รอยเตอร์ – ซิตี้กรุ๊ป อิงค์ กำลังหารือกับรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อให้รัฐบาลเข้ามาถือหุ้นเพิ่ม โดยจำนวนหุ้นที่รัฐบาลเข้าถือนั้น ในที่สุดแล้วอาจจะสูงถึง 40% เลยทีเดียว ทั้งนี้ตามรายงานของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัล
ถึงแม้รายงานข่าวของวอลล์สตรีทเจอร์นัลกล่าวว่า รัฐบาลอเมริกันอาจจะเข้าถือหุ้นสามัญของซิตี้กรุ๊ปถึง 40% แต่หนังสือพิมพ์นี้ก็อ้างแหล่งข่าวหลายรายซึ่งทราบเรื่องการเจรจาคราวนี้ บอกว่าผู้บริหารของซิตี้กรุ๊ปกลับต้องการให้รัฐบาลเข้ามาถือหุ้นในราว 25% เท่านั้น
รายงานของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้บอกด้วยว่า คณะรัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ยังมิได้ออกมายืนยันจะสนับสนุนแผนการนี้หรือไม่
จากการสอบถามของสำนักข่าวรอยเตอร์เอง แหล่งข่าวที่ทราบถึงสถานการณ์เป็นอันดีผู้หนึ่งยืนยันกับรอยเตอร์ว่า ตอนนี้ซิตี้กับหน่วยงานกำกับดูแล กำลังมีการเจรจากันเกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลอาจจะเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของธนาคารที่เคยมีฐานะเป็นแบงก์ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯแห่งนี้
ตามรายงานของวอลล์สตรีทเจอร์นัล ซิตี้กำลังเจรจากับพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯถึงสถานการณ์ที่ว่า หุ้นบุริมสิทธิมูลค่าเท่ากับ 45,000 ล้านดอลลาร์ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯถือครองอยู่ อันสามารถที่จะแปลงเป็นหุ้นสามัญของซิตี้กรุ๊ปได้ 7.8% นั้น อาจจะมีการนำมาแปลงเป็นหุ้นสามัญกันเสียเลยเป็นจำนวนที่มากพอดูจำนวนหนึ่ง
แผนการเช่นนี้จะไม่ทำให้ต้องใช้เงินภาษีของประชาชนเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด แต่บรรดาผู้ถือหุ้นของซิตี้นั่นแหละจะต้องเห็นหุ้นของตัวเองถูกลดค่าลงไป และรัฐบาลก็จะมีอิทธิพลต่อซิตี้เพิ่มขึ้นอีกมาก
นอกจากวอลล์สตรีทเจอร์นัลแล้ว ทางด้านหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ก็ได้รายงานไว้ในเว็บไซต์ของตนว่า แผนการที่กำลังพิจารณาที่จะนำมาใช้กับซิตี้นี้ อาจเปิดทางให้มีการนำไปใช้กับธนาคารใหญ่แห่งอื่น ๆด้วย
ขณะเดียวกัน ยังมีหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์รายงานว่า ซิตี้กรุ๊ปกำลังกดดันให้รัฐบาลสหรัฐฯเห็นชอบที่จะอัดฉีดเม็ดเงินใหม่เข้ามาในธนาคาร ซึ่งจะทำให้ทางการมีหุ้นในแบงก์แห่งนี้เพิ่มขึ้นถึงระดับ 40% แต่ทางการจะไม่ถึงขึ้นเข้าถือหุ้นให้มากกว่านี้ จนจะกลายเป็นการโอนธนาคารเข้าเป็นรัฐ
หลังจากรายงานข่าวเรื่องนี้เผยแพร่ออกไปเมื่อวานนี้ ปรากฏว่าตราสารฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯได้เพิ่มราคาขึ้นไป 1.5% ขณะที่พันธบัตรกระทรวงการคลังมีราคาลดลง “อันเป็นสัญญาณของการผ่อนคลาย เพราะได้ทำให้เมฆหมอกแห่งความไม่แน่นอนเหนือภาคการธนาคารเบาบางลงไป” โทนี มอริสส์ นักยุทธศาสตร์การตลาดของเอเอ็นแซด อินเวสต์เมนต์ แบงก์ที่นครซิดนีย์กล่าว
