ASTVผู้จัดการรายวัน –บิ๊ก ธอส.ประกาศพร้อมปล่อยสินเชื่อบ้านลูกหนี้แบล็กลิสต์-ติดเครดิตบูโรประเภทหนี้บัตรเครดิต-รถยนต์ ชี้ข้อดีเครดิตบูโรช่วยแบงก์สกรีนลูกค้า ป้องกันเอ็นพีแอลลาม เผยผลการดำเนินงานปี 51 ธอส.ผลประกอบการเจ๋ง ปล่อยสินเชื่อใหม่ 8.18 หมื่นล้าน เฉพาะกำไร 3.3 พันล้าน ปี 52 เดินหน้าปล่อยกู้ 7.3 หมื่นล้าน เน้นบริหารความเสี่ยง พร้อมสอดส่องโครงการบ้านเอื้ออาทร
ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจไทยค่อนข้างเปราะบาง ทำให้รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต้องพยายามเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ ผ่านช่องทางการใช้งบประมาณในการกระตุ้น ขณะเดียวกันก็คาดหวังว่างบประมาณที่รัฐบาลของแต่ละประเทศที่ทุ่มลงไปเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ จะเป็นแรงหนุนที่ช่วยพยุงให้เศรษฐกิจไทย และภูมิภาคเอเชียเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน
ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบสินเชื่อของไทยในตอนนี้ คือภาคสถาบันการเงินค่อนข้างระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากเกรงว่าจะกลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) โดยเฉพาะตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่มีแนวโน้มถูกปฎิเสธสินเชื่อมากสูงขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสูงถึง 30% ทำให้ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งปรับฐานรายได้ของผู้กู้บ้าน การให้เจ้าของโครงการกำหนดวงเงินดาวน์เพิ่มขึ้น เป็นต้น
นอกจากนี้ ปัญหาของผู้ที่จะกู้ซื้อบ้านแล้วไม่ผ่านการอนุมัติสินเชื่อนั้น การตรวจเช็ก"เครดิต บูโร" ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ธนาคารพาณิชย์อ้างว่า ผู้กู้มีปัญหาเรื่องเครดิต (แบล็กลิสต์) ที่ยังคงถูกบันทึกอยู่ในบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
**ธอส.ปล่อยกู้ลูกค้าติดแบล็กลิสต์
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า กรณีปัญหาการเป็นหนี้เสียและติดอยู่ในบัญชีรายชื่อเครดิตบูโร ในบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ทำให้สถาบันการเงินใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ปล่อยสินเชื่อให้ แม้ว่าผู้กู้จะชำระคืนเป็นเวลาหลายปีแล้วก็ตาม ซึ่งปัจจุบันหากมีประวัติหนี้เสีย หรือชำระหนี้ล้าช้าจะถูกบันทึกไว้เป็นเวลา 3 ปี โดยในระหว่างนี้สถาบันการเงินจะไม่ปล่อยสินเชื่อให้เลย ทำให้หลายฝ่ายต่างออกมาเรียกร้องให้บริษัทข้อมูลเครติดแห่งชาติฯ ลดการบันทึกประวัติให้เหลือ 2 ปี
สำหรับ ธอส.จะพิจารณาปล่อยสินเชื่อจากความสามารถในการผ่อนชำระของลูกค้าในปัจจุบันเป็นหลัก แม้ว่าจะมีรายชื่อติดอยู่ในแบล็กลิสต์ในช่วงเวลา 3 ปีก็ตาม แต่จะให้เฉพาะผู้ที่ติดแบล็กลิสต์บัตรเครดิตหรือยนต์เท่านั้น ส่วนผู้ที่เคยติดแบล็กลิสต์สินเชื่อที่อยู่อาศัย จะไม่ปล่อยให้เด็ดขาด
ส่วนกรณีที่คาดว่าจะมีลูกค้าของธนาคารตกงานจนไม่มีรายได้เพียงพอในการผ่อนชำระหนี้นั้น ธอส.ได้เตรียมมาตรการไว้รองรับ ด้วยการลดดอกเบี้ย หรือยืดระยะเวลาผ่อนชำระ จนกว่าลูกค้าจะมีรายได้เข้าสู่ภาวะปกติ หรือมีงานใหม่ทำ นอกจากนี้ ยังเฝ้าติดตามลูกค้าที่ทำงานในอุตสาหกรรมที่เสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้าง แม้ขณะนี้จะมีจำนวนไม่มาก เพราะผู้ที่ถูกเลิกจ้างส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างรายวัน แต่ลูกค้าของธนาคารส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างรายเดือน และบริษัทส่วนใหญ่เข้าร่วมโครงการสวัสดิการหักค่าผ่อนชำระจากบัญชีเงินเดือน
**อาจตั้งสำรองเพิ่มหากหนี้เสียไหลกลับ
กรรมการผู้จัดการ กล่าวถึงผลการดำเนินงานของธอส.ประจำปี 51 (ก่อนการรับรองงบการเงินจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน)ว่า สามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ 123,880 ราย เป็นเงิน 81,804 ล้านบาท คิดเป็นวงเงินสินเชื่อเฉลี่ยต่อราย เท่ากับ 660,000 บาท จากเป้าสินเชื่อทั้งปี 80,000 ล้านบาท ส่วนในปี 2550 ยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ 94,083 ล้านบาท จำนวน 171,282 ราย มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานทั้งสิ้น 3,306 ล้านบาท ลดลง 10.25% เมื่อเทียบกับกำไรในช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 3,683 ล้านบาท
