ASTVผู้จัดการรายวัน - ทูตมะกันนำ 20 บิ๊กธุรกิจภายใต้ "สภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียน" พบมาร์ค ตั้ง 7 คำถามครอบคลุมการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ซีแอลยาและความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา “ปณิธาน” ฟุ้งสภาธุรกิจสหรัฐฯ ชื่นชมรัฐบาลตั้งใจลดอุปสรรคการลงทุน ส่วนปัญหาซีแอล-การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา รมช.พาณิชย์จะเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อหารือในรายละเอียด ขณะที่พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลสภานักธุรกิจสหรัฐฯ จะหารือกับฮุนเซน
เมื่อเวลา 08.30 น. นายอีริค จี จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย นำคณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียน (USABC) โดยมีผู้แทนจากบริษัทต่างๆ กว่า 20 บริษัท อาทิ Abbott, AIG, Chevron, The Coca-Cola Company, ConocoPhillips, Fords, GE, GSK, Guardian Industries Corp, Johnson & Johnson, Merck, Pfizer, Phillip Morris, Time Warner และ UPS เข้าเยี่ยมคารวะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมหารือด้วย
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า รัฐบาลเห็นถึงความสำคัญของภาคเอกชน ในฐานะหุ้นส่วนสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการค้าการลงทุน รัฐบาลพร้อมดูแล รับฟังปัญหา และจะทำงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่ออำนวยต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าว โดยคณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียน ได้กล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี แม้การเดินทางมาไทยในครั้งนี้ จะเป็นช่วงเวลาสั้น แต่ก็ได้พบปะและพูดคุยกับผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาล สภาธุรกิจฯ ขอยืนยันที่จะพัฒนาธุรกิจในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และเห็นว่า ไทยเป็นศูนย์กลางภูมิศาสตร์ที่สำคัญในภูมิภาค
"มีความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนไทยมาอย่างดี โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพ ทั้งนี้ อรับทราบนโยบายของไทย พร้อมทั้งแนวคิดของรัฐบาลต่อการแก้ไขอุปสรรคด้านการค้า การลงทุนในไทย ด้านกฎระเบียบ มาตรการภาษี และนโยบายด้านเศรษฐกิจต่างๆ" สภานักธุรกิจระบุ
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้ตอบข้อซักถามของภาคเอกชนสหรัฐ ฯ ครอบคลุม ประเด็นต่างๆ 1. การอำนวยความสะดวกภาคธุรกิจ รัฐบาลกำหนดให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจทุกวันพุธ เพื่อที่ประชุมจะได้มีการปรึกษา หารือถึงสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งในปัจจุบัน เพื่อดูแลและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจต่างๆ เป็นไปด้วยความรวดเร็ว นำไปสู่การวางกรอบนโยบายระยะกลางและระยะยาว 2.ในแง่กฎระเบียบของหน่วยงานราชการที่ซ้ำซ้อนนั้น เพื่อสนองตอบต่อนโยบายสำคัญๆ อาทิ การจัดทำเขตการค้าเสรี ระหว่างไทยและประเทศคู่เจรจา รัฐบาลจะได้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาให้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ของทุกหน่วยงานมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงอุปสรรคในการประสานงานระหว่างภาคเอกชนและหน่วยงานราชการต่างๆ ว่า ปัญหาของหน่วยงานไทย คือ การมีหน่วย One Stop Service มากเกินไป จึงเห็นว่า อาจจะจัดให้มี One Start Service คือ คณะผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดูแลครบวงจร ทั้งข้อสงสัยด้านภาษี กฎเกณฑ์ ต่างๆ แม้จะไม่สามารถเป็นตอบคำถามทั้งหมดขององค์กร แต่สามารถให้ความช่วยเหลือในการเข้าถึงข้อมูลและกลไกที่เกี่ยวข้องของสำนักงานนั้นๆ ได้ โดยภาคเอกอชนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องวิ่งวนไปมา
