ASTVผู้จัดการรายวัน - กม.ปรองดองแห่งชาติส่อแท้งก่อนเกิด พรรคร่วมรัฐบาลและฝ่ายค้านด้วยกันเองเรียงหน้าปฏิเสธ ด้าน นายกฯ ยันต้องปฏิรูปการเมืองเท่านั้น แต่ขอแก้ปัญหาปากท้องประชาชนก่อน เช่นเดียวกับ "ชวรัตน์" ที่กลับลำไม่หนุน อ้างเชียร์เฉพาะการนิรโทษกรรมนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ 5 ปี ไม่เกี่ยวคดีความ ปธ.วุฒิชี้ออกกฎหมายบังคับความปรองดองไม่ได้ ด้าน "อภิวันท์" ปูดคนเสนอ กม.คืออดีต ส.ส.ที่เสียผลประโยชน์ไม่เกี่ยวเพื่อไทย "ชุมพล" แนะแก้ปัญหาการเมืองต้องแก้ รธน.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการเสนอ พ.ร.บ.ความปรองดองแห่งชาติ ของพรรคเพื่อไทย ซึ่งมีการเสนอให้รัฐบาลเสนอร่างกฎหมายควบคู่ไปด้วยว่า รัฐบาลไม่มีความคิดที่จะเสอนกฎหมายนี้ แต่ในส่วนฝ่ายนิติบัญญัติพรรคการเมือง ส.ส.มีสิทธิ์เสนอได้ แต่รัฐบาลคงไม่เสนอ ส่วนการปฎิรูปการเมืองตามแนวทางของรัฐบาลนั้น กำลังปรึกษากับฝ่ายค้านอยู่ แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบใดๆ โดยได้พยายามคุยกับฝ่ายค้านที่มีบทบาท เพราะไม่อยากเดินฝ่ายเดียว หากจะตั้งคณะทำงานปฏิรูปการเมืองวันนี้ก็ทำได้ แต่ถ้าตั้งแล้วคนบอกว่าไม่อยากได้รูปแบบนี้ มันก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไร คงต้องใช้เวลาสักนิดคงไม่เป็นไร แต่ขอให้เมื่อเริ่มแล้วเป็นที่ยอมรับมันก็จะเป็นแนวทางแก้ป้ญหา
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์ที่มีความสงบเรียบร้อย แต่มีความเคลื่อนไหวของประชาชนหรือกลุ่มคนที่ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่าง ก็ให้ดูแล ไม่ให้มีการละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน ไม่ให้มีการทำผิดกฎหมาย แม้จะมีคณะกรรมการอะไรก็ตาม ตนไม่เชื่อว่าการเคลื่อนไหวต่างๆ จะยุติลง แต่เงื่อนไขอะไรที่จำเป็น จะต้องได้รับความมั่นใจมากขึ้น ว่ามีการดำเนินการชำระสะสาง เป็นเรื่องของรัฐบาลที่จะเร่งรัด เช่น คดีความต่างๆ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้คุยกับตนในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และจะไปสรุปมาให้เห็นความคืบหน้า ต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะต้องคุยกับพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อให้จุดยืนตรงกันหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ยังไม่มีปัญหาอะไร แต่ฝ่ายนิติบัญญัติก็เป็นสิทธิของเขา ในส่วนรัฐบาลมีจุดยืนของรัฐบาล ต้องยึดตามนโยบายรัฐบาล ในแนวทางปฏิรูปการเมือง
ต่อข้อถามว่ามั่นใจว่าคุมเสียงพรรคร่วมได้ใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า มั่นใจ ว่าพูดคุยกันรู้เรื่อง เพราะตนยังยืนยันและเชื่อว่าทุกพรรคที่ร่วมรัฐบาลในขณะนี้รู้ว่า เป้าหมายสำคัญคือการฟื้นเศรษฐกิจ และการไม่สร้างเงื่อนไขความขัดแย้ง เมื่อถามว่า หากวันหนึ่งคุมเสียงข้างมากไม่ได้จะทำอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังไม่เกิดขึ้น และมั่นใจว่าจะไม่เกิดขึ้น ซึ่งเรื่องนี้สามารถพูดคุยกันได้ด้วยเหตุผลไม่มีปัญหา เมื่อถามว่า ในระยะเวลา 6 เดือนของรัฐบาล จะได้เห็นความคืบหน้าการปฏิรูปการเมืองและการตั้งคณะกรรมการเหล่านี้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า อีกตั้ง 5 เดือน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าการปฏิรุปการเมืองรัฐบาลคงไม่ทิ้งเวลาไว้ถึง 6 เดือน แต่ต้องยอมรับว่า 1.ความเร่งด่วนของเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจน ขณะที่ว่าถ้าไม่เกิดขึ้น ในช่วงวัน 2 วันนี้ สัปดาห์หรือ 2 สัปดาห์นี้แล้วจะเสียหาย เราก็ดูภาพรวมของนโยบาย ในการสร้างบรรยากาศของเสถียรภาพในบ้านเมือง และจำกัดวงความขัดแย้ง 2.ไม่มีประโยชน์ที่จะรีบทำและในที่สุดไม่ได้แก้ปัญหา
