เนคเทคเปิดตัวผลวิจัย “มาตรฐานไซส์ไทย” ครั้งแรกในประวัติศาสตร์เพื่อต่อยอด 4 อุตสาหกรรม พบเบื้องต้นคนไทยตัวโตขึ้น ชายสูงใหญ่กว่าในอดีต ขณะที่หญิงไทยไร้เอว หุ่นเป็นทรงกระบอกมากขึ้น แต่พบหน้าอกตู้มเฉลี่ย 36 นิ้ว
วานนี้(25 ก.พ.) ที่โรงแรมเอ็มโพเรียม สวีต สุขุมวิท คุณหญิงกัลยา โสภณพาณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาและเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงานแถลงข่าวเปิดตัว “มาตรฐานไซส์ไทย” ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ “เนคเทค” โดยความร่วมมือของพันธมิตรผู้มีส่วนร่วมหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำนักงานสถิติแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โตโยต้า ไทยวาโก้ เทสโก้โลตัส และธนูลักษณ์ ซึ่งผลที่การวิจัยในครั้งนี้ได้ออกมาคือ ขนาดรูปร่างมาตรฐานของคนไทย ที่จะถูกนำไปต่อยอดในอุตสาหกรรมต่างๆ
คุณหญิงกัลยากล่าวว่า ผลงานวิจัยดังกล่าว ถือเป็นความภาคภูมิใจของเนคเทค สวทช. และกระทรวงวิทย์ฯ เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่มีการจัดเก็บฐานข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้านขนาดของคนไทย ที่จะกลายเป็นมาตรฐานที่ใช้เหมือนกันหมดทั้งประเทศ ซึ่งจะถูกนำไปต่อยอดใน 4 อุตสาหกรรมเป็นเบื้องต้น
“ตื่นเต้นเหมือนกันที่เนคเทค ที่เป็นองค์กรที่ดูเหมือนจะทำงานด้านเทคโนโลยีไอที ไอซีที ในสายตาของคนทั่วไป จะจับงานวิจัยด้านแฟชั่น งานวิจัยชิ้นนี้ที่ได้ออกมาคือมาตรฐานขนาดรูปร่างของคนไทย ในยุคปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงจากเดิมค่อนข้างมาก ถ้าพูดในแง่อุตสาหกรรมแล้ว งานวิจัยชิ้นนี้จะช่วยได้ทั้งในเชิงการลดต้นทุนการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
อย่างในอุตสาหกรรมแฟชั่นจำพวกเสื้อผ้า ที่หลายคนไม่ทราบ ก็คือเมื่อผลิตเสื้อผ้าเซ็ทต่างๆ ออกมานั้น จะมีเสื้อผ้าค้างสต๊อกมากถึง50 เปอร์เซ็นต์ คือขายไม่ได้ เป็นขนาดที่ไม่ค่อยมีคนใส่ ดังนั้นการมีไซส์มาตรฐาน จะเป็นฐานข้อมูลเพื่อที่จะได้ผลิตให้ตรงตามความต้องการ ตามขนาดของคนไทย ไม่ต้องมีค้างสต๊อกให้เปลืองต้นทุน”
อย่างไรก็ตาม คุณหญิงกัลยากล่าวต่ออีกว่า ในส่วนของอุตสาหกรรมด้านยนตรกรรมและเฟอร์นิเจอร์ ข้อมูลไซส์คนไทย จะเป็นข้อมูลให้เขาทราบว่าควรจะออกแบบอย่างไร นุ่มเท่าไหร่ สูงแค่ไหน เพื่อสุขภาพด้านสรีระของคนไทยด้วย และในประเด็นการแพทย์ เราจะได้หาหุ่นมาตรฐาน ว่าใครพอดี ใครผอม และใครอ้วน เพื่อป้องกันแก้ไขรูปร่างและความเสี่ยงของโรคที่จะเกิดตามมา ซึ่งนั่นจะเป็นเรื่องของแพทย์และโรงพยาบาลแต่ละแห่ง
ด้านดร.จุฬาลักษณ์ ตันประเสิรฐ นักวิจัยผู้ริเริ่มโครงการดังกล่าวระบุว่า ได้สำรวจข้อมูลรูปร่างของอาสาสมัครจำนวน 13,442 ราย ด้วยเครื่อง 3D Scanner ที่จะยิงแสงขาวซึ่งไม่เป็นอันตราย มีลักษณะเหมือนแสงนีออน ไปบนร่างของอาสาสมัคร จากนั้นเซ็นเซอร์ 12 ตัวจะประมวลผลโครงสร้างของร่างกายและเชื่อมโยงให้เป็นภาพ 3 มิติด้วยซอฟต์แวร์ Swarm Intelligence เพื่อประมวลผล
ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว เราแบ่งรูปร่างของชายไทยออกเป็น 9 ไซส์ ซึ่งแบ่งโดยรอบอกและรอบเอว คือ ไซส์32 34 36 38 40 42 44 46 และ 48 จะห่างกันไซส์ละ 2 นิ้ว ในขณะที่ผู้หญิงจะแบ่งเป็น 10 ไซส์ โดยวัดจาก อก เอว และสะโพก มีตั้งแต่ 28 30 32 34 36 38 40 42 44 และ 46 โดยขนาดชายไทยมาตรฐานอยู่ที่ไซส์ 40 และรูปร่างผู้หญิงมาตรฐานจะอยู่ที่ไซส์ 36
ดร.จุฬาลักษณ์กล่าวต่ออีกว่า ผลสรุปจากโครงการนี้พบว่า สัดส่วนจากค่าดัชนีมวลกาย BMI ของ ชายไทย ที่มีสัดส่วนปกติมีจำนวน 36.21% จากตัวอย่างอาสาสมัครทั้หมด ท้วมถึงอ้วนมากอยู่ที่ 58.43% และผอม 5.36% ส่วนหญิงไทยที่สัดส่วนปกติอยู่ที่ 42.26% ท้วมถึงอ้วนมากมีจำนวน 48.05% และผอม 9.69%
สัดส่วนผู้ชายโดยเฉลี่ย พบว่า น้ำหนักเท่ากับ 68.9 กก. สูง 169.4 ซม. รอบอก 39.1 นิ้ว รอบเอว 33.5 นิ้ว และสะโพก 37.4 นิ้ว
ค่าเฉลี่ยในผู้หญิงน้ำหนักเท่ากับ 57.4 กก. สูง 156.9 ซม. รอบอก 36 นิ้ว รอบเอว 31.5 นิ้ว และสะโพก38 นิ้ว ซึ่งทำให้สรุปได้ว่า มาตรฐานรูปร่างคนไทยเพิ่มขึ้นทั้งความสูงและน้ำหนัก โดยชายไทยสูงขึ้น 7 ซม. อ้วนขึ้นเกือบ 12 ก.ก. และหญิงไทยสูงขึ้น 5 ซม. และหนักขึ้น 5.5 กก.หากเทียบกับ 25 ปีก่อน
“ผลวิจัยนี้เป็นผลวิจัยสาธารณะ ซึ่งสามารถเข้ามาดูข้อมูลได้ที่ www.sizethailand.org และหวังว่าจากนี้ไป ตามเสื้อผ้าแบรนด์ต่างๆ จะมีการใช้ไทยไซส์ควบคู่ไปกับไซส์ฝรั่งอย่าง UK Size หรือ USA Size เพื่อสร้างความเข้าใจและการสื่อสารที่ตรงกันระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิต และจากนี้ไปจะไม่มีปัญหาความไม่เข้าใจในไซส์ S M L XL ที่แต่ละบริษัทกำหนดเองและไม่เท่ากัน” ดร.จุฬาลักษณ์กล่าว
ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการเนคเทค อธิบายเพิ่มเติมว่า ข้อมูลจากการสำรวจชี้ให้เห็นว่า รอบเอวของผู้หญิงไทยเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เมื่อเทียบกับรอบอกและรอบสะโพก ซึ่งหมายความว่า ผู้หญิงไทยส่วนใหญ่รูปร่างเปลี่ยนไป กล่าวคือ ไม่เพียงแต่ผู้หญิงมีรูปร่างใหญ่ขึ้นแล้ว ยังเป็นทรงตรงมากขึ้น คือเอวไม่คอดเหมือนในอดีต
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีผู้ซักถามถึงกรณีการทำไซส์รองเท้ามาตรฐานของคนไทยหรือไม่ ซึ่งคุณหญิงกัลยากล่าวว่า เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทุกวันนี้ความเข้าใจในขนาดรองเท้ายี่ห้อนำเข้าค่อนข้างสับสน เพราะมีการแจ้งไว้ข้างกล่องด้วยกลุ่มตัวเลขหลานชนิด ทั้งที่เป็นมาตรฐานของยุโรป อังกฤษ และอเมริกา ทำให้คนไทยค่อนข้างสับสนเวลาซื้อ
“ตอนนี้เรามีนักวิจัย มีองค์ความรู้ มีประสบการณ์ และมีบุคลากรพร้อม ขาดแต่เครื่องแสกนเท้าแบบ 3 มิติที่จะเป็นเครื่องแสกนเฉพาะ ซึ่งหากบริษัทรองเท้าที่อยากให้เราหาข้อมูลวิจัยเกี่ยวกับไซส์เท้าคนไทยเพื่อนำข้อมูลไปต่อยอด ก็เชิญชวนให้ท่านสนับสนุนงบด้านเครื่องแสกน เพราะอย่างอื่นเราพร้อมหมดแล้วค่ะ” คุณหญิงกัลยากล่าวทิ้งท้าย
