รอยเตอร์ - กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เมื่อวันจันทร์(12) เปิดเผยบันทึกความเห็นทางกฎหมายสำคัญ 9 ฉบับในสมัยรัฐบาลบุช ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการต่อต้านการก่อการร้ายหลังเหตุการณ์ "11 กันยายน 2001" โดยมีการให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีอย่างเหลือล้น แม้กระทั่งการไม่ต้องทำตามสนธิสัญญากับต่างประเทศ อีกทั้งมีการให้อำนาจกองทัพสหรัฐฯ บุกจู่โจมสถานที่ซึ่งสงสัยว่ามีผู้ก่อการร้ายอยู่ได้ทั่วประเทศโดยไม่ต้องมีหมายค้น
บันทึกฉบับลงวันที่ 23 ตุลาคม 2001 ระบุว่าการให้ความคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการห้ามบุกรุกหรือจับกุมบุคคลโดยไม่มีหมายศาล ซึ่งเป็นสิ่งที่มีระบุเอาไว้ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯนั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญน้อยกว่าความจำเป็นทางการทหารที่จะต่อสู้กับลัทธิก่อการร้ายภายในประเทศ
ทั้งนี้ บันทึกฉบับนี้เป็นหนึ่งในบันทึกและความเห็นทางกฎหมายรวม 9 ฉบับในสมัยของอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ที่ยังไม่มีการเปิดเผยมาก่อน และสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางด้านกฎหมายของบุชในขณะที่เขาประกาศสงครามต่อต้านการก่อการร้ายภายหลังเหตุโจมตีสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 ด้วย
"ผลประโยชน์ในยามสงครามซึ่งมีความสำคัญมาก จะเป็นตัวกำหนดความเหมาะสมว่า จะควบคุมเสรีภาพส่วนบุคคลมากน้อยแค่ไหน" บันทึกดังกล่าวระบุ
ส่วนบันทึกอื่นๆ ก็ระบุว่าประธานาธิบดีมีอำนาจอย่างกว้างขวางในการกักตัวพลเมืองสหรัฐฯ ที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายและสามารถระงับการปฏิบัติตามพันธะผูกพันตามสนธิสัญญาที่ทำไว้ในกับต่างประเทศได้ในกรณีที่เห็นสมควร
บันทึกเหล่านี้ฉายให้เห็นภาพของรัฐบาลที่จงใจจะใช้อำนาจอย่างล้นหลามของประธานาธิบดีภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ "9/11" และยังเสริมย้ำคำกล่าวหาของพวกนักวิจารณ์ที่ว่ากระบวนการดังกล่าวเป็นภัยคุกคามต่อการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ
"การรณรงค์ต่อต้านการก่อการร้ายในปัจจุบัน อาจทำให้มีความจำเป็นถึงขั้นต้องขยายการใช้อำนาจของรัฐบาลกลางในระดับภายในประเทศ" จอห์น ยู และรอเบิร์ต เดลาฮันตี เจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมระบุในจดหมายที่เขียนถึงอัลแบร์โต กอนซาเลซ ที่ปรึกษากฎหมายของทำเนียบขาว ในบันทึกฉบับวันที่ 23 ตุลาคม
ทั้งสองยังระบุด้วยว่า "เราไม่คิดว่ามีความจำเป็นใดๆ ที่ผู้บังคับบัญชาทหารคนหนึ่งซึ่งดำเนินการบุกจู่โจมจับผู้ก่อการร้าย จะต้องแสดงให้เห็นว่ามีเหตุอันควร หรือขอหมายค้นก่อน" ทั้งสองระบุในจดหมาย
ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ การบุกค้นสถานที่หนึ่งๆ จำเป็นต้องมีเหตุอันควรและจะต้องแสดงหมายค้นก่อนดำเนินการด้วย ทว่าในบันทึกดังกล่าวระบุว่า ข้อกำหนดดังกล่าว "ไม่เหมาะกับความจำเป็นในภาวะสงคราม" หนำซ้ำข้อความในบันทึกยังระบุด้วยว่า "สิทธิในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพของสื่ออาจมีความสำคัญน้อยกว่าความจำเป็นที่จะทำสงครามให้ประสบผลสำเร็จ"
กระทรวงยุติธรรมในสมัยรัฐบาลบุชเคยถูกสหภาพเพื่อเสรีภาพพลเมืองอเมริกัน (American Civil Liberties Union - เอซีแอลยู) ฟ้องร้องให้เปิดเผยบันทึกทางกฎหมายเหล่านี้แก่สาธารณชน โดยจามีล จาฟเฟอร์ ผู้อำนวยการด้านความมั่นคงแห่งชาติของเอซีแอลยู ระบุว่า "บันทึกเหล่านี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าประธานาธิบดีมีอำนาจพิเศษที่จะละเมิดรัฐธรรมนูญในระหว่างสงคราม"
นอกจากนั้น บันทึกเหล่านี้ยังอาจเร่งให้พรรคเดโมแครตจัดการสืบสวนเรื่องนี้ให้ละเอียด ดังที่แพทริค เลฮี ประธานคณะกรรมาธิการยุติธรรมของวุฒิสภาได้เสนอให้จัดตั้ง "คณะกรรมาธิการสืบหาความจริง" ขึ้น โดยเขากล่าวว่าจะเป็นการเปิดเผยให้เห็นถึง "แนวนโยบายด้านความมั่นคงที่ผิดพลาด" ในสมัยของบุชได้อย่างกระจ่างชัดขึ้น