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าไม่ว่าจะเรียกชื่ออะไร แต่เนื้อหาคือการนิรโทษกรรมให้กับผู้ที่ถูกพิพากษาตัดสิทธิทางการเมืองไปก่อนหน้านี้ ซึ่งคงต้องมีการประชุมกันในพรรคประชาธปัตย์อย่างเป็นกิจจะลักษณ์
จุดยืนของพรรคเราคือจะไม่สร้างกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาให้กับบุคคล หรือกลุ่มบุคคลใด บุคคลหนึ่ง แต่เราจะทำกฎหมายเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศเท่านั้นและหากใครเห็นว่าเรื่องนี้จะทำให้การเมืองดีขึ้นก็ต้องมีคณะกรรมการ ปฏิรูปการเมืองก่อน แล้วจึงค่อยดำเนินการตรงนั้นไป เพราะถ้าเขียนกฎหมาย ออกมาเพื่อช่วยเหลือพวกเดียวกันประชาชนก็คงมีความรู้สึกไม่พอใจ
ส่วนจะทำความเข้าใจกับแกนนำพรรคภูมิใจไทยที่ออกมาสนับสนุนอย่างไรนั้น นายสุเทพ กล่าวว่าทุกพรรคการเมืองต้องไปคุยกันในพรรคของตัวเองก่อน เพื่อให้สมาชิกพรรคส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน และแม้นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยจะออกมาสนับสนุน แต่ก็ต้องฟังเสียงประชาชนดูว่าเป็นอย่างไร
ที่จริงเรื่องการสร้างความปรองดองนี้เราก็ทำอยู่ แต่ไม่ได้ออกมาพูด เพราะก่อนหน้านี้ นายกฯก็ไปพูดกับแกนนำฝ่ายค้านทั้งประธานวิปและประธาน ส.ส.เพื่อที่จะให้มาร่วมมือในการปฏิรูปการเมือง ประเด็นที่นายกรัฐมนตรีได้เสนอไปคือจะร่วมกันพิจารณาหาคนกลางที่ฝ่ายค้านและรัฐบาลรับได้มาเป็นเจ้าภาพ ในการชักชวนฝ่ายต่างๆเข้าร่วมระดมสมองเพื่อปฏิรูปการเมือง แต่ถ้าตัวบุคคลยังคิดกันไม่ออกหรือยอมรับกันไม่ได้ ก็อาจจะใช้สถาบันใดสถาบันหนึ่งมาทำ ส่วนจะเป็นสถาบันใดนั้น ขอให้ฝ่ายค้านและรัฐบาลได้พิจารณาร่วมกันก่อน
***"ชวรัตน์" ยันไม่ได้หนุน
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ ส่วนที่ได้แสดงความคิดเห็นไปก่อนหน้านี้นั้นเป็น ความเห็นส่วนตัวเรื่องนิรโทษกรรมนักการเมือง111 และ109 คนที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปีเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นการเสนอความเห็นส่วนตัว ไม่ใช่มติของพรรค ส่วนเรืองอื่นก็ไม่ได้พูดถึงเลย
ผู้สื่อข่าวถามว่ายืนยันว่าเห็นด้วยที่จะนิรโทษกรรมนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิฯ 111 คน และ 109 คน แต่ไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ นายชวรัตน์ กล่าวว่า ขณะที่แสดงความเห็นไปก่อนหน้านี้นั้น พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติยังไม่ออกมา ดังนั้นขอปฏิเสธว่า ไม่เคยให้ความเห็นเกี่ยวกับพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ ไม่ว่าจะเป็นความเห็นส่วนตัวหรือว่า ในนามพรรคก็ตาม
ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาที่เร่งด่วน เรื่องปากท้องประชาชน เรื่องความสามัคคีของคนในชาติ เรื่องการส่งออกและเรื่องการท่องเที่ยวทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่สำคัญกว่าเรื่องพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ หากจะมีการชะลอพ.ร.บ.นี้ออกไปก็ไม่มีข้อขัดข้อง
ผู้สื่อข่าวถามว่าพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติและการนิรโทษกรรมให้กับนักการเมืองเป็นเรื่องเดียวกัน ถ้ามีการผลักดันจะทำให้เกิดความปรองดองเกิดขึ้นหรือไม่ นายชวรัตน์ กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติมีรายละเอียดจำนวนมาก รวมถึงกฎหมายอาญาและแพ่งด้วย โดยให้ผู้ที่กระทำและผู้ที่อยู่เบื้องหลังให้รอดพ้นจากความผิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาอีกนาน เพราะเป็นเรื่องกฎหมาย ส่วนเรื่องนิรโทษก็ต้องมาดูกันอีกว่าจะนิรโทษทั้งหมดหรือว่า จะต้องมาดูความผิดของแต่ละคน ไม่ใช่นิรโทษทั้งหมดทีเดียว
