วันนี้ผมต้องเขียนแซงคิวเรื่องอื่น ทั้งๆ ที่รู้ว่า ผมคงจะไม่มีปัญญาป้องกันความเข้าใจผิดต่างๆ นานาจากท่านผู้อ่านเพราะอุปาทานของแต่ละคนไม่เหมือนและไม่เท่ากัน
โครงสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมพึ่งพา ทำให้สื่อและนักวิชาการของเราล้าหลัง ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เหมือนในประเทศที่ประชาธิปไตยเจริญได้ ระบบพรรคการเมืองและพรรคการเมืองจริงๆ ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อรากฐานที่ทดลองมาตั้งแต่ปี 2476 ต้องพังพินาศลงเพราะการรัฐประหาร ในปี 2490
ตั้งแต่นั้นมา เรามีแต่พรรคการเมืองชั่วคราว เกิดและตายพร้อมหัวหน้า เป็นแก๊งเลือกตั้ง ผลัดกันเข้าช่วงชิงอำนาจรัฐแบบไอ้เสือเอาวา เข้าปล้นทีรวมพรรคกันที ต้องการเป็นรัฐบาลลูกเดียว เพราะเป็นฝ่ายค้านอดอยากปากแห้งจริงอย่างที่บรรหาร ศิลปะอาชาบอก
มีอยู่พรรคเดียวที่หัวหน้าไม่ได้ตั้ง คือพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็เป็นพรรคการเมืองครึ่ง แก๊งเลือกตั้งครึ่ง ครึ่งหลังก็เหมือนกับพรรคอื่นๆ ความสามารถพิเศษของพรรคประชาธิปัตย์คือใช้เลขาธิการพรรคเปลือง
ในระบบพรรคการเมืองนั้นคนที่ขึ้นมาเป็นเลขาธิการได้ย่อมจะมิใช่ธรรมดา ต้องเป็นผู้นำของผู้นำและเป็นสัญลักษณ์แห่งความต่อเนื่องทางอุดมการณ์หรือนโยบายของพรรคทีเดียว ท่านเลขาธิการที่สิ้นศรัทธาประชาธิปัตย์มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ธรรมนูญ เทียนเงิน ใหญ่ สวิตชาติ เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ วีระ มุสิกพงศ์ สนั่น ขจรประศาสน์ ล้วนพากันแตกพรรคหนีประชาธิปัตย์ นอกจากนั้นนักการเมืองแบบเสือสิงห์กระทิงแรดชนิดที่ชาวบ้านเรียกไอ้ เป็นต้นว่า สมัคร สุนทรเวช เฉลิม อยู่บำรุง เชาวรินทร์ ลัทธศักดิ์ศิริ และอีกนับไม่ถ้วนที่เป็นศัตรูตัวฉกาจ (ของปชป.) และทาสที่ซื่อสัตย์ของทักษิณ ล้วนแล้วแต่มาจากประชาธิปัตย์ทั้งสิ้น
ด้วยความจริงใจอย่างยิ่ง ผมจึงขอร้องและอวยพรให้ประชาธิปัตย์ปฏิรูปตนเองทำตนให้เป็นพรรคการเมืองเต็มใบให้สำเร็จ บ้านเมืองจะได้มีที่พึ่งเสียที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาธิปัตย์ได้หัวหน้าพรรคที่สามารถเป็นหน้าเป็นตาของประเทศได้อย่างอภิสิทธิ์ นักการเมืองอาชีพที่มีลักษณะชูใจที่ฝรั่งเขาเรียกว่า Charismatic ที่หายากเหมือนงมเข็ม
