ASTV ผู้จัดการรายวัน –ตลาดหลักทรัพย์ฯ เตรียมออกกองทุนอีทีเอฟอ้างอิงทองคำ หวังเพิ่มทางเลือกแก่นักลงทุนช่วงภาวะตลาดหุ้นขาลง หลังผลสำรวจพบนักลงทุนเมินลงทุนสินค้าที่อ้างอิงหุ้น ขณะที่ “เกศรา” หวังที่ประชมบอร์ด ก.ล.ต. เดือนนี้อนุมัติเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW) พร้อมเดินหน้าออกสต๊อกฟิวเจอร์สอ้างอิงหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน อีกกว่า 10 หุ้น ล่าสุด ตลาดหุ้นไทยยังซบเซา มูลค่าซื้อขายไม่ถึง 7 พันล้านบาท แม้ดัชนีบวกเกือบ 5 จุด
นางเกศรา มัญชุศรี ผู้ช่วยผู้จัดการ กลุ่มงานพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาที่จะออกกองทุนอีทีเอฟ (ETF) ที่อ้างอิงกับสินค้าทองคำ เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับนักลงทุน หลังจากที่ปัจจุบันนักลงทุนได้ให้ความสนใจการลงทุนในทองคำมากยิ่งขึ้น สวนทางกับสินค้าที่อ้างอิงกับหุ้นที่ยังไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน เพราะดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
จากสถานการณ์ที่ภาวะตลาดหุ้นไทยยังไม่เอื้อต่อการลงทุน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาสินค้าใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักลงทุน แต่ต้องสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนว่ามีสินค้าอยู่จริง โดยการซื้อทองคำจะอิงกับทองคำในประเทศ และต้องมีการตกลงว่าจะซื้อทองคำน้ำหนักเท่าไร ยี่ห้ออะไรที่เป็นมาตรฐาน รวมทั้งจะต้องมีผู้ดูแลผลประโยชน์ (คัตโตเดียน) จากที่ผ่านมามีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จัดตั้งกองทุนทองคำ (โกลด์) แต่อ้างอิงราคาทองคำจากต่างประเทศ
“ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้สำรวจความสนใจของนักลงทุนในการออกกองทุนอีทีเอฟกับนักลงทุนหลายรอบแล้ว แต่จากภาวะตลาดหุ้นที่ซบเซา ทำให้นักลงทุนยังไม่สนใจสินค้าอะไรที่เกี่ยวกับหุ้น เราจึงจะต้องหาอะไรที่ตอบสนองความสนใจของนักลงทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแนวคิดที่จะออกอีทีเอฟทองคำ จากขณะนี้ทองคำเป็นที่สนใจของนักลงทุน” นางเกศรา กล่าว
สำหรับการที่ตลาดหลักทรัพย์ได้มีการเปิดซื้อขายสินค้าใหม่ในปีนี้ คือ โกลด์ฟิวเจอร์ส และเตรียมจะออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW) เป็นอันดับต่อไปนั้น ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ส่งหนังสือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขออนุมัติให้สามารถเสนอขายได้ โดยคาดว่าจะสามารถเร่งดำเนินการและเสนอให้ทันกับการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ก.ล.ต.เดือนนี้ ขณะที่ปัจจุบันมีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) จำนวน 1 แห่ง ที่แสดงความสนใจที่จะออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW) แล้ว
อย่างไรก็ตาม การออก DW ในช่วงแรกนั้นจะออกในลักษณะเป็น Call Options ตามเกณฑ์ปัจจุบัน ส่วนจะมีการแก้เกณฑ์เพื่อให้สามารถออก DWในลักษณะที่เป็น Put Options คงจะต้องรอให้มีการออก Call Optionsออกมาก่อน เพื่อที่จะทราบปัญหาอุปสรรคจะได้แก้ไขพร้อมทันทีเดียว
นางเกศรา กล่าวว่า นอกจากนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีการออกฟิวเจอร์สที่อ้างอิงหุ้นรายตัว (Stock Futures) อีกกว่า 10 ตัว ซึ่งจะอ้างอิงกับหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงิน แต่จะต้องมีการขออนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต.ก่อน เพราะ ก.ล.ต.มองว่าหากจะมีการออกฟิวเจอร์ส์ ที่อ้างอิงกับกลุ่มสถาบันการเงินต้องให้ก.ล.ต.อนุมัติก่อน ซึ่งหากอ้างอิงกับหุ้นในSET50 ที่ไม่ใช่กลุ่มสถาบันการเงินสามารถที่จะออกได้ทันทีไม่ต้องขออนุมัติจากก.ล.ต.
