แฉ"ฟาติมาฯ"คือคู่สัญญาในการเช่าสัญญาณแฝงจากกรมประชาฯ ในรัฐบาล"บิ๊กจิ๋ว" มีบังเอิญ มุสิกพงศ์"เป็นอธิบดี และ"ปิยะณัฐ วัชราภรณ์"เป็นรมต.สำนักนายกฯ ด้าน"สาทิตย์" สั่งกรมประชาฯ รายงานรายละเอียดให้ทราบภายใน 15 วัน เล็งหาช่องทางยกเลิก
จากกรณีที่มีการตรวจสอบพบว่า กรมประชาสัมพันธ์ ได้ทำสัญญากับบริษัทเอกชนในการให้สัมปทานเช่าสัญญาณแฝง ตั้งแต่ปี 2540 มีระยะเวลานานถึง 26 ปี เป็นเงิน 70 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนนี้นำไปใช้เป็นเงินสวัสดิการของกรมประชาสัมพันธ์ โดยไม่ส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ได้ให้อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ตรวจสอบตัวสัญญาเป็นที่เรียบร้อย โดยให้ตรวจสอบเชิงข้อกฎหมายว่า สัญญานี้ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และให้ตรวจสอบว่า เงินตอบแทนที่เข้าสวัสดิการโดยตรง ไม่มีการนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินสามารถดำเนินการได้หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ตนไม่ทราบมาก่อน แต่ทราบจากรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติราชการ และมีการรายงานรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อเห็นเรื่องนี้ ก็ไปที่กรมประชาสัมพันธ์ และในโอกาสมอบนโยบาย ตนได้สอบถามและขอดูตัวสัญญา จึงมีข้อสงสัย
นายสาทิตย์ กล่าวด้วยว่า ข้อสงสัยของตน เหมือนกับข้อสงสัยของคณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี คือ สัญญาที่ทำนานไปถึงอนาคตอย่างนี้ ทำได้หรือไม่ เป็นการจัดทำขึ้นโดยที่รัฐเสียผลประโยชน์หรือไม่ สามารถจัดทำหรือมีผลบังคับใช้ได้จริงหรือไม่ และเงินรายได้ทั้งหมดที่ได้จากสัญญาต้องนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินก่อนที่จะกลับมาเป็นรายได้ของกรมฯ แต่การจัดสรรตรงเช่นนี้ทำได้หรือไม่ นี่เป็นข้อสงสัย ซึ่งตนได้ให้กรมประชาสัมพันธ์ทำรายงาน โดยให้ระยะเวลา 15 วัน
นายสาทิตย์ กล่าวด้วยว่า สัญญาดังกล่าวทางเจ้าหน้าที่ระดับสูงบางคนก็ยังไม่ทราบ ยิ่งทำให้ตนแปลกใจมาก แต่ก็เข้าใจเพราะสัญญานี้ทำมาตั้งแต่ปี 2540 ในส่วนของอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ทราบเรื่องนี้ แต่ไม่สามารถชี้แจงในข้อกฎหมายได้ โดยอ้างว่าสัญญานี้ทำมาก่อนที่จะมาเป็นอธิบดีฯ ขณะนั้นเป็นข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์อยู่ต่างจังหวัด
ส่วนเรื่องการยกเลิกสัญญานั้น ต้องพิจารณาในข้อสัญญาว่า สามารถทำได้หรือไม่ กำลังให้ตรวจในข้อกฎหมาย เพราะกฎหมายคุ้มครองคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย การจะยกเลิกสัญญาต้องมีเหตุ เช่น เหตุทางข้อกฎหมาย ไม่เช่นนั้นกรมประชาสัมพันธ์อาจถูกฟ้องได้ อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการรายงานอย่างถูกต้องก็ไม่มีปัญหาอะไร เวลานี้รอผลการดำเนินการของกรมประชาสัมพันธ์ก่อน
แหล่งข่าวระดับสูงจากกรมประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า สัญญาดังกล่าว ดูแล้วไม่สามารถยกเลิกได้ เพราะในข้อสัญญามีการคุ้มครองเอาไว้ ระหว่างคู่สัญญากับคู่ทำสัญญา และสัญญาดังกล่าว ทำตั้งแต่ปี 2540 สมัยรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีนายบังเอิญ มุสิกพงศ์ เป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และมีนายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนบริษัทคู่สัญญาคือ บริษัท ฟาติมา บรอดคาสติ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
ทั้งนี้ บริษัทฟาติมาฯ เป็นผู้ประกอบการด้านสื่อรายใหญ่ โดยเฉพาะสื่อวิทยุ ซึ่งได้รับสัมปทานจำนวนมากหลายคลื่น ส่วนความเคลื่อนไหวล่าสุดของบริษัทฯประกาศชัดเจนจะก้าวเข้าสุ่การเป็นผู้นำ “มัลติ มีเดีย” ในหลากหลายสื่อ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ โมบาย คอนเทนท์ และ เอชดี เรดิโอ (HD Radio) หรือ วิทยุดิจิทัล โดยอาศัยจุดแข็งของบริษัทที่เป็นผู้รับสัมปทานวิทยุดิจิทัลของเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) รายเดียวในประเทศไทย
