ASTV ผู้จัดการรายวัน-สสว. เผยผลการศึกษาเบื้องต้นของ OECD พบอัตราการปล่อยสินเชื่อแก่ SMEs ลดลง ขณะที่หลักเกณฑ์ในการปล่อยสินเชื่อแก่ SMEs เข้มงวดขึ้น โดยธนาคารทั่วโลกมักให้บริการสินเชื่อแก่ SMEs ที่มีเครดิตดีเท่านั้น พร้อมเสนอมาตรการฟื้นฟูกิจการและเร่งแก้ปัญหาสภาพคล่อง ด้วยบริการสินเชื่อสำหรับ SMEs แนะธนาคารตั้งช่องทางพิเศษ และตั้งธนาคารชุมชนช่วยวิสาหกิจขนาดจิ๋ว
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว. ได้เข้าร่วมประชุมกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development) หรือ OECD ที่ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจากเข้าประชุมดังกล่าว ทำให้ทราบว่า ธนาคารและสถาบันการเงิน จะให้บริการสินเชื่อแก่ SMEs ที่ได้รับการจัดลำดับทางการเงินสูงก่อน SMEs ที่ได้รับการจัดลำดับทางการเงินต่ำ เช่น สินเชื่อสำหรับ Blue – Ship SMEs เนื่องจากความเสี่ยงในการไม่ชำระหนี้ของผู้กู้มีสูงขึ้น และแหล่งเงินทุนต่างประเทศลดน้อยลง จึงส่งผลให้ธนาคารในบางประเทศของสมาชิก OECD ลดการให้บริการสินเชื่อ รวมถึงลดการลงทุนโดยกองทุนร่วมทุน
สำหรับมาตรการภาครัฐของเหล่าประเทศสมาชิก OECD ที่ออกมาเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติการเงิน ทั้ง 21 ประเทศนั้น แบ่งได้ 3 ประเภท คือ 1. มาตรการกระตุ้นการบริโภค เช่น นโยบายการลดภาษีนิติบุคคล 2. มาตรการการระดมทุนของธนาคาร เพื่อขยายการให้บริการสินเชื่อสำหรับ SMEs และ 3. มาตรการด้านตลาดแรงงาน เช่น การลดภาษีเงินได้ นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกส่วนใหญ่คาดหวังให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐตกไปสู่กลุ่มธุรกิจยานยนต์ พลังงาน สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และคลัสเตอร์สำคัญต่างๆ ของ SMEs เพื่อจะช่วยเสริมสภาพคล่อง และในบางประเทศก็ได้จัดตั้งศูนย์ Hotline เพื่อให้คำปรึกษาแก่ SMEs โดยเฉพาะ
โดยที่ประชุม OECD เสนอให้ภาครัฐเร่งออกมาตรการเพื่อขจัดปัญหาด้านสภาพคล่องของ SMEs เช่น การลดภาษีและการขยายเวลาการชำระหนี้ รวมถึงส่งเสริมการตั้งธนาคารชุมชนและให้บริการสินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดจิ๋ว นอกจากนี้ ภาครัฐควรพิจารณาสินเชื่อแฟคทอริ่ง เพื่อแก้ปัญหาขาดทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ
ในส่วนของข้อเสนอธนาคารนั้น ที่ประชุม เห็นว่าธนาคารควรจัดตั้งช่องทางพิเศษสำหรับ SMEs (Special Finance Window) และสร้างความร่วมมือกับผู้ให้บริการด้านการพัฒนาธุรกิจเพื่อช่วย SMEs บริหารสภาพคล่อง และเสนอให้ SMEs ร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ สมาคมส่งเสริม SMEs เพื่อยกระดับกิจการตนเองเข้าไปสู่ระบบห่วงโซ่คุณค่าของโลก (Global Value Chain)
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว. ได้เข้าร่วมประชุมกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development) หรือ OECD ที่ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจากเข้าประชุมดังกล่าว ทำให้ทราบว่า ธนาคารและสถาบันการเงิน จะให้บริการสินเชื่อแก่ SMEs ที่ได้รับการจัดลำดับทางการเงินสูงก่อน SMEs ที่ได้รับการจัดลำดับทางการเงินต่ำ เช่น สินเชื่อสำหรับ Blue – Ship SMEs เนื่องจากความเสี่ยงในการไม่ชำระหนี้ของผู้กู้มีสูงขึ้น และแหล่งเงินทุนต่างประเทศลดน้อยลง จึงส่งผลให้ธนาคารในบางประเทศของสมาชิก OECD ลดการให้บริการสินเชื่อ รวมถึงลดการลงทุนโดยกองทุนร่วมทุน
สำหรับมาตรการภาครัฐของเหล่าประเทศสมาชิก OECD ที่ออกมาเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติการเงิน ทั้ง 21 ประเทศนั้น แบ่งได้ 3 ประเภท คือ 1. มาตรการกระตุ้นการบริโภค เช่น นโยบายการลดภาษีนิติบุคคล 2. มาตรการการระดมทุนของธนาคาร เพื่อขยายการให้บริการสินเชื่อสำหรับ SMEs และ 3. มาตรการด้านตลาดแรงงาน เช่น การลดภาษีเงินได้ นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกส่วนใหญ่คาดหวังให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐตกไปสู่กลุ่มธุรกิจยานยนต์ พลังงาน สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และคลัสเตอร์สำคัญต่างๆ ของ SMEs เพื่อจะช่วยเสริมสภาพคล่อง และในบางประเทศก็ได้จัดตั้งศูนย์ Hotline เพื่อให้คำปรึกษาแก่ SMEs โดยเฉพาะ
โดยที่ประชุม OECD เสนอให้ภาครัฐเร่งออกมาตรการเพื่อขจัดปัญหาด้านสภาพคล่องของ SMEs เช่น การลดภาษีและการขยายเวลาการชำระหนี้ รวมถึงส่งเสริมการตั้งธนาคารชุมชนและให้บริการสินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดจิ๋ว นอกจากนี้ ภาครัฐควรพิจารณาสินเชื่อแฟคทอริ่ง เพื่อแก้ปัญหาขาดทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ
ในส่วนของข้อเสนอธนาคารนั้น ที่ประชุม เห็นว่าธนาคารควรจัดตั้งช่องทางพิเศษสำหรับ SMEs (Special Finance Window) และสร้างความร่วมมือกับผู้ให้บริการด้านการพัฒนาธุรกิจเพื่อช่วย SMEs บริหารสภาพคล่อง และเสนอให้ SMEs ร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ สมาคมส่งเสริม SMEs เพื่อยกระดับกิจการตนเองเข้าไปสู่ระบบห่วงโซ่คุณค่าของโลก (Global Value Chain)