ตอนที่ 1
ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ – จีนเดินหน้าเปิดเส้นทางเชื่อมอาเซียนต่อเนื่อง วางแผนปรับถนน-ทำทางรถไฟจากคุนหมิง – เต๋อหง – รุ่ยลี่ ทะลุพม่า เปิดทางออกสู่ทะเลให้ 5 มณฑลตะวันตกเฉียงใต้เพิ่มอีกทางนอกเหนือจากไทย และเวียดนาม รุกเข้าทำเขตเศรษฐกิจร่วม “เจียก้าว – มูเซ” หลังปลุกปั้นศูนย์กลางการค้าหยก-อัญมณีจากพม่าสำเร็จ
จากการที่คณะผู้แทนจากจังหวัดตากนำโดยนายสาโรช แสงอรุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฯ , นายปณิธิ ตั้งผาติ ประธานประชาคมตาก/ที่ปรึกษาหอการค้าฯตาก , นายบรรพต ก่อเกียรติเจริญ ประธานหอฯตาก ,นางสาวพัชรี พงษ์พิทักษฺ พาณิชย์จังหวัดตาก , นายปิยะ เคนขยัน ท่องเที่ยวและกีฬา ตาก , นางรัตนา รักการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ฯลฯ ได้เดินทางเยือนเขตปกครองตนเองชนชาติไต-จิงโพ่ แห่งเต๋อหง มณฑลหยุนหนัน สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเข้าร่วมงานแสดงสินค้าพม่า-จีน ที่เขตเศรษฐกิจพิเศษมูเซ เขตเศรษฐกิจพิเศษที่ 1 ประเทศพม่า ระหว่าง 14-18 ธันวาคม 2551 ซึ่งมีผู้ประกอบการทั้งพม่า จีน อินเดีย ฯลฯ เข้าร่วมเกือบ 400 รายนั้น
พบว่า ทางการจีนได้เดินหน้าแผนพัฒนาพื้นที่ชายแดนที่ติดกับพม่า เพื่อเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลให้กับหยุนหนัน และ 4 มณฑลใกล้เคียงที่เรียกว่า “ซีหนาน” ผ่านพม่าอีกเส้นทางหนึ่ง นอกจากการผลักดันโครงการพัฒนาถนนคุน-มั่ง กงลู่ (คุนหมิง-กรุงเทพฯ ผ่านถนน R3a และ R3b) ตลอดจนการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำโขงตอนบน ที่ 4 ชาติภาคี (ไทย พม่า ลาว จีน) ลงนามเปิดใช้ร่วมกันตั้งแต่ปี 2542 รวมถึงเส้นทางถนน-ทางรถไฟจีน – เวียดนาม ผ่านชายแดนเหอโข่ว ทะเลท่าเรือไฮฟอง ของเวียดนาม
ชู เฉี่ยวหยาง อธิบดีกรมการค้าชายแดน มณฑลหยุนหนัน สป.จีน กล่าวระหว่างร่วมเปิดงานแสดงสินค้าพม่า-จีน 2008 เมื่อ 17 ธ.ค.51 ว่า รัฐบาล สป.จีน ยินดีต้อนรับพม่า ในการร่วมมือพัฒนาอุตสาหกรรมร่วมกันในฐานะเพื่อน ทั้งด้านพลังงาน เหมืองแร่ การเกษตร ป่าไม้ รวมถึงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว และหวังว่าจะมีนักลงทุนพม่า เข้ามาร่วมลงทุนพัฒนาพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของจีนในอนาคต
เขาบอกว่า ระยะที่ผ่านมาการค้าระหว่างจีน-พม่าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากปี 2006 มีมูลค่าเกิดขึ้น 1.46 พันล้านดอลลาร์ฯ , ปี 2007 มีมูลค่า 2.057 พันล้านดอลาร์ และเฉพาะเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2008 ก็มีมูลค่าเกิดขึ้นแล้ว 2.138 พันล้านดอลลาร์ฯ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 30%ต่อปี แต่เชื่อว่าตัวเลขที่แท้จริงจะมากกว่านี้ไม่น้อยกว่า 60% เนื่องจากยอดการค้าที่เข้าสู่ระบบมีเพียงไม่เกิน 40%เท่านั้น
