รอยเตอร์ - ซิตี้กรุ๊ป แบงก์ยักษ์สัญชาติอเมริกันที่ขาดทุนยับเยินจากวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์ แสดงอาการโงนเงนหนักเนื่องจากนักลงทุนไม่ให้ความไว้วางใจอีกต่อไป จนถึงขั้นราคาหุ้นตกฮวบต่ำกว่าระดับ 1 ดอลลาร์ต่อหุ้นเมื่อวันพฤหัสบดี(5) ซึ่งก็คือราคาพอๆ กับ กาแฟ 1 ถ้วย, หมากฝรั่ง 1 ห่อ หรือกระดาษทิชชู 1 ม้วน
ซิตี้กรุ๊ปเคยเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อวัดจากมูลค่าหุ้นรวมทั้งหมด และมีสาขาอยู่ในประเทศต่างๆ กว่า 100 แห่งทั่วโลก แต่เมื่อวันพฤหัสบดี ราคาหุ้นของแบงก์แห่งนี้ร่วงลงมาต่ำกว่า 1 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นสัญญาณแสดงว่านักลงทุนหมดความเชื่อถือว่าธนาคารจะสามารถฟื้นตัวขึ้นมาแข็งขันได้ใหม่ หลังจากขาดทุนไปทั้งหมด 37,500 ล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 15 เดือน ตั้งแต่ 1 ต.ค.07-31 ธ.ค.08
ราคาหุ้นของซิตี้ร่วงลงไปต่ำสุดที่ 97 เซนต์ต่อหุ้น ซึ่งทำให้มูลค่าตามราคาตลาดหลักทรัพย์ของแบงก์แห่งนี้ เหลือเพียง 6,000 ล้านดอลลาร์ จากที่อยู่ในระดับ 277,000 ล้านเมื่อปี 2006 แม้ว่ารัฐบาลจะได้อัดฉีดเม็ดเงินเข้ามาช่วยเหลือเป็นเงินถึง 45,000 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมาก็ตามที
"มันเป็นข่าวร้ายอย่างยิ่ง" เจมส์ บาร์ธ ศาสตราจารย์ด้านการเงินแห่งมหาวิทยาลัยออเบิร์นกล่าว "หลายคนอาจจะคิดว่าแผนกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลสหรัฐฯอาจจะทำให้เกิดผลในทางบวกบ้าง แต่ก็ไม่มีสิ่งใดที่จะฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุนในยามนี้ได้เลย ความวิตกของนักลงทุนก็คือ รัฐบาลจะต้องถึงจุดที่อดรนทนไม่ได้แล้วบอกซิตี้กรุ๊ปว่า พอกันที"
ตอนนี้ซิตี้กรุ๊ปยังคงเป็น 1 ในหุ้นบลูชิป 30 ตัวที่ใช้คำนวณดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ อันเป็นดัชนีหลักของวอลล์สตรีท แต่โฆษกของดาวโจนส์ก็บอกว่า กำลังติดตามสถานการณ์อยู่อย่างไม่กระพริบตา ธนาคารอื่นๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีนี้ก็ยังมี แบงก์ออฟอเมริกา และเจพีมอร์แกนเชส
วิกรัม บัณฑิต ซีอีโอของซิตี้กรุ๊ปกำลังพยายามขายธุรกิจที่ทำกำไรได้ไม่ดีออกไป รวมทั้งพยายามลดหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงลงเพื่อควบคุมการขาดทุน เขายังได้เพิ่มทุนและกำลังพยายามอย่างเต็มที่เพื่อมิให้ธนาคารถูกโอนเข้าเป็นของรัฐ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนกลัวอย่างที่สุด เพราะสิ่งที่ลงทุนไปจะสูญไปหมด
รัฐบาลโอบามาและบรรดาหน่วงานยกำกับดูแลภาคการธนาคาร ซึ่งก็รวมทั้งธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ต่างออกมาบอกว่า รัฐบาลไม่ได้ต้องการจะเข้าไปควบคุมพวกธนาคารระดับชาติอย่างเต็มที่เลย
