การศึกษาในเมืองผู้ดีพบเด็กเล็กที่นั่งเฝ้าหน้าทีวีวันละกว่าสองชั่วโมง มีความเสี่ยงเป็นโรคหอบหืดเพิ่มขึ้นสองเท่า โดยผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าโทรทัศน์เป็นเพียงสาเหตุทางอ้อม สาเหตุที่แท้จริงคือการที่เด็กไม่ได้ออกกำลังกาย
รายงานที่อยู่ในวารสารทอแร็กซ์ มาจากการติดตามผลสุขภาพเด็กอังกฤษกว่า 3,000 คนตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 11 ขวบ
ผู้ปกครองของเด็กเหล่านี้จะถูกสอบถามเป็นประจำทุกปีเกี่ยวกับอาการหายใจฟืดฟาดของเด็ก และแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหอบหืดหรือไม่ นอกจากนี้ ผู้ปกครองยังต้องประเมินพฤติกรรมการดูทีวีของเด็กตั้งแต่อายุ 3 ขวบครึ่งเป็นต้นไป
ทั้งนี้ เด็กทั้งหมดไม่มีสัญญาณของการเป็นโรคหอบหืดขณะเป็นทารกหรือเพิ่งหัดเดิน
แต่เมื่ออายุ 11 ขวบครึ่ง มีเด็ก 185 คน (6%) เป็นโรคนี้ และเด็กที่ดูทีวีเกินวันละสองชั่วโมงมีแนวโน้มเป็นหอบหืดเพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อเทียบกับเด็กที่ดูทีวีน้อยกว่า
ในกลุ่มเด็กที่เป็นโรคหอบหืด มี 2% ที่ไม่ได้ดูทีวีเลย, 20% ดูทีวีวันละไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง, 34% ดูวันละ 1-2 ชั่วโมง และ 44% เกินสองชั่วโมง
นักวิจัยกล่าวว่า เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่าไม่มีเด็กคนใดมีอาการหายใจฟืดฟาดตอนอายุ 3 ขวบครึ่ง จึงไม่มีแนวโน้มว่าเด็กที่เป็นโรคหอบหืดหลังจากนั้นถูกจำกัดให้ออกกำลังกายน้อยลงตั้งแต่เล็กๆ เพราะมีอาการของโรคดังกล่าว
นักวิจัยคาดว่าการที่ไม่ค่อยทำกิจกรรมเคลื่อนไหวมากนักเป็นคำอธิบายอย่างดีสำหรับการค้นพบนี้ การตั้งสมมติฐานว่าเด็กที่ดูทีวีมากจะออกกำลังกายน้อย ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องติดตามตรวจสอบระดับการออกกำลังกายของเด็กโดยตรงในระหว่างการศึกษา
และเมื่อสิ้นสุดการศึกษาคือเมื่อเด็กอายุ 11 ขวบครึ่ง นักวิจัยพบความแตกต่างน้อยมากเกี่ยวกับระดับการออกกำลังกายของเด็กที่เป็นโรคหอบหืดกับเด็กที่ไม่เป็น
“เราคิดว่าปัญหามาจากการไม่ออกกำลังกาย ไม่ใช่การดูทีวี ทีวีเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ดีที่สุดของการไม่ออกกำลังกายเท่านั้น
“ในช่วงเริ่มต้นชีวิต มีโอกาสที่การทำกิจกรรมจะช่วยปกป้องปอดได้ อาจเป็นไปได้ว่าการไม่นั่งนิ่งอยู่กับที่ทำให้คุณได้สูดหายใจลึกขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อการทำงานของปอด” ดร.เจมส์ พาตัน จากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ในสก็อตแลนด์ ผู้ร่วมจัดทำรายงานชิ้นนี้ อธิบาย
ดร.อีเลน วิกเกอร์ จากแอชมา ยูเค เสริมว่าการค้นพบนี้เพิ่มหลักฐานที่เชื่อมโยงระหว่างการขาดการออกกำลังกายและภาวะน้ำหนักเกิน กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเป็นโรคหอบหืด ทั้งยังเป็นการศึกษาชิ้นแรกที่มีการเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างพฤติกรรมการนั่งๆ นอนๆ ในวัยเด็กกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเป็นโรคนี้เมื่อเด็กโตขึ้น
อนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญบางกลุ่มแนะนำว่าเด็กอายุต่ำกว่าสามขวบไม่ควรดูทีวีเลย เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพและการเรียนรู้ ทว่า ผู้เชี่ยวชาญบางรายค้านว่าทีวีสามารถให้ความรู้และอาจช่วยส่งเสริมทักษะการพูดของเด็กได้