ส่วนการค้าระหว่างหยุนหนัน – พม่า ผ่านชายแดนรุ่ยลี่ ก็ขยายตัวเช่นกันจากปี 2004 มีมูลค่าเพียง 350 ล้านดอลลาร์ฯ เพิ่มเป็น 500 ล้านดอลาร์ในปี 2005 และ 800 ล้านดอลลาร์ฯในปี 2006
“ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้เศรษฐกิจของเราเติบโตอย่างแข็งแรง และภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง จะทำให้งานแสดงสินค้าพม่า-จีน พัฒนาไปสู่ระดับนานาชาติได้ รวมถึงสามารถดึงดูดนักลงทุนเข้ามามากขึ้นด้วย”
Yang Guosheng ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการต่างประเทศ เขตปกครองตนเองชนชาติไต-จิงโพ่ แห่งเต๋อหง ที่ได้รับมอบหมายจากทางการเต๋อหง ในการดูแลคณะจากจังหวัดตากตลอดทั้งทริป อธิบายว่า ตามนโยบายของจีน ภายใน 5-10 ปีต่อจากนี้ จะพัฒนาถนนไฮเวย์ จากคุนหมิง – เต๋อหง – รุ่ยลี่ (ชายแดนจีน-พม่า) รวมถึงเส้นทางในเขตพม่าตั้งแต่มูเซ เขตเศรษฐกิจพิเศษที่ 1 – มัณฑะเลย์ เมืองอันดับ 2 ของพม่า – ร่างกุ้ง และระยะต่อไปก็จะก่อสร้างเส้นทางรถไฟตามแนวถนนนี้ด้วย
ทั้งนี้ จะเชื่อมต่อเข้ากับถนนตามแนวเศรษฐกิจ East-West Economic Corridor ที่กลุ่มประเทศความร่วมมือลุ่มแม่น้ำอิระวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง รวมถึงBIMSTEC เห็นร่วมกันว่าจะพัฒนาขึ้นตั้งแต่ชายแดนพม่า-อินเดีย – อ.แม่สอด จ.ตาก – มุกดาหาร – สปป.ลาว - ท่าเรือดานัง ของเวียดนาม
ขณะนี้สภาพถนนในพม่ายังไม่ได้รับการพัฒนา การขนส่งสินค้าจากชายแดนจีน – มัณฑะเลย์ ต้องใช้เวลามากถึง 14 ชั่วโมง และต้องใช้เวลาอีก 16 ชั่วโมง จึงจะถึงร่างกุ้ง แต่ถ้าแผนพัฒนาเส้นทางคมนาคมดังกล่าวสำเร็จ จะทำให้สินค้าจีนสามารถส่งเข้าไปจำหน่ายในพม่าได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงมากขึ้น รวมทั้งมีช่องทางค้าขายกับกลุ่มอาเซียนด้วย
ตั้งแต่ปี 1996 ที่ผ่านมา จีน – พม่า ก็ได้บรรลุข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนคู่แฝดขึ้นคือ เขตเศรษฐกิจพิเศษเจียก้าว เขตรุ่ยลี่ เต๋อหง และเขตเศรษฐกิจพิเศษมูเซ ของพม่า เพื่อร่วมมือพัฒนาการค้า-การลงทุนระหว่างกัน โดยจนถึงขณะนี้เขตฯเจียก้าว มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้ง เขตพาณิชย์กรรม- ศูนย์แสดงสินค้า – ร้านค้าปลอดภาษีตามแนวถนนจีนพม่า (จงเหมี่ยน เจี่ย) ทำให้ปริมาณการค้าชายแดนผ่านเจียก้าว เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจนล่าสุดคิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของมูลค่าการค้าระหว่างหยุนหนัน กับพม่า
