ASTVผู้จัดการรายวัน – หลังรัฐบาลไฟเขียวเพิ่มทุนให้ 1.2 หมื่นล้าน บิ๊ก 3 แบงก์ประกาศอัดฉีดเต็มที่ เอ็กซิมชูแผน 3 ปีประกันส่งออกมูลค่ารวม 4.5 แสนล้านช่วยผู้ส่งออกแบกรับความเสี่ยง ระบุสินค้ากลุ่มอาหารและการเกษตรยังเติบโตได้ดี ด้าน บสย.แจงหารือ ธปท.-สมาคมธนาคารไทยร่างเกณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อแล้วคาดได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ เบื้องต้นค้ำประกันสินเชื่อวงเงิน 3 หมื่นล้านบาท ส่วนเอสเอ็มอีแบงก์ผ่อนปรนมาตรการหนุนโครงการ smePOWER เพิ่มเพดานวงเงินกู้มากกว่า 10 ล้านบาทต่อราย ขยายสินเชื่อแฟคตอริ่งเสริมสภาพคล่อง
จากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่อนุมัติการเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินของรัฐรองรับการขยายสินเชื่อให้แก่ผู้ส่งออก ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการค้ำประกันให้แก่ผู้ส่งออกและผู้ประกอบการรายย่อย มีการเพิ่มทุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 3 แห่ง วงเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ 2 พันล้านบาท ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ 5 พันล้านบาท และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 5 พันล้านบาท
นายอภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการ เอ็กซิมแบงก์ กล่าวว่า เงินเพิ่มทุนดังกล่าวจะนำมาใช้สำหรับรองรับการรับประกันการส่งออกซึ่งได้วางไว้ตามแผนระยะ 3 ปี คำประกันได้ปีละ 1.5 แสนล้านบาท รวมมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 4.5 แสนล้านบาท โดยเอ็กซิมแบงก์เองมีความพร้อมเต็มที่ในการดำเนินการส่วนนี้หลังจากได้รับวงเงินดังกล่าวก็จะสามารถดำเนินโครงการนี้ได้ทันที ทั้งนี้ผู้ส่งออกสามารถยื่นขอประกันการส่งออกได้ที่เอ็กซิมแบงก์ทุกสาขา
โดยเอ็กซิมแบงก์ไม่ได้จำกัดประเภทสินค้าส่งออกพร้อมสนับสนุนการส่งออกสินค้าทุกประเภทโดยเฉพาะการส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศที่เป็นตลาดใหม่หากอุตสาหกรรมใดมีความพร้อมที่จะส่งออกก็ติดต่อมาที่เอ็กซิมแบงก์ได้ทันที ซึ่งสินค้าที่มองว่าจะมีการขยายตัวได้ในอัตราที่ดีจะเป็นหมวดสินค้าอาหารและเกษตร รวมถึงสินค้าประเภทอัญมณีสำหรับตลาดล่างและตลาดบน ขณะที่สินค้ากลุ่มอื่นก็ต้องเร่งทำตลาดเพิ่มมากขึ้น
“ตัวเลขการส่งออกติดลบที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศออกมานักสะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของโลกที่ถดถอย ซึ่งต้องมองมาถึงไตรมาส 1 และ 2 ของปีนี้ว่ากำลังซื้อในต่างประเทศจะกระเตื้องขึ้นหรือไม่หลังประเทศต่างๆ ออกมาตรการออกมากระตุ้นกำลังซื้อ” นายอภิชัยกล่าวและว่า เรื่องนี้ต้องใช้เวลาสักระยะเพื่อฟื้นความเชื่อมั่นซึ่งส่งผลให้กำลังซื้อลดลงประกอบกับสภาพคล่องของผู้ซื้อที่มีปัญหาจึงต้องทำประกันการส่งออกหากเกิดกรณีที่ลูกค้าไม่สามารถชำระเงินได้ซึ่งเมื่อธนาคารต้องรับความเสี่ยงในส่วนนี้มากก็มีความจำเป็นที่รัฐบาลต้องเข้ามาเพิ่มทุนในครั้งนี้
บสย.พร้อมค้ำประกันสินเชื่อ 3 หมื่นล.
นายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย. กล่าวว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้บสย.เข้าไปค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อยนั้น วงเงินสนับสนุนที่ได้รับจากรัฐบาลจะสามารถค้ำประกันสินเชื่อได้ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งสิ่งแรกที่จะต้องดำเนินการคือตรวจสอบว่าผู้ประกอบการในกลุ่มใดมีความต้องการให้บสย.เข้าไปค้ำประกันสินเชื่อเป็นการเร่งด่วนบ้าง
ทั้งนี้ จากนโยบายของรัฐบาลมีความต้องการให้บสย.ช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เช่น โรงแรม รีสอร์ต ร้านอาหาร ร้านขายสินค้าที่ระลึกรวมทั้งการส่งออก ซึ่งบสย.เองก็มีความพร้อมในการดำเนินการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสถาบันการเงินปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการรายย่อยที่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องให้สามารถเดินหน้าไปได้
“เราถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศร่วมกับอีกหลายๆ หน่วยงาน ซึ่งได้มีการหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทยในเรื่องเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การค้ำประกันสินเชื่อเพื่อสร้างสภาพคล่องในระบบและตรวจสอบศักยภาพว่าบสย.สามารถรับความเสี่ยงและความเสียหายจากการค้ำประกันสินเชื่อได้ในระดับใด ซึ่งคาดว่าจะหาข้อสรุปได้ในเร็วๆ นี้” นายทวีศักดิ์กล่าว
SMEแบงก์ผ่อนปรนเงื่อนไขปล่อยกู้
นายสุรชัย กำพลานนท์วัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวว่า เงินเพิ่มทุนที่ธนาคารได้รับจะนำมาปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการโดยผ่านโครงการสินเชื่อ smePOWER เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ให้มีสภาพคล่องและลดต้นทุนทางการเงิน เพื่อรักษาการผลิตและบริการอย่างต่อเนื่อง อันมีผลต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในการประชุมวันนี้ธนาคารจะผ่อนประเกณฑ์ในการปล่อยสินเชื่อโครงการสินเชื่อ smePOWER มากขึ้น
โดยในเบื้องต้นจะปรับเพดานเงินกู้จากเดิมสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อรายให้สูงซึ้นตามผลการประชุมคณะกรรมการบริหารในวันนี้ นอกจากนี้ยังได้ผ่อนปรนเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุมัติให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามธนาคารก็ยังจะต้องรักษาคุณภาพการปล่อยสินเชื่อโครงการสินเชื่อ smePOWER ไว้ ขณะเดียวกันจะมีการขยายประเภทสินเชื่อจากเดิมที่เป็นเพียงการปล่อยสินเชื่อระยะยาวเท่านั้นธนาคารจะเพิ่มการปล่อยสินเชื่อแฟคตอริ่งเพื่อแก้ปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจอันมีสาเหตุจากเงินทุนจมอยู่ในลูกหนี้การค้า เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กิจการมีความเข้มแข็ง และสามารถขยายธุรกิจต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง
“ตัวเลขเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อประเภทต่างๆ จะสามารถสรุปได้ในการประชุมบอร์ดบริหารวันนี้ ซึ่งได้คาดการในเบื้องต้นไว้ว่าจะมียอดการเบิกเงินใช้จริงจากยอดอนุมัติในหลักหมื่นล้านบาท ซึ่งธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการได้ทันที” นายสุรชัยกล่าว.
จากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่อนุมัติการเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินของรัฐรองรับการขยายสินเชื่อให้แก่ผู้ส่งออก ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการค้ำประกันให้แก่ผู้ส่งออกและผู้ประกอบการรายย่อย มีการเพิ่มทุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 3 แห่ง วงเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ 2 พันล้านบาท ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ 5 พันล้านบาท และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 5 พันล้านบาท
นายอภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการ เอ็กซิมแบงก์ กล่าวว่า เงินเพิ่มทุนดังกล่าวจะนำมาใช้สำหรับรองรับการรับประกันการส่งออกซึ่งได้วางไว้ตามแผนระยะ 3 ปี คำประกันได้ปีละ 1.5 แสนล้านบาท รวมมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 4.5 แสนล้านบาท โดยเอ็กซิมแบงก์เองมีความพร้อมเต็มที่ในการดำเนินการส่วนนี้หลังจากได้รับวงเงินดังกล่าวก็จะสามารถดำเนินโครงการนี้ได้ทันที ทั้งนี้ผู้ส่งออกสามารถยื่นขอประกันการส่งออกได้ที่เอ็กซิมแบงก์ทุกสาขา
โดยเอ็กซิมแบงก์ไม่ได้จำกัดประเภทสินค้าส่งออกพร้อมสนับสนุนการส่งออกสินค้าทุกประเภทโดยเฉพาะการส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศที่เป็นตลาดใหม่หากอุตสาหกรรมใดมีความพร้อมที่จะส่งออกก็ติดต่อมาที่เอ็กซิมแบงก์ได้ทันที ซึ่งสินค้าที่มองว่าจะมีการขยายตัวได้ในอัตราที่ดีจะเป็นหมวดสินค้าอาหารและเกษตร รวมถึงสินค้าประเภทอัญมณีสำหรับตลาดล่างและตลาดบน ขณะที่สินค้ากลุ่มอื่นก็ต้องเร่งทำตลาดเพิ่มมากขึ้น
“ตัวเลขการส่งออกติดลบที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศออกมานักสะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของโลกที่ถดถอย ซึ่งต้องมองมาถึงไตรมาส 1 และ 2 ของปีนี้ว่ากำลังซื้อในต่างประเทศจะกระเตื้องขึ้นหรือไม่หลังประเทศต่างๆ ออกมาตรการออกมากระตุ้นกำลังซื้อ” นายอภิชัยกล่าวและว่า เรื่องนี้ต้องใช้เวลาสักระยะเพื่อฟื้นความเชื่อมั่นซึ่งส่งผลให้กำลังซื้อลดลงประกอบกับสภาพคล่องของผู้ซื้อที่มีปัญหาจึงต้องทำประกันการส่งออกหากเกิดกรณีที่ลูกค้าไม่สามารถชำระเงินได้ซึ่งเมื่อธนาคารต้องรับความเสี่ยงในส่วนนี้มากก็มีความจำเป็นที่รัฐบาลต้องเข้ามาเพิ่มทุนในครั้งนี้
บสย.พร้อมค้ำประกันสินเชื่อ 3 หมื่นล.
นายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย. กล่าวว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้บสย.เข้าไปค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อยนั้น วงเงินสนับสนุนที่ได้รับจากรัฐบาลจะสามารถค้ำประกันสินเชื่อได้ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งสิ่งแรกที่จะต้องดำเนินการคือตรวจสอบว่าผู้ประกอบการในกลุ่มใดมีความต้องการให้บสย.เข้าไปค้ำประกันสินเชื่อเป็นการเร่งด่วนบ้าง
ทั้งนี้ จากนโยบายของรัฐบาลมีความต้องการให้บสย.ช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เช่น โรงแรม รีสอร์ต ร้านอาหาร ร้านขายสินค้าที่ระลึกรวมทั้งการส่งออก ซึ่งบสย.เองก็มีความพร้อมในการดำเนินการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสถาบันการเงินปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการรายย่อยที่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องให้สามารถเดินหน้าไปได้
“เราถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศร่วมกับอีกหลายๆ หน่วยงาน ซึ่งได้มีการหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทยในเรื่องเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การค้ำประกันสินเชื่อเพื่อสร้างสภาพคล่องในระบบและตรวจสอบศักยภาพว่าบสย.สามารถรับความเสี่ยงและความเสียหายจากการค้ำประกันสินเชื่อได้ในระดับใด ซึ่งคาดว่าจะหาข้อสรุปได้ในเร็วๆ นี้” นายทวีศักดิ์กล่าว
SMEแบงก์ผ่อนปรนเงื่อนไขปล่อยกู้
นายสุรชัย กำพลานนท์วัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวว่า เงินเพิ่มทุนที่ธนาคารได้รับจะนำมาปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการโดยผ่านโครงการสินเชื่อ smePOWER เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ให้มีสภาพคล่องและลดต้นทุนทางการเงิน เพื่อรักษาการผลิตและบริการอย่างต่อเนื่อง อันมีผลต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในการประชุมวันนี้ธนาคารจะผ่อนประเกณฑ์ในการปล่อยสินเชื่อโครงการสินเชื่อ smePOWER มากขึ้น
โดยในเบื้องต้นจะปรับเพดานเงินกู้จากเดิมสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อรายให้สูงซึ้นตามผลการประชุมคณะกรรมการบริหารในวันนี้ นอกจากนี้ยังได้ผ่อนปรนเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุมัติให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามธนาคารก็ยังจะต้องรักษาคุณภาพการปล่อยสินเชื่อโครงการสินเชื่อ smePOWER ไว้ ขณะเดียวกันจะมีการขยายประเภทสินเชื่อจากเดิมที่เป็นเพียงการปล่อยสินเชื่อระยะยาวเท่านั้นธนาคารจะเพิ่มการปล่อยสินเชื่อแฟคตอริ่งเพื่อแก้ปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจอันมีสาเหตุจากเงินทุนจมอยู่ในลูกหนี้การค้า เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กิจการมีความเข้มแข็ง และสามารถขยายธุรกิจต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง
“ตัวเลขเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อประเภทต่างๆ จะสามารถสรุปได้ในการประชุมบอร์ดบริหารวันนี้ ซึ่งได้คาดการในเบื้องต้นไว้ว่าจะมียอดการเบิกเงินใช้จริงจากยอดอนุมัติในหลักหมื่นล้านบาท ซึ่งธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการได้ทันที” นายสุรชัยกล่าว.