แต่ถ้าหากประชาธิปัตย์หรืออภิสิทธิ์ทำไม่สำเร็จ อภิสิทธิ์ก็ไม่ต่างกับคนดีที่ส่งเสริมและรักษาระบบเลว เหมือนกับผู้นำดีๆ คนอื่นๆ ที่ผ่านมา ที่ทิ้งมรดกการเมืองเก่าสาปแช่งให้เมืองไทยตกอยู่ในสภาพเยี่ยงปัจจุบันนี้
สภาพเยี่ยงนี้คือสภาพการเมืองเก่า สภาพการเมืองโกง สภาพการเมืองเลว สภาพการเมืองแบบกงจักรกวนน้ำเน่า และสภาพทุกๆ อย่างที่ท่านผู้อ่านอึดอัดขัดข้องไม่เห็นด้วยแต่จำยอมทั้งหมดนั่นแหละ
แต่ระบบพรรคการเมืองเดียว ไม่ว่าจะชื่อพรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรคไทยรักไทยก็ตาม ย่อมจะทำลายระบอบประชาธิปไตยอย่างแน่นอน ถึงจะหลอกลวงมีเล่ห์กลอย่างไร ประชานิยมอ่อน ประชานิยมแก่แค่ไหน ประเทศชาติและประชาชนจะต้องเสื่อมโทรมทั้งนั้น
การต่อสู้ขับไล่การเมืองระบบพรรคเดียวของพันธมิตรฯ และประชาชนจึงเป็นการต่อสู้ที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงแม้จะตกเป็นเหยื่อการโฆษณาชวนเชื่อของนักวิชาการ และสื่อผู้มีหรืออยากได้ผลประโยชน์จากระบอบทักษิณอย่างไรก็ตาม
ดังนั้นเมื่อประชาธิปัตย์ไปสัดกับซากเดนทรยศของไทยรักไทย ในชื่อและกลุ่มต่างๆ จึงทำให้เกิดข้อกังขาว่า คราวนี้ประชาธิปัตย์จะกลืนเลือดชั่ว หรือเลือดชั่วจะกลืนประชาธิปัตย์กันแน่ ไม่ว่าใครจะกลืนใคร เมืองไทยดูจะซวยทั้งนั้น
คราวที่แล้วผมยกสุภาษิตพุทธว่าคนโกหกทำชั่วได้ทุกอย่าง คราวนี้เอาสุภาษิตฝรั่งบ้างว่า จงอย่าไว้ใจคน หมา หรือสัตว์อะไรก็ได้ที่กัดมือที่ป้อนมันมา สัตว์ที่กัดมือที่ป้อนนั้นมันไม่รู้จักคำว่ากตัญญู อันเป็นสมบัติของคนดี
ใครที่เอาคนไม่ดีมายัดเยียดให้เป็นนายประชาชนและประเทศชาติ ระวังจะเจอกรรมติดจรวด
ที่ผมต้องรีบจ้ำเขียนบทความนี้ ก็ด้วยได้ยิน 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศในคอนเสิร์ตการเมืองที่เกาะสมุยเมื่อตะกี้นี้ว่า อาจจะต้องตั้งพรรคการเมือง และถ้าจะตั้งพรรคการเมืองนั้นจะเป็นด้วยเหตุผลใด และจะตั้งอย่างไร หรือจะทำอะไรบ้าง ผมฟังไปก็เขียนไป ใจหนึ่งก็ดีใจ อีกใจหนึ่งก็เป็นห่วงถึงกับเข้าขั้นกลัวทีเดียว
ผมเองได้ประกาศเสมอว่าประชาธิปัตย์ปฏิรูปตัวเองเป็นพรรคสมบูรณ์แบบอย่างเดียวไม่พอ ประเทศไทศไทยต้องมีพรรคการเมืองดีๆ สัก 2-3 พรรค เป็นพรรคที่หัวหน้ามิได้ตั้ง และมิได้ตั้งเพื่อประโยชน์หัวหน้าโดยบรรดาลูกน้องนอมินีที่เป็นเปรตคอยส่วนบุญทั้งหลาย หากเป็นพรรคการเมืองจริงๆ ที่มิใช่แก๊งเลือกตั้ง ประชาธิปัตย์จะต้องเปิดทางและเอื้ออำนวยให้เกิดพรรคแท้ๆให้ได้ จึงจะนับได้ว่าประชาธิปัตย์มีส่วนในการพัฒนาการเมืองไทยจริงๆ
