ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”เปิดผลศึกษาโอกาสการค้า ลงทุน ในเกาะมัลดีฟ พบไทยมีลู่ทางขยายการค้า และการลงทุน ทั้งส่งออกสินค้าไปขาย เข้าไปทำธุรกิจสปา ท่องเที่ยว และร้านอาหาร รวมไปถึงการสร้างโรงแรม ตั้งโรงงานแปรรูปอาหารทะเล “ราเชนทร์”เตรียมปรับแผนหันรุกตลาดใหม่ที่เป็นหมู่เกาะท่องเที่ยวให้มากขึ้น หลังเห็นโอกาสสดใส
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากผลการศึกษาลู่ทางการทำการค้าและการลงทุนของไทยในหมู่เกาะมัลดีฟแล้ว หลังจากที่ได้มอบนโยบายให้ไปศึกษา โดยพบว่าในส่วนของเกาะมัลดีฟ ไทยมีโอกาสในการส่งออกสินค้าไปขายเกือบทุกชนิด และมีโอกาสในการขยายการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โรงงานแปรรูปอาหาร และธุรกิจบริการ เพื่อรองรับกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี
ทั้งนี้ ในด้านการส่งออกพบว่า สินค้าที่ไทยมีโอกาสในการขยายตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องอุปโภคบริโภค ของตกแต่งบ้าน อุปกรณ์กีฬาทางน้ำ รวมทั้ง สินค้าวัสดุก่อสร้าง และปูนซีเมนต์ เป็นต้น
ปัจจุบันไทยส่งออกไปมัลดีฟเฉลี่ยปีละ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ มีเพียงสินค้าเดียว คือ ปลาทูน่า โดยขณะนี้ไทยมีส่วนแบ่งตลาด 5.3% เป็นรองจากสิงคโปร์ที่มีสัดส่วน 22.7% UAE 15.5% อินเดีย 11.2% มาเลเซีย 10.8% ศรีลังกา 5.7% ซึ่งยังมีโอกาสที่จะขยายการส่งออกได้เพิ่มมากขึ้น
“ต่อไป จะมีนโยบายในการบุกเจาะตลาดที่เป็นเกาะสำคัญๆ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น เพราะที่ผ่านมา ไม่เคยรู้เลยว่าพวกนี้นำเข้าจากไหน นำเข้ายังไง ทั้งๆ ที่คนในท้องที่ และนักท่องเที่ยวต้องกินต้องใช้เหมือนกับคนในประเทศอื่นๆ ในโลก ซึ่งเมื่อรู้แล้ว จะได้บุกเจาะได้ถูกช่องทาง และขยายการส่งออกของไทยไปยังตลาดเหล่านี้ให้เพิ่มขึ้น”นายราเชนทร์กล่าว
นายราเชนทร์กล่าวว่า ในด้านการลงทุน ก็พบว่าไทยมีโอกาสมาก เพราะรัฐบาลมัลดีฟกำลังอยู่ระหว่างการเร่งผลักดันโครงการเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ โดยไทยมีโอกาสเข้าไปลงทุนและร่วมพัฒนาได้ในหลายสาขา เช่น ด้านการก่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ สาธารณูปโภค การรักษาพยาบาล Healthcare และสปา เป็นต้น
“สาขาธุรกิจบริการที่มีโอกาส โดยเฉพาะสปา เพราะในมัลดีฟ มีโรงแรมและรีสอร์ทมากถึง 87 แห่ง และทุกแห่งต้องการอัพเกรดตัวเองด้วยการมีสปาไว้บริการลูกค้า ซึ่งสปาไทยขณะนี้เป็นที่ต้องการอย่างมาก ขณะที่ร้านอาหารไทย เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มีโอกาส และยังพบว่า ไทยยังมีลู่ทางที่จะไปร่วมพัฒนาในสาขาการท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวทางทะเล ดำน้ำชมปะการังและสัตว์น้ำ”นายราเชนทร์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในด้านการลงทุนยังพบว่า ไทยมีโอกาสในการไปตั้งโรงงานแปรรูปสินค้าอาหารทะเล ปลากระป๋อง การจับปลาทูนา ธุรกิจห้องเย็น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทะเลเพื่อป้อนให้กับโรงแรมและรีสอร์ทต่างๆ นอกจากนี้ ภาคเอกชนไทย ที่เป็นผู้บริหารการแสดงมืออาชีพ เช่น สยามนิรมิตร หรือกันตนา ควรจะไปศึกษาลู่ทางการเข้าไปช่วยมัลดีฟบริหารศูนย์ศิลปและวัฒนธรรมของมัลดีฟ ซึ่งขณะนี้มัลดีฟต้องการจะใช้เป็นจุดขายของการพัฒนาการท่องเที่ยว และต้องการมืออาชีพเข้าไปช่วยบริหารจัดการ
