คำพูดของนายจักรภพ เพ็ญแข ผู้ถูกกล่าวหา ‘คดีหมิ่นสถาบัน’ ที่รอผลการสั่งฟ้องจากอัยการสูงสุด ที่ขึ้นไปพูดบนเวทีปราศรัยหน้าทำเนียบรัฐบาลเมื่อเร็วๆ นี้ว่า “...เวทีอาเซียนซัมมิตไม่ได้มีไว้เพื่ออภิสิทธิ์ แต่มีไว้เพื่อทักษิณ” ทำให้ดิฉันจำเป็นต้องลุกขึ้นมาโต้แย้งอดีตนักวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศชื่อดัง เพราะด้วยความรู้ด้านการต่างประเทศที่นายจักรภพ ได้สะสมตั้งแต่สมัยศึกษาระดับปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และต่อด้วยระดับปริญญาโทและเอกที่มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอบกินส์ สหรัฐอเมริกา น่าจะทำให้นายจักรภพตระหนักได้ว่าในความเป็นจริงนั้น ตลอดระยะเวลา 4 -5 ปีที่คุณทักษิณ นายของเขาครองเมือง ได้ทำให้บทบาทของประเทศไทยบทเวทีอาเซียนตกต่ำเพียงใด
มาถึงตรงนี้ อาจจะมีบางท่านแย้งว่า ก็ไม่ใช่ทักษิณหรอกหรือที่ประกาศตนถึงขั้นจะเป็น “ผู้นำอาเซียน” ใช่แล้วค่ะ ตอนขึ้นมาบริหารประเทศใหม่ๆ ช่วงปี-สองปีแรก คุณทักษิณประกาศว่าจะทำให้ไทยเป็นผู้นำอาเซียน แต่ทว่าการดำเนินนโยบายการต่างประเทศของคุณทักษิณผ่านกระทรวงต่างประเทศ ตลอดช่วง 4-5 ปีกลับเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า คุณทักษิณนั่นเองกลับเป็นผู้ที่นำประเทศไทยให้เอาใจออกห่าง ความร่วมมือระดับภูมิภาคอันเก่าแก่ และแน่นแฟ้นอย่างเวทีอาเซียน ทั้งที่ไทยมีบทบาทในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรความร่วมมือนี้ ตั้งแต่ยุคดร.ถนัด คอมันตร์
นักวิชาการอย่าง ผศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ผู้อำนวยการศูนย์ประเมินนโยบายต่างประเทศ ถึงกับใช้คำว่า “เป็นความล้มเหลวของนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลชุดนี้” (รัฐบาลทักษิณ ยุค 2544 – 2545) โดยอธิบายว่า
บทบาทของไทยในอาเซียนในยุคของคุณทักษิณนั้น ดูตกต่ำลงไป ถ้าเทียบกับรัฐบาลชุดก่อนๆ โดยเฉพาะรัฐบาลชวน จะเห็นว่าในช่วงเกือบปีที่ผ่านมา ไทยเราแทบจะไม่มีบทบาทอะไรในอาเซียนเลย เวลาไปประชุมเราก็ไม่ได้เสนออะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน หรือว่าเป็นความคิดริเริ่มที่จะทำให้ไทยมีบทบาทนำอะไรในอาเซียน เราเงียบๆในอาเซียน
(หาอ่านเพิ่มเติมได้จากรายงาน “การประเมินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลทักษิณในรอบ 1 ปี โดยผศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี, ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ Center for International Policy Studies : CIPS )
