เอเอฟพี/เอเยนซีส์ –ข้อเรียกร้องของผู้นำอาเซียนระหว่างการประชุมซัมมิตที่หัวหิน ให้เร่งลงมือปฏิบัติการแก้วิกฤตการเงินโลก คงไม่ค่อยมีผลทำให้บรรดาเศรษฐกิจของพวกเขาซึ่งพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก สามารถฝ่าข้ามวิกกฤตครั้งนี้ไปได้ ทั้งนี้เป็นความเห็นของพวกนักวิเคราะห์
แม้ว่าบรรดาผู้นำของประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)ทั้ง 10 จะออกคำแถลงร่วมภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมสุดยอดเมื่อวานนี้ (1 มี.ค.) โดยเร่งรัดให้มีการร่วมมือกันมากขึ้น, จัดการปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศ, และต่อสู้กับลัทธิกีดกันทางการค้า ทว่าจากการที่ตลาดสำคัญๆ อย่างสหรัฐฯ และยุโรปกำลังมีความต้องการสินค้าที่ผลิตจากภูมิภาคแห่งนี้ลดฮวบลงมาก อาเซียนจึงดูเหมือนจะยิ่งไร้อำนาจในการปกป้องแรงงานจำนวนหลายล้านคนภายในกลุ่ม ที่กำลังสุ่มเสี่ยงตกงานในไม่ช้า
“พวกเขาสามารถแสดงท่าทีกล้าหาญ แต่พวกเขาคงไม่สามารถร่วมมือกันทำอะไรได้จริงๆ” เป็นความเห็นของ เดวิด โคเฮน นักเศรษฐศาสตร์ผู้รับผิดชอบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำสถาบันวิจัย “แอ็คชัน อีโคโนมิกส์” แห่งสิงคโปร์บอก
“ผมไม่คิดว่าคำแถลงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรในทันที เพราะตอนนี้ปัญหาขยายตัวไปมากทีเดียว”
ทั้งนี้ ภูมิภาคอาเซียนเคยถูกมองว่าเป็นดาวเด่นในขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังทรุดตัว แต่มาตอนนี้ผลกระทบได้รุกคืบเข้ามาจนถึงภูมิภาคแห่งนี้แล้วเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการที่เศรษฐกิจสิงคโปร์ได้เข้าสู่ภาวะถดถอย และยอดการส่งออกในเดือนมกราคมปีนี้ก็ลดลงถึง 35 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่รัฐบาลเริ่มเก็บข้อมูลการส่งออกของประเทศมากว่า 30 ปี
ส่วนไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาค ก็ประสบกับภาวะเศรษฐกิจหดตัวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2008 เช่นกัน โดยนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้กล่าวเตือนในวันอาทิตย์ (1 มี.ค.) ว่า แนวโน้มจะเป็นเช่นเดียวกันในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ด้วย
มาตรการอย่างหนึ่งในแทบไม่กี่อย่างที่เป็นรูปธรรมของกลุ่มอาเซียนในเวลานี้ ก็คือการที่เมื่อเดือนที่แล้วอาเซียนได้ตกลงกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ที่จะขยายกองทุนฉุกเฉินเพื่อปกป้องสกุลเงินแบบพหุภาคี ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 120,000 ล้านดอลลาร์ โดยคาดว่าจะจัดตั้งได้ภายในปีนี้
แต่บริเจต เวลช์ ผู้เชี่ยวชาญแห่งมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ในสหรัฐฯที่มักวิพากษ์วิจารณ์ไทยและชาติอาเซียนในทางลบ แสดงความเห็นว่า แนวทางดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าภูมิภาคอาเซียนยังคงมองวิกฤตการณ์ทางการเงินในครั้งนี้ ด้วยสายตาแบบเดียวกับที่มองวิกฤตการณ์เมื่อปี 1997
