ASTVผู้จัดการรายวัน- คณะกรรมการวัตถุอันตรายโยนกรมวิชาการเกษตรกลับไปรับฟังความเห็นทุกส่วนที่เกี่ยวข้องหากต้องการยกเลิกคุม 13 พืชสมุนไพรในการใช้ป้องกัน กำจัดควบคุมแมลง วัชพืช ก็พร้อมจะประกาศยกเลิกทันที ด้านกรมวิชาการเกษตรฯแจงแนวทางดังกล่าวมีประโยชน์ต่อกลุ่มเกษตรกรที่แท้จริงพร้อมฟังเสียงส่วนใหญ่หากต้องการยกเลิกพร้อมส่งเรื่องให้คณะกรรมการพรบ.วัตถุอันตรายทันที
นายอนุสรณ์ เนื่องผลมาก รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการฯวานนี้(18ก.พ.) ว่า ที่ประชุมมีมติให้ทบทวนประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอัตรายฉบับที่ 6 ที่กำหนดผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืช ซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเฉพาะที่นำไปใช้ป้องกัน กำจัด ควบคุมแมลง วัชพืช ของสมุนไพร 13 ชนิด ใหม่ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องไปปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน และจัดกระบวนการรับฟังความเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน
”ที่ประชุมไม่ได้ยกเลิกประกาศเพราะทางกรมวิชาการเกษตรเสนอมาแค่ทบทวนมติเท่านั้นไม่ได้เสนอว่าให้ยกเลิก และประกาศดังกล่าวยังไม่มีผลทางปฏิบัติจนกว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะประกาศกำหนดคุณสมบัติของพืชตามเงื่อนไขที่กำหนด ดังนั้นที่ประชุมเห็นว่ากรมวิชาการเกษตรเองก็ยืนยันว่ามีประโยชน์ต่อภาคเกษตรกรจึงควรจะรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนเมื่อได้ข้อสรุปแล้วจึงค่อยนำมาพิจารณาว่าจะยกเลิกหรือไม่ยกเลิกประกาศดังกล่าว”นายอนุสรณ์กล่าว
ทั้งนี้ประกาศดังกล่าวลงวันที่ 29 ม.ค. ได้กำหนดให้พืชสมุนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 1 ประกอบด้วย สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายหยากซึ่งจะส่งผลให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้มีไว้ในครอบครองเฉพาะนำไปใช้ป้องกัน กำจัด ทำลายควบคุมแมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช หรือควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต้องแจ้งว่าดำเนินการเพื่อตรวจสอบได้
นายวิชา ธิติประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กล่าว่า ที่ไม่เสนอให้ยกเลิกเพราะเห็นว่าประกาศนี้ยังมีความสำคัญกับการพัฒนาพืชสมุนไพรทางการเกษตรเนื่องจากเจตนารมณ์ของกรมฯคือของเดิมนั้นกำหนดให้พืช 13 ชนิดที่จะนำไปป้องกัน กำจัด ทำลาย ควบคุมแมลง โรคพืช ศัตรูพืชจัดอยู่ในพรบ.วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ซึ่งมีความเข้มงวดคือต้องไปขึ้นทะเบียนและขั้นตอนจะต้องมีการตรวจวิเคราะห์หลายอย่างทำให้กลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวเป็นสหกรณ์ต้องการส่งเสริมและผลิตมายื่นเสนอให้ช่วยเหลือจึงได้พิจารณาให้จัดเป็นประเภท 1 แทน
“ เรายืนยันมีเจตนารมณ์ที่บริสุทธิ์ เพราะประกาศฉบับนี้จะช่วยสร้างมูลค่าทางการเกษตรและส่งเสริมให้ใช้สารจากธรรมชาติแทนสารเคมีมากขึ้น เพียงแต่ผู้ผลิตต้องแจ้งสถานที่ผลิตต่อภาครัฐเท่านั้นเพื่อที่เมื่อมีอันตรายต่อพืชและต่อคนจะได้เข้าไปตรวจสอบได้ ส่วนผู้บริโภคก็สามารถใช้สมุนไพร 13 ชนิดได้ตามปกติและผู้ผลิตอื่นๆที่นำไปสกัดทำอาหารเสริม ทำสบู่หรืออะไรก็จะมีกฏหมายอื่นคุมคือสาธารณสุข องค์การอาหารและยา แต่บังเอิญอะไรที่เกี่ยวกับเกษตรมันต้องมาอยู่ที่เราและเราไม่มีกฏหมายที่จะดูแลจึงอาศัยพรบ.วัตถุอันตรายนี้ทำ ซึ่งจากนี้คงต้องไปรับฟังความเห็นหากส่วนใหญ่ไม่ต้องการก็จะเสนอให้ยกเลิกทันที”นายวิชากล่าว
