พท.หมดแล้วหาดีที่สุดได้แค่ "เป็ดเหลิม" ลงมติให้เป็นนายกฯ พร้อมยื่นซักฟอกรัฐบาล 11 มี.ค. ไม่สน "ป๋าเหนาะ" เบรก แต่ยังมีหน้าเชิญ "ประชา-เสนาะ" ร่วมถกญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ 5 มี.ค.นี้ เผยแผน 3 ขั้นล้มรัฐบาลใน 6 เดือน เริ่มจากส่งเสื้อแดงป่วนก่อนซักฟอก สุดท้ายให้ส.ส.ลงพื้นที่โจมตีรัฐบาล ชู "แม้ว" คนเดียวแก้ปัญหาได้ ด้าน "เด็กประชา"ปัดสังฆกรรมกับ พท. "กษิต" ไม่หวั่นฝ่ายค้าน ลั่นพร้อมเป็นกระสอบทรายในศึกซักฟอก
นายวัลลภ ไทยเหนือ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อแผ่นดิน (พผ.) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 9 ส.ส.ของกลุ่ม พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน จากจำนวน ส.ส.ของพรรคเพื่อแผ่นดินทั้งหมด 29 คน เปิดเผยว่า กลุ่มมีมติที่จะไม่เข้าร่วม ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลไปแล้ว เพราะกลุ่มยังไม่มีข้อมูลว่า รัฐบาล ได้บริหารงานผิดพลาด หรือมีการทุจริตคอร์รัปชั่น แต่หากกลุ่มได้ข้อมูลใหม่จาก พรรคเพื่อไทย ที่แสดงให้เห็นว่า มีหลักฐานที่ชัดเจนระบุถึงความผิดพลาด ในการบริหารประเทศของรัฐบาล ก็อาจมีการพิจารณาทบทวนจุดยืนในเรื่องนี้อีกครั้ง
นายวัลลภ กล่าวว่า แม้ว่ากลุ่มจะไม่ร่วมอภิปรายครั้งนี้ แต่จะรับฟังข้อมูล ของพรรคเพื่อไทย ซึ่งหากรัฐมนตรีชี้แจงได้ไม่ชัดเจนก็อาจยกมือสนับสนุนฝ่ายค้าน แต่ขณะเดียวกันก็พร้อมยกมือให้รัฐบาล หากสามารถตอบข้อกล่าวหาได้ชัดเจน
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน ในฐานะประธานส.ส.พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลครั้งนี้มีข้อมูลหนักหนากว่าสมัยอภิปรายฯ สปก.4-01 ส่วนกรณีที่นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช และ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ระบุว่าจะไม่ร่วมอภิปรายด้วยนั้นไม่มีปัญหา เพราะแค่เสียง ส.ส.พรรคเพื่อไทยเพียงพรรคเดียวก็เพียงพอแล้ว
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่าไม่ได้โกรธ นายเสนาะ ที่ระบุว่าตนไม่เหมาะที่จะถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีในการอภิปรายครั้งนี้ และไม่ขอตอบโต้ ขอยืนยันว่า ฝ่ายค้านไม่มีปัญหาอะไรกัน จะไม่เอาเรื่องเล็กมาทำให้ งานใหญ่เสีย ใครไม่มาร่วมลงชื่อก็ถือเป็นสิทธิ์ แต่พอฟังข้อมูลอภิปรายในสภาแล้วจะคิดถึงเพลง พุ่มพวง ดวงจันทร์ จะร้องว่า เสียดายจัง เพราะไม่ได้ร่วมลงชื่อตั้งแต่แรก และรับรองว่าการอภิปรายครั้งนี้จะไม่ทำให้ประชาชนต้องผิดหวัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.00 น. วานนี้ (3 มี.ค.) พรรคเพื่อไทย มีการประชุมส.ส. เพื่อพิจารณาข้อมูลการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลและรายชื่อผู้ที่จะถูกเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตุว่า อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยนายวิทยา บุรณศิริ ร่วมกันแถลงหลังการประชุมว่า พรรคยืนยันที่จะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ในวันที่ 11 มี.ค. นอกจากนี้ที่ประชุมส.ส.ยังมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เสนอชื่อร .ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานส.ส.พรรค เป็นนายกรัฐมนตรีแนบไปด้วย จากนี้จะเข้าสู่ขั้นตอน การประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคในวันที่ 11 มี.ค. เวลา 10.00 น. เพื่อรับรองมติที่ประชุมส.ส.พรรคอีกครั้ง
