ASTVผู้จัดการรายวัน - ศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติแฉ! บสท.มั่วฟ้องล้มละลายลูกหนี้ยอดหนี้ผิดนับสิบๆ ล้าน เตือนลูกหนี้ระวังตัว ต้องตรวจสอบ เพราะจะกลายเป็นบุคคลล้มละลายโดยไม่ทันตั้งตัว ด้านผู้บริหาร บสท.ใบ้กิน ไม่ชี้แจง จับตานโยบายปี52 ใช้ กม.ไล่บี้ลูกหนี้
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย หรือที่รู้จักกันดีคือ "บสท." ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์รับหนี้เสียจากสถาบันการเงิน หลังจากที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 และรัฐบาลในช่วงปี 2544 (สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร )ได้มีการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) บริหารสินทรัพย์ไทยขึ้นมา เพื่อนำหนี้ที่โอนมายังบสท.มาทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือปรับปรุงโครงสร้างกิจการ เพื่อประโยชน์แห่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ ให้คำนึงถึงความรวดเร็วในการแก้ปัญหา สินทรัพย์ด้อยคุณภาพต้นทุนในการดำเนินการของบสท. ความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้สุจริต เพื่อผลักดันให้ธุรกิจเหล่านี้ สามารถเริ่มต้นประกอบกิจการใหม่ได้ โดยให้บสท.มีอำนาจลดเงินต้นดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาที่จะคำนวณดอกเบี้ย ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ หรือผ่อนปรนเงื่อนไขในการชำระหนี้อย่างอื่นๆให้ลูกหนี้ (มาตรา 57) และยังปกป้องพนักงานและลูกจ้างบสท.ที่ดำเนินการตามพ.ร.ก.นี้ ไม่ต้องรับผิดในการกระทำของตน เมื่อใช้ความระมัดระวังตามวิสัยของผู้ประกอบการวิชาชีพ เว้นแต่เป็นกรณีฝ่าฝืนกฎหมายทุจริต หรือประเมินเลินเล่ออย่างร้ายแรง(มาตรา 28)
แต่ดูเหมือนว่า ตลอดระยะเวลา 8 ปี เสียงลูกหนี้ได้สะท้อนถึงความไม่โปร่งใส และการเลิกปฎิบัติของบสท.ที่มีต่อลูกหนี้ ทั้งๆที่ตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งบสท.ก็เพื่อเข้ามาฟื้นฟูลูกหนี้ให้กลับเข้าสู่ระบบได้อีกครั้ง!!
***ร้องเรียนกลับถูกฟ้องหมิ่นฯ
นางกัลยาณี รุทระกาญจน์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ กล่าวว่า มีลูกหนี้ของบสท.จำนวนมาก มีคำถามเกี่ยวกับความไม่เข้าใจในการปรับปรุงหนี้ เพราะไม่มีความชัดเจน การตรวจหาหลักฐานไม่ได้ และไม่เคยชี้แจงลูกหนี้ในการไม่รับแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งที่ผ่านมาทางศูนย์ฯได้ทำหนังสือร้องเรียนขอความคุ้มครอง ในกรณีการทำงานและพฤติกรรมของเจ้าพนักงานบสท.ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้กำกับและดูแลบสท.แต่กลับไร้ผล หน้ำซ้ำบสท.ยังกลับให้พนักงานที่ถูกร้องเรียน เอาหนังสือร้องเรียนมาฟ้องร้องหมิ่นประมาท พฤติกรรมเหล่านี้ แสดงถึงการข่มขู่ ปิดปาก มิให้ใครร้องเรียนพนักงานบสท.ได้