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการฯกล่าวยอมรับว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ 5 คนประกอบด้วย นายไกรศักดิ์ ชุณหวัณ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ พันเอกวินัย สมพงษ์ นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท และนายชาญชัย อสระเสนารักษ์ ได้มีหนังสือลงวันที่ 12 ก.พ.ถึงรมว.อุตสาหกรรมให้มีการทบทวนและยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย(ฉบับที่6)พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 29 ม.ค. 52 ไปก่อนเพื่อไม่ให้เกิดการคัดค้านในวงกว้าง พร้อมระบุว่าการประกาศดังกล่าวจะส่งผลดีต่อเกษตรกรเคมีและระบบทุนเกษตรผูกขาดแบบครบวงจรแต่จะไม่ส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้าน
หลังจากนั้นวันที่ 16 ก.พ. ปลัดกระทรวงเกษตรฯได้ทำหนังสือถึงปลัดกระทรวงเกษตรฯให้ทบทวนประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายพ.ศ. 2538 รวมถึงกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นต่อไป ต่อมา 17 ก.พ.ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้ทำหนังสือส่งกลับไปยังปลัดกระทรวงเกษตรฯด่วนสุดให้จัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมสำคัญคือ 1. สรุปประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น 2. หลักการและเหตุผล 3. เสนอแนะแนวทางการทบทวนประกาศและแนวทางปฏิบัติเพื่อนำมาประชุมวันที่ 18 ก.พ. ซึ่งปรากฏว่ากระทรวงเกษตรฯยังยืนยันว่ามีประโยชน์
นายอนุสรณ์ เนื่องผลมาก รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการฯวานนี้(18ก.พ.) ว่า ที่ประชุมมีมติให้ทบทวนประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอัตรายฉบับที่ 6 ที่กำหนดผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืช ซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเฉพาะที่นำไปใช้ป้องกัน กำจัด ควบคุมแมลง วัชพืช ของสมุนไพร 13 ชนิด ใหม่ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องไปปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน และจัดกระบวนการรับฟังความเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน
”ที่ประชุมไม่ได้ยกเลิกประกาศเพราะทางกรมวิชาการเกษตรเสนอมาแค่ทบทวนมติเท่านั้นไม่ได้เสนอว่าให้ยกเลิก และประกาศดังกล่าวยังไม่มีผลทางปฏิบัติจนกว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะประกาศกำหนดคุณสมบัติของพืชตามเงื่อนไขที่กำหนด ดังนั้นที่ประชุมเห็นว่ากรมวิชาการเกษตรเองก็ยืนยันว่ามีประโยชน์ต่อภาคเกษตรกรจึงควรจะรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนเมื่อได้ข้อสรุปแล้วจึงค่อยนำมาพิจารณาว่าจะยกเลิกหรือไม่ยกเลิกประกาศดังกล่าว”นายอนุสรณ์กล่าว