ในทางตรงกันข้าม สิ่งที่คุณทักษิณหันไปให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง กลับเป็นการริเริ่มกรอบความร่วมมือใหม่ๆ ซึ่งเนื้อหาก็ไปทับซ้อนกับกรอบเดิมที่มีอยู่เก่าก่อน เช่น กรอบความร่วมมือเอเชีย หรือ Asia Cooperation Dialogue ที่ถูกนักวิชาการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า ACD เป็นเพียงเครื่องมือในการยกทักษิณให้สูงส่งบนเวทีโลก เป็นเครื่องมือโฆษณาตัวผู้นำไทยแต่ถ่ายเดียว พยายามจะสร้างภาพการเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดใหม่ๆ โดยอ้างว่ากรอบ ACD จะยกระดับไทยเป็นตัวเชื่อมระหว่างเอเชียกับเอเชียตะวันออกและแม้ว่าจะมีหลายประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกอย่างขัดเสียมิได้ แต่ปัจจุบันกลับไม่มีใครทราบชะตากรรม ความเป็นตายร้ายดีของกรอบความร่วมมือที่ว่านี้เลย
อาจารย์วรศักดิ์ มหัทธโนบล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยเขียนถึงกรอบความร่วมมือ ACD ไว้ในบทความ “รัฐบาลทักษิณในสายตาจีน” อย่างน่าสนใจว่า
แม้จีนจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกกรอบความร่วมมือดังกล่าว ไม่ว่าจะโดยชมชอบแนวคิด หรือตามมารยาท แต่ท้ายที่สุด จีนเองก็มองกรอบความร่วมมือ ACD ว่าไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน และที่ทำๆ อยู่นั้นกลับดูคล้ายกับจะชูบทบาทของคุณทักษิณให้สูงเด่นโดยไม่เห็นวิสัยทัศน์ที่แหลมคมอันใด นอกจากคุยแต่เรื่องเศรษฐกิจการค้าเท่านั้น...และถ้าว่ากันให้ถึงที่สุดแล้ว ACD ที่เกิดขึ้นนั้นสู้ความคิดในการตั้งกลุ่ม “East-Asian Economic Caucus” ที่มหาธีร์ อดีตผู้นำมาเลเซียเสนอเมื่อต้นทศวรรษ 1990 ไม่ได้แม้แต่น้อย เพราะเป็นแนวคิดที่แฝงเอาไว้ซึ่งการสร้างอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจกับตะวันตกเอาไว้อย่างท้าทาย ซึ่ง ACD ไม่ได้ส่อแววตรงนั้นให้เห็นแม้แต่น้อยในทางตรงข้าม เมื่อคล้อยหลัง ACD ไปแล้ว สิ่งที่มิตรประเทศเห็นก็คือ คุณทักษิณดูจะอี๋อ๋อกับสหรัฐฯ เสียมากกว่า
(มติชนสุดฯ, 12 พ.ค. 2549)
นอกจากความพยายามที่จะสร้างกรอบความร่วมมือใหม่ๆ ที่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื้อในของกรอบความร่วมมือนั้นๆ ยุคของคุณทักษิณ ก็ยังมีสอดแทรกประเด็นการทุจริตคอร์รัปชัน เช่น ในกรอบแนวคิดเรื่อง ACD จะมีแนวคิดย่อย เรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจลุ่มเจ้าพระยาและอิระวดี หรือ Economic Cooperation Strategy (ECS) ซึ่งถูกคุณทักษิณหยิบมาโฆษณาว่า เป็นการยกระดับประเทศไทยให้มีฐานะบนเวทีโลกโดยเป็น ประเทศผู้ให้ในหมู่เพื่อนบ้านลุ่มแม่น้ำอิระวดี ที่นำไปสู่การวางนโยบายให้เงินทุนสนับสนุนประเทศเพื่อนบ้านทั้งในลาว พม่าในรูปเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ แต่สุดท้ายต้นธารของ ECS กลับเป็นที่มาของคดีทุจริตปล่อยกู้พม่า 4000 ล้านบาท ที่คณะรัฐมนตรีชุดคุณทักษิณอนุมัติเงินกู้ผ่านธนาคารส่งออกและนำเข้า และไม่กี่วันต่อมาก็ประกาศให้ บริษัทชินแซทเทลไลท์ ในเครือของชินวัตร เป็น Supplier เข้าไปดำเนินธุรกิจคมนาคมในพม่า ลาว โดยได้ประโยชน์จากเงินกู้ก้อนนี้อย่างมีเงื่อนงำ
นี่ยังไม่นับรวมยุทธศาสตร์การเจรจาทวิภาคี เพื่อลงนามเขตการค้าเสรีหรือ FTA กับประเทศต่างๆ ซึ่งเฟื่องฟูอย่างมากในยุคคุณทักษิณ อันนำไปสู่ข้อสงสัยเรื่อง ผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะมีเสียงร่ำลือกันต่อๆ มาว่า ทุกครั้งที่มีการบินไปเจรจาผลประโยชน์ระหว่างประเทศ จะต้องมีการหนีบผู้ดูแลผลประโยชน์ของบริษัทใหญ่บริษัทหนึ่งตามติดไปด้วยทุกครั้ง