3.ด้านการคมนาคมขนส่งหรือโลจิสติกส์นั้น ขณะนี้ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยโลจิสติกส์ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีการจัดการประชุม มอบให้รองนายกรัฐมนตรีกอร์ปศักดิ์ฯ เป็นประธาน ดูแลภาพรวมของกฎเกณฑ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมด้าน logistics ซึ่งเป็นหัวใจของการส่งออก เป็นไปอย่างโปร่งใส ได้มาตรฐานสากล 4.การร่วมกลุ่มของอาเซียน (ASEAN Integration) อาเซียนซึ่งมีเป้าหมายการเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN COMMUNITY) ภายในปี 2015 โดยเร่งขจัดอุปสรรคทั้งภาษีและมิใช่ภาษี ระหว่างประเทศสมาชิก นายกรัฐมนตรีกล่าวว่ากฎระเบยียบ และมาตรฐานทางภาษี อาทิ ภาษี สรรพสามิต (excise tax) ภายในอาเซียนก็ยังมีความไม่สอดคล้อง อย่างไรก็ตาม ไทยในฐานะประธานอาเซียน ได้มีแนวคิดที่จะให้สำนักงานเลขาธิการอาเซียนเข้ามามีส่วนรวมในการประสานงานระหว่างกลุ่มทำงานในสาขาต่างๆ นอกจากนี้ ยังเห็นว่า อาเซียนควรมีบทบาทในสาขาสำคัญด้านการค้า พร้อมดึงภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย
5.สำหรับ ความสัมพันธทวิภาคีระหว่างไทยและกัมพูชานั้น นายกรัฐมนตรีเปิดเผยถึงการพบปะกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ว่าเป็นไปได้ด้วยดี ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะให้คณะกรรมาธิการร่วมดำเนินงานต่อ และเป็นกลไก (mechanism) หลักในการประสานงาน ไม่ว่าจะเป็นกรณีพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งจะมีคณะกรรมาธิการร่วมไทยกัมพูชาว่าด้วนเรื่องเขตแดน (Joint Border Committee) เป็นผู้ดูแล หรือในกรณีอื่น 6.ในเรื่องนโยบายสาธารณสุขและสุขภาพนั้น รัฐบาลได้สานต่อโครงการประกันสุขภาพทั่วหน้า ส่วนข้อห่วงใยในกรณีไทยใช้สิทธิพิเศษ ยา CLนั้น รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการให้ความสำคัญกับสุขภาพของประชาชน แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยึดมั่นต่อพันธกิจภายใต้องค์การการค้าโลก ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยใช้ CL เป็นมาตรการสุดท้าย อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนของไทยและสหรัฐ ฯ จะช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และหวังว่าสหรัฐ ฯ จะทบทวนเรื่องการจัดให้ไทยเข้าไปอยู่ลำดับต้นของบัญชีในกลุ่มประเทศที่ต้องถูกจับตามองเป็นพิเศษ (Priority Watch List – PWL)
7.ในเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (IPR) นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าตระหนักดีถึงเรื่องข้อกังวลในการใช้กล้องถ่ายภาพ camcorder และจะพิจารณาในเรื่องกฎระเบียบต่อไป ส่วน คกก.กิจการโทรคมนาคม นั้น รัฐสภาจะผ่านรายชื่อในวันนี้ คาดว่าปลายปีจะมีผล
"ไทยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมบริการและธุรกิจสร้างสรรค์ต่างๆ เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เพิ่มมูลค่าและสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศไทยในเวทีโลก รัฐบาลเองก็ให้ความสำคัญในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาเทคโนโลยี่อย่างต่อเนื่อง ในเดือนหน้านี้ ตนเองจะได้เข้าร่วมการประชุม G 20 ที่สหราชอาณาจักรด้วย ซึ่งจะถือโอกาสส่งสารไปยังประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำต่างๆ ว่า ไทยในฐานะประเทศผู้ผลิตอาหารของโลก เห็นว่าอุปสรรคสำคัญในเรื่องการขาดแคลนอาหารของโลกนั้น คือ มิได้อยู่มี่ผลผลิตไม่เพียงพอ แต่ระบบการตลาดที่บิดเบี้ยว ทำให้อาหารที่ถูกผลิตไม่สามารถไปถึงผู้บริโภค โดยเฉพาะคนยากคนจนที่อยู่ทั่วโลกได้ การร่วมมือมือกันในการพิจารณากลไกการค้าของโลกจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ" นายกรัฐมนตรีกล่าวในตอนท้าย
นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่กรมทรัพย์สินทางปัญหาทำหนังสือถึงกระทรวงสาธารณสุขให้เลิกทำซีแอลยาว่า ได้พบทูตสหรัฐอเมริกา ก็บอกว่าที่จริงเรื่องทรัพย์สินทั้งส่วนของลิขสิทธิ์กับเครื่องหมายทางการค้า เราก็เอาจริงเอาจัง ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาคืบหน้าไปมากส่วนเรื่อง เพราะซีแอลตั้งแต่รัฐบาลของนายสมัครถึงปัจจุบันซึ่งมีท่าทีชัดเจน คือถ้ามีการใช้ต้องปรึกษากับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิดก่อน ไม่ใช่ทำแล้วก็ตกใจเข้าใจผิดกัน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า อันที่ 2 การทำซีแอลต้องอยู่ใต้กรอบองค์การการค้าโลกหรือWTO เราไม่ฝ่าฝืนกฎของWTO สำหรับส่วนที่ 3รัฐบาลดูนโยบายช่องทางอื่นในการทำให้คนของเราสามารถซื้อยาที่จำเป็นในราคาถูกได้ ไม่ว่าจะเป็นการเจรจารวมกลุ่มกับประเทศอื่นก็บอกชัดเจนว่า เมื่อเราได้ส่งสัญญาณปรับท่าทีชัดเจนอย่างนี้แล้ว ถ้าสหรัฐกลับสวนทางโดยไปบอกว่าเราสถานการณ์แย่ลง คิดว่าจะยิ่งได้รับผลลบมา เพราะจะยิ่งมีแรงกดดันจากสังคมไทยให้ใช้มาตรการซีแอลมากขึ้น เพราะเราพยายามหาวิธีอื่นกลับได้รับผลตอบแทนเช่นนี้ ท่าทีรัฐบาลไทยต่อประเทศสหรัฐได้ปรับความเข้าใจในความห่วงใย ประเทศสหรัฐควรตอบสนองเราเรื่องนี้ ถ้าตอบสนองไปอีกทางแรงกดดันในสังคม และประเทศอื่นๆ จะมากขึ้น
***เตรียมส่ง "อลงกรณ์" ไปถกซีแอลยา
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า คณะดังกล่าวมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสอบถามความคืบหน้า โดยเฉพาะกฎหมาย ที่เป็นอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน เพราะต้องประสานกับหลายหน่วยงาน ได้มีการสอบถามด้านกิจการโทรคมนาคมมีการสอบถามการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งความคืบหน้าให้ทราบว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะเข้าสภาในวันนี้ (4 มี.ค.) สภาธุรกิจสหรัฐ- อาเซียนได้ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ร่าง พ.ร.บ.กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติจะเข้าสภา นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงเรื่องสิทธิบัตรยา มีการหารือและมีข้อกังวลเกี่ยวกับสิทธิของรัฐเหนือสิทธิบัตรยาหรือ ซีแอล รวมไปถึงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่ง นาย อลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์จะเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อหารือในรายละเอียด รวมไปถึงการลงทุนอื่นๆ อาทิ ภาษีศุลกากร
