ASTVผู้จัดการรายวัน- “กฟผ.”ใจชื้นยอดใช้ไฟเดือนก.พ.กระเตื้องผิดคาดติดลบเพียง 0.55% เมื่อเทียบกับก.พ.ปีที่แล้ว หลังม.ค.ติดลบสูงถึง 13% 2 เดือนแรกปีนี้ติดลบ 7.2% รอวัดผลช่วงใช้ไฟสูงสุดมี.ค.-พ.ค. ชี้ชัดสัญญาณเศรษฐกิจไทยพร้อมนำไปปรับพีดีพีใหม่หวังปรับแค่เล็กน้อย
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เปิดเผยว่า การใช้ไฟโดยรวมของประเทศในเดือนก.พ. 52 เท่ากับ10,800 หน่วย ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.55% หรือการใช้ก.พ. 51 อยู่ที่ 10,860 ล้านหน่วย ขณะที่เดือนม.ค.ที่ผ่านมาการใช้ไฟอยู่ที่10,120 ล้านหน่วย เทียบกับม.ค.ปีก่อนลดลง 13% และเมื่อเทียบ 2 เดือน(ม.ค.-ก.พ.) การใช้ไฟลดลง 7.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึงการที่เดือนก.พ.การใช้ไฟลดลงเล็กน้อยถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาวะเศรษฐกิจ
“ การใช้ไฟที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น 2-3 องศาที่มีผลต่อการใช้ไฟเดือนก.พ.เพิ่มขึ้น 400-500 ล้านหน่วย ซึ่งคงจะต้องติดตามการใช้ 3 เดือนสุดท้ายนี้คือมี.ค.-พ.ค.ที่จะเป็นช่วงการใช้ไฟสูงสุดหรือพีคก็จะทำให้สามารถวัดสัญญาณเศรษฐกิจที่ชัดเจนได้และสำคัญคือจะสามารถนำไปพิจารณาปรับแผนกำลังการผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพีใหม่” นายสมบัติกล่าว
สำหรับปริมาณสำรองไฟของกฟผ.ยังอยู่ระดับ 28% ซึ่งเพียงพอกับความต้องการ อย่างไรก็ตามการผลิตไฟจากน้ำตามเขื่อนต่างๆ ยังเป็นปกติแม้ว่าปีนี้จะเกิดภัยแล้งรุนแรงโดยน้ำในเขื่อนมีปริมาณ 73% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนมีปริมาณน้ำ 83% ซึ่งจะเห็นว่าลดลงเพียง 10% เท่านั้น แต่กฟผ.ได้สั่งการรับมือล่วงหน้าให้ทุกเขื่อนเตรียมรถขนน้ำไว้ช่วยเหลือชาวบ้านบริเวณเขื่อนหมดแล้วและจะประสานกับกรมชลประทานในการระบายเพื่อเกษตรกรเป็นหลัก
ทั้งนี้ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ได้มอบหมายให้กฟผ.ไปศึกษาพีดีพีใหม่ที่รองรับกับอัตราการเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือจีดีพีปีนี้ที่คาดว่าจะเติบโตระหว่างศูนย์ถึงติดลบ 1% ซึ่งคาดว่าจะกระทบต่อการใช้ไฟที่ลดลงจากแผนเดิมที่ปรับปรุงไม่มากนัก และจากเศรษฐกิจชะลอตัวทำให้การใช้ไฟลดลงส่งผลให้รายได้กฟผ.ปีนี้อาจต้องปรับลดตามไปด้วยทำให้กฟผ.มีการปรับลดต้นทุนทางด้านการเงินและการบริหารค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่นล่าสุดได้ลงนามร่วมกับธนาคารทหารไทย ธนาคารกสิกรไทย เพื่อใช้บริการจัดการด้านการเงิน(Cash Management) เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงินขององค์กรทั่วประเทศ
เล็งออกบอนด์เพิ่มอีก1หมื่นลบ.