ด้านนายวิทยา กล่าวว่า เมื่อสมาชิกพรรคมีมติดังกล่าว พรรคจะประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคในวันที่ 11 มี.ค.เวลา 10.00 น. ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนตามกระบวนการอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยจะยื่นถอดถอนก่อนจากนั้นจึงจะเป็นการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ส่วนที่นายเสนาะ แสดงความไม่เห็นด้วยนั้น นายวิทยา กล่าวว่า นี่คือมติ พรรคเพื่อไทย เราเคารพกติกาของพรรค ส่วนการชี้แจงกับพรรคร่วมฝ่ายค้านคือ พรรคเพื่อแผ่นดิน และพรรคประชาราชนั้นเราจะมีการเรียนเพื่อทราบ ตามมารยาททางการเมืองต่อไป อย่างไรก็ตาม การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ ส.ส.ของพรรคร่วมฝ่ายค้านจะร่วมอภิปรายฯ ด้วยก็ได้ ส่วนการลงมติจะเป็นอย่างไรนั้นเป็นดุลยพินิจของแต่ละพรรค โดยในวันที่ 5 มี.ค.จะมีการหารือร่วมกันของพรรคร่วมฝ่ายค้าน คือพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก แกนนำพรรคเพื่อแผนดิน และนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช
อย่างไรก็ตามการเสนอชื่อ ร.ต.อ.เฉลิม เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทยที่จะเลือกกันใหม่ในวันที่ 24 มี.ค.นี้
รายงานข่างแจ้งว่าคณะทำงานด้านยุทธศาสตร์ของพรรค ได้กำหนดยุทธศาสตร์การเมืองเพื่อล้มรัฐบาลให้ได้ภายใน 6 เดือนคือ 1. ก่อนการอภิปรายฯจะใช้กลุ่มคนเสื้อแดงเคลื่อนไหวทั่วประเทศเพื่อกดดนรัฐบาลนอกสภา โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โฟนอินผ่านเวทีกลุ่มคนเสื้อแดงโจมตีรัฐบาล 2.การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล และ3. หลังการอภิปรายฯ ก็จะให้ ส.ส.ลงพื้นที่พบปะประชาชนและหัวคะแนนเพื่อให้โจมตีมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ล้มเหลว พร้อมทั้งเน้นย้ำแบรนด์ พ.ต.ท.ทักษิณว่าจะแก้ปัญหาให้ได้
นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พรรคเพื่อไทยจะเน้นทำการเมืองภาคชนบทเพื่อรักษาฐานเสียงและให้ประชาชนยังคงเลือกพรรคเพื่อไทยกลับมาเป็นจำนวนมาก แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ หากยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้ผลจะทำให้ประชาชนทั่วประเทศ จากทุกหมู่บ้านเกิดความเห็นตรงกันว่า รัฐบาลนี้ล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
"ยุทธศาสตร์คือ ในการเลือกตั้งครั้งหน้าต้องการให้ประชาชนเลือกส.ส. ของเรามาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง และในการหาเสียงจะชูแคมเปญเอาพ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้านด้วย"
ส่วนการลงพื้นที่ครั้งนี้อาจถูกมองว่าเป็นการปลุกระดมมวลชนนั้น นายสุรพงษ์ กล่าวว่า เป็นสิทธิของเขาที่จะมอง ไม่เป็นไรแต่ยืนยันว่าไม่ใช่การปลุกระดม กลุ่มเสื้อแดงจะจัดชุมนุมก็เรื่องของเขา เราให้ข้อมูลชาวบ้านหลังการอภิปรายฯ ก็เป็นเรื่องของเราที่จะทำ เป็นคนละส่วนกัน
นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐมนตรีที่จะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ กล่าวว่า ไม่มีปัญหาเป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย ถ้าเขาถามอะไรมาตนก็พร้อมชี้แจง ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายค้านก็ตั้งเป้าโจมตีตนตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งอยู่แล้ว แต่เวลาผ่านมา 2 เดือนแล้ว ตนก็ยังอยู่ได้
"ฝ่ายค้านจะอภิปรายผมว่าอะไรก็ได้ แต่ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ตัวผม แต่อยู่ที่ตัวผู้อภิปรายและประชาชนที่ดูอยู่ 60 ล้านคน ผมพร้อมเป็นกระสอบทรายให้ ไม่มีปัญหา และที่ผ่านมาตั้งแต่ก่อนตั้งรัฐบาลผมก็ได้พูดคุยกับนายกรัฐมนตรีแล้วว่าจะต้องดำรงตัวอย่างไร เมื่อเข้ามาก็ประพฤติตามบัญญัติ 9 ประการของนายกรัฐมนตรี และตอนนี้ เรื่องการต่างประเทศที่ผมรับผิดชอบก็คืบหน้าไปหลายเรื่อง ดังนั้นในการอภิปรายฯ ราควรจะพูดกันในเนื้องานดีกว่า และถ้าจะมีการด่าพ่อล่อแม่หรือพูดเรื่องส่วนตัวก็ช่วยไม่ได้ เพราะมันไม่ได้เป็นปัญหาของผม แต่เป็นสิ่งที่ออกมาจากปากของคนนั้น และประชาชนเขาจะมองบุคคลเหล่านี้ว่าอย่างไร"