"เมื่อศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้อง บสท.ยังทำหนังสือแจ้งลูกหนี้อีกว่า การเอาหนังสือร้องเรียนถึงรัฐมนตรีมาฟ้องในคดีส่วนตัวนั้นทำได้ ไม่ผิดกฎของบสท.ดังนั้น ลูกหนี้อย่าหวังพึ่งแนวทางร้องเรียน ไม่ว่าจะโดนกระทำอย่างไรจากบสท."เลขาธิการฯกล่าวถึงสิ่งที่ลูกหนี้ถูกกระทำ
***มั่วเงินต้นให้เข้าข่ายล้มละลาย
เลขาธิการฯกล่าวถึงความไม่ชอบมาพากลว่า มีลูกหนี้หลายรายได้แจ้งมายังศูนย์ฯ เกี่ยวกับการถูกฟ้องล้มละลาย ทั้งๆ ที่มีหลักประกันที่มากกว่าภาระหนี้ อย่างเช่น ลูกหนี้รายหนึ่งถูกฟ้องล้มละลายซึ่งมียอดหนี้เงินต้นที่ธนาคารแห่งหนึ่งโอนไปยัง บสท.เป็นเงิน 18 ล้านบาท แต่ปรากฎว่ามียอดหนี้พร้อมดอกเบี้ยกระโดดขึ้นไปถึง 114 ล้านบาท และเมื่อมีการตรวจสอบพบว่า มีการคำนวณยอดหนี้ผิดไป 73 ล้านบาท
นอกจากในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ลูกหนี้กลับได้รับโทรศัพท์ที่มีบุคคลอ้างจะเข้ามาเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน มีค่าใช้จ่าย และขอแบ่งจากยอดหนี้ 2-5% ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ และเมื่อเป็นเช่นนี้ ลูกหนี้คิดว่าเป็นข้อเสนอจากทางบสท.และสอบถามเข้าไปยังพนักงาน แต่ได้รับการข่มขู่จากผู้ที่เสนอมาว่า หากนำเรื่องไปแจ้งบสท.จะถูกฟ้องล้มละลาย และเพื่อป้องกันปัญหา ทางลูกหนี้ได้ทำหนังสือไปบสท. แต่เพียงไม่กี่เดือน ลูกหนี้รายนี้ถูกฟ้องล้มละลาย ทั้งๆที่ลูกหนี้ไปประชุมปรับปรุงโครงสร้างหนี้มาตลอด
และเมื่อทางศูนย์ฯเข้าไปตรวจสอบตามที่ได้รับการร้องเรียน พบว่า ทางบสท.นำยอดหนี้ 2ส่วน ซึ่งเป็นหนี้เดียวกันบวกเข้าไป แล้วคิดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดตามคำพิพากษาที่สูงถึง 14.5% ต่อปี เฉพาะกรณีมียอดหนี้ผิดไปถึง 61 ล้านบาท
"เชื่อหรือไม่ จากการที่ลูกหนี้ทำเรื่องแจ้งไปยังบสท.เพื่อให้รอการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้น บสท.ไม่ถอนฟ้องแต่แก้ไขคำฟ้อง ลดยอดหนี้ไป 61 ล้านบาท โดยเมินเฉยที่จะแสดงความรับผิดชอบ "
และที่ซ้ำร้าย ยังเกิดความผิดพลาดอยู่อีก เพราะหนี้ที่ธนาคารแห่งหนึ่งโอนให้บสท.มีเพียง 18 ล้านบาท ซึ่งข้อความทนายของบสท.ที่ฟ้องคดี ยอดหนี้ก็ระบุเงินต้น 18 ล้านบาท แต่ในเอกสารคำนวนหนี้ของบสท.เอายอดหนี้จำนวน 22 ล้านบาทเศษมาคำนวณ แต่ไม่มีแหล่งที่มา ดังนั้น หากนำยอดหนี้เงินต้น 18 ล้านบาทมาคำนวนด้วยดอกเบี้ยผิดนัดตามคำพิพากษาจนถึงวันฟ้อง ยอดหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยต่างกับรายการคำนวนของบสท.ถึง 12 ล้านบาทเศษ
และหากนำตัวเลขเงินต้น 22 ล้านบาทที่บสท.อ้างนั้นมาคำนวนดอกเบี้ยผิดไปอีก โดยถ้านำเงินต้นตามที่บสท.ระบุไว้ 22.79 ล้านบาท คูณด้วยดอกเบี้ยตามคำพิพากษา 7.851 ล้านบาท หารด้วยเงินต้นที่ศาลนำมาคำนวนดอกเบี้ย ก็จะได้ผลลัพธ์ประมาณ 6.149 ล้านบาท แต่ทางบสท.คำนวนอยู่ที่ 6.649 ล้านบาท ส่วนต่างเกิดขึ้น 4.99แสนบาท ซึ่งเป็นยอดเงิน50% ของยอดที่จะทำให้บุคคลธรรมดาล้มละลายได้
"ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทางบสท.รู้หรือแก้ไม่รู้ที่มีการคิดดอกเบี้ยผิดๆแทรกเข้าไป ทั้งๆที่ เมื่อเอายอดหนี้ที่แท้จริงไปหักจากราคาหลักทรัพย์ ค้ำประกันแล้ว ลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินเสียอีก เรียกว่าลูกหนี้ซวยซ้ำซวยซ้อน"
ที่สำคัญ ปัจจุบันบสท.มีเวลาเหลือในการบริหารหนี้อีกเพียงไม่กี่ปี จะต้องมีการชำระบัญชี ทำให้มีนโยบายเร่งรัดการจัดการหนี้ที่ถูกโอนจากสถาบันการเงิน ดังนั้น ทางบสท.กำลังรวบรวมกรณีที่ลูกหนี้ถูกกระทำจากบสท.เพื่อร่วมดำเนินคดี เป็นคดีมหาชน เพื่อป้องกันปัญหาในการเอารัดเอาเปรียบกับลูกหนี้ ขณะเดียวก็สกัดหากต้องถูกยึดทรัพย์ และนำไปขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี ซึ่งส่วนนี้ก็ใช่จะไม่มีปัญหา เพราะเมื่อกรมฯขายทรัพย์ได้ ก็จะนำเงินที่ได้จากการขายที่อยู่อาศัยหรือทรัพย์สินต่างๆไปหักกลบลบหนี้กับดอกเบี้ยมหาโหด 18.5-28% ซึ่งก็ยังไม่พอที่จะทำให้ลูกหนี้เป็นไทย แต่ในบางกรณี ลูกหนี้ยังมียอดหนี้เงินต้นจะเท่าเดิมตลอดไป นี้คือปัญหาที่ยังสะสมมานาน แต่ไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปดูแล เพื่อทำให้กระบวนเหล่านี้ ถูกต้องและเป็นธรรม
***ผู้บริหาร บสท.ปัดชี้แจง
ผู้สื่อข่าวASTVผู้จัดการรายวัน ได้มีการดำเนินการสอบถามไปยังผู้บริหารระดับสูงของบสท.เพื่อขอความกระจ่างเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกหนี้ แต่กลับได้คำตอบว่า ผู้บริหารไม่ชี้แจงเรื่องนี้
อนึ่ง ล่าสุด บสท.ได้ออกข่าวประชาสัมพันธ์แจงถึงผลการดำเนินงานปี 51 ที่ผ่านมา สามารถบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับโอนมาจากสถาบันการเงิน จนมีข้อยุติแล้วทั้งหมด 100% โดยบสท.ได้รับชำระเป็นเงินสดตามแผนปรับโครงสร้างหนี้รวม 17,375 ล้านบาท สามารถบริหารจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย (NPA)ได้จำนวน 9,151 ล้านบาท เมื่อรวมกับการขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันโดยบสท.จำนวน 432 ล้านบาท และการขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันโดยกรมบังคับคดี จำนวน 965 ล้านบาท ทำให้มียอดการบริหารและจำหน่ายทรัพย์สินรอการขายรวมจำนวน 10,548 ล้านบาท
ที่สำคัญแล้ว ในปี52 บสท.ได้กำหนดเป้าจะมีรายรับจากการจัดเก็บหนี้ลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 14,500 ล้านบาท ด้วยการมุ่งเน้นการกำกับดูแลติดตามลูกหนี้อย่างใกล้ชิด เพิ่มความเข้มงวดในการใช้อำนาจทางกฎหมาย เพื่อส่งสัญญาณในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามแผนฯ และจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย จำนวน 9,400 ล้านบาท ซึ่ง บสท. จะนำเงินดังกล่าวบางส่วนไปไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นจำนวน 21,000 ล้านบาท.
