ASTVผู้จัดการรายวัน – รัฐบาลไม่หยุดกระตุ้นเศรษฐกิจ "กอร์ปศักดิ์" เผยงบประมาณปี 2553 ต้องขาดดุลแถมกู้นอกงบกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม มั่นใจสัปดาห์หน้ากรอบงบประมาณปี 53 เข้า ครม. ด้าน บสย.เด้งรับนโยบายหลังเพิ่มทุน 3 พันล้าน เพิ่มศักยภาพค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอีได้อีก 3 หมื่นล้าน ส่วนเงินกองทุนสูงถึง 6.5 พันล้าน
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยความคืบหน้าการจัดทำงบประมาณประจำปี 53 ว่า จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้า ขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งหารือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยยังคงจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล เพื่อใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนจะขาดดุลงบประมาณไปอีกกี่ปีนั้น ต้องหาข้อสรุปอีกครั้ง อย่างไรก็ตามกระบวนการต่างๆ ต้องเป็นไปตามข้อกฎหมาย ซึ่งเกินเพดานไม่ได้
"วงเงินงบประมาณรายจ่ายอาจไม่แตกต่างจากปีงบประมาณปี 52 มากนัก แต่คงไม่เพียงพอ จึงอาจต้องกู้ยืมเงินนอกงบประมาณมาดำเนินการด้วย รัฐบาลมั่นใจว่าการจัดทำงบประมาณประจำปี 53 จะแล้วเสร็จทันตามกำหนดเริ่มใช้ได้ในเดือน ต.ค.52 เพราะยังมีเวลาถึง 8 เดือน"
นายกอร์ปศักดิ์ยังกล่าวถึง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ที่กำลังจะออกมาว่า เน้นการสร้างงานเป็นหลัก ด้านความคืบหน้าการจัดตั้งวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) สำหรับผู้ประกอบการอยู่ระหว่างการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เบื้องต้นคาดว่าจะมีวงเงินประมาณ 60,00-80,000 ล้านบาท ดำเนินการโดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดยจะเน้นช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งออก และท่องเที่ยว
การประชุมงบประมาณวานนี้ (12 ก.พ.) นอกจากนายกอร์ปศักดิ์แล้วยังมี นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.การคลัง นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และนายบัณฑูร สุภัควณิช ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์" ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ว่า การจัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 53 ที่มีการตั้งเป้าขาดดุลไว้ ได้ให้หลักการไปแล้วคือให้ใช้ตัวเลขรายได้จริงที่จะเก็บได้ในปี 52 เป็นฐาน เนื่องจากรัฐบาลไม่ต้องการให้มีการประมาณการรายได้สูงเกินความเป็นจริง เพราะจะไปกระทบกับประชาชนชนและผู้ประกอบการจากการไล่บี้ภาษีในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ
"จะต้องตั้งฐานรายได้จากความเป็นจริงซึ่งลดต่ำลงมา เพราะปีนี้เราเก็บได้ต่ำกว่าเป้า จากนั้นจะมาดูว่าเพดานที่จะขาดดุลได้นั้นควรเป็นเท่าไหร่ แต่เบื้องต้นเท่าที่ดูตัวเลข คิดว่าจะไม่ขาดดุลเต็มเพดาน แต่จะมีการเผื่อเหลือไว้ ซึ่งแปลว่าการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลจะเพิ่มขึ้นไม่มากหรืออาจไม่เพิ่มเลยก็ได้ และคาดว่าอีก 2 สัปดาห์จำกำหนดตัวเลขได้" นายกรัฐมนตรีกล่าว