ตอนนี้ พอเห็นความแข็งกร้าวและท่าทีของแกนนำพันธมิตรฯ ผมก็ชักจะเกิดความกลัวขึ้นมาหลายอย่าง ที่กลัวจริงก็คือปฏิกิริยาของผู้ที่กลัวว่า พรรคพันธมิตรฯ จะเกิดขึ้นมาเป็นคู่แข่ง
พรรคแรกก็คือซากเดนของพรรคไทยรักไทยในรูปต่างๆ และขบวนการโลกล้อมประเทศของไทยรักไทยซึ่งกำลังจะตายตามทักษิณ แต่กลับเกิดขึ้นมาใหม่ด้วยขบวนการรณรงค์ให้เลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งจะกระทบกระเทือนถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และอนาคตของประชธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วย อย่างมิต้องสงสัย คนที่ไม่ติดตามจะมองไม่เห็นความสอดคล้องของการเคลื่อนไหวนี้กับการเคลื่อนไหวภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคดีความ เรื่องการโต้กลับของรัฐตำรวจและการปลุกระดมรากหญ้าอย่างมีระบบ พรรคนี้จะต้องสกัดกั้นการเกิดของพรรคพันธมิตรทุกวิถีทาง
พรรคที่สองคือพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งอาจจะหรืออาจจะไม่กลัวการเกิดของพรรคพันธมิตรฯ ก็ได้ สมมติว่ากลัวเพราะฐานเสียงภาคใต้และในกรุงเทพฯ จะสู้กันอย่างหนัก ประชาธิปัตย์อาจจะหันไปยืมมือตำรวจและเสื้อแดงสกัดกั้นและบอนไซพันธมิตรฯ ไว้เสียแต่ต้นลม ซึ่งผมหวังว่าประชาธิปัตย์คงจะ (รู้) ดีกว่านั้น และไม่กระทำ ผมได้ยินแกนนำคนสำคัญของพันธมิตรฯ ดักคอประชาธิปัตย์เมื่อคืนวานนี้ว่า อาจจะไม่จำเป็นต้องตั้งพรรค หากประชาธิปัตย์ทำหน้าที่ไม่ล้มเหลว สามารถโยกย้ายควบคุมและสลายรัฐตำรวจของทักษิณได้ (ซึ่งยังไม่มีวี่แววว่าจะเต็มใจหรือสามารถ รวมไปถึงมหาดไทยในอุ้งเท้าเนวินด้วย) ยิ่งประชาธิปัตย์แก้เก้อหนัก ผมก็กลัวว่ายิ่งจะไปกันใหญ่ อย่าหวังเลยว่าจะสร้างการเมืองใหม่ได้ คอยฆ่ากันตายให้เลือดท่วมแผ่นดินเสียก่อนจึงค่อยพูดกันใหม่ ถึงตอนนั้นจะพูดกันรู้เรื่องหรือไม่
นอกจากนั้นที่ผมกลัวที่สุดก็คือความขัดแย้งหรือขัดข้องภายในของขบวนการพันธมิตรฯ เอง ความขัดแย้งนี้เป็นเรื่องของธรรมชาติ ของอัตตามนุษย์ ของการแย่งชิงความเป็นผู้นำ ของกลไกต่างๆ ที่ขัดข้องขาดสมดุล ผมเคยพูดใน ASTV และที่อื่นๆ ว่า อย่าถามว่าพันธมิตรฯ สมควรตั้งพรรคหรือไม่ เพราะนั่นเป็นหน้าที่ เมื่อคำนึงถึงความต้องการและความจำเป็นของบ้านเมืองแล้วจะมามัวห่วงสัจวาจา (ว่าจะไม่เล่นการเมือง) อยู่ทำไม