“แน่นอนว่าครั้งนี้ รัฐบาลและภาคการเงินของสหรัฐฯต่างเคลื่อนไหวเร็วขึ้นกว่าเดิม และก็สามารถถือเป็นคำมั่นสัญญาที่ว่าบางธนาคารนั้นใหญ่เกินไปที่จะปล่อยให้ล้ม เพราะจะส่งผลสะเทือนต่อเศรษฐกิจรุนแรง”
ภายหลังข่าวเรื่องซิตี้นี้แพร่ออกไป ทำให้ราคาหุ้นของซิตี้ที่มีซื้อขายกันในตลาดแฟรงเฟิร์ตด้วย พุ่งขึ้นไปถึง 27% โดยอยู่ที่หุ้นละ 1.89 ยูโร ณ เวลา 9.25 น.ของวันจันทร์ ตามเวลาจีเอ็มที (ตรงกับ 16.25 น.เวลาเมืองไทย) ขณะที่หุ้นของแบงก์ออฟอเมริกาก็ฟื้นตัวขึ้นระหว่างการซื้อขายทางฟากยุโรปเช่นกัน โดยผงาดขึ้นถึง 30% อยู่ที่ 3.15 ยูโร
เมื่อวันศุกร์(20)นั้น หุ้นซิตี้ปิดที่นิวยอร์กโดยหล่นวูบถึง 22% ขณะที่แบงก์ออฟอเมริกาก็ทรุดฮวบ 31% โดยที่เป็นการร่วงลงติดกัน 6 วันทำการ สืบเนื่องจากความกังวลของนักลงทุนว่ารัฐบาลจะเข้ายึดทั้งสองธนาคารเป็นของรัฐ และทำให้หุ้นของนักลงทุนไร้มูลค่าใด ๆไปในทันใด
**กระทรวงคลังเปิดกว้างเรื่องแปลงหุ้นสามัญ**
เมื่อเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนที่ผ่านมา ซิตี้กรุ๊ปออกหุ้นบุริมสิทธิ์มูลค่า 52,000 ล้านดอลลาร์ให้กับรัฐบาล โดยในจำนวนนี้ 45,000 ล้านถือว่าเป็นทุน และอีก 7,000 ล้านถูกนับเป็นค่าบริการที่รัฐบาลตกลงจะประกันสินทรัพย์ของซิตี้กรุ๊ป
และรัฐบาลสหรัฐฯก็ได้วอแรนท์เพื่อให้สามารถซื้อหุ้น 7.8% ของธนาคารแห่งนี้ได้
แหล่งข่าวที่ทราบสถานการณ์เป็นอันดีรายหนึ่งบอกกับรอยเตอร์ว่า ทางเลือกหนึ่งที่ทำได้ก็คือการเปลี่ยนหุ้นบุริมสิทธิ์นี้ให้เป็นหุ้นสามัญ แต่แหล่งข่าวรายนี้ก็เน้นว่ายังมีทางเลือกอื่นๆ อีกหลายทาง
อย่างไรก็ตาม รายงานของวอลล์สตรีทเจอร์นัลชี้ว่า การที่สองฝ่ายเปิดการหารือกันเช่นนี้ แสดงให้เห็นถึงความกังวลที่ว่าซิตี้และธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐฯอีกหลายแห่ง จะขาดทุนมหาศาลท่ามกลางวิกฤตอสังหาริมทรัพย์และเศรษฐกิจที่อ่อนปวกเปียกของสหรัฐฯ
เกี่ยวกับรายงานข่าวต่างๆ เหล่านี้ กระทรวงการคลังของสหรัฐฯมิได้ออกมาให้ความเห็น โดยบอกแต่เพียงว่ายังไม่ปิดประตูเรื่องการเปลี่ยนหุ้นบุริมสิทธิ์เป็นหุ้นสามัญเพื่อให้ธนาคารมีความแข็งแกร่งมากขึ้น
โฆษกกระทรวงการคลัง ไอแซค เบเกอร์กล่าวว่าภายใต้แผนสร้างเสถียรภาพให้กับธนาคารของรัฐมนตรีทิโมธี ไกธ์เนอร์ สถาบันการเงินสามารถยืนเรื่องขอให้รัฐบาลเปลี่ยนจากหุ้นบุริมสิทธิ์มาเป็นหุ้นบุริมสิทธิ์ที่แปลงสภาพได้ และเป็นหุ้นสามัญในภายหลังได้ หากว่ามีความต้องการสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงการเงินทุนของธนาคาร
ส่วนทางทำเนียบขาวก็ออกมาบอกว่าประธานาธิบดีโอบามานั้นชอบระบบธนาคารที่เป็นเอกชนมากกว่าทำให้เป็นของรัฐบาลจนหมด