“ขั้นแรกคือการพูดคุยเจรจากัน ซึ่งกำลังเกิดขึ้นอยู่ แต่มาตรการที่ออกมาจากที่ประชุมในวันนี้จะส่งผลน้อยมาก และแทบไม่เห็นถึงความเอาจริงเอาจังต่อผลกระทบของเศรษฐกิจต่อภูมิภาคนี้เลย”
เวลช์เสริมว่าสิ่งที่ดูคืบหน้าไปมากเพียงเรื่องเดียวก็คือ การลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เมื่อวันศุกร์(27ก.พ.) ซึ่ง “ก็ยังคงเป็นเรื่องในเชิงสัญลักษณ์และยังขาดสาระสำคัญอยู่มาก”
แต่เมื่อวานนี้อันเป็นวันสุดท้ายของการประชุมระดับผู้นำที่หัวหิน อภิสิทธิ์ก็ได้ระบุถึงเค้าโครงของขั้นตอนต่อไปอีกหลายประเด็นด้วยกัน รวมทั้งการที่สมาชิกอาเซียนจะคอยแจ้งแนวนโยบายทางเศรษฐกิจของตนให้ชาติอื่นๆ ได้รับทราบ และจะเฝ้าจับตาดูสัญญาณบ่งบอกถึงลัทธิกีดกันทางการค้าด้วย
ทั้งนี้ อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศประจำมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่าการที่กลุ่มอาเซียนเตรียมจัดตั้งประชาคมในลักษณะเดียวกับสหภาพยุโรปให้ได้ภายในปี 2015 จะเป็นขั้นตอนสำคัญในการป้องกันปัญหาทางเศรษฐกิจในอนาคต เขาบอกว่า “เราควรกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศในกลุ่มอาเซียน และลดการพึ่งพิงตลาดสหรัฐฯ กับยุโรปลง”
ทว่า โคเฮนเห็นว่ารัฐบาลของประเทศต่างๆ กำลังดูแลแต่เศรษฐกิจในประเทศของตนเท่านั้น ข้อเรียกร้องให้มีการร่วมมือกันระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศจึงมีแนวโน้มว่าจะล้มเหลว “บางทีเราอาจต้องรอดูการประชุม จี 20 ที่ลอนดอนในเดือนหน้าว่าจะมีข้อตกลงอะไรที่ประสานความร่วมมือระดับโลกได้หรือไม่”
แม้ว่าบรรดาผู้นำของประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)ทั้ง 10 จะออกคำแถลงร่วมภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมสุดยอดเมื่อวานนี้ (1 มี.ค.) โดยเร่งรัดให้มีการร่วมมือกันมากขึ้น, จัดการปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศ, และต่อสู้กับลัทธิกีดกันทางการค้า ทว่าจากการที่ตลาดสำคัญๆ อย่างสหรัฐฯ และยุโรปกำลังมีความต้องการสินค้าที่ผลิตจากภูมิภาคแห่งนี้ลดฮวบลงมาก อาเซียนจึงดูเหมือนจะยิ่งไร้อำนาจในการปกป้องแรงงานจำนวนหลายล้านคนภายในกลุ่ม ที่กำลังสุ่มเสี่ยงตกงานในไม่ช้า
“พวกเขาสามารถแสดงท่าทีกล้าหาญ แต่พวกเขาคงไม่สามารถร่วมมือกันทำอะไรได้จริงๆ” เป็นความเห็นของ เดวิด โคเฮน นักเศรษฐศาสตร์ผู้รับผิดชอบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำสถาบันวิจัย “แอ็คชัน อีโคโนมิกส์” แห่งสิงคโปร์บอก
“ผมไม่คิดว่าคำแถลงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรในทันที เพราะตอนนี้ปัญหาขยายตัวไปมากทีเดียว”
ทั้งนี้ ภูมิภาคอาเซียนเคยถูกมองว่าเป็นดาวเด่นในขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังทรุดตัว แต่มาตอนนี้ผลกระทบได้รุกคืบเข้ามาจนถึงภูมิภาคแห่งนี้แล้วเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการที่เศรษฐกิจสิงคโปร์ได้เข้าสู่ภาวะถดถอย และยอดการส่งออกในเดือนมกราคมปีนี้ก็ลดลงถึง 35 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่รัฐบาลเริ่มเก็บข้อมูลการส่งออกของประเทศมากว่า 30 ปี