ในหมู่พันธมิตรฯ นั้นมีคนดีที่กล้าหาญ ซื่อสัตย์ และเสียสละ น่าจะตั้งพรรคการเมืองได้ 2-3 พรรค และแบ่งภารกิจกันระหว่างการเมืองท้องถิ่น เช่น เทศบาลเมืองและนคร กับการเมืองระดับชาติก็ได้ แต่ ASTV และสนธิกับพล.ต.จำลองจะต้องพากันแสดงบทบาทนำ มิใช่นำโดยการกระโดดลงไปเป็นหัวหน้าตั้งพรรคเอง แต่นำในการระดมข้อมูล ความคิด พลังและทรัพยากร และจะต้องเริ่มตั้งพรรคโดยช่วยให้ดำเนินการตามกระบวนการที่ถูกต้อง เริ่มด้วยจากการเคลื่อนไหวต่อจาก 193 วัน ให้สามารถแยกแยะกลุ่มก้อนของอุดมการณ์และความคิดเป็นหมวดหมู่และลำดับ นำหมวดหมู่และลำดับนั้นมาจัดบุคลากรและองค์กรให้กลายเป็นองค์การที่บริหารโดยวัตถุประสงค์ แล้วขยายไปเรื่อยจนกลายเป็นพรรคและเป็นสถาบัน ในการพัฒนาระหว่างทางดังกล่าวจะต้องเกิดความขัดแย้งและขัดข้องต่างๆ แน่นอน จะต้องควบคุมมิให้ความขัดแย้งนั้นกลายเป็นความแตกร้าวแตกแยก และจะต้องเข้าใจความขัดข้องที่เหมาเรียกว่า contradiction เช่น ฝ่ายหนึ่งต้องการให้มีนักการเมืองอาชีพ ผู้นำที่ยังหนุ่มสาวและมีชั่วโมงบินสูง
แต่อีกฝ่ายหนึ่ง เช่น พล.ต.จำลอง อาจจะอยากให้การเมืองเป็นเรื่องของผู้อาวุโส เสียสละ ตั้งตัวได้แล้ว เป็นผู้ให้ลูกเดียว ไม่ต้องรับ แม้กระทั่งเงินเดือนก็ไม่เอา แม้มิติการสร้างพรรคให้มีเครือข่ายพร้อมในระดับท้องถิ่นระดับชาติ และระดับสากลพร้อมๆ กัน ก็เป็นมติที่ต้องศึกษาและวางแผน มิใช่จะปลุกระดมกันให้คึกคักไปวันๆ แล้วจะสำเร็จก็หาไม่
เงื่อนไขสำคัญที่สุดที่ทำให้การเมืองเก่าเป็นการเมืองเลว จนกระทั่งนายยุวรัตน์ กมลเวชช พล.อ.จารุภัทร เรืองสุวรรณ เห็นว่ายิ่งเลือกยิ่งเลว ต้องห้ามผู้แทนรุ่นเก่าสัก 10 ปี
เงื่อนไขที่พรรคการเมืองเป็นแบบ “รวมศูนย์-รวบอำนาจ-เป็นทาสหัวหน้า” หนีไม่พ้นบัญชาของอำนาจและเงินได้ก็เพราะกฎหมายบังคับให้ผู้สมัครสังกัดพรรค ไม่มีประเทศประชาธิปไตยใดในโลกที่บังคับให้ผู้สมัครสังกัดพรรค มีวิธีพัฒนาให้พรรคเข้มแข็งอยู่นับไม่ถ้วน แต่ถ้าไม่ยกเลิกกฎหมายพรรคการเมืองปัจจุบันให้จดทะเบียนพรรคเหมือนๆ กันหมดและบังคับให้ผู้สมัครเข้าพรรคหมด ก็จะไม่มีวันสร้างระบบพรรคการเมืองใหม่และการเมืองใหม่ได้ ผมกลัวว่าพันธมิตรฯ จะเหมือนกับอภิสิทธิ์ในข้อนี้คือไม่เคยคิดและไม่กล้าคิด
ในที่สุดไม่ว่าจะเป็นพรรคเทียนแห่งธรรม พรรคประชาภิวัฒน์ หรือพรรคสมัชชาประชาชน ผมก็กลัวว่าจะขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ นานๆ ไปเป็นบ้องกัญชา เหมือนกับทุกพรรคที่เกิดมาก่อน
โปรดถือว่านี่คือคำท้าทายและให้กำลังใจ อย่าเห็นว่าเป็นการบั่นทอนหรือทำลายกำลังใจเลย เพราะในชั่วชีวิตผมยังอยากเห็นพรรคการเมืองจริงๆ เกิดขึ้นในเมืองไทย และถ้าหากพรรคนั้นชื่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยด้วยแล้ว ผมจะนอนตายตาหลับ
โครงสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมพึ่งพา ทำให้สื่อและนักวิชาการของเราล้าหลัง ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เหมือนในประเทศที่ประชาธิปไตยเจริญได้ ระบบพรรคการเมืองและพรรคการเมืองจริงๆ ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อรากฐานที่ทดลองมาตั้งแต่ปี 2476 ต้องพังพินาศลงเพราะการรัฐประหาร ในปี 2490
ตั้งแต่นั้นมา เรามีแต่พรรคการเมืองชั่วคราว เกิดและตายพร้อมหัวหน้า เป็นแก๊งเลือกตั้ง ผลัดกันเข้าช่วงชิงอำนาจรัฐแบบไอ้เสือเอาวา เข้าปล้นทีรวมพรรคกันที ต้องการเป็นรัฐบาลลูกเดียว เพราะเป็นฝ่ายค้านอดอยากปากแห้งจริงอย่างที่บรรหาร ศิลปะอาชาบอก
มีอยู่พรรคเดียวที่หัวหน้าไม่ได้ตั้ง คือพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็เป็นพรรคการเมืองครึ่ง แก๊งเลือกตั้งครึ่ง ครึ่งหลังก็เหมือนกับพรรคอื่นๆ ความสามารถพิเศษของพรรคประชาธิปัตย์คือใช้เลขาธิการพรรคเปลือง
ในระบบพรรคการเมืองนั้นคนที่ขึ้นมาเป็นเลขาธิการได้ย่อมจะมิใช่ธรรมดา ต้องเป็นผู้นำของผู้นำและเป็นสัญลักษณ์แห่งความต่อเนื่องทางอุดมการณ์หรือนโยบายของพรรคทีเดียว ท่านเลขาธิการที่สิ้นศรัทธาประชาธิปัตย์มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ธรรมนูญ เทียนเงิน ใหญ่ สวิตชาติ เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ วีระ มุสิกพงศ์ สนั่น ขจรประศาสน์ ล้วนพากันแตกพรรคหนีประชาธิปัตย์ นอกจากนั้นนักการเมืองแบบเสือสิงห์กระทิงแรดชนิดที่ชาวบ้านเรียกไอ้ เป็นต้นว่า สมัคร สุนทรเวช เฉลิม อยู่บำรุง เชาวรินทร์ ลัทธศักดิ์ศิริ และอีกนับไม่ถ้วนที่เป็นศัตรูตัวฉกาจ (ของปชป.) และทาสที่ซื่อสัตย์ของทักษิณ ล้วนแล้วแต่มาจากประชาธิปัตย์ทั้งสิ้น
ด้วยความจริงใจอย่างยิ่ง ผมจึงขอร้องและอวยพรให้ประชาธิปัตย์ปฏิรูปตนเองทำตนให้เป็นพรรคการเมืองเต็มใบให้สำเร็จ บ้านเมืองจะได้มีที่พึ่งเสียที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาธิปัตย์ได้หัวหน้าพรรคที่สามารถเป็นหน้าเป็นตาของประเทศได้อย่างอภิสิทธิ์ นักการเมืองอาชีพที่มีลักษณะชูใจที่ฝรั่งเขาเรียกว่า Charismatic ที่หายากเหมือนงมเข็ม
แต่ถ้าหากประชาธิปัตย์หรืออภิสิทธิ์ทำไม่สำเร็จ อภิสิทธิ์ก็ไม่ต่างกับคนดีที่ส่งเสริมและรักษาระบบเลว เหมือนกับผู้นำดีๆ คนอื่นๆ ที่ผ่านมา ที่ทิ้งมรดกการเมืองเก่าสาปแช่งให้เมืองไทยตกอยู่ในสภาพเยี่ยงปัจจุบันนี้