นายปณิธานกล่าวอีกว่า ไทยได้ผลักดันให้มีการรักษาการคุ้มครองสิทธิทางปัญญา และเรื่องสิทธิบัตรยาตามมาตรฐานสากล เป็นท่าทีที่ได้รับการตอบสนองที่ดีของสหรัฐอเมริกา เพื่อไม่ให้ถูกลดสถานภาพจากกลุ่มประเทศที่ถูกจับตามอง (Watch List) ไปอยู่ในประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษหรือ (Parity Watch List) โดยไทยแสดงความจริงใจ โปร่งใสทางด้านทรัพยสินทางปัญญามาหลายรัฐบาล ซึ่งนายกฯได้ย้ำกับนักธุรกิจว่า 2-3 รัฐบาลที่ผ่านมาพยายามเต็มที่ที่ดำเนินการป้องกันในเรื่องทรัพยสินทางปัญญา รวมไปถึงสิทธิบัตรยา ฉะนั้นไทยจึงไม่สมควรถูกขึ้นทะเบียนหรือลดสภาพลง ซึ่งนายกฯ เกรงว่า องค์กรต่างๆที่ดูแลในเรื่องนี้หากถูกลดสถานภาพลง อาจเป็นสัญญาณไม่ดี จึงได้ขอให้สภาธุรกิจสหรัฐฯ ได้ชี้แจงไปยังผู้บริหารประเทศ หรือรัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐอเมริกาให้ช่วยดูแลแก้ปัญหา ซึ่งสหรัฐอเมริกาจะจัดอันดับประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษอีกครั้งในวันที่ 1 พ.ค. ซึ่งหลายกลุ่มได้เสนอให้รัฐบาลสหรัฐฯเพื่อรับทราบปัญหาและนำไปพูดคุยกับรัฐบาลสหรัฐฯต่อไป
"เรื่องซีแอลยา แรงกดดันอยู่ที่สหรัฐ ฯ เนื่องจากแนวทางในหลายประเทศสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงยาราคาแพงได้ เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติของมูลนิธิต่างๆ เช่น มูลนิธิคลินตัน ทั้งนี้บริษัทยามีความกังวลเรื่องสิทธิบัตรยา และรายได้ คงต้องหารือในระดับสูง"
ที่ประชุมได้หารือแลกเปลี่ยนวิธีการทำงานของรัฐบาลในนโยบายเศรษฐกิจ สภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียนได้สอบถามว่า การทำงานรัฐบาล ประสานงานกันอย่างไรระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล โดยนายกฯแจ้งว่า ในรูปแบบ ผ่านคณะกรรมการทางคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะมีการจัดตั้งสำนักงานประสานงาน ที่เป็นอุปสรรคต่างๆ ซึ่งการแลกเปลี่ยนเป็นไปด้วยดี มีความพอใจทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งนายกฯได้ให้ความมั่นใจความคืบหน้าที่รัฐบาลไทยพยายามผลักดันด้านการลงทุน ของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะคู่ค้าสำคัญเป็นไปได้ด้วยดี ด้วยการพยายามแก้ไข กฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพในปัจจุบัน ซึ่งจะตั้งสำนักงานประสานงานในการ ช่วยเหลือดูแลปัญหาอุปสรรคต่างๆ (One Start Services) โดยนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ เพื่อให้การค้า การลงทุนมีความสะดวกในการดำเนินการ ถือว่าเป็นการทำงานให้เศรษฐกิจไทย
ส่วนการลงทุนในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ระหว่างไทย-กัมพูชา นายอภิสิทธิ์ได้ให้ความเชื่อมั่นว่าภายในปลายปีจะสามารถผลักดันได้ เมื่อถามว่า การลงทุนในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ระหว่างไทย-กัมพูชา กลุ่มไหนให้ความสนใจเป็นพิเศษ นายปณิธานเปิดเผยว่า วันนี้ (4 มี.ค.) สภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียน จะเดินทางไปหารือกับนายฮุนเซน เพื่อสอบถามความคืบหน้าการตกลงในพื้นที่ทับซ้อน เพื่อได้รับการยินยอมทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อเดินหน้าลงทุนด้านขุดเจาะน้ำมัน โดยนายกรัฐมนตรีของไทยกล่าวในที่ประชุมว่า ได้พบกันกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตกลงในหลักการเรื่องปัญหาการแบ่งปันเส้นเขตแดนจะต้องหารือในคณะกรรมาธิการร่วมชายแดนไทย-กัมพูชา หรือ เจบีซี เดินหน้า แตยังติดขัดปัญหาเพียงแค่ชื่อของเขาพระวิหารและกองกำลังทหารเพียงนิดเดียว ส่วนการสำรวจทางบกและทางทะเลคืบหน้าไปมาก.