รายงานที่อยู่ในวารสารทอแร็กซ์ มาจากการติดตามผลสุขภาพเด็กอังกฤษกว่า 3,000 คนตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 11 ขวบ
ผู้ปกครองของเด็กเหล่านี้จะถูกสอบถามเป็นประจำทุกปีเกี่ยวกับอาการหายใจฟืดฟาดของเด็ก และแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหอบหืดหรือไม่ นอกจากนี้ ผู้ปกครองยังต้องประเมินพฤติกรรมการดูทีวีของเด็กตั้งแต่อายุ 3 ขวบครึ่งเป็นต้นไป
ทั้งนี้ เด็กทั้งหมดไม่มีสัญญาณของการเป็นโรคหอบหืดขณะเป็นทารกหรือเพิ่งหัดเดิน
แต่เมื่ออายุ 11 ขวบครึ่ง มีเด็ก 185 คน (6%) เป็นโรคนี้ และเด็กที่ดูทีวีเกินวันละสองชั่วโมงมีแนวโน้มเป็นหอบหืดเพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อเทียบกับเด็กที่ดูทีวีน้อยกว่า
ในกลุ่มเด็กที่เป็นโรคหอบหืด มี 2% ที่ไม่ได้ดูทีวีเลย, 20% ดูทีวีวันละไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง, 34% ดูวันละ 1-2 ชั่วโมง และ 44% เกินสองชั่วโมง
นักวิจัยกล่าวว่า เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่าไม่มีเด็กคนใดมีอาการหายใจฟืดฟาดตอนอายุ 3 ขวบครึ่ง จึงไม่มีแนวโน้มว่าเด็กที่เป็นโรคหอบหืดหลังจากนั้นถูกจำกัดให้ออกกำลังกายน้อยลงตั้งแต่เล็กๆ เพราะมีอาการของโรคดังกล่าว
นักวิจัยคาดว่าการที่ไม่ค่อยทำกิจกรรมเคลื่อนไหวมากนักเป็นคำอธิบายอย่างดีสำหรับการค้นพบนี้ การตั้งสมมติฐานว่าเด็กที่ดูทีวีมากจะออกกำลังกายน้อย ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องติดตามตรวจสอบระดับการออกกำลังกายของเด็กโดยตรงในระหว่างการศึกษา
และเมื่อสิ้นสุดการศึกษาคือเมื่อเด็กอายุ 11 ขวบครึ่ง นักวิจัยพบความแตกต่างน้อยมากเกี่ยวกับระดับการออกกำลังกายของเด็กที่เป็นโรคหอบหืดกับเด็กที่ไม่เป็น
“เราคิดว่าปัญหามาจากการไม่ออกกำลังกาย ไม่ใช่การดูทีวี ทีวีเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ดีที่สุดของการไม่ออกกำลังกายเท่านั้น
“ในช่วงเริ่มต้นชีวิต มีโอกาสที่การทำกิจกรรมจะช่วยปกป้องปอดได้ อาจเป็นไปได้ว่าการไม่นั่งนิ่งอยู่กับที่ทำให้คุณได้สูดหายใจลึกขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อการทำงานของปอด” ดร.เจมส์ พาตัน จากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ในสก็อตแลนด์ ผู้ร่วมจัดทำรายงานชิ้นนี้ อธิบาย
ดร.อีเลน วิกเกอร์ จากแอชมา ยูเค เสริมว่าการค้นพบนี้เพิ่มหลักฐานที่เชื่อมโยงระหว่างการขาดการออกกำลังกายและภาวะน้ำหนักเกิน กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเป็นโรคหอบหืด ทั้งยังเป็นการศึกษาชิ้นแรกที่มีการเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างพฤติกรรมการนั่งๆ นอนๆ ในวัยเด็กกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเป็นโรคนี้เมื่อเด็กโตขึ้น
อนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญบางกลุ่มแนะนำว่าเด็กอายุต่ำกว่าสามขวบไม่ควรดูทีวีเลย เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพและการเรียนรู้ ทว่า ผู้เชี่ยวชาญบางรายค้านว่าทีวีสามารถให้ความรู้และอาจช่วยส่งเสริมทักษะการพูดของเด็กได้