การเปิดเผยบันทึกเหล่านี้นับเป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดของรัฐบาลโอบามาที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายของบุชหลายนโยบายด้วยกัน และได้รับการขานรับอย่างดีจากเอซียูแอลที่เห็นว่าการตัดสินใจของรัฐบาลโอบามาจะเป็นก้าวแรกสำหรับการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในวงกว้างขึ้น
บันทึกฉบับลงวันที่ 23 ตุลาคม 2001 ระบุว่าการให้ความคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการห้ามบุกรุกหรือจับกุมบุคคลโดยไม่มีหมายศาล ซึ่งเป็นสิ่งที่มีระบุเอาไว้ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯนั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญน้อยกว่าความจำเป็นทางการทหารที่จะต่อสู้กับลัทธิก่อการร้ายภายในประเทศ
ทั้งนี้ บันทึกฉบับนี้เป็นหนึ่งในบันทึกและความเห็นทางกฎหมายรวม 9 ฉบับในสมัยของอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ที่ยังไม่มีการเปิดเผยมาก่อน และสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางด้านกฎหมายของบุชในขณะที่เขาประกาศสงครามต่อต้านการก่อการร้ายภายหลังเหตุโจมตีสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 ด้วย
"ผลประโยชน์ในยามสงครามซึ่งมีความสำคัญมาก จะเป็นตัวกำหนดความเหมาะสมว่า จะควบคุมเสรีภาพส่วนบุคคลมากน้อยแค่ไหน" บันทึกดังกล่าวระบุ
ส่วนบันทึกอื่นๆ ก็ระบุว่าประธานาธิบดีมีอำนาจอย่างกว้างขวางในการกักตัวพลเมืองสหรัฐฯ ที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายและสามารถระงับการปฏิบัติตามพันธะผูกพันตามสนธิสัญญาที่ทำไว้ในกับต่างประเทศได้ในกรณีที่เห็นสมควร
บันทึกเหล่านี้ฉายให้เห็นภาพของรัฐบาลที่จงใจจะใช้อำนาจอย่างล้นหลามของประธานาธิบดีภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ "9/11" และยังเสริมย้ำคำกล่าวหาของพวกนักวิจารณ์ที่ว่ากระบวนการดังกล่าวเป็นภัยคุกคามต่อการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ
"การรณรงค์ต่อต้านการก่อการร้ายในปัจจุบัน อาจทำให้มีความจำเป็นถึงขั้นต้องขยายการใช้อำนาจของรัฐบาลกลางในระดับภายในประเทศ" จอห์น ยู และรอเบิร์ต เดลาฮันตี เจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมระบุในจดหมายที่เขียนถึงอัลแบร์โต กอนซาเลซ ที่ปรึกษากฎหมายของทำเนียบขาว ในบันทึกฉบับวันที่ 23 ตุลาคม
ทั้งสองยังระบุด้วยว่า "เราไม่คิดว่ามีความจำเป็นใดๆ ที่ผู้บังคับบัญชาทหารคนหนึ่งซึ่งดำเนินการบุกจู่โจมจับผู้ก่อการร้าย จะต้องแสดงให้เห็นว่ามีเหตุอันควร หรือขอหมายค้นก่อน" ทั้งสองระบุในจดหมาย
ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ การบุกค้นสถานที่หนึ่งๆ จำเป็นต้องมีเหตุอันควรและจะต้องแสดงหมายค้นก่อนดำเนินการด้วย ทว่าในบันทึกดังกล่าวระบุว่า ข้อกำหนดดังกล่าว "ไม่เหมาะกับความจำเป็นในภาวะสงคราม" หนำซ้ำข้อความในบันทึกยังระบุด้วยว่า "สิทธิในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพของสื่ออาจมีความสำคัญน้อยกว่าความจำเป็นที่จะทำสงครามให้ประสบผลสำเร็จ"
กระทรวงยุติธรรมในสมัยรัฐบาลบุชเคยถูกสหภาพเพื่อเสรีภาพพลเมืองอเมริกัน (American Civil Liberties Union - เอซีแอลยู) ฟ้องร้องให้เปิดเผยบันทึกทางกฎหมายเหล่านี้แก่สาธารณชน โดยจามีล จาฟเฟอร์ ผู้อำนวยการด้านความมั่นคงแห่งชาติของเอซีแอลยู ระบุว่า "บันทึกเหล่านี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าประธานาธิบดีมีอำนาจพิเศษที่จะละเมิดรัฐธรรมนูญในระหว่างสงคราม"
นอกจากนั้น บันทึกเหล่านี้ยังอาจเร่งให้พรรคเดโมแครตจัดการสืบสวนเรื่องนี้ให้ละเอียด ดังที่แพทริค เลฮี ประธานคณะกรรมาธิการยุติธรรมของวุฒิสภาได้เสนอให้จัดตั้ง "คณะกรรมาธิการสืบหาความจริง" ขึ้น โดยเขากล่าวว่าจะเป็นการเปิดเผยให้เห็นถึง "แนวนโยบายด้านความมั่นคงที่ผิดพลาด" ในสมัยของบุชได้อย่างกระจ่างชัดขึ้น
การเปิดเผยบันทึกเหล่านี้นับเป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดของรัฐบาลโอบามาที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายของบุชหลายนโยบายด้วยกัน และได้รับการขานรับอย่างดีจากเอซียูแอลที่เห็นว่าการตัดสินใจของรัฐบาลโอบามาจะเป็นก้าวแรกสำหรับการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในวงกว้างขึ้น