วานนี้(25 ก.พ.) ที่โรงแรมเอ็มโพเรียม สวีต สุขุมวิท คุณหญิงกัลยา โสภณพาณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาและเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงานแถลงข่าวเปิดตัว “มาตรฐานไซส์ไทย” ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ “เนคเทค” โดยความร่วมมือของพันธมิตรผู้มีส่วนร่วมหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำนักงานสถิติแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โตโยต้า ไทยวาโก้ เทสโก้โลตัส และธนูลักษณ์ ซึ่งผลที่การวิจัยในครั้งนี้ได้ออกมาคือ ขนาดรูปร่างมาตรฐานของคนไทย ที่จะถูกนำไปต่อยอดในอุตสาหกรรมต่างๆ
คุณหญิงกัลยากล่าวว่า ผลงานวิจัยดังกล่าว ถือเป็นความภาคภูมิใจของเนคเทค สวทช. และกระทรวงวิทย์ฯ เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่มีการจัดเก็บฐานข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้านขนาดของคนไทย ที่จะกลายเป็นมาตรฐานที่ใช้เหมือนกันหมดทั้งประเทศ ซึ่งจะถูกนำไปต่อยอดใน 4 อุตสาหกรรมเป็นเบื้องต้น
“ตื่นเต้นเหมือนกันที่เนคเทค ที่เป็นองค์กรที่ดูเหมือนจะทำงานด้านเทคโนโลยีไอที ไอซีที ในสายตาของคนทั่วไป จะจับงานวิจัยด้านแฟชั่น งานวิจัยชิ้นนี้ที่ได้ออกมาคือมาตรฐานขนาดรูปร่างของคนไทย ในยุคปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงจากเดิมค่อนข้างมาก ถ้าพูดในแง่อุตสาหกรรมแล้ว งานวิจัยชิ้นนี้จะช่วยได้ทั้งในเชิงการลดต้นทุนการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
อย่างในอุตสาหกรรมแฟชั่นจำพวกเสื้อผ้า ที่หลายคนไม่ทราบ ก็คือเมื่อผลิตเสื้อผ้าเซ็ทต่างๆ ออกมานั้น จะมีเสื้อผ้าค้างสต๊อกมากถึง50 เปอร์เซ็นต์ คือขายไม่ได้ เป็นขนาดที่ไม่ค่อยมีคนใส่ ดังนั้นการมีไซส์มาตรฐาน จะเป็นฐานข้อมูลเพื่อที่จะได้ผลิตให้ตรงตามความต้องการ ตามขนาดของคนไทย ไม่ต้องมีค้างสต๊อกให้เปลืองต้นทุน”
อย่างไรก็ตาม คุณหญิงกัลยากล่าวต่ออีกว่า ในส่วนของอุตสาหกรรมด้านยนตรกรรมและเฟอร์นิเจอร์ ข้อมูลไซส์คนไทย จะเป็นข้อมูลให้เขาทราบว่าควรจะออกแบบอย่างไร นุ่มเท่าไหร่ สูงแค่ไหน เพื่อสุขภาพด้านสรีระของคนไทยด้วย และในประเด็นการแพทย์ เราจะได้หาหุ่นมาตรฐาน ว่าใครพอดี ใครผอม และใครอ้วน เพื่อป้องกันแก้ไขรูปร่างและความเสี่ยงของโรคที่จะเกิดตามมา ซึ่งนั่นจะเป็นเรื่องของแพทย์และโรงพยาบาลแต่ละแห่ง
ด้านดร.จุฬาลักษณ์ ตันประเสิรฐ นักวิจัยผู้ริเริ่มโครงการดังกล่าวระบุว่า ได้สำรวจข้อมูลรูปร่างของอาสาสมัครจำนวน 13,442 ราย ด้วยเครื่อง 3D Scanner ที่จะยิงแสงขาวซึ่งไม่เป็นอันตราย มีลักษณะเหมือนแสงนีออน ไปบนร่างของอาสาสมัคร จากนั้นเซ็นเซอร์ 12 ตัวจะประมวลผลโครงสร้างของร่างกายและเชื่อมโยงให้เป็นภาพ 3 มิติด้วยซอฟต์แวร์ Swarm Intelligence เพื่อประมวลผล
ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว เราแบ่งรูปร่างของชายไทยออกเป็น 9 ไซส์ ซึ่งแบ่งโดยรอบอกและรอบเอว คือ ไซส์32 34 36 38 40 42 44 46 และ 48 จะห่างกันไซส์ละ 2 นิ้ว ในขณะที่ผู้หญิงจะแบ่งเป็น 10 ไซส์ โดยวัดจาก อก เอว และสะโพก มีตั้งแต่ 28 30 32 34 36 38 40 42 44 และ 46 โดยขนาดชายไทยมาตรฐานอยู่ที่ไซส์ 40 และรูปร่างผู้หญิงมาตรฐานจะอยู่ที่ไซส์ 36
ดร.จุฬาลักษณ์กล่าวต่ออีกว่า ผลสรุปจากโครงการนี้พบว่า สัดส่วนจากค่าดัชนีมวลกาย BMI ของ ชายไทย ที่มีสัดส่วนปกติมีจำนวน 36.21% จากตัวอย่างอาสาสมัครทั้หมด ท้วมถึงอ้วนมากอยู่ที่ 58.43% และผอม 5.36% ส่วนหญิงไทยที่สัดส่วนปกติอยู่ที่ 42.26% ท้วมถึงอ้วนมากมีจำนวน 48.05% และผอม 9.69%
สัดส่วนผู้ชายโดยเฉลี่ย พบว่า น้ำหนักเท่ากับ 68.9 กก. สูง 169.4 ซม. รอบอก 39.1 นิ้ว รอบเอว 33.5 นิ้ว และสะโพก 37.4 นิ้ว
ค่าเฉลี่ยในผู้หญิงน้ำหนักเท่ากับ 57.4 กก. สูง 156.9 ซม. รอบอก 36 นิ้ว รอบเอว 31.5 นิ้ว และสะโพก38 นิ้ว ซึ่งทำให้สรุปได้ว่า มาตรฐานรูปร่างคนไทยเพิ่มขึ้นทั้งความสูงและน้ำหนัก โดยชายไทยสูงขึ้น 7 ซม. อ้วนขึ้นเกือบ 12 ก.ก. และหญิงไทยสูงขึ้น 5 ซม. และหนักขึ้น 5.5 กก.หากเทียบกับ 25 ปีก่อน
“ผลวิจัยนี้เป็นผลวิจัยสาธารณะ ซึ่งสามารถเข้ามาดูข้อมูลได้ที่ www.sizethailand.org และหวังว่าจากนี้ไป ตามเสื้อผ้าแบรนด์ต่างๆ จะมีการใช้ไทยไซส์ควบคู่ไปกับไซส์ฝรั่งอย่าง UK Size หรือ USA Size เพื่อสร้างความเข้าใจและการสื่อสารที่ตรงกันระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิต และจากนี้ไปจะไม่มีปัญหาความไม่เข้าใจในไซส์ S M L XL ที่แต่ละบริษัทกำหนดเองและไม่เท่ากัน” ดร.จุฬาลักษณ์กล่าว
ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการเนคเทค อธิบายเพิ่มเติมว่า ข้อมูลจากการสำรวจชี้ให้เห็นว่า รอบเอวของผู้หญิงไทยเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เมื่อเทียบกับรอบอกและรอบสะโพก ซึ่งหมายความว่า ผู้หญิงไทยส่วนใหญ่รูปร่างเปลี่ยนไป กล่าวคือ ไม่เพียงแต่ผู้หญิงมีรูปร่างใหญ่ขึ้นแล้ว ยังเป็นทรงตรงมากขึ้น คือเอวไม่คอดเหมือนในอดีต
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีผู้ซักถามถึงกรณีการทำไซส์รองเท้ามาตรฐานของคนไทยหรือไม่ ซึ่งคุณหญิงกัลยากล่าวว่า เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทุกวันนี้ความเข้าใจในขนาดรองเท้ายี่ห้อนำเข้าค่อนข้างสับสน เพราะมีการแจ้งไว้ข้างกล่องด้วยกลุ่มตัวเลขหลานชนิด ทั้งที่เป็นมาตรฐานของยุโรป อังกฤษ และอเมริกา ทำให้คนไทยค่อนข้างสับสนเวลาซื้อ
“ตอนนี้เรามีนักวิจัย มีองค์ความรู้ มีประสบการณ์ และมีบุคลากรพร้อม ขาดแต่เครื่องแสกนเท้าแบบ 3 มิติที่จะเป็นเครื่องแสกนเฉพาะ ซึ่งหากบริษัทรองเท้าที่อยากให้เราหาข้อมูลวิจัยเกี่ยวกับไซส์เท้าคนไทยเพื่อนำข้อมูลไปต่อยอด ก็เชิญชวนให้ท่านสนับสนุนงบด้านเครื่องแสกน เพราะอย่างอื่นเราพร้อมหมดแล้วค่ะ” คุณหญิงกัลยากล่าวทิ้งท้าย