เอเอฟพี/เอเยนซีส์ – ฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ใช้ภารกิจในการเดินทางเยือนต่างประเทศครั้งแรก ประเดิมแนวทางการทูตแบบอาศัยชื่อเสียงความเป็นคนดังของเธอ เพื่อฟื้นคืนฐานะของสหรัฐฯในเวทีโลก
จากการเลือกเยือนประเทศในเอเชีย ก่อนหน้ายุโรปและตะวันออกกลางครั้งนี้ คลินตันทั้งก้าวเข้าไปจับมือกับพวกมหาอำนาจผงาดขึ้นใหม่อย่างจีนและอินโดนีเซีย ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาพันธมิตรเก่าอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ให้ยังคงยืนอยู่เคียงข้างวอชิงตัน
บ่อยครั้งที่แสดงท่าทีตรงไปตรงกันเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของตนเอง คลินตันประกาศว่า จะไม่ยอมให้ความห่วงใยต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนของสหรัฐฯ มาเป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือกับจีนในการแก้วิกฤตทางการเงิน, ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, หรือการแพร่กระจายของอาวุธนิวเคลียร์
คำพูดของเธอเช่นนี้เมื่อคืนวันศุกร์(20) เป็นชนวนทำให้เกิดการประท้วงในทันทีจากพวกนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน
เธอยังพูดดังๆ แสดงความกังวลว่าอาจจะเกิดการต่อสู้ชิงอำนาจกันอยู่ในเกาหลีเหนือจนทำให้การเจรจาพหุภาคีเพื่อปลดอาวุธนิวเคลียร์ของโสมแดงต้องชะงักไป ตลอดจนเรื่องที่พม่าดูเหมือนไม่แยแสอะไรกับการคว่ำบาตรของนานาประเทศ
คำกล่าวเหล่านี้ล้วนบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ตามที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาได้สั่งทบทวนนโยบายต่อประเทศเหล่านี้นั่นเอง
คลินตันยังยอมรับด้วยว่าเธอพยายามจะเลิกทะเลาะกับศัตรูของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นอิหร่านหรือประเทศอื่นๆ โดยจะยื่นมือแห่งไมตรีออกไปเพื่อให้ถึงประชาชนในประเทศเหล่านั้น เพราะเธอเชื่อว่าประชาชนจะเป็นคนผลักดันให้รัฐบาลยอมเปลี่ยนแปลงท่าทีในที่สุด
“เป็นเรื่องชัดเจนมากว่าบางเรื่องที่เราเต็มใจที่จะเจรจากับประเทศเหล่านี้กลับทำให้พวกเขาเข้าใจผิดทิศผิดทางไป” เธอบอกในระหว่างเยือนกรุงโซล
“แต่ตอนนี้เป็นยุคสมัยที่ความเห็นของสาธารณชนมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของรัฐบาลอย่างมาก แม้แต่ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการอำนาจนิยมก็เช่นเดียวกัน ดิฉันจึงไม่ได้สนใจเพียงแค่การพูดคุยกับรัฐบาลเท่านั้น”
เธอบอกว่าในยุคที่ผู้คนสามารถเชื่อมเครือข่ายกับคนอื่นๆ ทั่วโลกได้ ไม่ว่าใครก็ตามย่อมสามารถมีสร้างอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของรัฐบาลได้
ยิ่งกว่านั้น เธอยังยอมรับว่าความเป็นคนดังระดับโลกเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งที่เธอนำมาใช้สร้างการสนับสนุนจากมหาชนด้วย ด้วยเหตุนี้จึงมีคนหลายพันออกมาต้อนรับเธอในระหว่างเดินทางไปเยี่ยมย่านชุมชนแออัดแห่งหนึ่งในจาการ์ตาในวันพฤหัสบดี (19) ซึ่งนักการเมืองผู้คร่ำหวอดอย่างเธอก็รู้ดีว่าจะทำอย่างไรต่อหน้าฝูงชน
อย่างไรก็ตาม มีคนจำนวนมากในอินโดนีเซีย ที่ยังไม่พอใจกับท่าทีของสหรัฐฯที่เข้าข้างอิสราเอล และคิดว่านโยบายของสหรัฐฯอาจจะไม่ได้เปลี่ยนแปลง ซึ่งนี่ก็สะท้อนถึงอารมณ์ความรู้สึกของโลกอาหรับและชาวมุสลิมทั่วโลกด้วย
ในระหว่างเยือนมหาวิทยาลัยในโตเกียวและโซล คลินตันได้สร้างความประทับใจและแรงบันดาลใจให้กับผู้ฟังเมื่อเธอเล่าถึงตัวเองทั้งในแง่ของการทำงานและเรื่องชีวิตส่วนตัว รวมไปถึงอดีตประธานาธิบดีบิลล์ คลินตัน และเชลซี ลูกสาวของเธอ
ส่วนที่จีน ซึ่งเป็นสถานที่สุดท้ายของการเยือนต่างประเทศรอบนี้ คลินตันยอมรับว่าสหรัฐฯ ต้องการขอความช่วยเหลือจากจีนทั้งในเรื่องการแก้วิกฤตการณ์การเงินโลก การต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการตรวจสอบการแพร่ขยายของอาวุธนิวเคลียร์ และเธอยอมรับว่าจีนนั้นมีอิทธิพลในปากีสถานและอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสงครามต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ
คลินตันบอกว่าเธอตั้งใจที่จะใช้แนวทางแบบเปิดเผยตรงไปตรงมาและอ่อนน้อมถ่อมตน โดยมีเป้าหมายที่จะ “ดึงความร่วมมือจากประเทศอื่นๆ โดยอยู่บนฐานของความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในที่ต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรึกษาหารือกันอย่างรอบคอบเกี่ยวกับทิศทางที่เราจะก้าวเดินกันต่อไป และหาหนทางในการเดินไปยังจุดหมายนั้น”