ขณะที่ในส่วนของพม่า ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ นอกจากการตั้งจุดเช็คพอยท์สินค้าเข้า – ออก ที่ขยายตัวต่อเนื่อง ดังนั้นทางการจีนจึงเสนอต่อรัฐบาลพม่าว่า หากพม่าไม่พร้อมที่จะพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษมูเซ จีนก็พร้อมที่จะเข้าไปดำเนินการในลักษณะการเช่าพื้นที่ระยะยาว เช่นเดียวกับที่ดำเนินการกับพรมแดนด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น สปป.ลาว หรือเวียดนาม เพื่อให้สอดรับกับแผนพัฒนาโครงข่ายคมนาคมด้านนี้
“อนาคตเต๋อหง จะเป็นจุดผ่านแดนระหว่างประเทศระดับชาติที่สำคัญของหยุนหนัน และ สป.จีน แน่นอน ซึ่งชณะนี้ก็มีผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกมากว่า 554 ราย เป็นทุนต่างประเทศแล้ว 33 ราย” เมิ้ง ตี้กวง ผู้ว่าฯเขตปกครองตนเองชนชาติไต-จิงโพ่ แห่งเต๋อหง มณฑลหยุนหนัน สป.จีน กล่าวย้ำ
สำหรับความเคลื่อนไหวของจีน ที่พยายามเปิดเส้นทางเชื่อมโยง “ซีหนาน” กับอาเซียน รวมถึงตลาดโลก ผ่านพม่านี้ ย่อมจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม การค้า การลงทุน ตามแนวเส้นทาง เช่นเดียวกับถนน R3a – R3b จากจีน – ลาวและพม่า – ไทย เช่นกัน
นั่นหมายถึง ไทย เองก็ต้องเตรียมแผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้
ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ – จีนเดินหน้าเปิดเส้นทางเชื่อมอาเซียนต่อเนื่อง วางแผนปรับถนน-ทำทางรถไฟจากคุนหมิง – เต๋อหง – รุ่ยลี่ ทะลุพม่า เปิดทางออกสู่ทะเลให้ 5 มณฑลตะวันตกเฉียงใต้เพิ่มอีกทางนอกเหนือจากไทย และเวียดนาม รุกเข้าทำเขตเศรษฐกิจร่วม “เจียก้าว – มูเซ” หลังปลุกปั้นศูนย์กลางการค้าหยก-อัญมณีจากพม่าสำเร็จ
จากการที่คณะผู้แทนจากจังหวัดตากนำโดยนายสาโรช แสงอรุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฯ , นายปณิธิ ตั้งผาติ ประธานประชาคมตาก/ที่ปรึกษาหอการค้าฯตาก , นายบรรพต ก่อเกียรติเจริญ ประธานหอฯตาก ,นางสาวพัชรี พงษ์พิทักษฺ พาณิชย์จังหวัดตาก , นายปิยะ เคนขยัน ท่องเที่ยวและกีฬา ตาก , นางรัตนา รักการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ฯลฯ ได้เดินทางเยือนเขตปกครองตนเองชนชาติไต-จิงโพ่ แห่งเต๋อหง มณฑลหยุนหนัน สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเข้าร่วมงานแสดงสินค้าพม่า-จีน ที่เขตเศรษฐกิจพิเศษมูเซ เขตเศรษฐกิจพิเศษที่ 1 ประเทศพม่า ระหว่าง 14-18 ธันวาคม 2551 ซึ่งมีผู้ประกอบการทั้งพม่า จีน อินเดีย ฯลฯ เข้าร่วมเกือบ 400 รายนั้น