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากผลการศึกษาลู่ทางการทำการค้าและการลงทุนของไทยในหมู่เกาะมัลดีฟแล้ว หลังจากที่ได้มอบนโยบายให้ไปศึกษา โดยพบว่าในส่วนของเกาะมัลดีฟ ไทยมีโอกาสในการส่งออกสินค้าไปขายเกือบทุกชนิด และมีโอกาสในการขยายการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โรงงานแปรรูปอาหาร และธุรกิจบริการ เพื่อรองรับกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี
ทั้งนี้ ในด้านการส่งออกพบว่า สินค้าที่ไทยมีโอกาสในการขยายตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องอุปโภคบริโภค ของตกแต่งบ้าน อุปกรณ์กีฬาทางน้ำ รวมทั้ง สินค้าวัสดุก่อสร้าง และปูนซีเมนต์ เป็นต้น
ปัจจุบันไทยส่งออกไปมัลดีฟเฉลี่ยปีละ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ มีเพียงสินค้าเดียว คือ ปลาทูน่า โดยขณะนี้ไทยมีส่วนแบ่งตลาด 5.3% เป็นรองจากสิงคโปร์ที่มีสัดส่วน 22.7% UAE 15.5% อินเดีย 11.2% มาเลเซีย 10.8% ศรีลังกา 5.7% ซึ่งยังมีโอกาสที่จะขยายการส่งออกได้เพิ่มมากขึ้น
“ต่อไป จะมีนโยบายในการบุกเจาะตลาดที่เป็นเกาะสำคัญๆ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น เพราะที่ผ่านมา ไม่เคยรู้เลยว่าพวกนี้นำเข้าจากไหน นำเข้ายังไง ทั้งๆ ที่คนในท้องที่ และนักท่องเที่ยวต้องกินต้องใช้เหมือนกับคนในประเทศอื่นๆ ในโลก ซึ่งเมื่อรู้แล้ว จะได้บุกเจาะได้ถูกช่องทาง และขยายการส่งออกของไทยไปยังตลาดเหล่านี้ให้เพิ่มขึ้น”นายราเชนทร์กล่าว
นายราเชนทร์กล่าวว่า ในด้านการลงทุน ก็พบว่าไทยมีโอกาสมาก เพราะรัฐบาลมัลดีฟกำลังอยู่ระหว่างการเร่งผลักดันโครงการเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ โดยไทยมีโอกาสเข้าไปลงทุนและร่วมพัฒนาได้ในหลายสาขา เช่น ด้านการก่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ สาธารณูปโภค การรักษาพยาบาล Healthcare และสปา เป็นต้น
“สาขาธุรกิจบริการที่มีโอกาส โดยเฉพาะสปา เพราะในมัลดีฟ มีโรงแรมและรีสอร์ทมากถึง 87 แห่ง และทุกแห่งต้องการอัพเกรดตัวเองด้วยการมีสปาไว้บริการลูกค้า ซึ่งสปาไทยขณะนี้เป็นที่ต้องการอย่างมาก ขณะที่ร้านอาหารไทย เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มีโอกาส และยังพบว่า ไทยยังมีลู่ทางที่จะไปร่วมพัฒนาในสาขาการท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวทางทะเล ดำน้ำชมปะการังและสัตว์น้ำ”นายราเชนทร์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในด้านการลงทุนยังพบว่า ไทยมีโอกาสในการไปตั้งโรงงานแปรรูปสินค้าอาหารทะเล ปลากระป๋อง การจับปลาทูนา ธุรกิจห้องเย็น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทะเลเพื่อป้อนให้กับโรงแรมและรีสอร์ทต่างๆ นอกจากนี้ ภาคเอกชนไทย ที่เป็นผู้บริหารการแสดงมืออาชีพ เช่น สยามนิรมิตร หรือกันตนา ควรจะไปศึกษาลู่ทางการเข้าไปช่วยมัลดีฟบริหารศูนย์ศิลปและวัฒนธรรมของมัลดีฟ ซึ่งขณะนี้มัลดีฟต้องการจะใช้เป็นจุดขายของการพัฒนาการท่องเที่ยว และต้องการมืออาชีพเข้าไปช่วยบริหารจัดการ