อีกเรื่องที่ร่ำลือกันมาก คือ หลังเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 หลังคุณทักษิณถูกโค่นล้มจากคณะรัฐประหาร ปรากฏว่าคุณทักษิณยังสร้างความงุนงงให้หมู่เพื่อนบ้านอาเซียนอย่างหนัก หลังคุณทักษิณทำหนังสือฟ้องประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน 9 ประเทศถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าตนถูกปล้นอำนาจ โดยคุณทักษิณไม่รู้เลยหรือว่า อาเซียนก่อตั้งมา 40 กว่าปี เขาอยู่ร่วมกันบนวิถีทางของ Asian Way ซึ่งกฎข้อหนึ่งในนั้นก็คือ การไม่แทรกแซงปัญหาภายในประเทศของกันและกัน...
แม้จะเคยมีผู้เปรียบเทียบไว้ว่า คุณทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ “ลีกวนยู แห่งสิงคโปร์” หรือ แม้แต่ “มหาเธร์ ของมาเลเซีย” แต่ดิฉันกลับชอบคำวิจารณ์ของผู้รู้สองท่าน คือ คุณกวี จงกิจถาวร (คอลัมนิสต์ เดอะ เนชั่น) กับท่านอดีตทูต อัษฎา ชัยนาม ที่กล่าวว่าคุณทักษิณ แม้จะมีความดึงดัน คล้ายกับลีกวนยูในเรื่องที่ต้องการกำหนดนโยบายอะไร ก็ทำไปโดยไม่สนใจเสียงคัดค้าน แต่ลีกวนยูเขาจะเตรียมการ วางแผน และศึกษานโยบายที่จะทำก่อนจะออกมาเป็นนโยบาย ในขณะที่นโยบายต่างประเทศของนายกฯ ทักษิณเป็นแบบ ทำไปก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนทีหลังซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่มีการเตรียมการเลย กรณี ACD เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน
และที่มองว่าคุณทักษิณเป็นเจ้าแห่งความคิดใหม่ๆ เหมือนมหาธีร์ ของมาเลเซีย แต่สำหรับกรณีของพันธบัตรเอเชียบอนด์ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เพียงแต่ไปขโมยไอเดียจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างหน้าตาเฉย เท่านั้นเอง
มาถึงตรงนี้ อาจจะมีบางท่านแย้งว่า ก็ไม่ใช่ทักษิณหรอกหรือที่ประกาศตนถึงขั้นจะเป็น “ผู้นำอาเซียน” ใช่แล้วค่ะ ตอนขึ้นมาบริหารประเทศใหม่ๆ ช่วงปี-สองปีแรก คุณทักษิณประกาศว่าจะทำให้ไทยเป็นผู้นำอาเซียน แต่ทว่าการดำเนินนโยบายการต่างประเทศของคุณทักษิณผ่านกระทรวงต่างประเทศ ตลอดช่วง 4-5 ปีกลับเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า คุณทักษิณนั่นเองกลับเป็นผู้ที่นำประเทศไทยให้เอาใจออกห่าง ความร่วมมือระดับภูมิภาคอันเก่าแก่ และแน่นแฟ้นอย่างเวทีอาเซียน ทั้งที่ไทยมีบทบาทในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรความร่วมมือนี้ ตั้งแต่ยุคดร.ถนัด คอมันตร์
นักวิชาการอย่าง ผศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ผู้อำนวยการศูนย์ประเมินนโยบายต่างประเทศ ถึงกับใช้คำว่า “เป็นความล้มเหลวของนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลชุดนี้” (รัฐบาลทักษิณ ยุค 2544 – 2545) โดยอธิบายว่า