***ไม่ดัน กม.สร้างความแตกแยก
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ส.ส.นครราชสีมา พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า พรรรคภูมิใจไ ทยไม่ใช่จะสนับสนุนพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ขณะนี้บ้านเมือง ต้องดูแลเรื่องเศรษฐกิจ ความเดือดร้อนของประชาชน สินค้าเกษตรกรรมที่ตกต่ำ ฉะนั้นการเสนอกฎหมายใดๆ ถ้าเป็นเงื่อนไขที่สุ่มเสียงทำให้บ้านเมืองเกิดความแตกแยก เราไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตามเราจะนำเรื่องทั้งหมดเข้าที่ประชุมพรรคในวันอังคารนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่าทำไมจึงคิดว่าพ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะสุ่มเสียงต่อการแตกแยก นายบุญจง กล่าวว่า โดยหลักกฎหมายเมื่อออกมาแล้วต้องบังคับใช้กับคนทั้งประเทศ แต่ถ้าออกกฎหมายเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก็จะต้องมีปัญหาว่า ทำให้คนส่วนมาก ของประเทศคัดค้านหรือไม่เห็นด้วยสุดท้ายก็เกิดความแตกแยกวุ่นวาย หากออกพ.ร.บ.แล้วเป็นเงื่อนไขของความวุ่นวายความแตกแยก ก็ต้องชะลอ
***ปธ.วุฒิชี้ กม.บังคับปรองดองไม่ได้
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวว่าตนเข้าใจว่าการเสนอร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ เป็นเพียงการโยนหินถามทางของฝ่ายการเมือง คงยังไม่มีใครคิดอะไรจริงจัง ส่วนตัวเห็นว่าความปรองดองในชาติ จะสร้างกฎหมายมาบังคับไม่ได้ แต่ต้องเกิดจากความรู้สึก ความเห็นพ้องต้องกันของคนในชาติ ไม่มีประเทศไหนใช้กฎหมายบังคับให้คนสมานฉันท์
อย่างไรก็ตาม หากฝ่ายการเมืองต้องการ ก็คงเป็นสิทธิ์ที่จะเสนอได้ เปรียบเหมือนกฎหมายไทยฉบับหนึ่งที่เขียนห้ามจับสัตว์น้ำบริเวณแอ่งข้างทางรถไฟ ซึ่งคำว่าสัตว์น้ำในกฎหมายฉบับนี้ยังรวมถึงดอกบัวที่อยู่ในแอ่งด้วย สำหรับกรณีนี้ก็ระบุให้ชัดเจนว่า จะยกเลิกโทษสำหรับการกระทำแบบใดบ้าง และช่วงเวลาเท่าใดให้ชัดเจน แต่ต้องขึ้นกับว่า ประชาชนจะ ยอมรับหรือไม่ เพราะเท่าที่ฟังเสียงจากสังคม หลายฝ่ายก็ไม่เห็นด้วย แม้แต่กลุ่มพันธมิตรฯ หรือรัฐบาล และในพรรคฝ่ายค้านเอง ก็ยังเห็นแตกต่างกันอยู่ หากจะทำจริงๆควรจะให้คนกลางอย่างสถาบันพระปกเกล้า เป็นผู้ศึกษาดำเนินการ
ส่วนข่าวที่ว่าจะให้ตนและนาย ชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวกลางในการหารือความเป็นไปได้ของกฎหมายฉบับนี้ ก็ได้ ไม่เป็นไร หากทำให้สังคมสมานฉันท์ได้จริงๆ แต่ตนยังกลัวว่า กฎหมายฉบับนี้จะทำให้เกิดสมานฉันท์ไม่ได้ ทั้งนี้ตอนนี้ยังไม่ได้คุยเรื่องนี้กับนายชัย
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ต้องค่อยๆทำ ฝ่ายการเมืองจะเขียนให้ทุกอย่างเจ๊ากันหมดก็ได้ แต่ต้องถามประชาชนว่า จะเอาหรือไม่ กับการทำความผิดแล้วไม่ต้องรับโทษเลย มีข่าวว่ามีบางพรรคจะเสนอเป็นนโยบายในเรื่องนี้ ในการหาเสียงเลือกตั้งตนเห็นว่าถ้าทำแบบนั้นได้ก็ดี แต่ตนเห็นว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องทำภายใน 6 เดือน เพราะปัญหาเศรษฐกิจเป็นเรื่องใหญ่กว่ามาก
***ชัยชี้ พท.หวังเล่นเกมนออกสภา
นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ยังไม่เห็นร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ แต่หากมีหลักการและเหตุผลตามข่าว อาจเป็นกฎหมาย ที่เกินกว่าความจำเป็นของเงื่อนไขในการสร้างความสมานฉันท์ในประเทศ หรือ สร้างความปรองดองในสังคม เพราะหลักการที่แท้จริงที่จะสร้างความสามัคคีได้ อยู่ที่สำนึกในจิตใจของแต่ละบุคคลมากกว่าที่จะออกเป็นกฎหมาย
สาระสำคัญของกฎหมายในลักษณะความปรองดองเช่นนี้ ยังไม่เคยพบเห็น ที่ไหนมาก่อน จึงอยากตั้งข้อสังเกตถึงความเหมาะสมที่มีการเผยแพร่เนื้อหาสาระให้สื่อมวลชน ก่อนนำเสนอญัตติมีนัยอย่างไรหรือไม่ หรือจะเป็นความต้องการเล่นเกมนอกสภาฯ