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย หรือที่รู้จักกันดีคือ "บสท." ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์รับหนี้เสียจากสถาบันการเงิน หลังจากที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 และรัฐบาลในช่วงปี 2544 (สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร )ได้มีการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) บริหารสินทรัพย์ไทยขึ้นมา เพื่อนำหนี้ที่โอนมายังบสท.มาทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือปรับปรุงโครงสร้างกิจการ เพื่อประโยชน์แห่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ ให้คำนึงถึงความรวดเร็วในการแก้ปัญหา สินทรัพย์ด้อยคุณภาพต้นทุนในการดำเนินการของบสท. ความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้สุจริต เพื่อผลักดันให้ธุรกิจเหล่านี้ สามารถเริ่มต้นประกอบกิจการใหม่ได้ โดยให้บสท.มีอำนาจลดเงินต้นดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาที่จะคำนวณดอกเบี้ย ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ หรือผ่อนปรนเงื่อนไขในการชำระหนี้อย่างอื่นๆให้ลูกหนี้ (มาตรา 57) และยังปกป้องพนักงานและลูกจ้างบสท.ที่ดำเนินการตามพ.ร.ก.นี้ ไม่ต้องรับผิดในการกระทำของตน เมื่อใช้ความระมัดระวังตามวิสัยของผู้ประกอบการวิชาชีพ เว้นแต่เป็นกรณีฝ่าฝืนกฎหมายทุจริต หรือประเมินเลินเล่ออย่างร้ายแรง(มาตรา 28)
แต่ดูเหมือนว่า ตลอดระยะเวลา 8 ปี เสียงลูกหนี้ได้สะท้อนถึงความไม่โปร่งใส และการเลิกปฎิบัติของบสท.ที่มีต่อลูกหนี้ ทั้งๆที่ตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งบสท.ก็เพื่อเข้ามาฟื้นฟูลูกหนี้ให้กลับเข้าสู่ระบบได้อีกครั้ง!!
***ร้องเรียนกลับถูกฟ้องหมิ่นฯ
นางกัลยาณี รุทระกาญจน์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ กล่าวว่า มีลูกหนี้ของบสท.จำนวนมาก มีคำถามเกี่ยวกับความไม่เข้าใจในการปรับปรุงหนี้ เพราะไม่มีความชัดเจน การตรวจหาหลักฐานไม่ได้ และไม่เคยชี้แจงลูกหนี้ในการไม่รับแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งที่ผ่านมาทางศูนย์ฯได้ทำหนังสือร้องเรียนขอความคุ้มครอง ในกรณีการทำงานและพฤติกรรมของเจ้าพนักงานบสท.ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้กำกับและดูแลบสท.แต่กลับไร้ผล หน้ำซ้ำบสท.ยังกลับให้พนักงานที่ถูกร้องเรียน เอาหนังสือร้องเรียนมาฟ้องร้องหมิ่นประมาท พฤติกรรมเหล่านี้ แสดงถึงการข่มขู่ ปิดปาก มิให้ใครร้องเรียนพนักงานบสท.ได้
"เมื่อศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้อง บสท.ยังทำหนังสือแจ้งลูกหนี้อีกว่า การเอาหนังสือร้องเรียนถึงรัฐมนตรีมาฟ้องในคดีส่วนตัวนั้นทำได้ ไม่ผิดกฎของบสท.ดังนั้น ลูกหนี้อย่าหวังพึ่งแนวทางร้องเรียน ไม่ว่าจะโดนกระทำอย่างไรจากบสท."เลขาธิการฯกล่าวถึงสิ่งที่ลูกหนี้ถูกกระทำ