ทั้งนี้ประกาศดังกล่าวลงวันที่ 29 ม.ค. ได้กำหนดให้พืชสมุนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 1 ประกอบด้วย สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายหยากซึ่งจะส่งผลให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้มีไว้ในครอบครองเฉพาะนำไปใช้ป้องกัน กำจัด ทำลายควบคุมแมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช หรือควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต้องแจ้งว่าดำเนินการเพื่อตรวจสอบได้
นายวิชา ธิติประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กล่าว่า ที่ไม่เสนอให้ยกเลิกเพราะเห็นว่าประกาศนี้ยังมีความสำคัญกับการพัฒนาพืชสมุนไพรทางการเกษตรเนื่องจากเจตนารมณ์ของกรมฯคือของเดิมนั้นกำหนดให้พืช 13 ชนิดที่จะนำไปป้องกัน กำจัด ทำลาย ควบคุมแมลง โรคพืช ศัตรูพืชจัดอยู่ในพรบ.วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ซึ่งมีความเข้มงวดคือต้องไปขึ้นทะเบียนและขั้นตอนจะต้องมีการตรวจวิเคราะห์หลายอย่างทำให้กลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวเป็นสหกรณ์ต้องการส่งเสริมและผลิตมายื่นเสนอให้ช่วยเหลือจึงได้พิจารณาให้จัดเป็นประเภท 1 แทน
“ เรายืนยันมีเจตนารมณ์ที่บริสุทธิ์ เพราะประกาศฉบับนี้จะช่วยสร้างมูลค่าทางการเกษตรและส่งเสริมให้ใช้สารจากธรรมชาติแทนสารเคมีมากขึ้น เพียงแต่ผู้ผลิตต้องแจ้งสถานที่ผลิตต่อภาครัฐเท่านั้นเพื่อที่เมื่อมีอันตรายต่อพืชและต่อคนจะได้เข้าไปตรวจสอบได้ ส่วนผู้บริโภคก็สามารถใช้สมุนไพร 13 ชนิดได้ตามปกติและผู้ผลิตอื่นๆที่นำไปสกัดทำอาหารเสริม ทำสบู่หรืออะไรก็จะมีกฏหมายอื่นคุมคือสาธารณสุข องค์การอาหารและยา แต่บังเอิญอะไรที่เกี่ยวกับเกษตรมันต้องมาอยู่ที่เราและเราไม่มีกฏหมายที่จะดูแลจึงอาศัยพรบ.วัตถุอันตรายนี้ทำ ซึ่งจากนี้คงต้องไปรับฟังความเห็นหากส่วนใหญ่ไม่ต้องการก็จะเสนอให้ยกเลิกทันที”นายวิชากล่าว
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการฯกล่าวยอมรับว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ 5 คนประกอบด้วย นายไกรศักดิ์ ชุณหวัณ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ พันเอกวินัย สมพงษ์ นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท และนายชาญชัย อสระเสนารักษ์ ได้มีหนังสือลงวันที่ 12 ก.พ.ถึงรมว.อุตสาหกรรมให้มีการทบทวนและยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย(ฉบับที่6)พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 29 ม.ค. 52 ไปก่อนเพื่อไม่ให้เกิดการคัดค้านในวงกว้าง พร้อมระบุว่าการประกาศดังกล่าวจะส่งผลดีต่อเกษตรกรเคมีและระบบทุนเกษตรผูกขาดแบบครบวงจรแต่จะไม่ส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้าน
หลังจากนั้นวันที่ 16 ก.พ. ปลัดกระทรวงเกษตรฯได้ทำหนังสือถึงปลัดกระทรวงเกษตรฯให้ทบทวนประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายพ.ศ. 2538 รวมถึงกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นต่อไป ต่อมา 17 ก.พ.ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้ทำหนังสือส่งกลับไปยังปลัดกระทรวงเกษตรฯด่วนสุดให้จัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมสำคัญคือ 1. สรุปประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น 2. หลักการและเหตุผล 3. เสนอแนะแนวทางการทบทวนประกาศและแนวทางปฏิบัติเพื่อนำมาประชุมวันที่ 18 ก.พ. ซึ่งปรากฏว่ากระทรวงเกษตรฯยังยืนยันว่ามีประโยชน์