***"เฉลิม" เชื่อ กม.ปรองดองล่มแน่
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ยังไม่เห็นร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่วชาติ เป็นเรื่องของฝ่ายกฎหมายของพรรคเขาทำกัน แต่แนวคิดดังกล่าวไม่เหมือนกับแนวคิดของตน ที่ต้องการให้ออก พ.ร.บ.อภัยโทษสำหรับคนที่ได้รับโทษแล้ว และออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้กับคดีความยังไม่เป็นที่สิ้นสุด ในคดีที่เกิดขึ้น หลังจากวันที่ 19 ก.ย. 2549 รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวต้องได้รับการเสนอต่อประชาชนก่อนการเลือกตั้ง และหากประชาชนเห็นด้วย ต้องเลือกพรรคเพื่อไทย ซึ่งถ้าพรรคเพื่อไทยได้คะแนนเสียง เกินกึ่งหนึ่ง ก็จะสามารถผลักดันกฎหมายฉบับนี้ด้วยความชอบธรรม เพราะถือว่าผ่านการทำประชามติจากประชาชนมาแล้ว
ผมว่าไม่น่าจะผ่านเสียงข้างมาก เพราะรัฐบาลเขาไม่เอาด้วย แต่ถ้าทำตาม ที่ผมบอก เราจะมีความชอบธรรมในการดำเนินการ ถ้าทำอย่างนี้อีกฝ่ายสนับสนุนอีกฝ่ายคัดค้าน ก็จะทะเลาะกันมันไม่ดี และวันนี้อย่าไปหวังว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะแตกกันเอง เพราะมันยังไม่ถึงเวลา
***"อภิวันท์" เผย พท.ไม่ได้เป็นผู้เสนอ
พ.อ.อภิวันท์ วิริรยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การที่พรรคเพื่อไทย เตรียมเสนอ ร่างพ.ร.บ.ความปรองดองแห่งชาตินั้น ไม่ได้เกี่ยวกับส.ส.ภายในพรรค แต่เป็นความคิดข้อเสนอของนายสิทธิชัย กิตติธเนศวร อดีต ส.ส.นครนายก เป็นผู้เสนอ เพราะเสียประโยชน์ ยืนยันว่าร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ จากคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองที่นายกฯจะเป็นคนตั้งขึ้น
ขณะที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงหลังการประชุมพรรคว่า ที่ประชุมได้หยิบหยกเรื่องร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ มาหรือ โดยส.ส.ได้นำคำแถลงนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ที่แถลงต่อสภาว่ารัฐบาลจะทำให้สังคมมีความสมานฉันท์ ซึ่งพรรคเห็นว่าเป็นเอกสิทธิ์ของส.ส.ที่เสนอกฎหมาย ซึ่ง ส.ส.ที่เป็นผู้เสนอพ.ร.บ.ดังกล่าวคือ นายประเกียรติ นาสิมมา และนายสุรชัย เบ้าจรรยา ส.ส.สัดส่วน โดยทั้งสองคนได้จะรับหน้าประสานและหารือพรรคร่วมกับรัฐบาล คาดว่าจะเสนอร่าวพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติเข้าที่ประชุมสภาในเร็ววันนี้
***ชุมพลแนะแก้ รธน.แก้การเมือง
นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่ายังไม่เห็นร่างกฎหมายดังกล่าว ในพรรคจึงยังไม่ได้คุยกัน ขอให้เห็นเป็นรูปธรรมก่อนจึงจะทำนมาพิจารณา ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีพรรคใดประสานเข้ามา อย่างไรก็ตามส่วนตัวเห็นว่าปัญหาอยู่ที่รัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้ามีกฎหมายนี้จะทำให้เกิดความสมานฉันท์หรือไม่ นายชุมพล กล่าวว่า การเมืองไทยจะต้องทำเป็นจุดและในองค์รวมด้วย ซึ่งประเด็นที่มีปัญหากันมากก็คือรัฐธรรมนูญที่หลายฝ่ายอยากให้แก้ไข ทั้งในประเด็นที่มา ส.ส. บัญชีรายชื่อ ที่มาของ ส.ว. อำนาจของ ส.ส.ที่มีมากจึงทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลไม่มั่นคงฯลฯ ดังนั้นประเด็นเหล่านี้จึงควรที่จะหยิบหยกขึ้นมาแก้ไข
การนิรโทษกรรมคงช่วยแก้ปัญหาความสมานฉันฑ์ได้ระดับหนึ่งแต่คงไม่ได้แก้ปัญหา ซึ่งถ้าออกกฎหมายนี้มาก็เป็นปัญหาแล้ว ส่วนฏิรูปการเมือง ไม่ใช่แค่การแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเดียว ที่ตนเคยทำมาตั้งแต่ปี 38 คือ ต้องปฎิรูปทั้งหมดครบวงจร ทั้งวัฒนธรรม ประเพณี การศึกษา ฯลฯ