นายวัลลภ ไทยเหนือ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อแผ่นดิน (พผ.) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 9 ส.ส.ของกลุ่ม พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน จากจำนวน ส.ส.ของพรรคเพื่อแผ่นดินทั้งหมด 29 คน เปิดเผยว่า กลุ่มมีมติที่จะไม่เข้าร่วม ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลไปแล้ว เพราะกลุ่มยังไม่มีข้อมูลว่า รัฐบาล ได้บริหารงานผิดพลาด หรือมีการทุจริตคอร์รัปชั่น แต่หากกลุ่มได้ข้อมูลใหม่จาก พรรคเพื่อไทย ที่แสดงให้เห็นว่า มีหลักฐานที่ชัดเจนระบุถึงความผิดพลาด ในการบริหารประเทศของรัฐบาล ก็อาจมีการพิจารณาทบทวนจุดยืนในเรื่องนี้อีกครั้ง
นายวัลลภ กล่าวว่า แม้ว่ากลุ่มจะไม่ร่วมอภิปรายครั้งนี้ แต่จะรับฟังข้อมูล ของพรรคเพื่อไทย ซึ่งหากรัฐมนตรีชี้แจงได้ไม่ชัดเจนก็อาจยกมือสนับสนุนฝ่ายค้าน แต่ขณะเดียวกันก็พร้อมยกมือให้รัฐบาล หากสามารถตอบข้อกล่าวหาได้ชัดเจน
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน ในฐานะประธานส.ส.พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลครั้งนี้มีข้อมูลหนักหนากว่าสมัยอภิปรายฯ สปก.4-01 ส่วนกรณีที่นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช และ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ระบุว่าจะไม่ร่วมอภิปรายด้วยนั้นไม่มีปัญหา เพราะแค่เสียง ส.ส.พรรคเพื่อไทยเพียงพรรคเดียวก็เพียงพอแล้ว
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่าไม่ได้โกรธ นายเสนาะ ที่ระบุว่าตนไม่เหมาะที่จะถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีในการอภิปรายครั้งนี้ และไม่ขอตอบโต้ ขอยืนยันว่า ฝ่ายค้านไม่มีปัญหาอะไรกัน จะไม่เอาเรื่องเล็กมาทำให้ งานใหญ่เสีย ใครไม่มาร่วมลงชื่อก็ถือเป็นสิทธิ์ แต่พอฟังข้อมูลอภิปรายในสภาแล้วจะคิดถึงเพลง พุ่มพวง ดวงจันทร์ จะร้องว่า เสียดายจัง เพราะไม่ได้ร่วมลงชื่อตั้งแต่แรก และรับรองว่าการอภิปรายครั้งนี้จะไม่ทำให้ประชาชนต้องผิดหวัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.00 น. วานนี้ (3 มี.ค.) พรรคเพื่อไทย มีการประชุมส.ส. เพื่อพิจารณาข้อมูลการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลและรายชื่อผู้ที่จะถูกเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตุว่า อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยนายวิทยา บุรณศิริ ร่วมกันแถลงหลังการประชุมว่า พรรคยืนยันที่จะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ในวันที่ 11 มี.ค. นอกจากนี้ที่ประชุมส.ส.ยังมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เสนอชื่อร .ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานส.ส.พรรค เป็นนายกรัฐมนตรีแนบไปด้วย จากนี้จะเข้าสู่ขั้นตอน การประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคในวันที่ 11 มี.ค. เวลา 10.00 น. เพื่อรับรองมติที่ประชุมส.ส.พรรคอีกครั้ง
