ASTVผู้จัดการรายวัน - กทม.ยุค “คุณชายสุขุมพันธ์” ขอขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ ดึงกูรูอสังหาฯ ร่วมวางโมเดลพัฒนาที่ดิน เล็งใช้ที่ดินสำนักงานเขต กทม.ที่มีศักยภาพสูง ผุดโครงการขนาดใหญ่ นำร่องพื้นที่เขตพญาไท - ราชเทวี ชูโมเดล “จามจุรีสแควร์-เซ็นทรัลลาดพร้าว”เป็นกรณีศึกษา ปรับใช้พัฒนาโครงการอาคารสูงปล่อยเช่าระยะยาว
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ(กทม.) กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงร่วม (MOU) วานนี้ (2 มี.ค.) ระหว่าง การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย บริษัท อินเด็กซ์ ลีฟวิ่งมอลล์ จำกัด บริษัทคริสตัล วิว วินแอนด์ ดอร์ และบริษัท คอนคอร์ด แอร์ แอนด์ ออโต้ จำกัด เพื่อเป็นการจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างกทม. ภายใต้ “โครงการบ้านยิ้ม กทม. ”
และจากการตรวจสอบข้อมูลข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง กทม.กว่า 1 แสนรายพบว่า มีจำนวนกว่า 40,000 ราย มีความต้องการด้านที่อยู่อาศัย ซึ่งในส่วนดังกล่าวกทม.ได้เปิดวงเงินกู้กับธนาคารทั้ง 4 แห่งดังกล่าวเบื้องต้น 4,500 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ย2.75% เพื่อปล่อยเงินกู้ให้ข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างกทม.ที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 13,500บาท กู้ซื้อที่อยู่อาศัยในโครงการบ้านยิ้ม โดยกทม.ได้จัดซื้อโครงการบ้านเอื้ออาทรเข้ามารองรับความต้องการในโครงการดังกล่าว
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า สำหรับวงเงินกู้อีกส่วน จำนวน 3,500ล้านบาท ซึ่ง ได้เปิดไว้กับธนาคารทั้ง 4 แห่งดังกล่าว จะรองรับปล่อยกู้กับกลุ่มที่มีรายได้เกินกว่า 13,500 บาทขึ้นไป เพื่อซื้อบ้านในโครงการของบริษัทเอกชน ล่าสุดได้เสนอเรื่องต่อผู้ว่าฯ กทม.เพื่อขอให้ กทม.จัดงานมหกรรมบ้านและที่ดิน โดยเปิดให้บริษัทเอกชนที่มีสินค้าที่อยู่อาศัยระดับราคา 800,000-1,200,000 บาท เข้ามาร่วมออกบูทจัดงานในงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง กทม. เลือกซื้อที่อยู่อาศัยในโครงการบ้านยิ้ม งานดังกล่าวจะสามารถจัดขึ้นได้ภายในอีก 2 เดือนข้างหน้า
นอกจากนี้ ทาง กทม.ยังมีแผนที่จะเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินและที่ดินของกทม. เพื่อสร้างรายได้ระยะยาวให้แก่ กทม. โดยล่าสุด นายมานพ พงศทัต อาจารย์ประจำภาควิชาเคหะการ คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เข้าร่วมเป็นคณะจัดทำแผนการศึกษารูปแบบการลงทุนร่วมระหว่างเอกชนและ กทม. โดยจะนำรูปแบบ (โมเดล) การพัฒนาที่ดินรอบบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงโครงการจามจุรีสแควร์ และการพัฒนาพื้นที่เช่าห้างสรรพ สินค้าเซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพลร้าว เช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มาศึกษาเพื่อพัฒนาโครงการและกำหนดอัตราผลตอบแทนเป็นค่าเช่าสัมปทานระยะยาว
