กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศให้พืชสมุนไพร 13 ชนิด ได้แก่ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก คึ่นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ตองตึง และหนอนตายหยาก เป็น “วัตถุอันตราย” ใครนำไปใช้ผลิตเพื่อขายเป็นสารกำจัดศัตรูพืช และควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ต้องไปจดทะเบียแจ้งกับทางราชการ มิฉะนั้น จะมีความผิดถึงขั้นติดคุก 6 เดือน ปรับ 50,000 บาท
สมุนไพรทั้ง 13 ชนิดนี้ เป็นอาหารและเป็นยา ที่คนไทยบริโภคกันมาตั้งแต่บรรพบุรษ จนถึงปัจจุบัน เมื่อประกาศฉบับนี้ บอกว่า เป็นวัตถุอันตราย ใครครอบครองไว้จะมีความผิด จึงเป็นเรื่องเหลือเชื่อ ที่คนไทยส่วนใหญ่คงคิดไม่ออกว่า คนที่ออกประกาศนี้ออกมา ใช้อะไรคิด
แม้ กรมวิชาการเกษตรพยายามจะอธิบายว่า เจตนารมณ์ของประกาศ คือ เจตนาดี แต่มองอย่างไร ก็ไม่เห็นเจตนาดีที่ว่านั้น มีแต่ความเคลือบแคลงสงสัยว่า เบื้องหลังประกาศนี้มีวาระซ่อนเร้นอะไรหรือเปล่า
โลกวันนี้ และในอนาคต ผู้คนจำนวนมากกำลังเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตหันไปหาทางเลือกที่เป็นธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สมุนไพรทั้ง 13 ชนิดนี้ นอกจากใช้เป็นอาหารและเป็นยาแล้ว ภูมิปัญญาไทยแต่โบราณยังคิดค้นเอาไปทำประโยชน์ในด้านการเกษตรด้วย ดังเช่น สะเดา ตะไคร้หอมที่ใช้ไล่แมลง
ประกาศฉบับนี้เอง ระบุชัดเจนว่า มุ่งควบคุม การนำไปใช้เป็นสารกำจัดศัตรพืชและควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
กรมวิชาการเกษตร มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางและวางกติกาในการใช้เมล็ดพันธุ์และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบรรษัทเคมีเกษตรข้ามชาติ สามารถพัฒนาพืชจีเอ็มโอที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรมได้ว่า เมื่อปลูกเมล็ดพันธุ์ของตนแล้วจะต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตัวเองกำหนดได้
กรมนี้เป็นผู้ดูแล พ.ร.บ.กักพืช ซึ่งเป็นผู้วินิจฉัยว่าจะให้พืชจีเอ็มโอปลูกได้ในเชิงพาณิชย์หรือไม่ และยังเป็นผู้ควบคุมการอนุมัติสารเคมีกำจัดพืชทุกชนิดว่าจะให้นำมาขายได้หรือไม่ ภายใต้หลักเกณฑ์อะไร ซึ่งแน่นอนว่าต้องเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มหาศาล
ข้อมูลปี 2551 ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุว่า ผลประโยชน์จากเคมีเกษตรนั้นมีมูลค่าสูงนับแสนล้านบาททีเดียว โดยแบ่งเป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 18,566 ล้านบาท และปุ๋ยเคมี 78,944 ล้านบาท
ขณะที่ตลาดเมล็ดพันธุ์พืชในเมืองไทยนั้น ถ้าหากบริษัทข้ามชาติเหล่านี้สามารถผลักดันเมล็ดพันธุ์ลูกผสมหรือพันธุ์พืชจีเอ็มโอเข้ามาเปิดตลาดได้เป็นผลสำเร็จ จะมีมูลค่าตลาดสูงมากกว่า 100,000 ล้านบาท
นั่นหมายความว่าผลประโยชน์จากสารเคมีการเกษตรและเมล็ดพันธุ์จะมียอดขายรวมกันหลายแสนล้านบาท นี่คือผลประโยชน์มหาศาลที่บริษัทเหล่านี้จะได้รับ!