บทบาทของไทยในอาเซียนในยุคของคุณทักษิณนั้น ดูตกต่ำลงไป ถ้าเทียบกับรัฐบาลชุดก่อนๆ โดยเฉพาะรัฐบาลชวน จะเห็นว่าในช่วงเกือบปีที่ผ่านมา ไทยเราแทบจะไม่มีบทบาทอะไรในอาเซียนเลย เวลาไปประชุมเราก็ไม่ได้เสนออะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน หรือว่าเป็นความคิดริเริ่มที่จะทำให้ไทยมีบทบาทนำอะไรในอาเซียน เราเงียบๆในอาเซียน
(หาอ่านเพิ่มเติมได้จากรายงาน “การประเมินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลทักษิณในรอบ 1 ปี โดยผศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี, ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ Center for International Policy Studies : CIPS )
ในทางตรงกันข้าม สิ่งที่คุณทักษิณหันไปให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง กลับเป็นการริเริ่มกรอบความร่วมมือใหม่ๆ ซึ่งเนื้อหาก็ไปทับซ้อนกับกรอบเดิมที่มีอยู่เก่าก่อน เช่น กรอบความร่วมมือเอเชีย หรือ Asia Cooperation Dialogue ที่ถูกนักวิชาการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า ACD เป็นเพียงเครื่องมือในการยกทักษิณให้สูงส่งบนเวทีโลก เป็นเครื่องมือโฆษณาตัวผู้นำไทยแต่ถ่ายเดียว พยายามจะสร้างภาพการเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดใหม่ๆ โดยอ้างว่ากรอบ ACD จะยกระดับไทยเป็นตัวเชื่อมระหว่างเอเชียกับเอเชียตะวันออกและแม้ว่าจะมีหลายประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกอย่างขัดเสียมิได้ แต่ปัจจุบันกลับไม่มีใครทราบชะตากรรม ความเป็นตายร้ายดีของกรอบความร่วมมือที่ว่านี้เลย
อาจารย์วรศักดิ์ มหัทธโนบล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยเขียนถึงกรอบความร่วมมือ ACD ไว้ในบทความ “รัฐบาลทักษิณในสายตาจีน” อย่างน่าสนใจว่า
แม้จีนจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกกรอบความร่วมมือดังกล่าว ไม่ว่าจะโดยชมชอบแนวคิด หรือตามมารยาท แต่ท้ายที่สุด จีนเองก็มองกรอบความร่วมมือ ACD ว่าไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน และที่ทำๆ อยู่นั้นกลับดูคล้ายกับจะชูบทบาทของคุณทักษิณให้สูงเด่นโดยไม่เห็นวิสัยทัศน์ที่แหลมคมอันใด นอกจากคุยแต่เรื่องเศรษฐกิจการค้าเท่านั้น...และถ้าว่ากันให้ถึงที่สุดแล้ว ACD ที่เกิดขึ้นนั้นสู้ความคิดในการตั้งกลุ่ม “East-Asian Economic Caucus” ที่มหาธีร์ อดีตผู้นำมาเลเซียเสนอเมื่อต้นทศวรรษ 1990 ไม่ได้แม้แต่น้อย เพราะเป็นแนวคิดที่แฝงเอาไว้ซึ่งการสร้างอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจกับตะวันตกเอาไว้อย่างท้าทาย ซึ่ง ACD ไม่ได้ส่อแววตรงนั้นให้เห็นแม้แต่น้อยในทางตรงข้าม เมื่อคล้อยหลัง ACD ไปแล้ว สิ่งที่มิตรประเทศเห็นก็คือ คุณทักษิณดูจะอี๋อ๋อกับสหรัฐฯ เสียมากกว่า
(มติชนสุดฯ, 12 พ.ค. 2549)