***มั่วเงินต้นให้เข้าข่ายล้มละลาย
เลขาธิการฯกล่าวถึงความไม่ชอบมาพากลว่า มีลูกหนี้หลายรายได้แจ้งมายังศูนย์ฯ เกี่ยวกับการถูกฟ้องล้มละลาย ทั้งๆ ที่มีหลักประกันที่มากกว่าภาระหนี้ อย่างเช่น ลูกหนี้รายหนึ่งถูกฟ้องล้มละลายซึ่งมียอดหนี้เงินต้นที่ธนาคารแห่งหนึ่งโอนไปยัง บสท.เป็นเงิน 18 ล้านบาท แต่ปรากฎว่ามียอดหนี้พร้อมดอกเบี้ยกระโดดขึ้นไปถึง 114 ล้านบาท และเมื่อมีการตรวจสอบพบว่า มีการคำนวณยอดหนี้ผิดไป 73 ล้านบาท
นอกจากในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ลูกหนี้กลับได้รับโทรศัพท์ที่มีบุคคลอ้างจะเข้ามาเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน มีค่าใช้จ่าย และขอแบ่งจากยอดหนี้ 2-5% ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ และเมื่อเป็นเช่นนี้ ลูกหนี้คิดว่าเป็นข้อเสนอจากทางบสท.และสอบถามเข้าไปยังพนักงาน แต่ได้รับการข่มขู่จากผู้ที่เสนอมาว่า หากนำเรื่องไปแจ้งบสท.จะถูกฟ้องล้มละลาย และเพื่อป้องกันปัญหา ทางลูกหนี้ได้ทำหนังสือไปบสท. แต่เพียงไม่กี่เดือน ลูกหนี้รายนี้ถูกฟ้องล้มละลาย ทั้งๆที่ลูกหนี้ไปประชุมปรับปรุงโครงสร้างหนี้มาตลอด
และเมื่อทางศูนย์ฯเข้าไปตรวจสอบตามที่ได้รับการร้องเรียน พบว่า ทางบสท.นำยอดหนี้ 2ส่วน ซึ่งเป็นหนี้เดียวกันบวกเข้าไป แล้วคิดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดตามคำพิพากษาที่สูงถึง 14.5% ต่อปี เฉพาะกรณีมียอดหนี้ผิดไปถึง 61 ล้านบาท
"เชื่อหรือไม่ จากการที่ลูกหนี้ทำเรื่องแจ้งไปยังบสท.เพื่อให้รอการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้น บสท.ไม่ถอนฟ้องแต่แก้ไขคำฟ้อง ลดยอดหนี้ไป 61 ล้านบาท โดยเมินเฉยที่จะแสดงความรับผิดชอบ "
และที่ซ้ำร้าย ยังเกิดความผิดพลาดอยู่อีก เพราะหนี้ที่ธนาคารแห่งหนึ่งโอนให้บสท.มีเพียง 18 ล้านบาท ซึ่งข้อความทนายของบสท.ที่ฟ้องคดี ยอดหนี้ก็ระบุเงินต้น 18 ล้านบาท แต่ในเอกสารคำนวนหนี้ของบสท.เอายอดหนี้จำนวน 22 ล้านบาทเศษมาคำนวณ แต่ไม่มีแหล่งที่มา ดังนั้น หากนำยอดหนี้เงินต้น 18 ล้านบาทมาคำนวนด้วยดอกเบี้ยผิดนัดตามคำพิพากษาจนถึงวันฟ้อง ยอดหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยต่างกับรายการคำนวนของบสท.ถึง 12 ล้านบาทเศษ
และหากนำตัวเลขเงินต้น 22 ล้านบาทที่บสท.อ้างนั้นมาคำนวนดอกเบี้ยผิดไปอีก โดยถ้านำเงินต้นตามที่บสท.ระบุไว้ 22.79 ล้านบาท คูณด้วยดอกเบี้ยตามคำพิพากษา 7.851 ล้านบาท หารด้วยเงินต้นที่ศาลนำมาคำนวนดอกเบี้ย ก็จะได้ผลลัพธ์ประมาณ 6.149 ล้านบาท แต่ทางบสท.คำนวนอยู่ที่ 6.649 ล้านบาท ส่วนต่างเกิดขึ้น 4.99แสนบาท ซึ่งเป็นยอดเงิน50% ของยอดที่จะทำให้บุคคลธรรมดาล้มละลายได้
"ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทางบสท.รู้หรือแก้ไม่รู้ที่มีการคิดดอกเบี้ยผิดๆแทรกเข้าไป ทั้งๆที่ เมื่อเอายอดหนี้ที่แท้จริงไปหักจากราคาหลักทรัพย์ ค้ำประกันแล้ว ลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินเสียอีก เรียกว่าลูกหนี้ซวยซ้ำซวยซ้อน"
ที่สำคัญ ปัจจุบันบสท.มีเวลาเหลือในการบริหารหนี้อีกเพียงไม่กี่ปี จะต้องมีการชำระบัญชี ทำให้มีนโยบายเร่งรัดการจัดการหนี้ที่ถูกโอนจากสถาบันการเงิน ดังนั้น ทางบสท.กำลังรวบรวมกรณีที่ลูกหนี้ถูกกระทำจากบสท.เพื่อร่วมดำเนินคดี เป็นคดีมหาชน เพื่อป้องกันปัญหาในการเอารัดเอาเปรียบกับลูกหนี้ ขณะเดียวก็สกัดหากต้องถูกยึดทรัพย์ และนำไปขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี ซึ่งส่วนนี้ก็ใช่จะไม่มีปัญหา เพราะเมื่อกรมฯขายทรัพย์ได้ ก็จะนำเงินที่ได้จากการขายที่อยู่อาศัยหรือทรัพย์สินต่างๆไปหักกลบลบหนี้กับดอกเบี้ยมหาโหด 18.5-28% ซึ่งก็ยังไม่พอที่จะทำให้ลูกหนี้เป็นไทย แต่ในบางกรณี ลูกหนี้ยังมียอดหนี้เงินต้นจะเท่าเดิมตลอดไป นี้คือปัญหาที่ยังสะสมมานาน แต่ไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปดูแล เพื่อทำให้กระบวนเหล่านี้ ถูกต้องและเป็นธรรม
***ผู้บริหาร บสท.ปัดชี้แจง
ผู้สื่อข่าวASTVผู้จัดการรายวัน ได้มีการดำเนินการสอบถามไปยังผู้บริหารระดับสูงของบสท.เพื่อขอความกระจ่างเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกหนี้ แต่กลับได้คำตอบว่า ผู้บริหารไม่ชี้แจงเรื่องนี้
อนึ่ง ล่าสุด บสท.ได้ออกข่าวประชาสัมพันธ์แจงถึงผลการดำเนินงานปี 51 ที่ผ่านมา สามารถบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับโอนมาจากสถาบันการเงิน จนมีข้อยุติแล้วทั้งหมด 100% โดยบสท.ได้รับชำระเป็นเงินสดตามแผนปรับโครงสร้างหนี้รวม 17,375 ล้านบาท สามารถบริหารจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย (NPA)ได้จำนวน 9,151 ล้านบาท เมื่อรวมกับการขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันโดยบสท.จำนวน 432 ล้านบาท และการขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันโดยกรมบังคับคดี จำนวน 965 ล้านบาท ทำให้มียอดการบริหารและจำหน่ายทรัพย์สินรอการขายรวมจำนวน 10,548 ล้านบาท
ที่สำคัญแล้ว ในปี52 บสท.ได้กำหนดเป้าจะมีรายรับจากการจัดเก็บหนี้ลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 14,500 ล้านบาท ด้วยการมุ่งเน้นการกำกับดูแลติดตามลูกหนี้อย่างใกล้ชิด เพิ่มความเข้มงวดในการใช้อำนาจทางกฎหมาย เพื่อส่งสัญญาณในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามแผนฯ และจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย จำนวน 9,400 ล้านบาท ซึ่ง บสท. จะนำเงินดังกล่าวบางส่วนไปไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นจำนวน 21,000 ล้านบาท.