กคช.มั่นใจ 4 มาตรการหนุนคนซื้อบ้านเอื้ออาทรผ่านฉลุย พร้อมเจรจาอบต.-อปท.ขายบ้านเอื้อฯยกตึก มั่นใจตัวเลขปีนี้แตะ 80,000 ยูนิตชัวร์
การเคหะแห่งชาติ(กคช.)หน่วยงานของรัฐ ที่มีพันธกิจสำคัญในการดูแลเรื่องที่อยู่อาศัยให้แก่กลุ่มผู้มีรายได้ แต่จากนโยบายทางด้านโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่ตั้งเป้าหมายให้กคช.ต้องรับหน้าที่ดูแลโครงการบ้านเอื้อฯสูงถึง 6 แสนหน่วย มีการปรับหลักเกณฑ์ในโครงการเพื่อให้กระบวนการของโครงการเดินหน้าตามความต้องการของรัฐบาลในอดีต ในขณะที่ปริมาณสินค้า(ซัปพลาย)บ้านเอื้อฯที่ออกสู่ตลาดในบางทำเลมีความซ้ำซ้อนกัน มีการสร้างความต้องการ(ดีมานด์เทียม)ขึ้นมา เพื่อให้ได้ตามเป้าในการขายโครงการให้แก่กคช. ประกอบกับโครงการบ้านเอื้อฯมีมูลค่ามหาศาล จึงกลายเป็นช่องในการหาประโยชน์จากผู้ขาย หรือเป็นตัวเงินในแต่ละยูนิต เป็นต้น
และจากความไม่โปรงใส่ของโครงการบ้านเอื้อฯ ได้ก่อผลในปัจจุบัน ให้กคช.ประสบปัญหาทางด้านผลการดำเนินงาน และสุ่มเสี่ยงที่อาจจะมีปัญหาทางด้านเครดิต เนื่องจากมีตัวเลขขาดทุนติดต่อมา 2 ปี คือ ปี51 ขาดทุน 991 ล้านบาท ปี 51 ขาดทุน 1,305 ล้านบาท หนี้สินรวม 90,000 ล้านบาท ส่วนทรัพย์สินรวมมีกว่า 1แสนล้านบาท ดังนั้น หากในปี 52 ไม่สามารถพลิกฟื้นจากผลขาดทุนเป็นกำไรได้แล้ว ภาระหนี้ของกคช.จะถูกนับเข้าเป็นหนี้สาธารณะตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลัง และเมื่อเป็นเช่นนี้ กคช.ต้องหาวิธีทางในการลดสต๊อกบ้านเอื้อฯเพื่อแปลงทรัพย์สินกลายเป็นรายได้
นายศิริโรจน์ ชาวปากน้ำ ผู้ช่วยผู้ว่าฯกคช.กล่าวถึงความคืบหน้าการผลักดัน 4 มาตรการแก้ปัญหาบ้านเอื้ออาทรที่ได้มีการเสนอให้รัฐบาลพิจารณาแล้ว แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทำให้เรื่องดังกล่าวยังอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณา ซึ่งตนเชื่อว่า รัฐบาลจะให้ความเห็นชอบกับมาตรการดังกล่าวแน่นอน โดยมาตรการที่เสนอไป มี 4 มาตรการคือ 1.ขอปรับราคาบ้านเอื้ออาทรในโครงการพื้นที่สีแดง หรือพื้นที่มีความความเจริญด้านเศรษฐกิจจาก 3.9 แสนบาท/ยูนิต เป็น4.3-4.5แสนบาท/ยูนิต 2.ขออนุมัติให้ภาคเอกชนสามารถซื้อโครงการยกตึกได้ 3.เสนอให้สามารถโอนกรรมสิทธิ์บ้านก่อนระยะเวลา 5 ปี และ4.ขอเงินชดเชยการยืดระยะเวลาการก่อสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทร 180 วัน ตามมาตรการชดเชยการช่วยเหลือผู้รับเหมาเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ
ในส่วนของแผนการทำงานของกคช.นั้น คงต้องดำเนินนโยบายเชิงรุก ทั้งการให้ประชาชนที่ไม่ผ่านการพิจารณาปล่อยกู้จากสถาบันการเงิน สามารถทำสัญญาเช่าซื้อบ้านเอื้อฯในระยะเวลา 5 ปี การจัดงานมหกรรมบ้านเอื้ออาทร 4 ภาค
นอกจากนี้ ยังจะได้ติดต่อไปยังองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัดต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ให้สามารถซื้อบ้านเอื้ออาทรได้ในลักษณะยกชั้นหรือยกโครงการเพื่อเป็นสวัสดิการให้ลูกจ้าง พนักงานขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) โดยตั้งเป้ายอดขายในส่วนนี้ไว้ประมาณ 10,000 ยูนิตทั่วประเทศ หลังจากที่ประสบความสำเร็จจากการขายยกโครงการให้ทางกรุงเทพฯกว่า 12,000 ยูนิต และมั่นใจว่าจากมาตรการต่าง ๆ ทั้งหมด จะทำให้ยอดขายบ้านเอื้ออาทรปีนี้ได้ตามเป้า 80,000 ยูนิต