นอกจากความพยายามที่จะสร้างกรอบความร่วมมือใหม่ๆ ที่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื้อในของกรอบความร่วมมือนั้นๆ ยุคของคุณทักษิณ ก็ยังมีสอดแทรกประเด็นการทุจริตคอร์รัปชัน เช่น ในกรอบแนวคิดเรื่อง ACD จะมีแนวคิดย่อย เรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจลุ่มเจ้าพระยาและอิระวดี หรือ Economic Cooperation Strategy (ECS) ซึ่งถูกคุณทักษิณหยิบมาโฆษณาว่า เป็นการยกระดับประเทศไทยให้มีฐานะบนเวทีโลกโดยเป็น ประเทศผู้ให้ในหมู่เพื่อนบ้านลุ่มแม่น้ำอิระวดี ที่นำไปสู่การวางนโยบายให้เงินทุนสนับสนุนประเทศเพื่อนบ้านทั้งในลาว พม่าในรูปเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ แต่สุดท้ายต้นธารของ ECS กลับเป็นที่มาของคดีทุจริตปล่อยกู้พม่า 4000 ล้านบาท ที่คณะรัฐมนตรีชุดคุณทักษิณอนุมัติเงินกู้ผ่านธนาคารส่งออกและนำเข้า และไม่กี่วันต่อมาก็ประกาศให้ บริษัทชินแซทเทลไลท์ ในเครือของชินวัตร เป็น Supplier เข้าไปดำเนินธุรกิจคมนาคมในพม่า ลาว โดยได้ประโยชน์จากเงินกู้ก้อนนี้อย่างมีเงื่อนงำ
นี่ยังไม่นับรวมยุทธศาสตร์การเจรจาทวิภาคี เพื่อลงนามเขตการค้าเสรีหรือ FTA กับประเทศต่างๆ ซึ่งเฟื่องฟูอย่างมากในยุคคุณทักษิณ อันนำไปสู่ข้อสงสัยเรื่อง ผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะมีเสียงร่ำลือกันต่อๆ มาว่า ทุกครั้งที่มีการบินไปเจรจาผลประโยชน์ระหว่างประเทศ จะต้องมีการหนีบผู้ดูแลผลประโยชน์ของบริษัทใหญ่บริษัทหนึ่งตามติดไปด้วยทุกครั้ง
อีกเรื่องที่ร่ำลือกันมาก คือ หลังเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 หลังคุณทักษิณถูกโค่นล้มจากคณะรัฐประหาร ปรากฏว่าคุณทักษิณยังสร้างความงุนงงให้หมู่เพื่อนบ้านอาเซียนอย่างหนัก หลังคุณทักษิณทำหนังสือฟ้องประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน 9 ประเทศถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าตนถูกปล้นอำนาจ โดยคุณทักษิณไม่รู้เลยหรือว่า อาเซียนก่อตั้งมา 40 กว่าปี เขาอยู่ร่วมกันบนวิถีทางของ Asian Way ซึ่งกฎข้อหนึ่งในนั้นก็คือ การไม่แทรกแซงปัญหาภายในประเทศของกันและกัน...
แม้จะเคยมีผู้เปรียบเทียบไว้ว่า คุณทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ “ลีกวนยู แห่งสิงคโปร์” หรือ แม้แต่ “มหาเธร์ ของมาเลเซีย” แต่ดิฉันกลับชอบคำวิจารณ์ของผู้รู้สองท่าน คือ คุณกวี จงกิจถาวร (คอลัมนิสต์ เดอะ เนชั่น) กับท่านอดีตทูต อัษฎา ชัยนาม ที่กล่าวว่าคุณทักษิณ แม้จะมีความดึงดัน คล้ายกับลีกวนยูในเรื่องที่ต้องการกำหนดนโยบายอะไร ก็ทำไปโดยไม่สนใจเสียงคัดค้าน แต่ลีกวนยูเขาจะเตรียมการ วางแผน และศึกษานโยบายที่จะทำก่อนจะออกมาเป็นนโยบาย ในขณะที่นโยบายต่างประเทศของนายกฯ ทักษิณเป็นแบบ ทำไปก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนทีหลังซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่มีการเตรียมการเลย กรณี ACD เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน
และที่มองว่าคุณทักษิณเป็นเจ้าแห่งความคิดใหม่ๆ เหมือนมหาธีร์ ของมาเลเซีย แต่สำหรับกรณีของพันธบัตรเอเชียบอนด์ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เพียงแต่ไปขโมยไอเดียจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างหน้าตาเฉย เท่านั้นเอง