"การที่ธอส.ปล่อยสินเชื่อได้ลดลง ส่วนหนึ่งเกิดจากธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ลงมาแข่งขันในตลาดนี้มากขึ้น อีกทั้งยังแข่งกันในเรื่องราคา หรือลดดอกเบี้ยอีกด้วย ทำให้ ธอส.ถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อไปพอสมควร นอกจากนี้ กำไรส่วนหนึ่งยังนำไปตั้งสำรองหนี้เสียตามมาตรฐานทางบัญชี IAS 39 ซึ่งปัจจุบัน ธอส.ได้ตั้งสำรองไปแล้ว 95% ส่วนในปีนี้จะต้องดูว่ามีหนี้เสียไหลเข้ามาเพิ่มหรือไม่ ถ้ามีเราก็ต้องตั้งสำรองเพิ่มจาก 95% แต่จะมากแค่ไหน คงต้องพิจารณายอดหนี้ค้างชำระ เพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นหนี้เสียเข้ามาสมทบ"
ส่วนยอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 617,305 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.24% เงินฝาก 515,149 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.61% โดยมีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) 62,919 ล้านบาท คิดเป็น 10.56% ของยอดสินเชื่อรวม ขณะที่ทรัพย์สินรอการขาย (NPA) คงเหลือสุทธิตามงบการเงิน จำนวน 9,813 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมสามารถจำหน่าย NPA ได้ทั้งสิ้น 1,951 ล้านบาท สินทรัพย์รวมประมาณ 663,773 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.34 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับนโยบายการดำเนินงานในปี 52 ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อ 73,000 ล้านบาท เป้าหมายกำไรตั้งไว้ที่ 3,600 ล้านบาท ตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศในปีนี้ อย่างไรก็ตาม หากมียอดขอสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น ธอส.ก็พร้อมจะปล่อยสินเชื่อให้ โดยทุกเดือน ธนาคารฯจะมียอดชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยประมาณ 8,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้สามารถนำไปปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ นอกเหนือจากสภาพคล่องของธนาคารที่มีอยู่รวมกว่า 70,000 ล้านบาท
นายขรรค์กล่าวว่า ในส่วนของการทำงานในปีนี้ จะเน้นหนักใน 3 เรื่องใหญ่ คือ 1. การบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย และความเสี่ยงในตลาด 2. บริหารค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับดอกเบี้ยรับที่เป็นรายได้หลักของธนาคาร และ 3. การทำตัวให้ใกล้ชิดกับลูกค้า
**สอดส่องโครงการบ้านเอื้อฯ
ส่วนการปล่อยสินเชื่อในโครงการต่างๆ อาทิ 1.โครงการบ้านเอื้ออาทร จะทำการปรับปรุงและแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งในปีนี้จะมีหลายโครงการที่เสร็จเข้ามา 2.โครงการธอส.-กบข. ครั้งที่ 6 จะเริ่มเร็วขึ้นในเดือนมี.ค.นี้ จากปีที่แล้วเริ่มเดือนพ.ค. เพราะต้องการเน้นลูกค้ากลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีรายได้มั่นคง
3.โครงการบ้านประหยัดพลังงาน 4.โครงการบ้านหลักแรกจากเดิมที่เคยออกระยะ 7 ปี และ 10 ปีที่ผ่านมา แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ดังนั้น จะมีแผนที่จะออกพันธบัตรเป็นระยะสั้นอายุ 3 ปี ที่เป็นที่นิยมของตลาดมากกว่า
นายขรรค์กล่าวว่า ปี2552 ธนาคารได้ผลักดันโครงการประกันสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (มอร์เกจ อินชัวรันซ์ : เอ็มไอ) ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนที่ไม่มีเงินออม สามารถจะมีบ้านเป็นของตนเองได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาปรับปรุงภาพลักษณ์และการให้บริการควบคู่กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการแก่ลูกค้าได้อย่างดีที่สุด โดยจะเพิ่มเครื่องถอนเงิน และเครื่องรับฝากเงินอัตโนมัติให้มากขึ้น.
ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจไทยค่อนข้างเปราะบาง ทำให้รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต้องพยายามเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ ผ่านช่องทางการใช้งบประมาณในการกระตุ้น ขณะเดียวกันก็คาดหวังว่างบประมาณที่รัฐบาลของแต่ละประเทศที่ทุ่มลงไปเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ จะเป็นแรงหนุนที่ช่วยพยุงให้เศรษฐกิจไทย และภูมิภาคเอเชียเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน
ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบสินเชื่อของไทยในตอนนี้ คือภาคสถาบันการเงินค่อนข้างระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากเกรงว่าจะกลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) โดยเฉพาะตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่มีแนวโน้มถูกปฎิเสธสินเชื่อมากสูงขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสูงถึง 30% ทำให้ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งปรับฐานรายได้ของผู้กู้บ้าน การให้เจ้าของโครงการกำหนดวงเงินดาวน์เพิ่มขึ้น เป็นต้น
นอกจากนี้ ปัญหาของผู้ที่จะกู้ซื้อบ้านแล้วไม่ผ่านการอนุมัติสินเชื่อนั้น การตรวจเช็ก"เครดิต บูโร" ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ธนาคารพาณิชย์อ้างว่า ผู้กู้มีปัญหาเรื่องเครดิต (แบล็กลิสต์) ที่ยังคงถูกบันทึกอยู่ในบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
**ธอส.ปล่อยกู้ลูกค้าติดแบล็กลิสต์
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า กรณีปัญหาการเป็นหนี้เสียและติดอยู่ในบัญชีรายชื่อเครดิตบูโร ในบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ทำให้สถาบันการเงินใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ปล่อยสินเชื่อให้ แม้ว่าผู้กู้จะชำระคืนเป็นเวลาหลายปีแล้วก็ตาม ซึ่งปัจจุบันหากมีประวัติหนี้เสีย หรือชำระหนี้ล้าช้าจะถูกบันทึกไว้เป็นเวลา 3 ปี โดยในระหว่างนี้สถาบันการเงินจะไม่ปล่อยสินเชื่อให้เลย ทำให้หลายฝ่ายต่างออกมาเรียกร้องให้บริษัทข้อมูลเครติดแห่งชาติฯ ลดการบันทึกประวัติให้เหลือ 2 ปี
สำหรับ ธอส.จะพิจารณาปล่อยสินเชื่อจากความสามารถในการผ่อนชำระของลูกค้าในปัจจุบันเป็นหลัก แม้ว่าจะมีรายชื่อติดอยู่ในแบล็กลิสต์ในช่วงเวลา 3 ปีก็ตาม แต่จะให้เฉพาะผู้ที่ติดแบล็กลิสต์บัตรเครดิตหรือยนต์เท่านั้น ส่วนผู้ที่เคยติดแบล็กลิสต์สินเชื่อที่อยู่อาศัย จะไม่ปล่อยให้เด็ดขาด
ส่วนกรณีที่คาดว่าจะมีลูกค้าของธนาคารตกงานจนไม่มีรายได้เพียงพอในการผ่อนชำระหนี้นั้น ธอส.ได้เตรียมมาตรการไว้รองรับ ด้วยการลดดอกเบี้ย หรือยืดระยะเวลาผ่อนชำระ จนกว่าลูกค้าจะมีรายได้เข้าสู่ภาวะปกติ หรือมีงานใหม่ทำ นอกจากนี้ ยังเฝ้าติดตามลูกค้าที่ทำงานในอุตสาหกรรมที่เสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้าง แม้ขณะนี้จะมีจำนวนไม่มาก เพราะผู้ที่ถูกเลิกจ้างส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างรายวัน แต่ลูกค้าของธนาคารส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างรายเดือน และบริษัทส่วนใหญ่เข้าร่วมโครงการสวัสดิการหักค่าผ่อนชำระจากบัญชีเงินเดือน
**อาจตั้งสำรองเพิ่มหากหนี้เสียไหลกลับ
กรรมการผู้จัดการ กล่าวถึงผลการดำเนินงานของธอส.ประจำปี 51 (ก่อนการรับรองงบการเงินจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน)ว่า สามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ 123,880 ราย เป็นเงิน 81,804 ล้านบาท คิดเป็นวงเงินสินเชื่อเฉลี่ยต่อราย เท่ากับ 660,000 บาท จากเป้าสินเชื่อทั้งปี 80,000 ล้านบาท ส่วนในปี 2550 ยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ 94,083 ล้านบาท จำนวน 171,282 ราย มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานทั้งสิ้น 3,306 ล้านบาท ลดลง 10.25% เมื่อเทียบกับกำไรในช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 3,683 ล้านบาท
