กระทรวงท่องเที่ยวได้ที “ชุมพล”ไฟเขียว เตรียมชงของบปี 53’กว่า 30,000 ล้านบาท เพิ่มจากปี 52’ กว่า 100% เฉพาะททท.ขอ 10,000 ล้านบาท ด้านปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯสั่งทุกหน่วยงานกลับไปทำรายละเอียดประกอบทุกโครงการให้ถี่ยิบมานำเสนออีกครั้งอังคารนี้ หวั่นถูกซักฟอกจาก ครม. และ สภาฯ จี้ สพท. ปรับการเขียนแผนให้เข้าสู่รูปธรรมมากขึ้น
ในการประชุมจัดทำงบประมาณประจำปี 2553 นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า วงเงินงบประมาณที่ทุกหน่วยงานของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ และรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในความดูแล ได้เสนอขอมาทั้งสิ้นรวม 30,000 ล้านบาทเศษ เพื่อจากปี 2552กว่า 100% ที่ได้รับจัดสรรมาทั้งสิ้นกว่า 12,000 ล้านบาท จากวงเงินที่ยื่นเสนอขอมานี้ แบ่งเป็น การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เสนอขอ 9,500 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 242% เพื่อเดินยุทธศาสตร์ภายใต้แผน 4 ปี กีฬาไทย ไปลอนดอน , การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เสนอขอ 10,000 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 125% หรือได้รับจัดสรรราว 4,400 ล้านบาท ,สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) เสนอขอ 1,400 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 89.4%
ทั้งนี้การที่ทุกหน่วยงานของกระทรวงการท่องเที่ยว ได้เสนองบประมาณปีนี้มากกว่าปีก่อนเฉลี่ย 80-100% ก็เพราะเป็นไปตามนโยบายของนายชุมพล ศิลปะอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ที่ระบุว่า หากเห็นว่าเป็นโครงการที่สำคัญ และสามารถช่วยเศรษฐกิจประเทศได้ เป็นโครงการสร้างงานสร้างรายได้ ก็ให้ยื่นขอมาได้เลย ทำให้ทุกหน่วยงานกลับไปปรับเพิ่ม เช่น ททท. ปรับขึ้นจาก 9,400 ล้านเป็น 10,066.7 ล้านบาท เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจดูรายงานการยื่นเสนอขอครั้งนี้ มองว่ายังไม่มีรายละเอียดที่จะใช้เป็นเหตุและผลเท่าที่ควร จึงให้ทุกหน่วยงานกลับไปจัดทำรายละเอียดประกอบการของบประมาณ โดยแยกเป็นแต่ละโครงการให้ชัดเจน กลับมานำเสนอภายในวันอังคารที่ 10 มี.ค.นี้ เพื่อจะรวบรวมนำเสนอต่อ นายชุมพล ศิลปะอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯเป็นลำดับต่อไป จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อพิจารณาในวันที่ 17 มี.ค.นี้
ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กล่าวขยายความอีกว่า ในเรื่องของการจัดทำรายละเอียดโครงการ เช่น โครงการสร้างกระแสการท่องเที่ยวให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ของ ททท. มูลค่าโครงการ 730 ล้านบาท ก็ไม่มีรายละเอียด ขั้นตอนวิธีดำเนินงานและผลที่คาดว่าจะได้รับ หรือโครงกากิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว มูลค่า 1,355 ล้านบาท ก็ไม่มีรายละเอียดวิธีดำเนินงาน เป็นต้น ก็ต้องให้ททท.กลับไปทำข้อมูลมาให้พร้อม เพื่อจะใช้ชี้แจงประกอบการของบประมาณทั้งในที่ประชุม ครม.และต่อสภาผู้แทนราษฎร
อย่างไรก็ตามในส่วนของ สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) ได้ให้แนวคิดกลับไปด้วยว่า การจัดทำงบประมาณ หรือโครงการต่างๆ ให้เน้นการเข้าสู่การปฏิบัติให้มีผลเป็นรูปธรรม ไม่ใช่แค่เป็นโครงการศึกษา หรือจัดทำแผนเท่านั้น แต่ต้องมีในส่วนของการนำเข้าสู่การปฏิบัติจริง ขณะที่ในส่วนของสำนักปลัดฯให้กลับไปทบทวนในหลายโครงการว่า มีความจำเป็นแค่ไหน เช่น โครงการก่อสร้างสำนักงานการท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการ ใน 7 จังหวัด ว่ามีความจำเป็นแค่ไหน เป็นต้น