นางสินีนาถ สิทธิรัตนะรังษี รองผู้ว่าการบัญชีและการเงินกฟผ. กล่าวว่า กฟผ.อยู่ระหว่างการรอครม.เห็นชอบแผนการออกพันธบัตรวงเงิน 1 หมื่นล้านบาทเพื่อเสริมสภาพคล่องทางด้านการลงทุนหลังจากก่อนหน้าครม.อนุมัติกรอบวงเงินออกบอนด์แล้วทั้งสิ้น 5 หมื่นล้านบาทไปและกฟผ.ทยอยออกไปแล้วล็อตแรก 1 หมื่นล้านบาท โดยการออกอีก 1 หมื่นล้านบาทคาดว่าจะเป็นช่วงมี.ค.นี้ซึ่งอาจจะทยอยออกเพียง 5,000 ล้านบาทก่อนเนื่องจากขณะนี้มีการออกบอนด์กัน ขณะเดียวกันยังมีแผนที่จะปรับโครงสร้างหนี้หรือรีไฟแนนซ์เงินกู้อีก 6,000 ล้านบาทเนื่องจากดอกเบี้ยเงินกู้ค่อนข้างต่ำ
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เปิดเผยว่า การใช้ไฟโดยรวมของประเทศในเดือนก.พ. 52 เท่ากับ10,800 หน่วย ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.55% หรือการใช้ก.พ. 51 อยู่ที่ 10,860 ล้านหน่วย ขณะที่เดือนม.ค.ที่ผ่านมาการใช้ไฟอยู่ที่10,120 ล้านหน่วย เทียบกับม.ค.ปีก่อนลดลง 13% และเมื่อเทียบ 2 เดือน(ม.ค.-ก.พ.) การใช้ไฟลดลง 7.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึงการที่เดือนก.พ.การใช้ไฟลดลงเล็กน้อยถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาวะเศรษฐกิจ
“ การใช้ไฟที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น 2-3 องศาที่มีผลต่อการใช้ไฟเดือนก.พ.เพิ่มขึ้น 400-500 ล้านหน่วย ซึ่งคงจะต้องติดตามการใช้ 3 เดือนสุดท้ายนี้คือมี.ค.-พ.ค.ที่จะเป็นช่วงการใช้ไฟสูงสุดหรือพีคก็จะทำให้สามารถวัดสัญญาณเศรษฐกิจที่ชัดเจนได้และสำคัญคือจะสามารถนำไปพิจารณาปรับแผนกำลังการผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพีใหม่” นายสมบัติกล่าว
สำหรับปริมาณสำรองไฟของกฟผ.ยังอยู่ระดับ 28% ซึ่งเพียงพอกับความต้องการ อย่างไรก็ตามการผลิตไฟจากน้ำตามเขื่อนต่างๆ ยังเป็นปกติแม้ว่าปีนี้จะเกิดภัยแล้งรุนแรงโดยน้ำในเขื่อนมีปริมาณ 73% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนมีปริมาณน้ำ 83% ซึ่งจะเห็นว่าลดลงเพียง 10% เท่านั้น แต่กฟผ.ได้สั่งการรับมือล่วงหน้าให้ทุกเขื่อนเตรียมรถขนน้ำไว้ช่วยเหลือชาวบ้านบริเวณเขื่อนหมดแล้วและจะประสานกับกรมชลประทานในการระบายเพื่อเกษตรกรเป็นหลัก
ทั้งนี้ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ได้มอบหมายให้กฟผ.ไปศึกษาพีดีพีใหม่ที่รองรับกับอัตราการเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือจีดีพีปีนี้ที่คาดว่าจะเติบโตระหว่างศูนย์ถึงติดลบ 1% ซึ่งคาดว่าจะกระทบต่อการใช้ไฟที่ลดลงจากแผนเดิมที่ปรับปรุงไม่มากนัก และจากเศรษฐกิจชะลอตัวทำให้การใช้ไฟลดลงส่งผลให้รายได้กฟผ.ปีนี้อาจต้องปรับลดตามไปด้วยทำให้กฟผ.มีการปรับลดต้นทุนทางด้านการเงินและการบริหารค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่นล่าสุดได้ลงนามร่วมกับธนาคารทหารไทย ธนาคารกสิกรไทย เพื่อใช้บริการจัดการด้านการเงิน(Cash Management) เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงินขององค์กรทั่วประเทศ
เล็งออกบอนด์เพิ่มอีก1หมื่นลบ.
นางสินีนาถ สิทธิรัตนะรังษี รองผู้ว่าการบัญชีและการเงินกฟผ. กล่าวว่า กฟผ.อยู่ระหว่างการรอครม.เห็นชอบแผนการออกพันธบัตรวงเงิน 1 หมื่นล้านบาทเพื่อเสริมสภาพคล่องทางด้านการลงทุนหลังจากก่อนหน้าครม.อนุมัติกรอบวงเงินออกบอนด์แล้วทั้งสิ้น 5 หมื่นล้านบาทไปและกฟผ.ทยอยออกไปแล้วล็อตแรก 1 หมื่นล้านบาท โดยการออกอีก 1 หมื่นล้านบาทคาดว่าจะเป็นช่วงมี.ค.นี้ซึ่งอาจจะทยอยออกเพียง 5,000 ล้านบาทก่อนเนื่องจากขณะนี้มีการออกบอนด์กัน ขณะเดียวกันยังมีแผนที่จะปรับโครงสร้างหนี้หรือรีไฟแนนซ์เงินกู้อีก 6,000 ล้านบาทเนื่องจากดอกเบี้ยเงินกู้ค่อนข้างต่ำ