ในการซื้อขายช่วงบ่ายวันพฤหัสบดีเช่นกัน ราคาหุ้นของซิตี้กรุ๊ปกระเตื้องขึ้นมาเล็กน้อย มาอยู่ที่ 1.05 ดอลลาร์ต่อหุ้น แต่ก็ไม่มีใครกล้ารับรองว่าหุ้นตัวนี้จะไม่ลงไปอีก โชคของซิตี้ยังคงดีอยู่บ้าง ตรงที่ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กประกาศหยุดใช้ระเบียบปลดบริษัทที่ราคาหุ้นหล่นลงไปต่ำกว่า 1 ดอลลาร์ต่อหุ้นอยู่เรื่อยๆ ออกจากตลาด จนถึงวันที่ 30 มีถุนายนนี้
ซิตี้กรุ๊ปก่อตั้งในปี 1998 เมื่อแซนฟอร์ด ไวลล์ ควบรวมเทรเวลเลอร์ส กรุ๊ป อิงค์ของเขาเข้ากับซิตี้คอร์ป หลังจากนั้นไวลล์ได้โน้มน้าวให้รัฐบาลสหรัฐฯแก้ไขกฏหมายกลาส-สเตกาล ซึ่งเป็นกฏหมายครั้งภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งมโหฬาร ที่ห้ามธนาคารพาณิชย์เข้ามาทำธุรกิจวาณิชธนกิจ ครั้นเมื่อเข้ามาเล่นในตลาดนี้ได้ ซิตี้กรุ๊ปก็ลงทุนในตราสารหนี้ความเสี่ยงสูง รวมทั้งในกระบวนการแปลงหนี้เป็นทุนอย่างมโหฬารโดยเฉพาะในสมัยของชาร์ลส พรินซ์ ซึ่งเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งซีอีโอต่อจากไวลล์
การลงทุนความเสี่ยงสูงเหล่านี้ทำให้ซิตี้กรุ๊ปขาดทุนมหาศาลถึง 300,000 ล้านดอลลาร์จากหนี้เสีย และเกือบจะล้มครืนลงมาหากว่ารัฐบาลไม่ประคองเอาไว้ และอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปถึงสองรอบ และเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา(27ก.พ.) รัฐบาลก็ตกลงที่จะแปลงสภาพหุ้นบุริมสิทธิ์บางส่วนมาเป็นหุ้นสามัญ ซึ่งทำให้รัฐบาลถือหุ้นในซิตี้กรุ๊ปอยู่ 36% ในขณะที่ซิตี้กรุ๊ปประกาศไม่จ่ายเงินปันผลในปีนี้เพื่อลดการไหลออกของเงินทุน
ซิตี้กรุ๊ปเคยเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อวัดจากมูลค่าหุ้นรวมทั้งหมด และมีสาขาอยู่ในประเทศต่างๆ กว่า 100 แห่งทั่วโลก แต่เมื่อวันพฤหัสบดี ราคาหุ้นของแบงก์แห่งนี้ร่วงลงมาต่ำกว่า 1 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นสัญญาณแสดงว่านักลงทุนหมดความเชื่อถือว่าธนาคารจะสามารถฟื้นตัวขึ้นมาแข็งขันได้ใหม่ หลังจากขาดทุนไปทั้งหมด 37,500 ล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 15 เดือน ตั้งแต่ 1 ต.ค.07-31 ธ.ค.08
ราคาหุ้นของซิตี้ร่วงลงไปต่ำสุดที่ 97 เซนต์ต่อหุ้น ซึ่งทำให้มูลค่าตามราคาตลาดหลักทรัพย์ของแบงก์แห่งนี้ เหลือเพียง 6,000 ล้านดอลลาร์ จากที่อยู่ในระดับ 277,000 ล้านเมื่อปี 2006 แม้ว่ารัฐบาลจะได้อัดฉีดเม็ดเงินเข้ามาช่วยเหลือเป็นเงินถึง 45,000 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมาก็ตามที
"มันเป็นข่าวร้ายอย่างยิ่ง" เจมส์ บาร์ธ ศาสตราจารย์ด้านการเงินแห่งมหาวิทยาลัยออเบิร์นกล่าว "หลายคนอาจจะคิดว่าแผนกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลสหรัฐฯอาจจะทำให้เกิดผลในทางบวกบ้าง แต่ก็ไม่มีสิ่งใดที่จะฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุนในยามนี้ได้เลย ความวิตกของนักลงทุนก็คือ รัฐบาลจะต้องถึงจุดที่อดรนทนไม่ได้แล้วบอกซิตี้กรุ๊ปว่า พอกันที"