การเคหะแห่งชาติ(กคช.)หน่วยงานของรัฐ ที่มีพันธกิจสำคัญในการดูแลเรื่องที่อยู่อาศัยให้แก่กลุ่มผู้มีรายได้ แต่จากนโยบายทางด้านโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่ตั้งเป้าหมายให้กคช.ต้องรับหน้าที่ดูแลโครงการบ้านเอื้อฯสูงถึง 6 แสนหน่วย มีการปรับหลักเกณฑ์ในโครงการเพื่อให้กระบวนการของโครงการเดินหน้าตามความต้องการของรัฐบาลในอดีต ในขณะที่ปริมาณสินค้า(ซัปพลาย)บ้านเอื้อฯที่ออกสู่ตลาดในบางทำเลมีความซ้ำซ้อนกัน มีการสร้างความต้องการ(ดีมานด์เทียม)ขึ้นมา เพื่อให้ได้ตามเป้าในการขายโครงการให้แก่กคช. ประกอบกับโครงการบ้านเอื้อฯมีมูลค่ามหาศาล จึงกลายเป็นช่องในการหาประโยชน์จากผู้ขาย หรือเป็นตัวเงินในแต่ละยูนิต เป็นต้น
และจากความไม่โปรงใส่ของโครงการบ้านเอื้อฯ ได้ก่อผลในปัจจุบัน ให้กคช.ประสบปัญหาทางด้านผลการดำเนินงาน และสุ่มเสี่ยงที่อาจจะมีปัญหาทางด้านเครดิต เนื่องจากมีตัวเลขขาดทุนติดต่อมา 2 ปี คือ ปี51 ขาดทุน 991 ล้านบาท ปี 51 ขาดทุน 1,305 ล้านบาท หนี้สินรวม 90,000 ล้านบาท ส่วนทรัพย์สินรวมมีกว่า 1แสนล้านบาท ดังนั้น หากในปี 52 ไม่สามารถพลิกฟื้นจากผลขาดทุนเป็นกำไรได้แล้ว ภาระหนี้ของกคช.จะถูกนับเข้าเป็นหนี้สาธารณะตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลัง และเมื่อเป็นเช่นนี้ กคช.ต้องหาวิธีทางในการลดสต๊อกบ้านเอื้อฯเพื่อแปลงทรัพย์สินกลายเป็นรายได้
นายศิริโรจน์ ชาวปากน้ำ ผู้ช่วยผู้ว่าฯกคช.กล่าวถึงความคืบหน้าการผลักดัน 4 มาตรการแก้ปัญหาบ้านเอื้ออาทรที่ได้มีการเสนอให้รัฐบาลพิจารณาแล้ว แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทำให้เรื่องดังกล่าวยังอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณา ซึ่งตนเชื่อว่า รัฐบาลจะให้ความเห็นชอบกับมาตรการดังกล่าวแน่นอน โดยมาตรการที่เสนอไป มี 4 มาตรการคือ 1.ขอปรับราคาบ้านเอื้ออาทรในโครงการพื้นที่สีแดง หรือพื้นที่มีความความเจริญด้านเศรษฐกิจจาก 3.9 แสนบาท/ยูนิต เป็น4.3-4.5แสนบาท/ยูนิต 2.ขออนุมัติให้ภาคเอกชนสามารถซื้อโครงการยกตึกได้ 3.เสนอให้สามารถโอนกรรมสิทธิ์บ้านก่อนระยะเวลา 5 ปี และ4.ขอเงินชดเชยการยืดระยะเวลาการก่อสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทร 180 วัน ตามมาตรการชดเชยการช่วยเหลือผู้รับเหมาเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ
ในส่วนของแผนการทำงานของกคช.นั้น คงต้องดำเนินนโยบายเชิงรุก ทั้งการให้ประชาชนที่ไม่ผ่านการพิจารณาปล่อยกู้จากสถาบันการเงิน สามารถทำสัญญาเช่าซื้อบ้านเอื้อฯในระยะเวลา 5 ปี การจัดงานมหกรรมบ้านเอื้ออาทร 4 ภาค
นอกจากนี้ ยังจะได้ติดต่อไปยังองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัดต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ให้สามารถซื้อบ้านเอื้ออาทรได้ในลักษณะยกชั้นหรือยกโครงการเพื่อเป็นสวัสดิการให้ลูกจ้าง พนักงานขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) โดยตั้งเป้ายอดขายในส่วนนี้ไว้ประมาณ 10,000 ยูนิตทั่วประเทศ หลังจากที่ประสบความสำเร็จจากการขายยกโครงการให้ทางกรุงเทพฯกว่า 12,000 ยูนิต และมั่นใจว่าจากมาตรการต่าง ๆ ทั้งหมด จะทำให้ยอดขายบ้านเอื้ออาทรปีนี้ได้ตามเป้า 80,000 ยูนิต