สภาพเยี่ยงนี้คือสภาพการเมืองเก่า สภาพการเมืองโกง สภาพการเมืองเลว สภาพการเมืองแบบกงจักรกวนน้ำเน่า และสภาพทุกๆ อย่างที่ท่านผู้อ่านอึดอัดขัดข้องไม่เห็นด้วยแต่จำยอมทั้งหมดนั่นแหละ
แต่ระบบพรรคการเมืองเดียว ไม่ว่าจะชื่อพรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรคไทยรักไทยก็ตาม ย่อมจะทำลายระบอบประชาธิปไตยอย่างแน่นอน ถึงจะหลอกลวงมีเล่ห์กลอย่างไร ประชานิยมอ่อน ประชานิยมแก่แค่ไหน ประเทศชาติและประชาชนจะต้องเสื่อมโทรมทั้งนั้น
การต่อสู้ขับไล่การเมืองระบบพรรคเดียวของพันธมิตรฯ และประชาชนจึงเป็นการต่อสู้ที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงแม้จะตกเป็นเหยื่อการโฆษณาชวนเชื่อของนักวิชาการ และสื่อผู้มีหรืออยากได้ผลประโยชน์จากระบอบทักษิณอย่างไรก็ตาม
ดังนั้นเมื่อประชาธิปัตย์ไปสัดกับซากเดนทรยศของไทยรักไทย ในชื่อและกลุ่มต่างๆ จึงทำให้เกิดข้อกังขาว่า คราวนี้ประชาธิปัตย์จะกลืนเลือดชั่ว หรือเลือดชั่วจะกลืนประชาธิปัตย์กันแน่ ไม่ว่าใครจะกลืนใคร เมืองไทยดูจะซวยทั้งนั้น
คราวที่แล้วผมยกสุภาษิตพุทธว่าคนโกหกทำชั่วได้ทุกอย่าง คราวนี้เอาสุภาษิตฝรั่งบ้างว่า จงอย่าไว้ใจคน หมา หรือสัตว์อะไรก็ได้ที่กัดมือที่ป้อนมันมา สัตว์ที่กัดมือที่ป้อนนั้นมันไม่รู้จักคำว่ากตัญญู อันเป็นสมบัติของคนดี
ใครที่เอาคนไม่ดีมายัดเยียดให้เป็นนายประชาชนและประเทศชาติ ระวังจะเจอกรรมติดจรวด
ที่ผมต้องรีบจ้ำเขียนบทความนี้ ก็ด้วยได้ยิน 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศในคอนเสิร์ตการเมืองที่เกาะสมุยเมื่อตะกี้นี้ว่า อาจจะต้องตั้งพรรคการเมือง และถ้าจะตั้งพรรคการเมืองนั้นจะเป็นด้วยเหตุผลใด และจะตั้งอย่างไร หรือจะทำอะไรบ้าง ผมฟังไปก็เขียนไป ใจหนึ่งก็ดีใจ อีกใจหนึ่งก็เป็นห่วงถึงกับเข้าขั้นกลัวทีเดียว
ผมเองได้ประกาศเสมอว่าประชาธิปัตย์ปฏิรูปตัวเองเป็นพรรคสมบูรณ์แบบอย่างเดียวไม่พอ ประเทศไทศไทยต้องมีพรรคการเมืองดีๆ สัก 2-3 พรรค เป็นพรรคที่หัวหน้ามิได้ตั้ง และมิได้ตั้งเพื่อประโยชน์หัวหน้าโดยบรรดาลูกน้องนอมินีที่เป็นเปรตคอยส่วนบุญทั้งหลาย หากเป็นพรรคการเมืองจริงๆ ที่มิใช่แก๊งเลือกตั้ง ประชาธิปัตย์จะต้องเปิดทางและเอื้ออำนวยให้เกิดพรรคแท้ๆให้ได้ จึงจะนับได้ว่าประชาธิปัตย์มีส่วนในการพัฒนาการเมืองไทยจริงๆ
ตอนนี้ พอเห็นความแข็งกร้าวและท่าทีของแกนนำพันธมิตรฯ ผมก็ชักจะเกิดความกลัวขึ้นมาหลายอย่าง ที่กลัวจริงก็คือปฏิกิริยาของผู้ที่กลัวว่า พรรคพันธมิตรฯ จะเกิดขึ้นมาเป็นคู่แข่ง