ตอนนี้ซิตี้กรุ๊ปยังคงเป็น 1 ในหุ้นบลูชิป 30 ตัวที่ใช้คำนวณดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ อันเป็นดัชนีหลักของวอลล์สตรีท แต่โฆษกของดาวโจนส์ก็บอกว่า กำลังติดตามสถานการณ์อยู่อย่างไม่กระพริบตา ธนาคารอื่นๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีนี้ก็ยังมี แบงก์ออฟอเมริกา และเจพีมอร์แกนเชส
วิกรัม บัณฑิต ซีอีโอของซิตี้กรุ๊ปกำลังพยายามขายธุรกิจที่ทำกำไรได้ไม่ดีออกไป รวมทั้งพยายามลดหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงลงเพื่อควบคุมการขาดทุน เขายังได้เพิ่มทุนและกำลังพยายามอย่างเต็มที่เพื่อมิให้ธนาคารถูกโอนเข้าเป็นของรัฐ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนกลัวอย่างที่สุด เพราะสิ่งที่ลงทุนไปจะสูญไปหมด
รัฐบาลโอบามาและบรรดาหน่วงานยกำกับดูแลภาคการธนาคาร ซึ่งก็รวมทั้งธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ต่างออกมาบอกว่า รัฐบาลไม่ได้ต้องการจะเข้าไปควบคุมพวกธนาคารระดับชาติอย่างเต็มที่เลย
ในการซื้อขายช่วงบ่ายวันพฤหัสบดีเช่นกัน ราคาหุ้นของซิตี้กรุ๊ปกระเตื้องขึ้นมาเล็กน้อย มาอยู่ที่ 1.05 ดอลลาร์ต่อหุ้น แต่ก็ไม่มีใครกล้ารับรองว่าหุ้นตัวนี้จะไม่ลงไปอีก โชคของซิตี้ยังคงดีอยู่บ้าง ตรงที่ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กประกาศหยุดใช้ระเบียบปลดบริษัทที่ราคาหุ้นหล่นลงไปต่ำกว่า 1 ดอลลาร์ต่อหุ้นอยู่เรื่อยๆ ออกจากตลาด จนถึงวันที่ 30 มีถุนายนนี้
ซิตี้กรุ๊ปก่อตั้งในปี 1998 เมื่อแซนฟอร์ด ไวลล์ ควบรวมเทรเวลเลอร์ส กรุ๊ป อิงค์ของเขาเข้ากับซิตี้คอร์ป หลังจากนั้นไวลล์ได้โน้มน้าวให้รัฐบาลสหรัฐฯแก้ไขกฏหมายกลาส-สเตกาล ซึ่งเป็นกฏหมายครั้งภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งมโหฬาร ที่ห้ามธนาคารพาณิชย์เข้ามาทำธุรกิจวาณิชธนกิจ ครั้นเมื่อเข้ามาเล่นในตลาดนี้ได้ ซิตี้กรุ๊ปก็ลงทุนในตราสารหนี้ความเสี่ยงสูง รวมทั้งในกระบวนการแปลงหนี้เป็นทุนอย่างมโหฬารโดยเฉพาะในสมัยของชาร์ลส พรินซ์ ซึ่งเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งซีอีโอต่อจากไวลล์
การลงทุนความเสี่ยงสูงเหล่านี้ทำให้ซิตี้กรุ๊ปขาดทุนมหาศาลถึง 300,000 ล้านดอลลาร์จากหนี้เสีย และเกือบจะล้มครืนลงมาหากว่ารัฐบาลไม่ประคองเอาไว้ และอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปถึงสองรอบ และเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา(27ก.พ.) รัฐบาลก็ตกลงที่จะแปลงสภาพหุ้นบุริมสิทธิ์บางส่วนมาเป็นหุ้นสามัญ ซึ่งทำให้รัฐบาลถือหุ้นในซิตี้กรุ๊ปอยู่ 36% ในขณะที่ซิตี้กรุ๊ปประกาศไม่จ่ายเงินปันผลในปีนี้เพื่อลดการไหลออกของเงินทุน