จากการเลือกเยือนประเทศในเอเชีย ก่อนหน้ายุโรปและตะวันออกกลางครั้งนี้ คลินตันทั้งก้าวเข้าไปจับมือกับพวกมหาอำนาจผงาดขึ้นใหม่อย่างจีนและอินโดนีเซีย ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาพันธมิตรเก่าอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ให้ยังคงยืนอยู่เคียงข้างวอชิงตัน
บ่อยครั้งที่แสดงท่าทีตรงไปตรงกันเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของตนเอง คลินตันประกาศว่า จะไม่ยอมให้ความห่วงใยต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนของสหรัฐฯ มาเป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือกับจีนในการแก้วิกฤตทางการเงิน, ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, หรือการแพร่กระจายของอาวุธนิวเคลียร์
คำพูดของเธอเช่นนี้เมื่อคืนวันศุกร์(20) เป็นชนวนทำให้เกิดการประท้วงในทันทีจากพวกนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน
เธอยังพูดดังๆ แสดงความกังวลว่าอาจจะเกิดการต่อสู้ชิงอำนาจกันอยู่ในเกาหลีเหนือจนทำให้การเจรจาพหุภาคีเพื่อปลดอาวุธนิวเคลียร์ของโสมแดงต้องชะงักไป ตลอดจนเรื่องที่พม่าดูเหมือนไม่แยแสอะไรกับการคว่ำบาตรของนานาประเทศ
คำกล่าวเหล่านี้ล้วนบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ตามที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาได้สั่งทบทวนนโยบายต่อประเทศเหล่านี้นั่นเอง
คลินตันยังยอมรับด้วยว่าเธอพยายามจะเลิกทะเลาะกับศัตรูของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นอิหร่านหรือประเทศอื่นๆ โดยจะยื่นมือแห่งไมตรีออกไปเพื่อให้ถึงประชาชนในประเทศเหล่านั้น เพราะเธอเชื่อว่าประชาชนจะเป็นคนผลักดันให้รัฐบาลยอมเปลี่ยนแปลงท่าทีในที่สุด
“เป็นเรื่องชัดเจนมากว่าบางเรื่องที่เราเต็มใจที่จะเจรจากับประเทศเหล่านี้กลับทำให้พวกเขาเข้าใจผิดทิศผิดทางไป” เธอบอกในระหว่างเยือนกรุงโซล
“แต่ตอนนี้เป็นยุคสมัยที่ความเห็นของสาธารณชนมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของรัฐบาลอย่างมาก แม้แต่ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการอำนาจนิยมก็เช่นเดียวกัน ดิฉันจึงไม่ได้สนใจเพียงแค่การพูดคุยกับรัฐบาลเท่านั้น”
เธอบอกว่าในยุคที่ผู้คนสามารถเชื่อมเครือข่ายกับคนอื่นๆ ทั่วโลกได้ ไม่ว่าใครก็ตามย่อมสามารถมีสร้างอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของรัฐบาลได้
ยิ่งกว่านั้น เธอยังยอมรับว่าความเป็นคนดังระดับโลกเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งที่เธอนำมาใช้สร้างการสนับสนุนจากมหาชนด้วย ด้วยเหตุนี้จึงมีคนหลายพันออกมาต้อนรับเธอในระหว่างเดินทางไปเยี่ยมย่านชุมชนแออัดแห่งหนึ่งในจาการ์ตาในวันพฤหัสบดี (19) ซึ่งนักการเมืองผู้คร่ำหวอดอย่างเธอก็รู้ดีว่าจะทำอย่างไรต่อหน้าฝูงชน
อย่างไรก็ตาม มีคนจำนวนมากในอินโดนีเซีย ที่ยังไม่พอใจกับท่าทีของสหรัฐฯที่เข้าข้างอิสราเอล และคิดว่านโยบายของสหรัฐฯอาจจะไม่ได้เปลี่ยนแปลง ซึ่งนี่ก็สะท้อนถึงอารมณ์ความรู้สึกของโลกอาหรับและชาวมุสลิมทั่วโลกด้วย
ในระหว่างเยือนมหาวิทยาลัยในโตเกียวและโซล คลินตันได้สร้างความประทับใจและแรงบันดาลใจให้กับผู้ฟังเมื่อเธอเล่าถึงตัวเองทั้งในแง่ของการทำงานและเรื่องชีวิตส่วนตัว รวมไปถึงอดีตประธานาธิบดีบิลล์ คลินตัน และเชลซี ลูกสาวของเธอ
ส่วนที่จีน ซึ่งเป็นสถานที่สุดท้ายของการเยือนต่างประเทศรอบนี้ คลินตันยอมรับว่าสหรัฐฯ ต้องการขอความช่วยเหลือจากจีนทั้งในเรื่องการแก้วิกฤตการณ์การเงินโลก การต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการตรวจสอบการแพร่ขยายของอาวุธนิวเคลียร์ และเธอยอมรับว่าจีนนั้นมีอิทธิพลในปากีสถานและอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสงครามต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ
คลินตันบอกว่าเธอตั้งใจที่จะใช้แนวทางแบบเปิดเผยตรงไปตรงมาและอ่อนน้อมถ่อมตน โดยมีเป้าหมายที่จะ “ดึงความร่วมมือจากประเทศอื่นๆ โดยอยู่บนฐานของความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในที่ต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรึกษาหารือกันอย่างรอบคอบเกี่ยวกับทิศทางที่เราจะก้าวเดินกันต่อไป และหาหนทางในการเดินไปยังจุดหมายนั้น”