นายธีระชนกล่าวว่า หลักของการพัฒนาต้องเป็นที่ดินที่มีศักยภาพ เหมาะแก่การพัฒนาร่วมกับบริษัทเอกชนในรูปแบบการให้สัมปทานระยะยาว มีความคล่องตัวในการเดินทาง เช่น อยู่ใกล้ระบบขนส่งมวลชนระบบราง โดยล่าสุดกทม.ที่ตั้งสำนักงานเขตพญาไทและที่ดินสำนักงานเขตราชเทวี จะถูกนำมาศึกษาเพื่อพัฒนาโครงการอาคารเช่าขนาดใหญ่
“เดิมสำนักงานเขตพญาไทได้เสนอของบประมาณ 200 ล้านบาทต่อ กทม .เพื่อใช้ปรับปรุงอาคารสำนักงานเขตที่มีอายุการใช้งานมานานให้มีสภาพที่ดีขึ้น แต่กทม.เห็นว่าที่ดินดังกล่าวมีศักยภาพเหมาะที่จะพัฒนาเป็นโครงการอาคารสำนักงานให้เช่าขนาดใหญ่ได้ ในขณะเดียวกัน ก็สามารถใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานเขตเพื่อให้บริการประชน โดยกทม.จะดึงบริษัทเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนโครงการ ซึ่งจะช่วยให้กทม.ไม่ต้องเสียเงินงบประมาณในการก่อสร้างหรือปรับปรุงอาคารได้”
จากการวิเคราะห์เบื้องต้น ที่ตั้งสำนักงานเขตพญาไทนั้นเหมาะสมจะพัฒนาเป็นอาคารสูง 8 ชั้น เนื่องจากกฎหมายผังเมือง กำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวสามารถก่อสร้างอาคารสูงได้ไม่เกิน 8 ชั้น ส่วนพื้นสำนักงานเขตราชเทวีเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นโครงการอาคารสูงขนาดใหญ่ได้
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโครงการในรูปแบบการร่วมทุนเอกชนนั้นหากสามารถพัฒนาโครงการที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,000 ล้านบาทได้จะช่วยให้เกิดความคล่องตัวขึ้น แต่หากมูลค่าการพัฒนาโครงการเกิน 1,000 ล้านบาท ต้องเข้าข่ายพระราชบัญญัติ (พรบ.) การร่วมทุนกับเอกชน ซึ่งจะใช้ระยะเวลานาน กว่าจะผลักดันโครงการให้เกิดขึ้นเร็ว.
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ(กทม.) กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงร่วม (MOU) วานนี้ (2 มี.ค.) ระหว่าง การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย บริษัท อินเด็กซ์ ลีฟวิ่งมอลล์ จำกัด บริษัทคริสตัล วิว วินแอนด์ ดอร์ และบริษัท คอนคอร์ด แอร์ แอนด์ ออโต้ จำกัด เพื่อเป็นการจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างกทม. ภายใต้ “โครงการบ้านยิ้ม กทม. ”
และจากการตรวจสอบข้อมูลข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง กทม.กว่า 1 แสนรายพบว่า มีจำนวนกว่า 40,000 ราย มีความต้องการด้านที่อยู่อาศัย ซึ่งในส่วนดังกล่าวกทม.ได้เปิดวงเงินกู้กับธนาคารทั้ง 4 แห่งดังกล่าวเบื้องต้น 4,500 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ย2.75% เพื่อปล่อยเงินกู้ให้ข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างกทม.ที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 13,500บาท กู้ซื้อที่อยู่อาศัยในโครงการบ้านยิ้ม โดยกทม.ได้จัดซื้อโครงการบ้านเอื้ออาทรเข้ามารองรับความต้องการในโครงการดังกล่าว