“ปัจจุบันตลาดอนุพันธ์ได้มีการเปิดซื้อขาย Stock Futures ที่อ้างอิงกับหุ้น แล้วจำนวน 3 บริษัท คือ PTT, PTTEP และ ADVANC และกำลังที่จะมีการออกอีกกว่า 10 ตัว ที่จะอ้างอิงกับหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน ซึ่งจะต้องขออนุมัติจากก.ล.ต.ก่อน”นางเกศรา กล่าว
หุ้นไทยบวกตามตลาดภูมิภาค
จากความพยายามเพิ่มผลิตภัณฑ์และสินค้าใหม่ๆ ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ครั้งนี้ สืบเนื่องจากภาวะตลาดหุ้นไทยได้ซบเซาต่อเนื่องจากปลายปีที่ผ่านมา โดยตั้งแต่ต้นปี 2552 มูลค่าเฉลี่ยซื้อขายต่อวันใกล้เคียงที่ระดับ 1 หมื่นต้นๆ แม้ว่า วานนี้ (4 มี.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่มูลค่าการซื้อขายไม่หนาแน่นมากนัก โดยปิดที่ 417.86 จุด เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 4.77 จุด หรือคิดเป็น 1.15% มูลค่าการซื้อขายรวม 6,849.23 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด ได้แก่ บมจ.ปตท. (PTT) ราคาปิดที่ 150 บาท ไม่เปลี่ยนแปลงจากวันก่อนหน้า มูลค่าการซื้อขายรวม 831.93 ล้านบาท บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ราคาปิด 84 บาท เพิ่มขึ้น 1 บาท หรือ 1.20% มูลค่าการซื้อขาย 720.88 ล้านบาท และบมจ. บ้านปู (BANPU) ราคาปิด 198 บาท เพิ่มขึ้น 6 บาท หรือ 3.12% มูลค่าการซื้อขายรวม 549.70 ล้านบาท
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ให้ความเห็นว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาค แต่เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นทางเทคนิคเท่านั้นหลังจากที่ดัชนีตลาดหุ้นได้ปรับตัวลดลงติดต่อกันหลายวัน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายยังคงเบาบาง เนื่องจากตลาดหุ้นไทยยังขาดปัจจัยบวกใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุน
ขณะเดียวกัน ระหว่างการซื้อขายได้มีแรงซื้อเข้ามาเก็งกำไรระยะสั้นในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ 3 แห่ง คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB), ธนาคารกรุงเทพ (BBL) และธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เนื่องจากเป็นหุ้นที่มีการจ่ายปันผลในเกณฑ์ที่ดี โดยมีราคาปิดที่ 53 บาท เพิ่มขึ้น 2.91%, 71.50 บาท เพิ่มขึ้น 3.62% และ 42 บาท เพิ่มขึ้น 3.70% ตามลำดับ
ส่วนปัจจัยที่นักลงทุนจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ในขณะนี้ยังคงเป็นเรื่องการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะในช่วง 1-2 วันนี้ทางการสหรัฐฯ จะมีการนำเสนอหรือหารือถึงปัญหาเศรษฐกิจภาคการผลิตเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่
“แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้ ตลาดหุ้นไทยอาจจมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ 420 จุดได้ แม้ว่าจะไม่สามารถยืนเหนือระดับดังกล่าวได้ เพราะยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุน ขณะที่แนวรับอยู่ที่ระดับ 408 จุด”
นางเกศรา มัญชุศรี ผู้ช่วยผู้จัดการ กลุ่มงานพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาที่จะออกกองทุนอีทีเอฟ (ETF) ที่อ้างอิงกับสินค้าทองคำ เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับนักลงทุน หลังจากที่ปัจจุบันนักลงทุนได้ให้ความสนใจการลงทุนในทองคำมากยิ่งขึ้น สวนทางกับสินค้าที่อ้างอิงกับหุ้นที่ยังไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน เพราะดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
จากสถานการณ์ที่ภาวะตลาดหุ้นไทยยังไม่เอื้อต่อการลงทุน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาสินค้าใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักลงทุน แต่ต้องสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนว่ามีสินค้าอยู่จริง โดยการซื้อทองคำจะอิงกับทองคำในประเทศ และต้องมีการตกลงว่าจะซื้อทองคำน้ำหนักเท่าไร ยี่ห้ออะไรที่เป็นมาตรฐาน รวมทั้งจะต้องมีผู้ดูแลผลประโยชน์ (คัตโตเดียน) จากที่ผ่านมามีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จัดตั้งกองทุนทองคำ (โกลด์) แต่อ้างอิงราคาทองคำจากต่างประเทศ
“ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้สำรวจความสนใจของนักลงทุนในการออกกองทุนอีทีเอฟกับนักลงทุนหลายรอบแล้ว แต่จากภาวะตลาดหุ้นที่ซบเซา ทำให้นักลงทุนยังไม่สนใจสินค้าอะไรที่เกี่ยวกับหุ้น เราจึงจะต้องหาอะไรที่ตอบสนองความสนใจของนักลงทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแนวคิดที่จะออกอีทีเอฟทองคำ จากขณะนี้ทองคำเป็นที่สนใจของนักลงทุน” นางเกศรา กล่าว