***บสย.เผยค้ำประกันสินเชื่อได้ 2 พันล.
นายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)เปิดเผยว่า หลังจากที่รัฐบาลให้เงินเพิ่มทุนอีก 3 พันล้านบาท ทำให้มีเงินทุนเพิ่มเป็น 6.5 พันล้านบาท ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการค้ำประกันสินเชื่อให้ธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)ได้มากถึง 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งผู้สนใจสามารถยื่นขอสินเชื่อเข้ามาได้ตามสำนักงานในภูมิภาค แม้ว่าจะยังไม่ได้รับเงินเพิ่มทุนก็สามารถใช้เงินทุนของบสย.ดำเนินการไปก่อนได้คาดว่าจะได้รับเงินเข้ามาประมาณ 2 เดือนข้างหน้า
นายทวีศักดิ์กล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวเป็นการค้ำประกันสินเชื่อผ่านธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินของรัฐ และเน้นให้กลุ่มเอสเอ็มอีต่อเนื่องด้านท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร รวมถึงกลุ่มส่งออกก่อนเพราะเป็นกลุ่มที่มีการจ้างงานมากและได้รับความเดือนร้อนที่สุดในขณะนี้ ส่วนกลุ่มอื่นๆก็สามารถขอเข้ามาได้เช่นกัน โดยบสย.จะค้ำประกันสูงสุดไม่เกินรายละ 20 ล้านบาท แต่เฉลี่ยน่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 2 ล้านบาท รวมช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ประมาณ 1.5 หมื่นราย ก่อให้เกิดการจ้างงาน 3 แสนคนเกิดเงินหมุนเวียน 3 แสนล้านบาท
“การอนุมัติจะลดขั้นตอนลงจาก 2 สัปดาห์เหลือ 3-5 วันเพื่อให้เงินถึงมือเอสเอ็มอีโดยเร็วและไม่มีข้อจำกัดด้านวงเงิน ซึ่งไม่น่าจะทำให้เกิดความเสี่ยงเพราะธนาคาระพาณิชย์จะคัดเลือกลูกค้าที่มีศักยภาพมาแล้วระดับหนึ่ง และตามโครงการนี้บสย.จะมีเพดานการรับประกันความเสี่ยงที่แน่นอน และจะทยอยจ่ายให้ในแต่ละปี แต่ปี 1-2 จะมากกว่าปีอื่นๆ เพราะธนาคารเองมองว่าเป็นช่วงเลาที่เสี่ยงหนีเสียมากที่สุด”
สำหรับการรับประกันความเสียหาย นายทวีศักดิ์กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีระยะเวลา 5 ปี โดยแบ่งความรับผิดชอบคือ การหากสถาบันการเงินใดมีตัวเลขหนี้เสียไม่เกิน 12% บสย.จะรับภาระครอบคลุม 100% หากหนี้เสียอยู่ที่ 14% บสย.รับ 75% หากอยู่ที่ 14-18% บสย.รับภาระเพียงครึ่งเดียว ทำให้ธนาคารเองต้องบริหารด้วยความระมัดระวังด้วย เพราะหากตัวเลขหนี้เสียสูงเกิน 2 หลัก ธนาคารเองก็จะลำบาก ซึ่งคาดว่าโครงการดังกล่าวจะดำเนินการค้ำประกันได้หมดภายใน 1 ปีและมีหนี้เสียไม่เกิน 12% เทียบกับหนี้เสียของบสย.เองที่ขณะนี้มีประมาณ 18%.
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยความคืบหน้าการจัดทำงบประมาณประจำปี 53 ว่า จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้า ขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งหารือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยยังคงจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล เพื่อใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนจะขาดดุลงบประมาณไปอีกกี่ปีนั้น ต้องหาข้อสรุปอีกครั้ง อย่างไรก็ตามกระบวนการต่างๆ ต้องเป็นไปตามข้อกฎหมาย ซึ่งเกินเพดานไม่ได้
"วงเงินงบประมาณรายจ่ายอาจไม่แตกต่างจากปีงบประมาณปี 52 มากนัก แต่คงไม่เพียงพอ จึงอาจต้องกู้ยืมเงินนอกงบประมาณมาดำเนินการด้วย รัฐบาลมั่นใจว่าการจัดทำงบประมาณประจำปี 53 จะแล้วเสร็จทันตามกำหนดเริ่มใช้ได้ในเดือน ต.ค.52 เพราะยังมีเวลาถึง 8 เดือน"
นายกอร์ปศักดิ์ยังกล่าวถึง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ที่กำลังจะออกมาว่า เน้นการสร้างงานเป็นหลัก ด้านความคืบหน้าการจัดตั้งวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) สำหรับผู้ประกอบการอยู่ระหว่างการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เบื้องต้นคาดว่าจะมีวงเงินประมาณ 60,00-80,000 ล้านบาท ดำเนินการโดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดยจะเน้นช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งออก และท่องเที่ยว
การประชุมงบประมาณวานนี้ (12 ก.พ.) นอกจากนายกอร์ปศักดิ์แล้วยังมี นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.การคลัง นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และนายบัณฑูร สุภัควณิช ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์" ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ว่า การจัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 53 ที่มีการตั้งเป้าขาดดุลไว้ ได้ให้หลักการไปแล้วคือให้ใช้ตัวเลขรายได้จริงที่จะเก็บได้ในปี 52 เป็นฐาน เนื่องจากรัฐบาลไม่ต้องการให้มีการประมาณการรายได้สูงเกินความเป็นจริง เพราะจะไปกระทบกับประชาชนชนและผู้ประกอบการจากการไล่บี้ภาษีในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ
"จะต้องตั้งฐานรายได้จากความเป็นจริงซึ่งลดต่ำลงมา เพราะปีนี้เราเก็บได้ต่ำกว่าเป้า จากนั้นจะมาดูว่าเพดานที่จะขาดดุลได้นั้นควรเป็นเท่าไหร่ แต่เบื้องต้นเท่าที่ดูตัวเลข คิดว่าจะไม่ขาดดุลเต็มเพดาน แต่จะมีการเผื่อเหลือไว้ ซึ่งแปลว่าการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลจะเพิ่มขึ้นไม่มากหรืออาจไม่เพิ่มเลยก็ได้ และคาดว่าอีก 2 สัปดาห์จำกำหนดตัวเลขได้" นายกรัฐมนตรีกล่าว