จากกรณีที่มีการตรวจสอบพบว่า กรมประชาสัมพันธ์ ได้ทำสัญญากับบริษัทเอกชนในการให้สัมปทานเช่าสัญญาณแฝง ตั้งแต่ปี 2540 มีระยะเวลานานถึง 26 ปี เป็นเงิน 70 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนนี้นำไปใช้เป็นเงินสวัสดิการของกรมประชาสัมพันธ์ โดยไม่ส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ได้ให้อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ตรวจสอบตัวสัญญาเป็นที่เรียบร้อย โดยให้ตรวจสอบเชิงข้อกฎหมายว่า สัญญานี้ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และให้ตรวจสอบว่า เงินตอบแทนที่เข้าสวัสดิการโดยตรง ไม่มีการนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินสามารถดำเนินการได้หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ตนไม่ทราบมาก่อน แต่ทราบจากรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติราชการ และมีการรายงานรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อเห็นเรื่องนี้ ก็ไปที่กรมประชาสัมพันธ์ และในโอกาสมอบนโยบาย ตนได้สอบถามและขอดูตัวสัญญา จึงมีข้อสงสัย
นายสาทิตย์ กล่าวด้วยว่า ข้อสงสัยของตน เหมือนกับข้อสงสัยของคณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี คือ สัญญาที่ทำนานไปถึงอนาคตอย่างนี้ ทำได้หรือไม่ เป็นการจัดทำขึ้นโดยที่รัฐเสียผลประโยชน์หรือไม่ สามารถจัดทำหรือมีผลบังคับใช้ได้จริงหรือไม่ และเงินรายได้ทั้งหมดที่ได้จากสัญญาต้องนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินก่อนที่จะกลับมาเป็นรายได้ของกรมฯ แต่การจัดสรรตรงเช่นนี้ทำได้หรือไม่ นี่เป็นข้อสงสัย ซึ่งตนได้ให้กรมประชาสัมพันธ์ทำรายงาน โดยให้ระยะเวลา 15 วัน
นายสาทิตย์ กล่าวด้วยว่า สัญญาดังกล่าวทางเจ้าหน้าที่ระดับสูงบางคนก็ยังไม่ทราบ ยิ่งทำให้ตนแปลกใจมาก แต่ก็เข้าใจเพราะสัญญานี้ทำมาตั้งแต่ปี 2540 ในส่วนของอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ทราบเรื่องนี้ แต่ไม่สามารถชี้แจงในข้อกฎหมายได้ โดยอ้างว่าสัญญานี้ทำมาก่อนที่จะมาเป็นอธิบดีฯ ขณะนั้นเป็นข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์อยู่ต่างจังหวัด
ส่วนเรื่องการยกเลิกสัญญานั้น ต้องพิจารณาในข้อสัญญาว่า สามารถทำได้หรือไม่ กำลังให้ตรวจในข้อกฎหมาย เพราะกฎหมายคุ้มครองคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย การจะยกเลิกสัญญาต้องมีเหตุ เช่น เหตุทางข้อกฎหมาย ไม่เช่นนั้นกรมประชาสัมพันธ์อาจถูกฟ้องได้ อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการรายงานอย่างถูกต้องก็ไม่มีปัญหาอะไร เวลานี้รอผลการดำเนินการของกรมประชาสัมพันธ์ก่อน
แหล่งข่าวระดับสูงจากกรมประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า สัญญาดังกล่าว ดูแล้วไม่สามารถยกเลิกได้ เพราะในข้อสัญญามีการคุ้มครองเอาไว้ ระหว่างคู่สัญญากับคู่ทำสัญญา และสัญญาดังกล่าว ทำตั้งแต่ปี 2540 สมัยรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีนายบังเอิญ มุสิกพงศ์ เป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และมีนายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนบริษัทคู่สัญญาคือ บริษัท ฟาติมา บรอดคาสติ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
ทั้งนี้ บริษัทฟาติมาฯ เป็นผู้ประกอบการด้านสื่อรายใหญ่ โดยเฉพาะสื่อวิทยุ ซึ่งได้รับสัมปทานจำนวนมากหลายคลื่น ส่วนความเคลื่อนไหวล่าสุดของบริษัทฯประกาศชัดเจนจะก้าวเข้าสุ่การเป็นผู้นำ “มัลติ มีเดีย” ในหลากหลายสื่อ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ โมบาย คอนเทนท์ และ เอชดี เรดิโอ (HD Radio) หรือ วิทยุดิจิทัล โดยอาศัยจุดแข็งของบริษัทที่เป็นผู้รับสัมปทานวิทยุดิจิทัลของเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) รายเดียวในประเทศไทย