ดังนั้น แม้จะยังหาความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างประกาศฉบับนี้ กับอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์พืชและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และแม้ว่า จะมีการงดใช้ประกาศฉบับนี้ไปก่อน หลังมีเสียงคัดค้าน แต่การตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่า วาระซ่อนเร้นของมันคืออะไร ก็เป็นการเฝ้าระวังไว้ไม่ให้พืชสมุนไพรในชีวิตประจำวันของเรา ต้องถูกบรรษัทข้ามชาติทำลายไป
สมุนไพรทั้ง 13 ชนิดนี้ เป็นอาหารและเป็นยา ที่คนไทยบริโภคกันมาตั้งแต่บรรพบุรษ จนถึงปัจจุบัน เมื่อประกาศฉบับนี้ บอกว่า เป็นวัตถุอันตราย ใครครอบครองไว้จะมีความผิด จึงเป็นเรื่องเหลือเชื่อ ที่คนไทยส่วนใหญ่คงคิดไม่ออกว่า คนที่ออกประกาศนี้ออกมา ใช้อะไรคิด
แม้ กรมวิชาการเกษตรพยายามจะอธิบายว่า เจตนารมณ์ของประกาศ คือ เจตนาดี แต่มองอย่างไร ก็ไม่เห็นเจตนาดีที่ว่านั้น มีแต่ความเคลือบแคลงสงสัยว่า เบื้องหลังประกาศนี้มีวาระซ่อนเร้นอะไรหรือเปล่า
โลกวันนี้ และในอนาคต ผู้คนจำนวนมากกำลังเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตหันไปหาทางเลือกที่เป็นธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สมุนไพรทั้ง 13 ชนิดนี้ นอกจากใช้เป็นอาหารและเป็นยาแล้ว ภูมิปัญญาไทยแต่โบราณยังคิดค้นเอาไปทำประโยชน์ในด้านการเกษตรด้วย ดังเช่น สะเดา ตะไคร้หอมที่ใช้ไล่แมลง
ประกาศฉบับนี้เอง ระบุชัดเจนว่า มุ่งควบคุม การนำไปใช้เป็นสารกำจัดศัตรพืชและควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
กรมวิชาการเกษตร มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางและวางกติกาในการใช้เมล็ดพันธุ์และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบรรษัทเคมีเกษตรข้ามชาติ สามารถพัฒนาพืชจีเอ็มโอที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรมได้ว่า เมื่อปลูกเมล็ดพันธุ์ของตนแล้วจะต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตัวเองกำหนดได้
กรมนี้เป็นผู้ดูแล พ.ร.บ.กักพืช ซึ่งเป็นผู้วินิจฉัยว่าจะให้พืชจีเอ็มโอปลูกได้ในเชิงพาณิชย์หรือไม่ และยังเป็นผู้ควบคุมการอนุมัติสารเคมีกำจัดพืชทุกชนิดว่าจะให้นำมาขายได้หรือไม่ ภายใต้หลักเกณฑ์อะไร ซึ่งแน่นอนว่าต้องเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มหาศาล
ข้อมูลปี 2551 ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุว่า ผลประโยชน์จากเคมีเกษตรนั้นมีมูลค่าสูงนับแสนล้านบาททีเดียว โดยแบ่งเป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 18,566 ล้านบาท และปุ๋ยเคมี 78,944 ล้านบาท
ขณะที่ตลาดเมล็ดพันธุ์พืชในเมืองไทยนั้น ถ้าหากบริษัทข้ามชาติเหล่านี้สามารถผลักดันเมล็ดพันธุ์ลูกผสมหรือพันธุ์พืชจีเอ็มโอเข้ามาเปิดตลาดได้เป็นผลสำเร็จ จะมีมูลค่าตลาดสูงมากกว่า 100,000 ล้านบาท
นั่นหมายความว่าผลประโยชน์จากสารเคมีการเกษตรและเมล็ดพันธุ์จะมียอดขายรวมกันหลายแสนล้านบาท นี่คือผลประโยชน์มหาศาลที่บริษัทเหล่านี้จะได้รับ!
ดังนั้น แม้จะยังหาความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างประกาศฉบับนี้ กับอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์พืชและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และแม้ว่า จะมีการงดใช้ประกาศฉบับนี้ไปก่อน หลังมีเสียงคัดค้าน แต่การตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่า วาระซ่อนเร้นของมันคืออะไร ก็เป็นการเฝ้าระวังไว้ไม่ให้พืชสมุนไพรในชีวิตประจำวันของเรา ต้องถูกบรรษัทข้ามชาติทำลายไป