ส่วนไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาค ก็ประสบกับภาวะเศรษฐกิจหดตัวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2008 เช่นกัน โดยนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้กล่าวเตือนในวันอาทิตย์ (1 มี.ค.) ว่า แนวโน้มจะเป็นเช่นเดียวกันในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ด้วย
มาตรการอย่างหนึ่งในแทบไม่กี่อย่างที่เป็นรูปธรรมของกลุ่มอาเซียนในเวลานี้ ก็คือการที่เมื่อเดือนที่แล้วอาเซียนได้ตกลงกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ที่จะขยายกองทุนฉุกเฉินเพื่อปกป้องสกุลเงินแบบพหุภาคี ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 120,000 ล้านดอลลาร์ โดยคาดว่าจะจัดตั้งได้ภายในปีนี้
แต่บริเจต เวลช์ ผู้เชี่ยวชาญแห่งมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ในสหรัฐฯที่มักวิพากษ์วิจารณ์ไทยและชาติอาเซียนในทางลบ แสดงความเห็นว่า แนวทางดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าภูมิภาคอาเซียนยังคงมองวิกฤตการณ์ทางการเงินในครั้งนี้ ด้วยสายตาแบบเดียวกับที่มองวิกฤตการณ์เมื่อปี 1997
“ขั้นแรกคือการพูดคุยเจรจากัน ซึ่งกำลังเกิดขึ้นอยู่ แต่มาตรการที่ออกมาจากที่ประชุมในวันนี้จะส่งผลน้อยมาก และแทบไม่เห็นถึงความเอาจริงเอาจังต่อผลกระทบของเศรษฐกิจต่อภูมิภาคนี้เลย”
เวลช์เสริมว่าสิ่งที่ดูคืบหน้าไปมากเพียงเรื่องเดียวก็คือ การลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เมื่อวันศุกร์(27ก.พ.) ซึ่ง “ก็ยังคงเป็นเรื่องในเชิงสัญลักษณ์และยังขาดสาระสำคัญอยู่มาก”
แต่เมื่อวานนี้อันเป็นวันสุดท้ายของการประชุมระดับผู้นำที่หัวหิน อภิสิทธิ์ก็ได้ระบุถึงเค้าโครงของขั้นตอนต่อไปอีกหลายประเด็นด้วยกัน รวมทั้งการที่สมาชิกอาเซียนจะคอยแจ้งแนวนโยบายทางเศรษฐกิจของตนให้ชาติอื่นๆ ได้รับทราบ และจะเฝ้าจับตาดูสัญญาณบ่งบอกถึงลัทธิกีดกันทางการค้าด้วย
ทั้งนี้ อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศประจำมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่าการที่กลุ่มอาเซียนเตรียมจัดตั้งประชาคมในลักษณะเดียวกับสหภาพยุโรปให้ได้ภายในปี 2015 จะเป็นขั้นตอนสำคัญในการป้องกันปัญหาทางเศรษฐกิจในอนาคต เขาบอกว่า “เราควรกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศในกลุ่มอาเซียน และลดการพึ่งพิงตลาดสหรัฐฯ กับยุโรปลง”
ทว่า โคเฮนเห็นว่ารัฐบาลของประเทศต่างๆ กำลังดูแลแต่เศรษฐกิจในประเทศของตนเท่านั้น ข้อเรียกร้องให้มีการร่วมมือกันระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศจึงมีแนวโน้มว่าจะล้มเหลว “บางทีเราอาจต้องรอดูการประชุม จี 20 ที่ลอนดอนในเดือนหน้าว่าจะมีข้อตกลงอะไรที่ประสานความร่วมมือระดับโลกได้หรือไม่”