เมื่อเวลา 08.30 น. นายอีริค จี จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย นำคณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียน (USABC) โดยมีผู้แทนจากบริษัทต่างๆ กว่า 20 บริษัท อาทิ Abbott, AIG, Chevron, The Coca-Cola Company, ConocoPhillips, Fords, GE, GSK, Guardian Industries Corp, Johnson & Johnson, Merck, Pfizer, Phillip Morris, Time Warner และ UPS เข้าเยี่ยมคารวะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมหารือด้วย
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า รัฐบาลเห็นถึงความสำคัญของภาคเอกชน ในฐานะหุ้นส่วนสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการค้าการลงทุน รัฐบาลพร้อมดูแล รับฟังปัญหา และจะทำงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่ออำนวยต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าว โดยคณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียน ได้กล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี แม้การเดินทางมาไทยในครั้งนี้ จะเป็นช่วงเวลาสั้น แต่ก็ได้พบปะและพูดคุยกับผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาล สภาธุรกิจฯ ขอยืนยันที่จะพัฒนาธุรกิจในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และเห็นว่า ไทยเป็นศูนย์กลางภูมิศาสตร์ที่สำคัญในภูมิภาค
"มีความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนไทยมาอย่างดี โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพ ทั้งนี้ อรับทราบนโยบายของไทย พร้อมทั้งแนวคิดของรัฐบาลต่อการแก้ไขอุปสรรคด้านการค้า การลงทุนในไทย ด้านกฎระเบียบ มาตรการภาษี และนโยบายด้านเศรษฐกิจต่างๆ" สภานักธุรกิจระบุ
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้ตอบข้อซักถามของภาคเอกชนสหรัฐ ฯ ครอบคลุม ประเด็นต่างๆ 1. การอำนวยความสะดวกภาคธุรกิจ รัฐบาลกำหนดให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจทุกวันพุธ เพื่อที่ประชุมจะได้มีการปรึกษา หารือถึงสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งในปัจจุบัน เพื่อดูแลและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจต่างๆ เป็นไปด้วยความรวดเร็ว นำไปสู่การวางกรอบนโยบายระยะกลางและระยะยาว 2.ในแง่กฎระเบียบของหน่วยงานราชการที่ซ้ำซ้อนนั้น เพื่อสนองตอบต่อนโยบายสำคัญๆ อาทิ การจัดทำเขตการค้าเสรี ระหว่างไทยและประเทศคู่เจรจา รัฐบาลจะได้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาให้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ของทุกหน่วยงานมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงอุปสรรคในการประสานงานระหว่างภาคเอกชนและหน่วยงานราชการต่างๆ ว่า ปัญหาของหน่วยงานไทย คือ การมีหน่วย One Stop Service มากเกินไป จึงเห็นว่า อาจจะจัดให้มี One Start Service คือ คณะผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดูแลครบวงจร ทั้งข้อสงสัยด้านภาษี กฎเกณฑ์ ต่างๆ แม้จะไม่สามารถเป็นตอบคำถามทั้งหมดขององค์กร แต่สามารถให้ความช่วยเหลือในการเข้าถึงข้อมูลและกลไกที่เกี่ยวข้องของสำนักงานนั้นๆ ได้ โดยภาคเอกอชนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องวิ่งวนไปมา