นายชุมพลกล่าวว่า การปฏิรูปการเมืองมันใหญ่เกินไป ประเด็นเวลานี้คือการแก้ปัญหาการเมืองซึ่งอยู่ที่รัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายองค์กรอิสระ ซึ่งประเด็นที่จะแก้ไขมีอยู่แล้ว ตนในฐานะประธานการแก้รัฐธรรมนูญปี 40 ได้ศึกษาและรวบรวมไว้หมดแล้วที่วุฒิสภา ไม่ยากเลยที่จะไปต่อยอด ไม่จำเป็นต้องไปดึงคนกลางเพียงแต่ตกลงในประเด็นที่จะต้องแก้ไข คนในสังคมจะได้รู้มีเหตุผลก็น่าจะเพียงพอแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่าระหว่างการแก้รัฐธรรมนูญกับออก พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ ควรจะทำอะไรก่อนนายชุมพล กล่าวว่า อาจจะทำไปพร้อมกันก็ได้แต่ก็ไม่แน่ใจเพราะยังไม่เห็นร่าง.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการเสนอ พ.ร.บ.ความปรองดองแห่งชาติ ของพรรคเพื่อไทย ซึ่งมีการเสนอให้รัฐบาลเสนอร่างกฎหมายควบคู่ไปด้วยว่า รัฐบาลไม่มีความคิดที่จะเสอนกฎหมายนี้ แต่ในส่วนฝ่ายนิติบัญญัติพรรคการเมือง ส.ส.มีสิทธิ์เสนอได้ แต่รัฐบาลคงไม่เสนอ ส่วนการปฎิรูปการเมืองตามแนวทางของรัฐบาลนั้น กำลังปรึกษากับฝ่ายค้านอยู่ แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบใดๆ โดยได้พยายามคุยกับฝ่ายค้านที่มีบทบาท เพราะไม่อยากเดินฝ่ายเดียว หากจะตั้งคณะทำงานปฏิรูปการเมืองวันนี้ก็ทำได้ แต่ถ้าตั้งแล้วคนบอกว่าไม่อยากได้รูปแบบนี้ มันก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไร คงต้องใช้เวลาสักนิดคงไม่เป็นไร แต่ขอให้เมื่อเริ่มแล้วเป็นที่ยอมรับมันก็จะเป็นแนวทางแก้ป้ญหา
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์ที่มีความสงบเรียบร้อย แต่มีความเคลื่อนไหวของประชาชนหรือกลุ่มคนที่ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่าง ก็ให้ดูแล ไม่ให้มีการละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน ไม่ให้มีการทำผิดกฎหมาย แม้จะมีคณะกรรมการอะไรก็ตาม ตนไม่เชื่อว่าการเคลื่อนไหวต่างๆ จะยุติลง แต่เงื่อนไขอะไรที่จำเป็น จะต้องได้รับความมั่นใจมากขึ้น ว่ามีการดำเนินการชำระสะสาง เป็นเรื่องของรัฐบาลที่จะเร่งรัด เช่น คดีความต่างๆ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้คุยกับตนในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และจะไปสรุปมาให้เห็นความคืบหน้า ต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะต้องคุยกับพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อให้จุดยืนตรงกันหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ยังไม่มีปัญหาอะไร แต่ฝ่ายนิติบัญญัติก็เป็นสิทธิของเขา ในส่วนรัฐบาลมีจุดยืนของรัฐบาล ต้องยึดตามนโยบายรัฐบาล ในแนวทางปฏิรูปการเมือง
ต่อข้อถามว่ามั่นใจว่าคุมเสียงพรรคร่วมได้ใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า มั่นใจ ว่าพูดคุยกันรู้เรื่อง เพราะตนยังยืนยันและเชื่อว่าทุกพรรคที่ร่วมรัฐบาลในขณะนี้รู้ว่า เป้าหมายสำคัญคือการฟื้นเศรษฐกิจ และการไม่สร้างเงื่อนไขความขัดแย้ง เมื่อถามว่า หากวันหนึ่งคุมเสียงข้างมากไม่ได้จะทำอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังไม่เกิดขึ้น และมั่นใจว่าจะไม่เกิดขึ้น ซึ่งเรื่องนี้สามารถพูดคุยกันได้ด้วยเหตุผลไม่มีปัญหา เมื่อถามว่า ในระยะเวลา 6 เดือนของรัฐบาล จะได้เห็นความคืบหน้าการปฏิรูปการเมืองและการตั้งคณะกรรมการเหล่านี้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า อีกตั้ง 5 เดือน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าการปฏิรุปการเมืองรัฐบาลคงไม่ทิ้งเวลาไว้ถึง 6 เดือน แต่ต้องยอมรับว่า 1.ความเร่งด่วนของเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจน ขณะที่ว่าถ้าไม่เกิดขึ้น ในช่วงวัน 2 วันนี้ สัปดาห์หรือ 2 สัปดาห์นี้แล้วจะเสียหาย เราก็ดูภาพรวมของนโยบาย ในการสร้างบรรยากาศของเสถียรภาพในบ้านเมือง และจำกัดวงความขัดแย้ง 2.ไม่มีประโยชน์ที่จะรีบทำและในที่สุดไม่ได้แก้ปัญหา
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าไม่ว่าจะเรียกชื่ออะไร แต่เนื้อหาคือการนิรโทษกรรมให้กับผู้ที่ถูกพิพากษาตัดสิทธิทางการเมืองไปก่อนหน้านี้ ซึ่งคงต้องมีการประชุมกันในพรรคประชาธปัตย์อย่างเป็นกิจจะลักษณ์