ด้านนายวิทยา กล่าวว่า เมื่อสมาชิกพรรคมีมติดังกล่าว พรรคจะประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคในวันที่ 11 มี.ค.เวลา 10.00 น. ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนตามกระบวนการอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยจะยื่นถอดถอนก่อนจากนั้นจึงจะเป็นการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ส่วนที่นายเสนาะ แสดงความไม่เห็นด้วยนั้น นายวิทยา กล่าวว่า นี่คือมติ พรรคเพื่อไทย เราเคารพกติกาของพรรค ส่วนการชี้แจงกับพรรคร่วมฝ่ายค้านคือ พรรคเพื่อแผ่นดิน และพรรคประชาราชนั้นเราจะมีการเรียนเพื่อทราบ ตามมารยาททางการเมืองต่อไป อย่างไรก็ตาม การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ ส.ส.ของพรรคร่วมฝ่ายค้านจะร่วมอภิปรายฯ ด้วยก็ได้ ส่วนการลงมติจะเป็นอย่างไรนั้นเป็นดุลยพินิจของแต่ละพรรค โดยในวันที่ 5 มี.ค.จะมีการหารือร่วมกันของพรรคร่วมฝ่ายค้าน คือพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก แกนนำพรรคเพื่อแผนดิน และนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช
อย่างไรก็ตามการเสนอชื่อ ร.ต.อ.เฉลิม เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทยที่จะเลือกกันใหม่ในวันที่ 24 มี.ค.นี้
รายงานข่างแจ้งว่าคณะทำงานด้านยุทธศาสตร์ของพรรค ได้กำหนดยุทธศาสตร์การเมืองเพื่อล้มรัฐบาลให้ได้ภายใน 6 เดือนคือ 1. ก่อนการอภิปรายฯจะใช้กลุ่มคนเสื้อแดงเคลื่อนไหวทั่วประเทศเพื่อกดดนรัฐบาลนอกสภา โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โฟนอินผ่านเวทีกลุ่มคนเสื้อแดงโจมตีรัฐบาล 2.การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล และ3. หลังการอภิปรายฯ ก็จะให้ ส.ส.ลงพื้นที่พบปะประชาชนและหัวคะแนนเพื่อให้โจมตีมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ล้มเหลว พร้อมทั้งเน้นย้ำแบรนด์ พ.ต.ท.ทักษิณว่าจะแก้ปัญหาให้ได้
นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พรรคเพื่อไทยจะเน้นทำการเมืองภาคชนบทเพื่อรักษาฐานเสียงและให้ประชาชนยังคงเลือกพรรคเพื่อไทยกลับมาเป็นจำนวนมาก แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ หากยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้ผลจะทำให้ประชาชนทั่วประเทศ จากทุกหมู่บ้านเกิดความเห็นตรงกันว่า รัฐบาลนี้ล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
"ยุทธศาสตร์คือ ในการเลือกตั้งครั้งหน้าต้องการให้ประชาชนเลือกส.ส. ของเรามาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง และในการหาเสียงจะชูแคมเปญเอาพ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้านด้วย"
ส่วนการลงพื้นที่ครั้งนี้อาจถูกมองว่าเป็นการปลุกระดมมวลชนนั้น นายสุรพงษ์ กล่าวว่า เป็นสิทธิของเขาที่จะมอง ไม่เป็นไรแต่ยืนยันว่าไม่ใช่การปลุกระดม กลุ่มเสื้อแดงจะจัดชุมนุมก็เรื่องของเขา เราให้ข้อมูลชาวบ้านหลังการอภิปรายฯ ก็เป็นเรื่องของเราที่จะทำ เป็นคนละส่วนกัน
นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐมนตรีที่จะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ กล่าวว่า ไม่มีปัญหาเป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย ถ้าเขาถามอะไรมาตนก็พร้อมชี้แจง ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายค้านก็ตั้งเป้าโจมตีตนตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งอยู่แล้ว แต่เวลาผ่านมา 2 เดือนแล้ว ตนก็ยังอยู่ได้
"ฝ่ายค้านจะอภิปรายผมว่าอะไรก็ได้ แต่ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ตัวผม แต่อยู่ที่ตัวผู้อภิปรายและประชาชนที่ดูอยู่ 60 ล้านคน ผมพร้อมเป็นกระสอบทรายให้ ไม่มีปัญหา และที่ผ่านมาตั้งแต่ก่อนตั้งรัฐบาลผมก็ได้พูดคุยกับนายกรัฐมนตรีแล้วว่าจะต้องดำรงตัวอย่างไร เมื่อเข้ามาก็ประพฤติตามบัญญัติ 9 ประการของนายกรัฐมนตรี และตอนนี้ เรื่องการต่างประเทศที่ผมรับผิดชอบก็คืบหน้าไปหลายเรื่อง ดังนั้นในการอภิปรายฯ ราควรจะพูดกันในเนื้องานดีกว่า และถ้าจะมีการด่าพ่อล่อแม่หรือพูดเรื่องส่วนตัวก็ช่วยไม่ได้ เพราะมันไม่ได้เป็นปัญหาของผม แต่เป็นสิ่งที่ออกมาจากปากของคนนั้น และประชาชนเขาจะมองบุคคลเหล่านี้ว่าอย่างไร"