***บสย.เผยค้ำประกันสินเชื่อได้ 2 พันล.
นายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)เปิดเผยว่า หลังจากที่รัฐบาลให้เงินเพิ่มทุนอีก 3 พันล้านบาท ทำให้มีเงินทุนเพิ่มเป็น 6.5 พันล้านบาท ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการค้ำประกันสินเชื่อให้ธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)ได้มากถึง 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งผู้สนใจสามารถยื่นขอสินเชื่อเข้ามาได้ตามสำนักงานในภูมิภาค แม้ว่าจะยังไม่ได้รับเงินเพิ่มทุนก็สามารถใช้เงินทุนของบสย.ดำเนินการไปก่อนได้คาดว่าจะได้รับเงินเข้ามาประมาณ 2 เดือนข้างหน้า
นายทวีศักดิ์กล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวเป็นการค้ำประกันสินเชื่อผ่านธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินของรัฐ และเน้นให้กลุ่มเอสเอ็มอีต่อเนื่องด้านท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร รวมถึงกลุ่มส่งออกก่อนเพราะเป็นกลุ่มที่มีการจ้างงานมากและได้รับความเดือนร้อนที่สุดในขณะนี้ ส่วนกลุ่มอื่นๆก็สามารถขอเข้ามาได้เช่นกัน โดยบสย.จะค้ำประกันสูงสุดไม่เกินรายละ 20 ล้านบาท แต่เฉลี่ยน่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 2 ล้านบาท รวมช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ประมาณ 1.5 หมื่นราย ก่อให้เกิดการจ้างงาน 3 แสนคนเกิดเงินหมุนเวียน 3 แสนล้านบาท
“การอนุมัติจะลดขั้นตอนลงจาก 2 สัปดาห์เหลือ 3-5 วันเพื่อให้เงินถึงมือเอสเอ็มอีโดยเร็วและไม่มีข้อจำกัดด้านวงเงิน ซึ่งไม่น่าจะทำให้เกิดความเสี่ยงเพราะธนาคาระพาณิชย์จะคัดเลือกลูกค้าที่มีศักยภาพมาแล้วระดับหนึ่ง และตามโครงการนี้บสย.จะมีเพดานการรับประกันความเสี่ยงที่แน่นอน และจะทยอยจ่ายให้ในแต่ละปี แต่ปี 1-2 จะมากกว่าปีอื่นๆ เพราะธนาคารเองมองว่าเป็นช่วงเลาที่เสี่ยงหนีเสียมากที่สุด”
สำหรับการรับประกันความเสียหาย นายทวีศักดิ์กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีระยะเวลา 5 ปี โดยแบ่งความรับผิดชอบคือ การหากสถาบันการเงินใดมีตัวเลขหนี้เสียไม่เกิน 12% บสย.จะรับภาระครอบคลุม 100% หากหนี้เสียอยู่ที่ 14% บสย.รับ 75% หากอยู่ที่ 14-18% บสย.รับภาระเพียงครึ่งเดียว ทำให้ธนาคารเองต้องบริหารด้วยความระมัดระวังด้วย เพราะหากตัวเลขหนี้เสียสูงเกิน 2 หลัก ธนาคารเองก็จะลำบาก ซึ่งคาดว่าโครงการดังกล่าวจะดำเนินการค้ำประกันได้หมดภายใน 1 ปีและมีหนี้เสียไม่เกิน 12% เทียบกับหนี้เสียของบสย.เองที่ขณะนี้มีประมาณ 18%.