พรรคแรกก็คือซากเดนของพรรคไทยรักไทยในรูปต่างๆ และขบวนการโลกล้อมประเทศของไทยรักไทยซึ่งกำลังจะตายตามทักษิณ แต่กลับเกิดขึ้นมาใหม่ด้วยขบวนการรณรงค์ให้เลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งจะกระทบกระเทือนถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และอนาคตของประชธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วย อย่างมิต้องสงสัย คนที่ไม่ติดตามจะมองไม่เห็นความสอดคล้องของการเคลื่อนไหวนี้กับการเคลื่อนไหวภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคดีความ เรื่องการโต้กลับของรัฐตำรวจและการปลุกระดมรากหญ้าอย่างมีระบบ พรรคนี้จะต้องสกัดกั้นการเกิดของพรรคพันธมิตรทุกวิถีทาง
พรรคที่สองคือพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งอาจจะหรืออาจจะไม่กลัวการเกิดของพรรคพันธมิตรฯ ก็ได้ สมมติว่ากลัวเพราะฐานเสียงภาคใต้และในกรุงเทพฯ จะสู้กันอย่างหนัก ประชาธิปัตย์อาจจะหันไปยืมมือตำรวจและเสื้อแดงสกัดกั้นและบอนไซพันธมิตรฯ ไว้เสียแต่ต้นลม ซึ่งผมหวังว่าประชาธิปัตย์คงจะ (รู้) ดีกว่านั้น และไม่กระทำ ผมได้ยินแกนนำคนสำคัญของพันธมิตรฯ ดักคอประชาธิปัตย์เมื่อคืนวานนี้ว่า อาจจะไม่จำเป็นต้องตั้งพรรค หากประชาธิปัตย์ทำหน้าที่ไม่ล้มเหลว สามารถโยกย้ายควบคุมและสลายรัฐตำรวจของทักษิณได้ (ซึ่งยังไม่มีวี่แววว่าจะเต็มใจหรือสามารถ รวมไปถึงมหาดไทยในอุ้งเท้าเนวินด้วย) ยิ่งประชาธิปัตย์แก้เก้อหนัก ผมก็กลัวว่ายิ่งจะไปกันใหญ่ อย่าหวังเลยว่าจะสร้างการเมืองใหม่ได้ คอยฆ่ากันตายให้เลือดท่วมแผ่นดินเสียก่อนจึงค่อยพูดกันใหม่ ถึงตอนนั้นจะพูดกันรู้เรื่องหรือไม่
นอกจากนั้นที่ผมกลัวที่สุดก็คือความขัดแย้งหรือขัดข้องภายในของขบวนการพันธมิตรฯ เอง ความขัดแย้งนี้เป็นเรื่องของธรรมชาติ ของอัตตามนุษย์ ของการแย่งชิงความเป็นผู้นำ ของกลไกต่างๆ ที่ขัดข้องขาดสมดุล ผมเคยพูดใน ASTV และที่อื่นๆ ว่า อย่าถามว่าพันธมิตรฯ สมควรตั้งพรรคหรือไม่ เพราะนั่นเป็นหน้าที่ เมื่อคำนึงถึงความต้องการและความจำเป็นของบ้านเมืองแล้วจะมามัวห่วงสัจวาจา (ว่าจะไม่เล่นการเมือง) อยู่ทำไม