จุดยืนของพรรคเราคือจะไม่สร้างกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาให้กับบุคคล หรือกลุ่มบุคคลใด บุคคลหนึ่ง แต่เราจะทำกฎหมายเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศเท่านั้นและหากใครเห็นว่าเรื่องนี้จะทำให้การเมืองดีขึ้นก็ต้องมีคณะกรรมการ ปฏิรูปการเมืองก่อน แล้วจึงค่อยดำเนินการตรงนั้นไป เพราะถ้าเขียนกฎหมาย ออกมาเพื่อช่วยเหลือพวกเดียวกันประชาชนก็คงมีความรู้สึกไม่พอใจ
ส่วนจะทำความเข้าใจกับแกนนำพรรคภูมิใจไทยที่ออกมาสนับสนุนอย่างไรนั้น นายสุเทพ กล่าวว่าทุกพรรคการเมืองต้องไปคุยกันในพรรคของตัวเองก่อน เพื่อให้สมาชิกพรรคส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน และแม้นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยจะออกมาสนับสนุน แต่ก็ต้องฟังเสียงประชาชนดูว่าเป็นอย่างไร
ที่จริงเรื่องการสร้างความปรองดองนี้เราก็ทำอยู่ แต่ไม่ได้ออกมาพูด เพราะก่อนหน้านี้ นายกฯก็ไปพูดกับแกนนำฝ่ายค้านทั้งประธานวิปและประธาน ส.ส.เพื่อที่จะให้มาร่วมมือในการปฏิรูปการเมือง ประเด็นที่นายกรัฐมนตรีได้เสนอไปคือจะร่วมกันพิจารณาหาคนกลางที่ฝ่ายค้านและรัฐบาลรับได้มาเป็นเจ้าภาพ ในการชักชวนฝ่ายต่างๆเข้าร่วมระดมสมองเพื่อปฏิรูปการเมือง แต่ถ้าตัวบุคคลยังคิดกันไม่ออกหรือยอมรับกันไม่ได้ ก็อาจจะใช้สถาบันใดสถาบันหนึ่งมาทำ ส่วนจะเป็นสถาบันใดนั้น ขอให้ฝ่ายค้านและรัฐบาลได้พิจารณาร่วมกันก่อน
***"ชวรัตน์" ยันไม่ได้หนุน
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ ส่วนที่ได้แสดงความคิดเห็นไปก่อนหน้านี้นั้นเป็น ความเห็นส่วนตัวเรื่องนิรโทษกรรมนักการเมือง111 และ109 คนที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปีเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นการเสนอความเห็นส่วนตัว ไม่ใช่มติของพรรค ส่วนเรืองอื่นก็ไม่ได้พูดถึงเลย
ผู้สื่อข่าวถามว่ายืนยันว่าเห็นด้วยที่จะนิรโทษกรรมนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิฯ 111 คน และ 109 คน แต่ไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ นายชวรัตน์ กล่าวว่า ขณะที่แสดงความเห็นไปก่อนหน้านี้นั้น พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติยังไม่ออกมา ดังนั้นขอปฏิเสธว่า ไม่เคยให้ความเห็นเกี่ยวกับพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ ไม่ว่าจะเป็นความเห็นส่วนตัวหรือว่า ในนามพรรคก็ตาม
ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาที่เร่งด่วน เรื่องปากท้องประชาชน เรื่องความสามัคคีของคนในชาติ เรื่องการส่งออกและเรื่องการท่องเที่ยวทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่สำคัญกว่าเรื่องพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ หากจะมีการชะลอพ.ร.บ.นี้ออกไปก็ไม่มีข้อขัดข้อง
ผู้สื่อข่าวถามว่าพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติและการนิรโทษกรรมให้กับนักการเมืองเป็นเรื่องเดียวกัน ถ้ามีการผลักดันจะทำให้เกิดความปรองดองเกิดขึ้นหรือไม่ นายชวรัตน์ กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติมีรายละเอียดจำนวนมาก รวมถึงกฎหมายอาญาและแพ่งด้วย โดยให้ผู้ที่กระทำและผู้ที่อยู่เบื้องหลังให้รอดพ้นจากความผิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาอีกนาน เพราะเป็นเรื่องกฎหมาย ส่วนเรื่องนิรโทษก็ต้องมาดูกันอีกว่าจะนิรโทษทั้งหมดหรือว่า จะต้องมาดูความผิดของแต่ละคน ไม่ใช่นิรโทษทั้งหมดทีเดียว