พบว่า ทางการจีนได้เดินหน้าแผนพัฒนาพื้นที่ชายแดนที่ติดกับพม่า เพื่อเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลให้กับหยุนหนัน และ 4 มณฑลใกล้เคียงที่เรียกว่า “ซีหนาน” ผ่านพม่าอีกเส้นทางหนึ่ง นอกจากการผลักดันโครงการพัฒนาถนนคุน-มั่ง กงลู่ (คุนหมิง-กรุงเทพฯ ผ่านถนน R3a และ R3b) ตลอดจนการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำโขงตอนบน ที่ 4 ชาติภาคี (ไทย พม่า ลาว จีน) ลงนามเปิดใช้ร่วมกันตั้งแต่ปี 2542 รวมถึงเส้นทางถนน-ทางรถไฟจีน – เวียดนาม ผ่านชายแดนเหอโข่ว ทะเลท่าเรือไฮฟอง ของเวียดนาม
ชู เฉี่ยวหยาง อธิบดีกรมการค้าชายแดน มณฑลหยุนหนัน สป.จีน กล่าวระหว่างร่วมเปิดงานแสดงสินค้าพม่า-จีน 2008 เมื่อ 17 ธ.ค.51 ว่า รัฐบาล สป.จีน ยินดีต้อนรับพม่า ในการร่วมมือพัฒนาอุตสาหกรรมร่วมกันในฐานะเพื่อน ทั้งด้านพลังงาน เหมืองแร่ การเกษตร ป่าไม้ รวมถึงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว และหวังว่าจะมีนักลงทุนพม่า เข้ามาร่วมลงทุนพัฒนาพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของจีนในอนาคต
เขาบอกว่า ระยะที่ผ่านมาการค้าระหว่างจีน-พม่าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากปี 2006 มีมูลค่าเกิดขึ้น 1.46 พันล้านดอลลาร์ฯ , ปี 2007 มีมูลค่า 2.057 พันล้านดอลาร์ และเฉพาะเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2008 ก็มีมูลค่าเกิดขึ้นแล้ว 2.138 พันล้านดอลลาร์ฯ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 30%ต่อปี แต่เชื่อว่าตัวเลขที่แท้จริงจะมากกว่านี้ไม่น้อยกว่า 60% เนื่องจากยอดการค้าที่เข้าสู่ระบบมีเพียงไม่เกิน 40%เท่านั้น
ส่วนการค้าระหว่างหยุนหนัน – พม่า ผ่านชายแดนรุ่ยลี่ ก็ขยายตัวเช่นกันจากปี 2004 มีมูลค่าเพียง 350 ล้านดอลลาร์ฯ เพิ่มเป็น 500 ล้านดอลาร์ในปี 2005 และ 800 ล้านดอลลาร์ฯในปี 2006
“ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้เศรษฐกิจของเราเติบโตอย่างแข็งแรง และภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง จะทำให้งานแสดงสินค้าพม่า-จีน พัฒนาไปสู่ระดับนานาชาติได้ รวมถึงสามารถดึงดูดนักลงทุนเข้ามามากขึ้นด้วย”
Yang Guosheng ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการต่างประเทศ เขตปกครองตนเองชนชาติไต-จิงโพ่ แห่งเต๋อหง ที่ได้รับมอบหมายจากทางการเต๋อหง ในการดูแลคณะจากจังหวัดตากตลอดทั้งทริป อธิบายว่า ตามนโยบายของจีน ภายใน 5-10 ปีต่อจากนี้ จะพัฒนาถนนไฮเวย์ จากคุนหมิง – เต๋อหง – รุ่ยลี่ (ชายแดนจีน-พม่า) รวมถึงเส้นทางในเขตพม่าตั้งแต่มูเซ เขตเศรษฐกิจพิเศษที่ 1 – มัณฑะเลย์ เมืองอันดับ 2 ของพม่า – ร่างกุ้ง และระยะต่อไปก็จะก่อสร้างเส้นทางรถไฟตามแนวถนนนี้ด้วย