ในหมู่พันธมิตรฯ นั้นมีคนดีที่กล้าหาญ ซื่อสัตย์ และเสียสละ น่าจะตั้งพรรคการเมืองได้ 2-3 พรรค และแบ่งภารกิจกันระหว่างการเมืองท้องถิ่น เช่น เทศบาลเมืองและนคร กับการเมืองระดับชาติก็ได้ แต่ ASTV และสนธิกับพล.ต.จำลองจะต้องพากันแสดงบทบาทนำ มิใช่นำโดยการกระโดดลงไปเป็นหัวหน้าตั้งพรรคเอง แต่นำในการระดมข้อมูล ความคิด พลังและทรัพยากร และจะต้องเริ่มตั้งพรรคโดยช่วยให้ดำเนินการตามกระบวนการที่ถูกต้อง เริ่มด้วยจากการเคลื่อนไหวต่อจาก 193 วัน ให้สามารถแยกแยะกลุ่มก้อนของอุดมการณ์และความคิดเป็นหมวดหมู่และลำดับ นำหมวดหมู่และลำดับนั้นมาจัดบุคลากรและองค์กรให้กลายเป็นองค์การที่บริหารโดยวัตถุประสงค์ แล้วขยายไปเรื่อยจนกลายเป็นพรรคและเป็นสถาบัน ในการพัฒนาระหว่างทางดังกล่าวจะต้องเกิดความขัดแย้งและขัดข้องต่างๆ แน่นอน จะต้องควบคุมมิให้ความขัดแย้งนั้นกลายเป็นความแตกร้าวแตกแยก และจะต้องเข้าใจความขัดข้องที่เหมาเรียกว่า contradiction เช่น ฝ่ายหนึ่งต้องการให้มีนักการเมืองอาชีพ ผู้นำที่ยังหนุ่มสาวและมีชั่วโมงบินสูง
แต่อีกฝ่ายหนึ่ง เช่น พล.ต.จำลอง อาจจะอยากให้การเมืองเป็นเรื่องของผู้อาวุโส เสียสละ ตั้งตัวได้แล้ว เป็นผู้ให้ลูกเดียว ไม่ต้องรับ แม้กระทั่งเงินเดือนก็ไม่เอา แม้มิติการสร้างพรรคให้มีเครือข่ายพร้อมในระดับท้องถิ่นระดับชาติ และระดับสากลพร้อมๆ กัน ก็เป็นมติที่ต้องศึกษาและวางแผน มิใช่จะปลุกระดมกันให้คึกคักไปวันๆ แล้วจะสำเร็จก็หาไม่
เงื่อนไขสำคัญที่สุดที่ทำให้การเมืองเก่าเป็นการเมืองเลว จนกระทั่งนายยุวรัตน์ กมลเวชช พล.อ.จารุภัทร เรืองสุวรรณ เห็นว่ายิ่งเลือกยิ่งเลว ต้องห้ามผู้แทนรุ่นเก่าสัก 10 ปี
เงื่อนไขที่พรรคการเมืองเป็นแบบ “รวมศูนย์-รวบอำนาจ-เป็นทาสหัวหน้า” หนีไม่พ้นบัญชาของอำนาจและเงินได้ก็เพราะกฎหมายบังคับให้ผู้สมัครสังกัดพรรค ไม่มีประเทศประชาธิปไตยใดในโลกที่บังคับให้ผู้สมัครสังกัดพรรค มีวิธีพัฒนาให้พรรคเข้มแข็งอยู่นับไม่ถ้วน แต่ถ้าไม่ยกเลิกกฎหมายพรรคการเมืองปัจจุบันให้จดทะเบียนพรรคเหมือนๆ กันหมดและบังคับให้ผู้สมัครเข้าพรรคหมด ก็จะไม่มีวันสร้างระบบพรรคการเมืองใหม่และการเมืองใหม่ได้ ผมกลัวว่าพันธมิตรฯ จะเหมือนกับอภิสิทธิ์ในข้อนี้คือไม่เคยคิดและไม่กล้าคิด
ในที่สุดไม่ว่าจะเป็นพรรคเทียนแห่งธรรม พรรคประชาภิวัฒน์ หรือพรรคสมัชชาประชาชน ผมก็กลัวว่าจะขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ นานๆ ไปเป็นบ้องกัญชา เหมือนกับทุกพรรคที่เกิดมาก่อน
โปรดถือว่านี่คือคำท้าทายและให้กำลังใจ อย่าเห็นว่าเป็นการบั่นทอนหรือทำลายกำลังใจเลย เพราะในชั่วชีวิตผมยังอยากเห็นพรรคการเมืองจริงๆ เกิดขึ้นในเมืองไทย และถ้าหากพรรคนั้นชื่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยด้วยแล้ว ผมจะนอนตายตาหลับ