ASTV ผู้จัดการรายวัน- “ศาลปกครอง” ยกคำร้อง คดีทวงคืนสมบัติชาติจาก ปตท. ชวดเงิน 3.2 หมื่นล้าน เหตุผู้ฟ้องไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ด้าน “สารี” เตรียมจี้คลัง รับไม้ต่อ
ตามที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นำโดย นางสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิ พร้อมด้วย น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ผู้ฟ้องคดีที่ 4 เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม เข้ายื่นหนังสือคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด ให้เปิดไต่สวนกรณี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แบ่งแยกทรัพย์สินคืนแก่แผ่นดินไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาศาลนั้น
วานนี้ (4 มี.ค.) ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งยกคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดีดังกล่าว โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าคดีนี้ศาลพิพากษาให้ยกคำขอของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิบังคับคดีนี้ อีกทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 4 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ยกคำร้อง
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวภายหลังรับทราบการพิจารณาของศาลฯ ว่า เหตุผลที่ไปร้องให้ไต่สวนเพราะพบข้อมูลว่ามีการปฏิบัติตามคำสั่งศาลไม่ครบถ้วน จึงไปยื่นคำร้องให้ศาลไต่สวน การที่ศาลไม่รับคำร้องก็น่าเสียดายเพราะอย่างน้อยข้อมูลตรวจพบ และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบ พบว่า ทรัพย์สินของปตท.ก่อนการแปรรูป มีจำนวน 32,000 ล้าน ส่วนทรัพย์สินหลังการแปรรูปไม่ถูกพิจารณาเลย
นางสาวสารี กล่าวต่อว่า กลุ่มผู้ฟ้องคดีจะคุยกันว่าจะไปยื่นเรื่องให้กระทรวงการคลังดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไปอย่างไร
สำหรับ การยื่นคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในครั้งนี้ เป็นผลมาจากกรณีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดในการแปลงสภาพ ปตท. ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและพวก รวม 5 คน โดยศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำพิพากษาไว้เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 50 ให้แบ่งแยกทรัพย์สินของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมและอำนาจมหาชนของรัฐ จากปตท. คืนให้แก่รัฐ
แต่ทางมูลนิธิฯ ระบุว่า ทรัพย์สินซึ่งบริษัท ปตท. ได้แบ่งแยกคืนให้แก่แผ่นดินเมื่อเดือนธ.ค. 51 มูลค่ารวมทั้งสิ้น 16,176.22 ล้านบาท ประกอบด้วย ที่ดินเวนคืน 1.42 ล้านบาท สิทธิการใช้ที่ดิน 1,124.11 ล้านบาทและระบบท่อก๊าซธรรมชาติในที่ดินเวนคืนและที่ดินรอนสิทธิ 3 โครงการอีก 15,050.69 ล้านบาท
โดยทั้งหมดเป็นทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยก่อนที่จะมีแปรรูปมาเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 1 ต.ค. 44 ซึ่งการโอนคืนทรัพย์สินของปตท.จำนวนดังกล่าวไม่สอดคล้องกับการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่บริษัทปตท. ยังต้องคืนทรัพย์สินเพิ่มเติมอีก 32,613 ล้านบาท จึงนำไปสู่การฟ้องเพื่อเรียกคืนทรัพย์สินดังกล่าว
ตามที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นำโดย นางสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิ พร้อมด้วย น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ผู้ฟ้องคดีที่ 4 เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม เข้ายื่นหนังสือคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด ให้เปิดไต่สวนกรณี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แบ่งแยกทรัพย์สินคืนแก่แผ่นดินไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาศาลนั้น
วานนี้ (4 มี.ค.) ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งยกคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดีดังกล่าว โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าคดีนี้ศาลพิพากษาให้ยกคำขอของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิบังคับคดีนี้ อีกทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 4 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ยกคำร้อง
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวภายหลังรับทราบการพิจารณาของศาลฯ ว่า เหตุผลที่ไปร้องให้ไต่สวนเพราะพบข้อมูลว่ามีการปฏิบัติตามคำสั่งศาลไม่ครบถ้วน จึงไปยื่นคำร้องให้ศาลไต่สวน การที่ศาลไม่รับคำร้องก็น่าเสียดายเพราะอย่างน้อยข้อมูลตรวจพบ และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบ พบว่า ทรัพย์สินของปตท.ก่อนการแปรรูป มีจำนวน 32,000 ล้าน ส่วนทรัพย์สินหลังการแปรรูปไม่ถูกพิจารณาเลย
นางสาวสารี กล่าวต่อว่า กลุ่มผู้ฟ้องคดีจะคุยกันว่าจะไปยื่นเรื่องให้กระทรวงการคลังดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไปอย่างไร
สำหรับ การยื่นคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในครั้งนี้ เป็นผลมาจากกรณีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดในการแปลงสภาพ ปตท. ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและพวก รวม 5 คน โดยศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำพิพากษาไว้เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 50 ให้แบ่งแยกทรัพย์สินของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมและอำนาจมหาชนของรัฐ จากปตท. คืนให้แก่รัฐ
แต่ทางมูลนิธิฯ ระบุว่า ทรัพย์สินซึ่งบริษัท ปตท. ได้แบ่งแยกคืนให้แก่แผ่นดินเมื่อเดือนธ.ค. 51 มูลค่ารวมทั้งสิ้น 16,176.22 ล้านบาท ประกอบด้วย ที่ดินเวนคืน 1.42 ล้านบาท สิทธิการใช้ที่ดิน 1,124.11 ล้านบาทและระบบท่อก๊าซธรรมชาติในที่ดินเวนคืนและที่ดินรอนสิทธิ 3 โครงการอีก 15,050.69 ล้านบาท
โดยทั้งหมดเป็นทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยก่อนที่จะมีแปรรูปมาเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 1 ต.ค. 44 ซึ่งการโอนคืนทรัพย์สินของปตท.จำนวนดังกล่าวไม่สอดคล้องกับการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่บริษัทปตท. ยังต้องคืนทรัพย์สินเพิ่มเติมอีก 32,613 ล้านบาท จึงนำไปสู่การฟ้องเพื่อเรียกคืนทรัพย์สินดังกล่าว