***ไม่ดัน กม.สร้างความแตกแยก
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ส.ส.นครราชสีมา พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า พรรรคภูมิใจไ ทยไม่ใช่จะสนับสนุนพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ขณะนี้บ้านเมือง ต้องดูแลเรื่องเศรษฐกิจ ความเดือดร้อนของประชาชน สินค้าเกษตรกรรมที่ตกต่ำ ฉะนั้นการเสนอกฎหมายใดๆ ถ้าเป็นเงื่อนไขที่สุ่มเสียงทำให้บ้านเมืองเกิดความแตกแยก เราไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตามเราจะนำเรื่องทั้งหมดเข้าที่ประชุมพรรคในวันอังคารนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่าทำไมจึงคิดว่าพ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะสุ่มเสียงต่อการแตกแยก นายบุญจง กล่าวว่า โดยหลักกฎหมายเมื่อออกมาแล้วต้องบังคับใช้กับคนทั้งประเทศ แต่ถ้าออกกฎหมายเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก็จะต้องมีปัญหาว่า ทำให้คนส่วนมาก ของประเทศคัดค้านหรือไม่เห็นด้วยสุดท้ายก็เกิดความแตกแยกวุ่นวาย หากออกพ.ร.บ.แล้วเป็นเงื่อนไขของความวุ่นวายความแตกแยก ก็ต้องชะลอ
***ปธ.วุฒิชี้ กม.บังคับปรองดองไม่ได้
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวว่าตนเข้าใจว่าการเสนอร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ เป็นเพียงการโยนหินถามทางของฝ่ายการเมือง คงยังไม่มีใครคิดอะไรจริงจัง ส่วนตัวเห็นว่าความปรองดองในชาติ จะสร้างกฎหมายมาบังคับไม่ได้ แต่ต้องเกิดจากความรู้สึก ความเห็นพ้องต้องกันของคนในชาติ ไม่มีประเทศไหนใช้กฎหมายบังคับให้คนสมานฉันท์
อย่างไรก็ตาม หากฝ่ายการเมืองต้องการ ก็คงเป็นสิทธิ์ที่จะเสนอได้ เปรียบเหมือนกฎหมายไทยฉบับหนึ่งที่เขียนห้ามจับสัตว์น้ำบริเวณแอ่งข้างทางรถไฟ ซึ่งคำว่าสัตว์น้ำในกฎหมายฉบับนี้ยังรวมถึงดอกบัวที่อยู่ในแอ่งด้วย สำหรับกรณีนี้ก็ระบุให้ชัดเจนว่า จะยกเลิกโทษสำหรับการกระทำแบบใดบ้าง และช่วงเวลาเท่าใดให้ชัดเจน แต่ต้องขึ้นกับว่า ประชาชนจะ ยอมรับหรือไม่ เพราะเท่าที่ฟังเสียงจากสังคม หลายฝ่ายก็ไม่เห็นด้วย แม้แต่กลุ่มพันธมิตรฯ หรือรัฐบาล และในพรรคฝ่ายค้านเอง ก็ยังเห็นแตกต่างกันอยู่ หากจะทำจริงๆควรจะให้คนกลางอย่างสถาบันพระปกเกล้า เป็นผู้ศึกษาดำเนินการ
ส่วนข่าวที่ว่าจะให้ตนและนาย ชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวกลางในการหารือความเป็นไปได้ของกฎหมายฉบับนี้ ก็ได้ ไม่เป็นไร หากทำให้สังคมสมานฉันท์ได้จริงๆ แต่ตนยังกลัวว่า กฎหมายฉบับนี้จะทำให้เกิดสมานฉันท์ไม่ได้ ทั้งนี้ตอนนี้ยังไม่ได้คุยเรื่องนี้กับนายชัย
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ต้องค่อยๆทำ ฝ่ายการเมืองจะเขียนให้ทุกอย่างเจ๊ากันหมดก็ได้ แต่ต้องถามประชาชนว่า จะเอาหรือไม่ กับการทำความผิดแล้วไม่ต้องรับโทษเลย มีข่าวว่ามีบางพรรคจะเสนอเป็นนโยบายในเรื่องนี้ ในการหาเสียงเลือกตั้งตนเห็นว่าถ้าทำแบบนั้นได้ก็ดี แต่ตนเห็นว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องทำภายใน 6 เดือน เพราะปัญหาเศรษฐกิจเป็นเรื่องใหญ่กว่ามาก
***ชัยชี้ พท.หวังเล่นเกมนออกสภา
นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ยังไม่เห็นร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ แต่หากมีหลักการและเหตุผลตามข่าว อาจเป็นกฎหมาย ที่เกินกว่าความจำเป็นของเงื่อนไขในการสร้างความสมานฉันท์ในประเทศ หรือ สร้างความปรองดองในสังคม เพราะหลักการที่แท้จริงที่จะสร้างความสามัคคีได้ อยู่ที่สำนึกในจิตใจของแต่ละบุคคลมากกว่าที่จะออกเป็นกฎหมาย
สาระสำคัญของกฎหมายในลักษณะความปรองดองเช่นนี้ ยังไม่เคยพบเห็น ที่ไหนมาก่อน จึงอยากตั้งข้อสังเกตถึงความเหมาะสมที่มีการเผยแพร่เนื้อหาสาระให้สื่อมวลชน ก่อนนำเสนอญัตติมีนัยอย่างไรหรือไม่ หรือจะเป็นความต้องการเล่นเกมนอกสภาฯ
***"เฉลิม" เชื่อ กม.ปรองดองล่มแน่
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ยังไม่เห็นร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่วชาติ เป็นเรื่องของฝ่ายกฎหมายของพรรคเขาทำกัน แต่แนวคิดดังกล่าวไม่เหมือนกับแนวคิดของตน ที่ต้องการให้ออก พ.ร.บ.อภัยโทษสำหรับคนที่ได้รับโทษแล้ว และออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้กับคดีความยังไม่เป็นที่สิ้นสุด ในคดีที่เกิดขึ้น หลังจากวันที่ 19 ก.ย. 2549 รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวต้องได้รับการเสนอต่อประชาชนก่อนการเลือกตั้ง และหากประชาชนเห็นด้วย ต้องเลือกพรรคเพื่อไทย ซึ่งถ้าพรรคเพื่อไทยได้คะแนนเสียง เกินกึ่งหนึ่ง ก็จะสามารถผลักดันกฎหมายฉบับนี้ด้วยความชอบธรรม เพราะถือว่าผ่านการทำประชามติจากประชาชนมาแล้ว