ซิตี้ก็ไม่แสดงความเห็นเกี่ยวกับรายงานที่ออกมาดังกล่าว ในคำแถลงทางอีเมล์ชี้แจงเพียงว่า “ฐานเงินทุนของซิตี้ยังคงแข็งแกร่ง สัดส่วนเงินทุนขั้นที่ 1 เมื่อสิ้นไตรมาสที่สี่ปีที่แล้วก็ยังคงอยู่ที่ 11.9% ซึ่งเกือบจะสูงที่สุดในอุตสาหกรรมนี้”
ถึงแม้รายงานข่าวของวอลล์สตรีทเจอร์นัลกล่าวว่า รัฐบาลอเมริกันอาจจะเข้าถือหุ้นสามัญของซิตี้กรุ๊ปถึง 40% แต่หนังสือพิมพ์นี้ก็อ้างแหล่งข่าวหลายรายซึ่งทราบเรื่องการเจรจาคราวนี้ บอกว่าผู้บริหารของซิตี้กรุ๊ปกลับต้องการให้รัฐบาลเข้ามาถือหุ้นในราว 25% เท่านั้น
รายงานของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้บอกด้วยว่า คณะรัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ยังมิได้ออกมายืนยันจะสนับสนุนแผนการนี้หรือไม่
จากการสอบถามของสำนักข่าวรอยเตอร์เอง แหล่งข่าวที่ทราบถึงสถานการณ์เป็นอันดีผู้หนึ่งยืนยันกับรอยเตอร์ว่า ตอนนี้ซิตี้กับหน่วยงานกำกับดูแล กำลังมีการเจรจากันเกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลอาจจะเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของธนาคารที่เคยมีฐานะเป็นแบงก์ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯแห่งนี้
ตามรายงานของวอลล์สตรีทเจอร์นัล ซิตี้กำลังเจรจากับพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯถึงสถานการณ์ที่ว่า หุ้นบุริมสิทธิมูลค่าเท่ากับ 45,000 ล้านดอลลาร์ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯถือครองอยู่ อันสามารถที่จะแปลงเป็นหุ้นสามัญของซิตี้กรุ๊ปได้ 7.8% นั้น อาจจะมีการนำมาแปลงเป็นหุ้นสามัญกันเสียเลยเป็นจำนวนที่มากพอดูจำนวนหนึ่ง
แผนการเช่นนี้จะไม่ทำให้ต้องใช้เงินภาษีของประชาชนเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด แต่บรรดาผู้ถือหุ้นของซิตี้นั่นแหละจะต้องเห็นหุ้นของตัวเองถูกลดค่าลงไป และรัฐบาลก็จะมีอิทธิพลต่อซิตี้เพิ่มขึ้นอีกมาก
นอกจากวอลล์สตรีทเจอร์นัลแล้ว ทางด้านหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ก็ได้รายงานไว้ในเว็บไซต์ของตนว่า แผนการที่กำลังพิจารณาที่จะนำมาใช้กับซิตี้นี้ อาจเปิดทางให้มีการนำไปใช้กับธนาคารใหญ่แห่งอื่น ๆด้วย
ขณะเดียวกัน ยังมีหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์รายงานว่า ซิตี้กรุ๊ปกำลังกดดันให้รัฐบาลสหรัฐฯเห็นชอบที่จะอัดฉีดเม็ดเงินใหม่เข้ามาในธนาคาร ซึ่งจะทำให้ทางการมีหุ้นในแบงก์แห่งนี้เพิ่มขึ้นถึงระดับ 40% แต่ทางการจะไม่ถึงขึ้นเข้าถือหุ้นให้มากกว่านี้ จนจะกลายเป็นการโอนธนาคารเข้าเป็นรัฐ
หลังจากรายงานข่าวเรื่องนี้เผยแพร่ออกไปเมื่อวานนี้ ปรากฏว่าตราสารฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯได้เพิ่มราคาขึ้นไป 1.5% ขณะที่พันธบัตรกระทรวงการคลังมีราคาลดลง “อันเป็นสัญญาณของการผ่อนคลาย เพราะได้ทำให้เมฆหมอกแห่งความไม่แน่นอนเหนือภาคการธนาคารเบาบางลงไป” โทนี มอริสส์ นักยุทธศาสตร์การตลาดของเอเอ็นแซด อินเวสต์เมนต์ แบงก์ที่นครซิดนีย์กล่าว