ทั้งนี้ จะเชื่อมต่อเข้ากับถนนตามแนวเศรษฐกิจ East-West Economic Corridor ที่กลุ่มประเทศความร่วมมือลุ่มแม่น้ำอิระวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง รวมถึงBIMSTEC เห็นร่วมกันว่าจะพัฒนาขึ้นตั้งแต่ชายแดนพม่า-อินเดีย – อ.แม่สอด จ.ตาก – มุกดาหาร – สปป.ลาว - ท่าเรือดานัง ของเวียดนาม
ขณะนี้สภาพถนนในพม่ายังไม่ได้รับการพัฒนา การขนส่งสินค้าจากชายแดนจีน – มัณฑะเลย์ ต้องใช้เวลามากถึง 14 ชั่วโมง และต้องใช้เวลาอีก 16 ชั่วโมง จึงจะถึงร่างกุ้ง แต่ถ้าแผนพัฒนาเส้นทางคมนาคมดังกล่าวสำเร็จ จะทำให้สินค้าจีนสามารถส่งเข้าไปจำหน่ายในพม่าได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงมากขึ้น รวมทั้งมีช่องทางค้าขายกับกลุ่มอาเซียนด้วย
ตั้งแต่ปี 1996 ที่ผ่านมา จีน – พม่า ก็ได้บรรลุข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนคู่แฝดขึ้นคือ เขตเศรษฐกิจพิเศษเจียก้าว เขตรุ่ยลี่ เต๋อหง และเขตเศรษฐกิจพิเศษมูเซ ของพม่า เพื่อร่วมมือพัฒนาการค้า-การลงทุนระหว่างกัน โดยจนถึงขณะนี้เขตฯเจียก้าว มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้ง เขตพาณิชย์กรรม- ศูนย์แสดงสินค้า – ร้านค้าปลอดภาษีตามแนวถนนจีนพม่า (จงเหมี่ยน เจี่ย) ทำให้ปริมาณการค้าชายแดนผ่านเจียก้าว เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจนล่าสุดคิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของมูลค่าการค้าระหว่างหยุนหนัน กับพม่า
ขณะที่ในส่วนของพม่า ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ นอกจากการตั้งจุดเช็คพอยท์สินค้าเข้า – ออก ที่ขยายตัวต่อเนื่อง ดังนั้นทางการจีนจึงเสนอต่อรัฐบาลพม่าว่า หากพม่าไม่พร้อมที่จะพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษมูเซ จีนก็พร้อมที่จะเข้าไปดำเนินการในลักษณะการเช่าพื้นที่ระยะยาว เช่นเดียวกับที่ดำเนินการกับพรมแดนด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น สปป.ลาว หรือเวียดนาม เพื่อให้สอดรับกับแผนพัฒนาโครงข่ายคมนาคมด้านนี้
“อนาคตเต๋อหง จะเป็นจุดผ่านแดนระหว่างประเทศระดับชาติที่สำคัญของหยุนหนัน และ สป.จีน แน่นอน ซึ่งชณะนี้ก็มีผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกมากว่า 554 ราย เป็นทุนต่างประเทศแล้ว 33 ราย” เมิ้ง ตี้กวง ผู้ว่าฯเขตปกครองตนเองชนชาติไต-จิงโพ่ แห่งเต๋อหง มณฑลหยุนหนัน สป.จีน กล่าวย้ำ
สำหรับความเคลื่อนไหวของจีน ที่พยายามเปิดเส้นทางเชื่อมโยง “ซีหนาน” กับอาเซียน รวมถึงตลาดโลก ผ่านพม่านี้ ย่อมจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม การค้า การลงทุน ตามแนวเส้นทาง เช่นเดียวกับถนน R3a – R3b จากจีน – ลาวและพม่า – ไทย เช่นกัน
นั่นหมายถึง ไทย เองก็ต้องเตรียมแผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้