3.ด้านการคมนาคมขนส่งหรือโลจิสติกส์นั้น ขณะนี้ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยโลจิสติกส์ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีการจัดการประชุม มอบให้รองนายกรัฐมนตรีกอร์ปศักดิ์ฯ เป็นประธาน ดูแลภาพรวมของกฎเกณฑ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมด้าน logistics ซึ่งเป็นหัวใจของการส่งออก เป็นไปอย่างโปร่งใส ได้มาตรฐานสากล 4.การร่วมกลุ่มของอาเซียน (ASEAN Integration) อาเซียนซึ่งมีเป้าหมายการเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN COMMUNITY) ภายในปี 2015 โดยเร่งขจัดอุปสรรคทั้งภาษีและมิใช่ภาษี ระหว่างประเทศสมาชิก นายกรัฐมนตรีกล่าวว่ากฎระเบยียบ และมาตรฐานทางภาษี อาทิ ภาษี สรรพสามิต (excise tax) ภายในอาเซียนก็ยังมีความไม่สอดคล้อง อย่างไรก็ตาม ไทยในฐานะประธานอาเซียน ได้มีแนวคิดที่จะให้สำนักงานเลขาธิการอาเซียนเข้ามามีส่วนรวมในการประสานงานระหว่างกลุ่มทำงานในสาขาต่างๆ นอกจากนี้ ยังเห็นว่า อาเซียนควรมีบทบาทในสาขาสำคัญด้านการค้า พร้อมดึงภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย
5.สำหรับ ความสัมพันธทวิภาคีระหว่างไทยและกัมพูชานั้น นายกรัฐมนตรีเปิดเผยถึงการพบปะกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ว่าเป็นไปได้ด้วยดี ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะให้คณะกรรมาธิการร่วมดำเนินงานต่อ และเป็นกลไก (mechanism) หลักในการประสานงาน ไม่ว่าจะเป็นกรณีพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งจะมีคณะกรรมาธิการร่วมไทยกัมพูชาว่าด้วนเรื่องเขตแดน (Joint Border Committee) เป็นผู้ดูแล หรือในกรณีอื่น 6.ในเรื่องนโยบายสาธารณสุขและสุขภาพนั้น รัฐบาลได้สานต่อโครงการประกันสุขภาพทั่วหน้า ส่วนข้อห่วงใยในกรณีไทยใช้สิทธิพิเศษ ยา CLนั้น รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการให้ความสำคัญกับสุขภาพของประชาชน แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยึดมั่นต่อพันธกิจภายใต้องค์การการค้าโลก ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยใช้ CL เป็นมาตรการสุดท้าย อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนของไทยและสหรัฐ ฯ จะช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และหวังว่าสหรัฐ ฯ จะทบทวนเรื่องการจัดให้ไทยเข้าไปอยู่ลำดับต้นของบัญชีในกลุ่มประเทศที่ต้องถูกจับตามองเป็นพิเศษ (Priority Watch List – PWL)
7.ในเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (IPR) นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าตระหนักดีถึงเรื่องข้อกังวลในการใช้กล้องถ่ายภาพ camcorder และจะพิจารณาในเรื่องกฎระเบียบต่อไป ส่วน คกก.กิจการโทรคมนาคม นั้น รัฐสภาจะผ่านรายชื่อในวันนี้ คาดว่าปลายปีจะมีผล
"ไทยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมบริการและธุรกิจสร้างสรรค์ต่างๆ เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เพิ่มมูลค่าและสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศไทยในเวทีโลก รัฐบาลเองก็ให้ความสำคัญในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาเทคโนโลยี่อย่างต่อเนื่อง ในเดือนหน้านี้ ตนเองจะได้เข้าร่วมการประชุม G 20 ที่สหราชอาณาจักรด้วย ซึ่งจะถือโอกาสส่งสารไปยังประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำต่างๆ ว่า ไทยในฐานะประเทศผู้ผลิตอาหารของโลก เห็นว่าอุปสรรคสำคัญในเรื่องการขาดแคลนอาหารของโลกนั้น คือ มิได้อยู่มี่ผลผลิตไม่เพียงพอ แต่ระบบการตลาดที่บิดเบี้ยว ทำให้อาหารที่ถูกผลิตไม่สามารถไปถึงผู้บริโภค โดยเฉพาะคนยากคนจนที่อยู่ทั่วโลกได้ การร่วมมือมือกันในการพิจารณากลไกการค้าของโลกจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ" นายกรัฐมนตรีกล่าวในตอนท้าย
นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่กรมทรัพย์สินทางปัญหาทำหนังสือถึงกระทรวงสาธารณสุขให้เลิกทำซีแอลยาว่า ได้พบทูตสหรัฐอเมริกา ก็บอกว่าที่จริงเรื่องทรัพย์สินทั้งส่วนของลิขสิทธิ์กับเครื่องหมายทางการค้า เราก็เอาจริงเอาจัง ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาคืบหน้าไปมากส่วนเรื่อง เพราะซีแอลตั้งแต่รัฐบาลของนายสมัครถึงปัจจุบันซึ่งมีท่าทีชัดเจน คือถ้ามีการใช้ต้องปรึกษากับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิดก่อน ไม่ใช่ทำแล้วก็ตกใจเข้าใจผิดกัน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า อันที่ 2 การทำซีแอลต้องอยู่ใต้กรอบองค์การการค้าโลกหรือWTO เราไม่ฝ่าฝืนกฎของWTO สำหรับส่วนที่ 3รัฐบาลดูนโยบายช่องทางอื่นในการทำให้คนของเราสามารถซื้อยาที่จำเป็นในราคาถูกได้ ไม่ว่าจะเป็นการเจรจารวมกลุ่มกับประเทศอื่นก็บอกชัดเจนว่า เมื่อเราได้ส่งสัญญาณปรับท่าทีชัดเจนอย่างนี้แล้ว ถ้าสหรัฐกลับสวนทางโดยไปบอกว่าเราสถานการณ์แย่ลง คิดว่าจะยิ่งได้รับผลลบมา เพราะจะยิ่งมีแรงกดดันจากสังคมไทยให้ใช้มาตรการซีแอลมากขึ้น เพราะเราพยายามหาวิธีอื่นกลับได้รับผลตอบแทนเช่นนี้ ท่าทีรัฐบาลไทยต่อประเทศสหรัฐได้ปรับความเข้าใจในความห่วงใย ประเทศสหรัฐควรตอบสนองเราเรื่องนี้ ถ้าตอบสนองไปอีกทางแรงกดดันในสังคม และประเทศอื่นๆ จะมากขึ้น
***เตรียมส่ง "อลงกรณ์" ไปถกซีแอลยา
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า คณะดังกล่าวมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสอบถามความคืบหน้า โดยเฉพาะกฎหมาย ที่เป็นอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน เพราะต้องประสานกับหลายหน่วยงาน ได้มีการสอบถามด้านกิจการโทรคมนาคมมีการสอบถามการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งความคืบหน้าให้ทราบว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะเข้าสภาในวันนี้ (4 มี.ค.) สภาธุรกิจสหรัฐ- อาเซียนได้ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ร่าง พ.ร.บ.กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติจะเข้าสภา นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงเรื่องสิทธิบัตรยา มีการหารือและมีข้อกังวลเกี่ยวกับสิทธิของรัฐเหนือสิทธิบัตรยาหรือ ซีแอล รวมไปถึงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่ง นาย อลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์จะเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อหารือในรายละเอียด รวมไปถึงการลงทุนอื่นๆ อาทิ ภาษีศุลกากร