ในการประชุมจัดทำงบประมาณประจำปี 2553 นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า วงเงินงบประมาณที่ทุกหน่วยงานของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ และรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในความดูแล ได้เสนอขอมาทั้งสิ้นรวม 30,000 ล้านบาทเศษ เพื่อจากปี 2552กว่า 100% ที่ได้รับจัดสรรมาทั้งสิ้นกว่า 12,000 ล้านบาท จากวงเงินที่ยื่นเสนอขอมานี้ แบ่งเป็น การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เสนอขอ 9,500 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 242% เพื่อเดินยุทธศาสตร์ภายใต้แผน 4 ปี กีฬาไทย ไปลอนดอน , การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เสนอขอ 10,000 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 125% หรือได้รับจัดสรรราว 4,400 ล้านบาท ,สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) เสนอขอ 1,400 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 89.4%
ทั้งนี้การที่ทุกหน่วยงานของกระทรวงการท่องเที่ยว ได้เสนองบประมาณปีนี้มากกว่าปีก่อนเฉลี่ย 80-100% ก็เพราะเป็นไปตามนโยบายของนายชุมพล ศิลปะอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ที่ระบุว่า หากเห็นว่าเป็นโครงการที่สำคัญ และสามารถช่วยเศรษฐกิจประเทศได้ เป็นโครงการสร้างงานสร้างรายได้ ก็ให้ยื่นขอมาได้เลย ทำให้ทุกหน่วยงานกลับไปปรับเพิ่ม เช่น ททท. ปรับขึ้นจาก 9,400 ล้านเป็น 10,066.7 ล้านบาท เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจดูรายงานการยื่นเสนอขอครั้งนี้ มองว่ายังไม่มีรายละเอียดที่จะใช้เป็นเหตุและผลเท่าที่ควร จึงให้ทุกหน่วยงานกลับไปจัดทำรายละเอียดประกอบการของบประมาณ โดยแยกเป็นแต่ละโครงการให้ชัดเจน กลับมานำเสนอภายในวันอังคารที่ 10 มี.ค.นี้ เพื่อจะรวบรวมนำเสนอต่อ นายชุมพล ศิลปะอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯเป็นลำดับต่อไป จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อพิจารณาในวันที่ 17 มี.ค.นี้
ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กล่าวขยายความอีกว่า ในเรื่องของการจัดทำรายละเอียดโครงการ เช่น โครงการสร้างกระแสการท่องเที่ยวให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ของ ททท. มูลค่าโครงการ 730 ล้านบาท ก็ไม่มีรายละเอียด ขั้นตอนวิธีดำเนินงานและผลที่คาดว่าจะได้รับ หรือโครงกากิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว มูลค่า 1,355 ล้านบาท ก็ไม่มีรายละเอียดวิธีดำเนินงาน เป็นต้น ก็ต้องให้ททท.กลับไปทำข้อมูลมาให้พร้อม เพื่อจะใช้ชี้แจงประกอบการของบประมาณทั้งในที่ประชุม ครม.และต่อสภาผู้แทนราษฎร
อย่างไรก็ตามในส่วนของ สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) ได้ให้แนวคิดกลับไปด้วยว่า การจัดทำงบประมาณ หรือโครงการต่างๆ ให้เน้นการเข้าสู่การปฏิบัติให้มีผลเป็นรูปธรรม ไม่ใช่แค่เป็นโครงการศึกษา หรือจัดทำแผนเท่านั้น แต่ต้องมีในส่วนของการนำเข้าสู่การปฏิบัติจริง ขณะที่ในส่วนของสำนักปลัดฯให้กลับไปทบทวนในหลายโครงการว่า มีความจำเป็นแค่ไหน เช่น โครงการก่อสร้างสำนักงานการท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการ ใน 7 จังหวัด ว่ามีความจำเป็นแค่ไหน เป็นต้น