุรกิจต่ำลงถึง 17.3 เปอร์เซ็นต์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว
ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงเตรียมใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่สามมูลค่าราว 200,000 ล้านดอลลาร์เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นนอกเหนือจากแผนการใช้จ่ายมูลค่ากว่า 500,000 ล้านดอลลาร์ที่ประกาศเมื่อปีที่แล้ว
ส่วนจีนซึ่งเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างสูงก็เตรียมการที่จะขยายแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 585,000 ล้านดอลลาร์ซึ่งประกาศเมื่อเดือนพฤศจิกายน
"เราจะตัดสินใจเพิ่มการลงทุนอีกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของสถานการณ์" จางผิง ผู้อำนวยการคณะกรรมการการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติของจีนกล่าว
ฮ๋องกงนั้น ยังไม่ได้ประกาศแผนกระตุ้นการใช้จ่ายออกมาอย่างชัดเจนนอกเหนือจากมาตรการย่อยๆ เช่น การให้สินเชื่อพิเศษแก่ภาคธุรกิจ แต่เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และมาเลเซีย มีแผนกระตุ้นการใช้จ่ายแล้ว และอาจเพิ่มเติมอีกหากสถานการณ์ย่ำแย่ลง
"ผมคิดว่ารัฐบาลในเอเชียคงแปลกใจกับความรุนแรงของเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก และตระหนักว่าลำพังปริมาณความต้องการสินค้าไม่อาจฟื้นฟูเศรษฐกิจขึ้นมาได้" ดาริอุส โควาลซีค แห่งบริษัทเอสเจเอส ซีเมอร์ระบุ
มาเลเซียกำลังพิจารณาแผนกระตุ้นการใช้จ่ายมูลค่า 2,690 ล้านดอลลาร์เพิ่มเติมจากแผนเดิมที่ประกาศเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ส่วนสิงคโปร์ประกาศนำเอาทุนสำรองเงินตราประเทศส่วนหนึ่งออกมาใช้ในแผนกระตุ้นเศรษฐกิจถึงกว่า 13,000 ล้านดอลลาร์
สำหรับอินโดนีเซียก็เพิ่งผ่านแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 6,150 ล้านดอลลาร์ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และไทยก็มีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 54,000 ล้านดอลลาร์เป็นระยะเวลาสี่ปี