"การที่ธอส.ปล่อยสินเชื่อได้ลดลง ส่วนหนึ่งเกิดจากธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ลงมาแข่งขันในตลาดนี้มากขึ้น อีกทั้งยังแข่งกันในเรื่องราคา หรือลดดอกเบี้ยอีกด้วย ทำให้ ธอส.ถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อไปพอสมควร นอกจากนี้ กำไรส่วนหนึ่งยังนำไปตั้งสำรองหนี้เสียตามมาตรฐานทางบัญชี IAS 39 ซึ่งปัจจุบัน ธอส.ได้ตั้งสำรองไปแล้ว 95% ส่วนในปีนี้จะต้องดูว่ามีหนี้เสียไหลเข้ามาเพิ่มหรือไม่ ถ้ามีเราก็ต้องตั้งสำรองเพิ่มจาก 95% แต่จะมากแค่ไหน คงต้องพิจารณายอดหนี้ค้างชำระ เพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นหนี้เสียเข้ามาสมทบ"
ส่วนยอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 617,305 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.24% เงินฝาก 515,149 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.61% โดยมีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) 62,919 ล้านบาท คิดเป็น 10.56% ของยอดสินเชื่อรวม ขณะที่ทรัพย์สินรอการขาย (NPA) คงเหลือสุทธิตามงบการเงิน จำนวน 9,813 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมสามารถจำหน่าย NPA ได้ทั้งสิ้น 1,951 ล้านบาท สินทรัพย์รวมประมาณ 663,773 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.34 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับนโยบายการดำเนินงานในปี 52 ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อ 73,000 ล้านบาท เป้าหมายกำไรตั้งไว้ที่ 3,600 ล้านบาท ตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศในปีนี้ อย่างไรก็ตาม หากมียอดขอสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น ธอส.ก็พร้อมจะปล่อยสินเชื่อให้ โดยทุกเดือน ธนาคารฯจะมียอดชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยประมาณ 8,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้สามารถนำไปปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ นอกเหนือจากสภาพคล่องของธนาคารที่มีอยู่รวมกว่า 70,000 ล้านบาท
นายขรรค์กล่าวว่า ในส่วนของการทำงานในปีนี้ จะเน้นหนักใน 3 เรื่องใหญ่ คือ 1. การบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย และความเสี่ยงในตลาด 2. บริหารค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับดอกเบี้ยรับที่เป็นรายได้หลักของธนาคาร และ 3. การทำตัวให้ใกล้ชิดกับลูกค้า
**สอดส่องโครงการบ้านเอื้อฯ
ส่วนการปล่อยสินเชื่อในโครงการต่างๆ อาทิ 1.โครงการบ้านเอื้ออาทร จะทำการปรับปรุงและแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งในปีนี้จะมีหลายโครงการที่เสร็จเข้ามา 2.โครงการธอส.-กบข. ครั้งที่ 6 จะเริ่มเร็วขึ้นในเดือนมี.ค.นี้ จากปีที่แล้วเริ่มเดือนพ.ค. เพราะต้องการเน้นลูกค้ากลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีรายได้มั่นคง
3.โครงการบ้านประหยัดพลังงาน 4.โครงการบ้านหลักแรกจากเดิมที่เคยออกระยะ 7 ปี และ 10 ปีที่ผ่านมา แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ดังนั้น จะมีแผนที่จะออกพันธบัตรเป็นระยะสั้นอายุ 3 ปี ที่เป็นที่นิยมของตลาดมากกว่า
นายขรรค์กล่าวว่า ปี2552 ธนาคารได้ผลักดันโครงการประกันสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (มอร์เกจ อินชัวรันซ์ : เอ็มไอ) ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนที่ไม่มีเงินออม สามารถจะมีบ้านเป็นของตนเองได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาปรับปรุงภาพลักษณ์และการให้บริการควบคู่กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการแก่ลูกค้าได้อย่างดีที่สุด โดยจะเพิ่มเครื่องถอนเงิน และเครื่องรับฝากเงินอัตโนมัติให้มากขึ้น.