สำหรับการที่ตลาดหลักทรัพย์ได้มีการเปิดซื้อขายสินค้าใหม่ในปีนี้ คือ โกลด์ฟิวเจอร์ส และเตรียมจะออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW) เป็นอันดับต่อไปนั้น ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ส่งหนังสือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขออนุมัติให้สามารถเสนอขายได้ โดยคาดว่าจะสามารถเร่งดำเนินการและเสนอให้ทันกับการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ก.ล.ต.เดือนนี้ ขณะที่ปัจจุบันมีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) จำนวน 1 แห่ง ที่แสดงความสนใจที่จะออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW) แล้ว
อย่างไรก็ตาม การออก DW ในช่วงแรกนั้นจะออกในลักษณะเป็น Call Options ตามเกณฑ์ปัจจุบัน ส่วนจะมีการแก้เกณฑ์เพื่อให้สามารถออก DWในลักษณะที่เป็น Put Options คงจะต้องรอให้มีการออก Call Optionsออกมาก่อน เพื่อที่จะทราบปัญหาอุปสรรคจะได้แก้ไขพร้อมทันทีเดียว
นางเกศรา กล่าวว่า นอกจากนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีการออกฟิวเจอร์สที่อ้างอิงหุ้นรายตัว (Stock Futures) อีกกว่า 10 ตัว ซึ่งจะอ้างอิงกับหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงิน แต่จะต้องมีการขออนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต.ก่อน เพราะ ก.ล.ต.มองว่าหากจะมีการออกฟิวเจอร์ส์ ที่อ้างอิงกับกลุ่มสถาบันการเงินต้องให้ก.ล.ต.อนุมัติก่อน ซึ่งหากอ้างอิงกับหุ้นในSET50 ที่ไม่ใช่กลุ่มสถาบันการเงินสามารถที่จะออกได้ทันทีไม่ต้องขออนุมัติจากก.ล.ต.
“ปัจจุบันตลาดอนุพันธ์ได้มีการเปิดซื้อขาย Stock Futures ที่อ้างอิงกับหุ้น แล้วจำนวน 3 บริษัท คือ PTT, PTTEP และ ADVANC และกำลังที่จะมีการออกอีกกว่า 10 ตัว ที่จะอ้างอิงกับหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน ซึ่งจะต้องขออนุมัติจากก.ล.ต.ก่อน”นางเกศรา กล่าว
หุ้นไทยบวกตามตลาดภูมิภาค
จากความพยายามเพิ่มผลิตภัณฑ์และสินค้าใหม่ๆ ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ครั้งนี้ สืบเนื่องจากภาวะตลาดหุ้นไทยได้ซบเซาต่อเนื่องจากปลายปีที่ผ่านมา โดยตั้งแต่ต้นปี 2552 มูลค่าเฉลี่ยซื้อขายต่อวันใกล้เคียงที่ระดับ 1 หมื่นต้นๆ แม้ว่า วานนี้ (4 มี.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่มูลค่าการซื้อขายไม่หนาแน่นมากนัก โดยปิดที่ 417.86 จุด เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 4.77 จุด หรือคิดเป็น 1.15% มูลค่าการซื้อขายรวม 6,849.23 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด ได้แก่ บมจ.ปตท. (PTT) ราคาปิดที่ 150 บาท ไม่เปลี่ยนแปลงจากวันก่อนหน้า มูลค่าการซื้อขายรวม 831.93 ล้านบาท บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ราคาปิด 84 บาท เพิ่มขึ้น 1 บาท หรือ 1.20% มูลค่าการซื้อขาย 720.88 ล้านบาท และบมจ. บ้านปู (BANPU) ราคาปิด 198 บาท เพิ่มขึ้น 6 บาท หรือ 3.12% มูลค่าการซื้อขายรวม 549.70 ล้านบาท
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ให้ความเห็นว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาค แต่เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นทางเทคนิคเท่านั้นหลังจากที่ดัชนีตลาดหุ้นได้ปรับตัวลดลงติดต่อกันหลายวัน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายยังคงเบาบาง เนื่องจากตลาดหุ้นไทยยังขาดปัจจัยบวกใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุน
ขณะเดียวกัน ระหว่างการซื้อขายได้มีแรงซื้อเข้ามาเก็งกำไรระยะสั้นในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ 3 แห่ง คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB), ธนาคารกรุงเทพ (BBL) และธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เนื่องจากเป็นหุ้นที่มีการจ่ายปันผลในเกณฑ์ที่ดี โดยมีราคาปิดที่ 53 บาท เพิ่มขึ้น 2.91%, 71.50 บาท เพิ่มขึ้น 3.62% และ 42 บาท เพิ่มขึ้น 3.70% ตามลำดับ
ส่วนปัจจัยที่นักลงทุนจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ในขณะนี้ยังคงเป็นเรื่องการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะในช่วง 1-2 วันนี้ทางการสหรัฐฯ จะมีการนำเสนอหรือหารือถึงปัญหาเศรษฐกิจภาคการผลิตเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่
“แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้ ตลาดหุ้นไทยอาจจมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ 420 จุดได้ แม้ว่าจะไม่สามารถยืนเหนือระดับดังกล่าวได้ เพราะยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุน ขณะที่แนวรับอยู่ที่ระดับ 408 จุด”