“แน่นอนว่าครั้งนี้ รัฐบาลและภาคการเงินของสหรัฐฯต่างเคลื่อนไหวเร็วขึ้นกว่าเดิม และก็สามารถถือเป็นคำมั่นสัญญาที่ว่าบางธนาคารนั้นใหญ่เกินไปที่จะปล่อยให้ล้ม เพราะจะส่งผลสะเทือนต่อเศรษฐกิจรุนแรง”
ภายหลังข่าวเรื่องซิตี้นี้แพร่ออกไป ทำให้ราคาหุ้นของซิตี้ที่มีซื้อขายกันในตลาดแฟรงเฟิร์ตด้วย พุ่งขึ้นไปถึง 27% โดยอยู่ที่หุ้นละ 1.89 ยูโร ณ เวลา 9.25 น.ของวันจันทร์ ตามเวลาจีเอ็มที (ตรงกับ 16.25 น.เวลาเมืองไทย) ขณะที่หุ้นของแบงก์ออฟอเมริกาก็ฟื้นตัวขึ้นระหว่างการซื้อขายทางฟากยุโรปเช่นกัน โดยผงาดขึ้นถึง 30% อยู่ที่ 3.15 ยูโร
เมื่อวันศุกร์(20)นั้น หุ้นซิตี้ปิดที่นิวยอร์กโดยหล่นวูบถึง 22% ขณะที่แบงก์ออฟอเมริกาก็ทรุดฮวบ 31% โดยที่เป็นการร่วงลงติดกัน 6 วันทำการ สืบเนื่องจากความกังวลของนักลงทุนว่ารัฐบาลจะเข้ายึดทั้งสองธนาคารเป็นของรัฐ และทำให้หุ้นของนักลงทุนไร้มูลค่าใด ๆไปในทันใด
**กระทรวงคลังเปิดกว้างเรื่องแปลงหุ้นสามัญ**
เมื่อเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนที่ผ่านมา ซิตี้กรุ๊ปออกหุ้นบุริมสิทธิ์มูลค่า 52,000 ล้านดอลลาร์ให้กับรัฐบาล โดยในจำนวนนี้ 45,000 ล้านถือว่าเป็นทุน และอีก 7,000 ล้านถูกนับเป็นค่าบริการที่รัฐบาลตกลงจะประกันสินทรัพย์ของซิตี้กรุ๊ป
และรัฐบาลสหรัฐฯก็ได้วอแรนท์เพื่อให้สามารถซื้อหุ้น 7.8% ของธนาคารแห่งนี้ได้
แหล่งข่าวที่ทราบสถานการณ์เป็นอันดีรายหนึ่งบอกกับรอยเตอร์ว่า ทางเลือกหนึ่งที่ทำได้ก็คือการเปลี่ยนหุ้นบุริมสิทธิ์นี้ให้เป็นหุ้นสามัญ แต่แหล่งข่าวรายนี้ก็เน้นว่ายังมีทางเลือกอื่นๆ อีกหลายทาง
อย่างไรก็ตาม รายงานของวอลล์สตรีทเจอร์นัลชี้ว่า การที่สองฝ่ายเปิดการหารือกันเช่นนี้ แสดงให้เห็นถึงความกังวลที่ว่าซิตี้และธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐฯอีกหลายแห่ง จะขาดทุนมหาศาลท่ามกลางวิกฤตอสังหาริมทรัพย์และเศรษฐกิจที่อ่อนปวกเปียกของสหรัฐฯ
เกี่ยวกับรายงานข่าวต่างๆ เหล่านี้ กระทรวงการคลังของสหรัฐฯมิได้ออกมาให้ความเห็น โดยบอกแต่เพียงว่ายังไม่ปิดประตูเรื่องการเปลี่ยนหุ้นบุริมสิทธิ์เป็นหุ้นสามัญเพื่อให้ธนาคารมีความแข็งแกร่งมากขึ้น
โฆษกกระทรวงการคลัง ไอแซค เบเกอร์กล่าวว่าภายใต้แผนสร้างเสถียรภาพให้กับธนาคารของรัฐมนตรีทิโมธี ไกธ์เนอร์ สถาบันการเงินสามารถยืนเรื่องขอให้รัฐบาลเปลี่ยนจากหุ้นบุริมสิทธิ์มาเป็นหุ้นบุริมสิทธิ์ที่แปลงสภาพได้ และเป็นหุ้นสามัญในภายหลังได้ หากว่ามีความต้องการสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงการเงินทุนของธนาคาร
ส่วนทางทำเนียบขาวก็ออกมาบอกว่าประธานาธิบดีโอบามานั้นชอบระบบธนาคารที่เป็นเอกชนมากกว่าทำให้เป็นของรัฐบาลจนหมด
ซิตี้ก็ไม่แสดงความเห็นเกี่ยวกับรายงานที่ออกมาดังกล่าว ในคำแถลงทางอีเมล์ชี้แจงเพียงว่า “ฐานเงินทุนของซิตี้ยังคงแข็งแกร่ง สัดส่วนเงินทุนขั้นที่ 1 เมื่อสิ้นไตรมาสที่สี่ปีที่แล้วก็ยังคงอยู่ที่ 11.9% ซึ่งเกือบจะสูงที่สุดในอุตสาหกรรมนี้”