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า สำหรับวงเงินกู้อีกส่วน จำนวน 3,500ล้านบาท ซึ่ง ได้เปิดไว้กับธนาคารทั้ง 4 แห่งดังกล่าว จะรองรับปล่อยกู้กับกลุ่มที่มีรายได้เกินกว่า 13,500 บาทขึ้นไป เพื่อซื้อบ้านในโครงการของบริษัทเอกชน ล่าสุดได้เสนอเรื่องต่อผู้ว่าฯ กทม.เพื่อขอให้ กทม.จัดงานมหกรรมบ้านและที่ดิน โดยเปิดให้บริษัทเอกชนที่มีสินค้าที่อยู่อาศัยระดับราคา 800,000-1,200,000 บาท เข้ามาร่วมออกบูทจัดงานในงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง กทม. เลือกซื้อที่อยู่อาศัยในโครงการบ้านยิ้ม งานดังกล่าวจะสามารถจัดขึ้นได้ภายในอีก 2 เดือนข้างหน้า
นอกจากนี้ ทาง กทม.ยังมีแผนที่จะเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินและที่ดินของกทม. เพื่อสร้างรายได้ระยะยาวให้แก่ กทม. โดยล่าสุด นายมานพ พงศทัต อาจารย์ประจำภาควิชาเคหะการ คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เข้าร่วมเป็นคณะจัดทำแผนการศึกษารูปแบบการลงทุนร่วมระหว่างเอกชนและ กทม. โดยจะนำรูปแบบ (โมเดล) การพัฒนาที่ดินรอบบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงโครงการจามจุรีสแควร์ และการพัฒนาพื้นที่เช่าห้างสรรพ สินค้าเซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพลร้าว เช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มาศึกษาเพื่อพัฒนาโครงการและกำหนดอัตราผลตอบแทนเป็นค่าเช่าสัมปทานระยะยาว
นายธีระชนกล่าวว่า หลักของการพัฒนาต้องเป็นที่ดินที่มีศักยภาพ เหมาะแก่การพัฒนาร่วมกับบริษัทเอกชนในรูปแบบการให้สัมปทานระยะยาว มีความคล่องตัวในการเดินทาง เช่น อยู่ใกล้ระบบขนส่งมวลชนระบบราง โดยล่าสุดกทม.ที่ตั้งสำนักงานเขตพญาไทและที่ดินสำนักงานเขตราชเทวี จะถูกนำมาศึกษาเพื่อพัฒนาโครงการอาคารเช่าขนาดใหญ่
“เดิมสำนักงานเขตพญาไทได้เสนอของบประมาณ 200 ล้านบาทต่อ กทม .เพื่อใช้ปรับปรุงอาคารสำนักงานเขตที่มีอายุการใช้งานมานานให้มีสภาพที่ดีขึ้น แต่กทม.เห็นว่าที่ดินดังกล่าวมีศักยภาพเหมาะที่จะพัฒนาเป็นโครงการอาคารสำนักงานให้เช่าขนาดใหญ่ได้ ในขณะเดียวกัน ก็สามารถใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานเขตเพื่อให้บริการประชน โดยกทม.จะดึงบริษัทเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนโครงการ ซึ่งจะช่วยให้กทม.ไม่ต้องเสียเงินงบประมาณในการก่อสร้างหรือปรับปรุงอาคารได้”
จากการวิเคราะห์เบื้องต้น ที่ตั้งสำนักงานเขตพญาไทนั้นเหมาะสมจะพัฒนาเป็นอาคารสูง 8 ชั้น เนื่องจากกฎหมายผังเมือง กำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวสามารถก่อสร้างอาคารสูงได้ไม่เกิน 8 ชั้น ส่วนพื้นสำนักงานเขตราชเทวีเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นโครงการอาคารสูงขนาดใหญ่ได้
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโครงการในรูปแบบการร่วมทุนเอกชนนั้นหากสามารถพัฒนาโครงการที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,000 ล้านบาทได้จะช่วยให้เกิดความคล่องตัวขึ้น แต่หากมูลค่าการพัฒนาโครงการเกิน 1,000 ล้านบาท ต้องเข้าข่ายพระราชบัญญัติ (พรบ.) การร่วมทุนกับเอกชน ซึ่งจะใช้ระยะเวลานาน กว่าจะผลักดันโครงการให้เกิดขึ้นเร็ว.