ASTVผู้จัดการรายวัน - อนาคตรัฐบาลมาร์คยังมืด กลุ่มผู้ตกงานขึ้นทะเบียนว่างงาน 2 เดือนกว่า 1.4 แสนคน พบมีเพียง 2 พันคน สนใจเข้าร่วมโครงการกู้เงินสร้างอาชีพกับ ธ.ก.ส. ชี้ส่วนใหญ่ไม่ต้องการเป็นเจ้าขอธุรกิจเองหวั่นเศรษฐกิจทรุดมีความเสี่ยงเจ๊งสูง
นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รองผู้จัดการ รักษาการผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) กล่าวถึงความคืบหน้า กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการกู้วิกฤติแรงงานไทยคืนถิ่น และโครงการแก้ปัญหาว่างงานให้บัณฑิตจบใหม่ที่ร่วมกับสำนักงานประกันสังคม ว่า ในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. ที่ผ่านมา มีผู้ว่างงานลงทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานแล้วกว่า 1.4 แสนล้านคน โดยในจำนวนนี้มีผู้สนใจขอกู้เงินในโครงการดังกล่าวประมาณ 2 พันคน
สำหรับขั้นตอนขณะนี้ทากรมพัฒนาฝีมือแรงงานอยู่ระหว่างสอบถามความสมัครใจของกลุ่มที่ยื่นลงทะเบียนขอเข้าโครงการไว้ว่ามีความสนใจด้านใด และมีความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพใดหรือไม่ เพื่อจะได้จัดอบรมต่อไป คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือนกว่าจะดำเนินการได้ เนื่องจากทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงานยังไม่ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลซึ่งน่าจะได้จากงบกลางปีแสนล้านบาทประมาณเดือนเม.ย.นี้ อีกทั้งทางคณะกรรมการบริหารโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพิ่งประชุมได้ข้อสรุปว่าจะมีสถาบันใดบ้างที่ทำหน้าที่ฝึกอบรมให้ผู้สนใจ
“จำนวนผู้ที่สนใจเข้าโครงการเงินกู้เพื่อผู้ว่างงานในช่วง 2 เดือนกว่า 2 พันคนนั้นถือว่าไม่น้อย และเท่าที่สอบถามผู้ที่ขึ้นทะเบียนว่างงาน ซึ่งจะได้เงินชดเชยจากประกันสังคมต่อเนื่อง 8 เดือนในช่วงว่างงานนี้ ระบุว่ายังไม่เดือดร้อนถึงขั้นต้องรีบหางานทำ ซึ่งเงินที่ได้รับจากประกันสังคม 8 เดือนนั้นทำให้ยังมีเวลาพอที่จะหางานใหม่ ที่สำคัญส่วนใหญ่กลัวที่จะต้องเป็นเจ้าของธุรกิจหรือเป็นเถ้าแก่เองในภาวะเศรษฐกิจที่มีปัญหาหนักในปัจจุบัน เพราะมองว่าทำธุรกิจมีความเสี่ยงสูงจึงต้องการเป็นลูกจ้างต่อไปมากกว่า”นายเอ็นนู กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากผู้สนใจกู้เงินในโครงการดังกล่าวผ่านการฝึกอบรมแล้วทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงานก็จะจัดส่งรายชื่อมาให้ธ.ก.ส.เพื่อพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้ต่อไป ซึ่งธ.ก.ส.จะพิจารณาอีกครั้งว่าเป็นกลุ่มที่ว่างงานหรือบัณฑิตจบใหม่ และต้องการประกอบอาชีพด้านเกษตรหรืออาชีพอื่นๆ เพื่อช่วยฝึกอบรมในด้านนั้นอีกครั้ง โดยเฉพาะด้านการทำบัญชี การบริการจัดการ ส่วนเงินที่ใช้ในการปล่อยสินเชื่อนั้นขณะนี้ได้รับก่อนแรกมาจากสำนักงานประกันสังคมแล้ว 300 ล้านบาท จากวงเงินรวม 10,000 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมายังไม่ได้มีการใช้เงินจึงยังไม่จำเป็นต้องนำเงินมาฝากไว้ที่ธนาคารเพิ่มเติมเพราะเป็นเงินที่มีต้นทุนดอกเบี้ย โดยคาดว่าน่าจะเริ่มปล่อยกู้ได้ตามที่กำหนดไว้เดิมเดือนเม.ย.นี้
โครงการสนับสนุนด้านเงินทุนและการฝึกอบรมวิชาชีพที่ดำเนินการได้ในชนบท ทั้งด้านเกษตรและนอกภาคเกษตร วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท ตั้งเป้าหมายให้ความช่วยเหลือแรงงานคืนถิ่นและบัณฑิตจบใหม่ที่ตั้งใจกลับไปประกอบอาชีพในภูมิลำเนาเดิม 250,000 ราย โดยให้กู้แรงงานไทยคืนถิ่น 100,000 ราย คิดดอกเบี้ย 6% วงเงิน 4,000 ล้านบาท และให้กู้บัณฑิตจบใหม่ 150,000 ราย วงเงิน 6,000 ล้านบาท คิดดอกเบี้ยปกติของธนาคารที่ 7.25% เฉลี่ยให้กู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท
สำหรับเงื่อนไขผู้เข้าร่วมโครงการกรณีว่างงาน ต้องได้รับการรับรองสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน สปส. และต้องผ่านการฝึกอบรมทักษะในการประกอบการชีพ ส่วนบัณฑิตจบใหม่ต้องผ่านการคัดกรองจากสกอ.หรือมีประสบการณ์ในงานที่จะทำ โดยผู้สนใจสามารถติดต่อขอ เข้าโครงการได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปที่สาขาของ ธนาคารทั่วประเทศ.
นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รองผู้จัดการ รักษาการผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) กล่าวถึงความคืบหน้า กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการกู้วิกฤติแรงงานไทยคืนถิ่น และโครงการแก้ปัญหาว่างงานให้บัณฑิตจบใหม่ที่ร่วมกับสำนักงานประกันสังคม ว่า ในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. ที่ผ่านมา มีผู้ว่างงานลงทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานแล้วกว่า 1.4 แสนล้านคน โดยในจำนวนนี้มีผู้สนใจขอกู้เงินในโครงการดังกล่าวประมาณ 2 พันคน
สำหรับขั้นตอนขณะนี้ทากรมพัฒนาฝีมือแรงงานอยู่ระหว่างสอบถามความสมัครใจของกลุ่มที่ยื่นลงทะเบียนขอเข้าโครงการไว้ว่ามีความสนใจด้านใด และมีความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพใดหรือไม่ เพื่อจะได้จัดอบรมต่อไป คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือนกว่าจะดำเนินการได้ เนื่องจากทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงานยังไม่ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลซึ่งน่าจะได้จากงบกลางปีแสนล้านบาทประมาณเดือนเม.ย.นี้ อีกทั้งทางคณะกรรมการบริหารโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพิ่งประชุมได้ข้อสรุปว่าจะมีสถาบันใดบ้างที่ทำหน้าที่ฝึกอบรมให้ผู้สนใจ
“จำนวนผู้ที่สนใจเข้าโครงการเงินกู้เพื่อผู้ว่างงานในช่วง 2 เดือนกว่า 2 พันคนนั้นถือว่าไม่น้อย และเท่าที่สอบถามผู้ที่ขึ้นทะเบียนว่างงาน ซึ่งจะได้เงินชดเชยจากประกันสังคมต่อเนื่อง 8 เดือนในช่วงว่างงานนี้ ระบุว่ายังไม่เดือดร้อนถึงขั้นต้องรีบหางานทำ ซึ่งเงินที่ได้รับจากประกันสังคม 8 เดือนนั้นทำให้ยังมีเวลาพอที่จะหางานใหม่ ที่สำคัญส่วนใหญ่กลัวที่จะต้องเป็นเจ้าของธุรกิจหรือเป็นเถ้าแก่เองในภาวะเศรษฐกิจที่มีปัญหาหนักในปัจจุบัน เพราะมองว่าทำธุรกิจมีความเสี่ยงสูงจึงต้องการเป็นลูกจ้างต่อไปมากกว่า”นายเอ็นนู กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากผู้สนใจกู้เงินในโครงการดังกล่าวผ่านการฝึกอบรมแล้วทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงานก็จะจัดส่งรายชื่อมาให้ธ.ก.ส.เพื่อพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้ต่อไป ซึ่งธ.ก.ส.จะพิจารณาอีกครั้งว่าเป็นกลุ่มที่ว่างงานหรือบัณฑิตจบใหม่ และต้องการประกอบอาชีพด้านเกษตรหรืออาชีพอื่นๆ เพื่อช่วยฝึกอบรมในด้านนั้นอีกครั้ง โดยเฉพาะด้านการทำบัญชี การบริการจัดการ ส่วนเงินที่ใช้ในการปล่อยสินเชื่อนั้นขณะนี้ได้รับก่อนแรกมาจากสำนักงานประกันสังคมแล้ว 300 ล้านบาท จากวงเงินรวม 10,000 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมายังไม่ได้มีการใช้เงินจึงยังไม่จำเป็นต้องนำเงินมาฝากไว้ที่ธนาคารเพิ่มเติมเพราะเป็นเงินที่มีต้นทุนดอกเบี้ย โดยคาดว่าน่าจะเริ่มปล่อยกู้ได้ตามที่กำหนดไว้เดิมเดือนเม.ย.นี้
โครงการสนับสนุนด้านเงินทุนและการฝึกอบรมวิชาชีพที่ดำเนินการได้ในชนบท ทั้งด้านเกษตรและนอกภาคเกษตร วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท ตั้งเป้าหมายให้ความช่วยเหลือแรงงานคืนถิ่นและบัณฑิตจบใหม่ที่ตั้งใจกลับไปประกอบอาชีพในภูมิลำเนาเดิม 250,000 ราย โดยให้กู้แรงงานไทยคืนถิ่น 100,000 ราย คิดดอกเบี้ย 6% วงเงิน 4,000 ล้านบาท และให้กู้บัณฑิตจบใหม่ 150,000 ราย วงเงิน 6,000 ล้านบาท คิดดอกเบี้ยปกติของธนาคารที่ 7.25% เฉลี่ยให้กู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท
สำหรับเงื่อนไขผู้เข้าร่วมโครงการกรณีว่างงาน ต้องได้รับการรับรองสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน สปส. และต้องผ่านการฝึกอบรมทักษะในการประกอบการชีพ ส่วนบัณฑิตจบใหม่ต้องผ่านการคัดกรองจากสกอ.หรือมีประสบการณ์ในงานที่จะทำ โดยผู้สนใจสามารถติดต่อขอ เข้าโครงการได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปที่สาขาของ ธนาคารทั่วประเทศ.