นายปณิธานกล่าวอีกว่า ไทยได้ผลักดันให้มีการรักษาการคุ้มครองสิทธิทางปัญญา และเรื่องสิทธิบัตรยาตามมาตรฐานสากล เป็นท่าทีที่ได้รับการตอบสนองที่ดีของสหรัฐอเมริกา เพื่อไม่ให้ถูกลดสถานภาพจากกลุ่มประเทศที่ถูกจับตามอง (Watch List) ไปอยู่ในประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษหรือ (Parity Watch List) โดยไทยแสดงความจริงใจ โปร่งใสทางด้านทรัพยสินทางปัญญามาหลายรัฐบาล ซึ่งนายกฯได้ย้ำกับนักธุรกิจว่า 2-3 รัฐบาลที่ผ่านมาพยายามเต็มที่ที่ดำเนินการป้องกันในเรื่องทรัพยสินทางปัญญา รวมไปถึงสิทธิบัตรยา ฉะนั้นไทยจึงไม่สมควรถูกขึ้นทะเบียนหรือลดสภาพลง ซึ่งนายกฯ เกรงว่า องค์กรต่างๆที่ดูแลในเรื่องนี้หากถูกลดสถานภาพลง อาจเป็นสัญญาณไม่ดี จึงได้ขอให้สภาธุรกิจสหรัฐฯ ได้ชี้แจงไปยังผู้บริหารประเทศ หรือรัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐอเมริกาให้ช่วยดูแลแก้ปัญหา ซึ่งสหรัฐอเมริกาจะจัดอันดับประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษอีกครั้งในวันที่ 1 พ.ค. ซึ่งหลายกลุ่มได้เสนอให้รัฐบาลสหรัฐฯเพื่อรับทราบปัญหาและนำไปพูดคุยกับรัฐบาลสหรัฐฯต่อไป
"เรื่องซีแอลยา แรงกดดันอยู่ที่สหรัฐ ฯ เนื่องจากแนวทางในหลายประเทศสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงยาราคาแพงได้ เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติของมูลนิธิต่างๆ เช่น มูลนิธิคลินตัน ทั้งนี้บริษัทยามีความกังวลเรื่องสิทธิบัตรยา และรายได้ คงต้องหารือในระดับสูง"
ที่ประชุมได้หารือแลกเปลี่ยนวิธีการทำงานของรัฐบาลในนโยบายเศรษฐกิจ สภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียนได้สอบถามว่า การทำงานรัฐบาล ประสานงานกันอย่างไรระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล โดยนายกฯแจ้งว่า ในรูปแบบ ผ่านคณะกรรมการทางคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะมีการจัดตั้งสำนักงานประสานงาน ที่เป็นอุปสรรคต่างๆ ซึ่งการแลกเปลี่ยนเป็นไปด้วยดี มีความพอใจทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งนายกฯได้ให้ความมั่นใจความคืบหน้าที่รัฐบาลไทยพยายามผลักดันด้านการลงทุน ของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะคู่ค้าสำคัญเป็นไปได้ด้วยดี ด้วยการพยายามแก้ไข กฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพในปัจจุบัน ซึ่งจะตั้งสำนักงานประสานงานในการ ช่วยเหลือดูแลปัญหาอุปสรรคต่างๆ (One Start Services) โดยนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ เพื่อให้การค้า การลงทุนมีความสะดวกในการดำเนินการ ถือว่าเป็นการทำงานให้เศรษฐกิจไทย
ส่วนการลงทุนในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ระหว่างไทย-กัมพูชา นายอภิสิทธิ์ได้ให้ความเชื่อมั่นว่าภายในปลายปีจะสามารถผลักดันได้ เมื่อถามว่า การลงทุนในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ระหว่างไทย-กัมพูชา กลุ่มไหนให้ความสนใจเป็นพิเศษ นายปณิธานเปิดเผยว่า วันนี้ (4 มี.ค.) สภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียน จะเดินทางไปหารือกับนายฮุนเซน เพื่อสอบถามความคืบหน้าการตกลงในพื้นที่ทับซ้อน เพื่อได้รับการยินยอมทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อเดินหน้าลงทุนด้านขุดเจาะน้ำมัน โดยนายกรัฐมนตรีของไทยกล่าวในที่ประชุมว่า ได้พบกันกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตกลงในหลักการเรื่องปัญหาการแบ่งปันเส้นเขตแดนจะต้องหารือในคณะกรรมาธิการร่วมชายแดนไทย-กัมพูชา หรือ เจบีซี เดินหน้า แตยังติดขัดปัญหาเพียงแค่ชื่อของเขาพระวิหารและกองกำลังทหารเพียงนิดเดียว ส่วนการสำรวจทางบกและทางทะเลคืบหน้าไปมาก.