ผมว่าไม่น่าจะผ่านเสียงข้างมาก เพราะรัฐบาลเขาไม่เอาด้วย แต่ถ้าทำตาม ที่ผมบอก เราจะมีความชอบธรรมในการดำเนินการ ถ้าทำอย่างนี้อีกฝ่ายสนับสนุนอีกฝ่ายคัดค้าน ก็จะทะเลาะกันมันไม่ดี และวันนี้อย่าไปหวังว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะแตกกันเอง เพราะมันยังไม่ถึงเวลา
***"อภิวันท์" เผย พท.ไม่ได้เป็นผู้เสนอ
พ.อ.อภิวันท์ วิริรยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การที่พรรคเพื่อไทย เตรียมเสนอ ร่างพ.ร.บ.ความปรองดองแห่งชาตินั้น ไม่ได้เกี่ยวกับส.ส.ภายในพรรค แต่เป็นความคิดข้อเสนอของนายสิทธิชัย กิตติธเนศวร อดีต ส.ส.นครนายก เป็นผู้เสนอ เพราะเสียประโยชน์ ยืนยันว่าร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ จากคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองที่นายกฯจะเป็นคนตั้งขึ้น
ขณะที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงหลังการประชุมพรรคว่า ที่ประชุมได้หยิบหยกเรื่องร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ มาหรือ โดยส.ส.ได้นำคำแถลงนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ที่แถลงต่อสภาว่ารัฐบาลจะทำให้สังคมมีความสมานฉันท์ ซึ่งพรรคเห็นว่าเป็นเอกสิทธิ์ของส.ส.ที่เสนอกฎหมาย ซึ่ง ส.ส.ที่เป็นผู้เสนอพ.ร.บ.ดังกล่าวคือ นายประเกียรติ นาสิมมา และนายสุรชัย เบ้าจรรยา ส.ส.สัดส่วน โดยทั้งสองคนได้จะรับหน้าประสานและหารือพรรคร่วมกับรัฐบาล คาดว่าจะเสนอร่าวพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติเข้าที่ประชุมสภาในเร็ววันนี้
***ชุมพลแนะแก้ รธน.แก้การเมือง
นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่ายังไม่เห็นร่างกฎหมายดังกล่าว ในพรรคจึงยังไม่ได้คุยกัน ขอให้เห็นเป็นรูปธรรมก่อนจึงจะทำนมาพิจารณา ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีพรรคใดประสานเข้ามา อย่างไรก็ตามส่วนตัวเห็นว่าปัญหาอยู่ที่รัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้ามีกฎหมายนี้จะทำให้เกิดความสมานฉันท์หรือไม่ นายชุมพล กล่าวว่า การเมืองไทยจะต้องทำเป็นจุดและในองค์รวมด้วย ซึ่งประเด็นที่มีปัญหากันมากก็คือรัฐธรรมนูญที่หลายฝ่ายอยากให้แก้ไข ทั้งในประเด็นที่มา ส.ส. บัญชีรายชื่อ ที่มาของ ส.ว. อำนาจของ ส.ส.ที่มีมากจึงทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลไม่มั่นคงฯลฯ ดังนั้นประเด็นเหล่านี้จึงควรที่จะหยิบหยกขึ้นมาแก้ไข
การนิรโทษกรรมคงช่วยแก้ปัญหาความสมานฉันฑ์ได้ระดับหนึ่งแต่คงไม่ได้แก้ปัญหา ซึ่งถ้าออกกฎหมายนี้มาก็เป็นปัญหาแล้ว ส่วนฏิรูปการเมือง ไม่ใช่แค่การแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเดียว ที่ตนเคยทำมาตั้งแต่ปี 38 คือ ต้องปฎิรูปทั้งหมดครบวงจร ทั้งวัฒนธรรม ประเพณี การศึกษา ฯลฯ
นายชุมพลกล่าวว่า การปฏิรูปการเมืองมันใหญ่เกินไป ประเด็นเวลานี้คือการแก้ปัญหาการเมืองซึ่งอยู่ที่รัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายองค์กรอิสระ ซึ่งประเด็นที่จะแก้ไขมีอยู่แล้ว ตนในฐานะประธานการแก้รัฐธรรมนูญปี 40 ได้ศึกษาและรวบรวมไว้หมดแล้วที่วุฒิสภา ไม่ยากเลยที่จะไปต่อยอด ไม่จำเป็นต้องไปดึงคนกลางเพียงแต่ตกลงในประเด็นที่จะต้องแก้ไข คนในสังคมจะได้รู้มีเหตุผลก็น่าจะเพียงพอแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่าระหว่างการแก้รัฐธรรมนูญกับออก พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ ควรจะทำอะไรก่อนนายชุมพล กล่าวว่า อาจจะทำไปพร้อมกันก็ได้แต่ก็ไม่แน่ใจเพราะยังไม่เห็นร่าง.